ใครจะเชื่อว่า “สปป.ลาว” สถานที่ซึ่งหลายคนคิดว่าค่าครองชีพน่าจะต่ำกว่าประเทศไทย
แท้จริงแล้ว สปป.ลาว กลายเป็นประเทศที่มี “ค่าใช้จ่ายสูงที่สุด” ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง
เหตุผลประการแรกและสำคัญที่สุดก็คือ “Land Locked Country” นี่คือจุดบอดของประเทศนี้ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ที่เป็นภูเขามากกว่าพื้นที่ราบยากต่อการเพาะปลูก นอกจากนี้ ยังยากต่อการค้าขาย และการย้ายถิ่นฐานอพยพ
โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สปป.ลาว ยังต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกประเภท
แม้แต่ “ข้าวเหนียว” ที่เป็นอาหารหลักที่ต้องบริโภคทุกมื้อ เพราะการเพาะปลูกไม่เพียงพอต่อความต้องการ
มีเพียงไม่กี่อุตสาหกรรมที่ สปป.ลาวสามารถทำและเพิ่มช่องทางรายได้ให้กับประเทศได้ และ “การท่องเที่ยว” ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือแก้ความจนที่รัฐบาลเลือก ซึ่งก็ฟังดูคล้ายๆ กับประเทศอื่นทั่วโลกที่พยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อทำเงิน
แต่ปัญหาก็คือ “ค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว” สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาเยือน สปป.ลาว เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่มลุ่มน้ำโขง กลายมาเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใน สปป.ลาวน้อยลงต่อเนื่อง
วีโอเอ ภาษาลาว รายงานว่า นายสูน มะนีวง หัวหน้ากรมประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว กระทรวงการแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ยืนยันว่าปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาใน สปป.ลาวมีจำนวนลดลงต่อเนื่อง เหตุมาจากค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวที่สูงเกินไป ทั้งการเดินทาง ค่าธรรมเนียม และค่าบริการต่างๆ ที่รวมถึงที่พัก และอาหารการกินในแต่ละมื้อ
“หากเฉลี่ยค่าเดินทางท่องเที่ยวระหว่าง สปป.ลาวและเวียดนาม โดยอ้างข้อมูลจากโปรโมชั่นของกลุ่มทัวร์จะพบว่า
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ใช้ใน เวียดนาม สามารถเที่ยวได้ 4 คืน 5 วัน
ขณะที่ สปป.ลาว กลับเที่ยวได้เพียง 2 คืน 3 วันเท่านั้น”
ผลกระทบเริ่มชัดเจนขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาใน สปป.ลาว ลดลงถึง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2016
โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากชาติอาเซียนที่เดินทางเข้าประเทศลดลงมากที่สุด
หากจะช่วยขยายความหรือยกตัวอย่างให้เห็นภาพจากประสบการณ์ตรงจากผู้เขียน เมื่อลองเปรียบเทียบราคาเครื่องดื่มหรืออาหารระหว่างไทยและ สปป.ลาว พบว่า
: น้ำดื่มขวดเล็กที่ขายใน 7-11 ในราคา 7 บาท ใน สปป.ลาวราคาดีดขึ้นไปถึง 30 บาท,
โรตีใส่ไข่ 60 บาทที่ สปป.ลาว เทียบกับเมืองไทยที่มีราคาเพียง 30-40 บาท,
ค่าห้องน้ำสาธารณะ 10 บาท หรือบางที่มีราคาสูงถึง 20 บาท,
ก๋วยเตี๋ยวชามขนาดปกติที่ สปป.ลาว จะอยู่ราวๆ 60-70 บาท
ส่วนราคาข้าวเหนียวหนึ่งกระติ๊บเพื่อใส่บาตรพระตอนเช้าราคาปาเข้าไปที่ 100 บาท (ณ หลวงพระบาง)
ขณะเดียวกัน สิ่งที่ชาวเน็ตและนักวิเคราะห์ตลาดเคยศึกษาว่า คนลาวหรือคนท้องถิ่นสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไรกับราคาค่าครองชีพที่สูงลิ่วขนาดนี้?
: ตอบได้เพียงว่าคนลาวยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม คือการทำอาหารทานเอง ปลูกผักและเลี้ยงเนื้อสัตว์เพื่อทานเองในครอบครัว
: ซึ่งมากกว่า 70% ของคนลาวทั้งประเทศยังมีฐานะยากจน ส่วนราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เราเห็นกันนั้นไม่ได้เป็นราคาสำหรับนักท่องเที่ยวแต่อย่างใด เศรษฐีชาวลาวก็จับจ่ายใช้สอยในราคานี้เช่นกัน
เนื้อข่าวเต็มๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.matichonweekly.com/intrend/article_77224
ก่อนหน้านี้ สมัยที่ยังเรียนอยู่ เคยคิดว่าวันนึงที่เรียนจบ อยากไปเที่ยวประเทศลาว ไปแบบเดินทางคนเดียว เที่ยวคนเดียว ไปสัก 7-10 วัน
ต่อมา จากการหาข้มูลมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เข้าใจโลกกว้างขึ้น ประกอบกับข้อมูลทาง social media ที่มากขึ้น พบว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรา หลายๆคน ไม่ได้มองเราเป็นเพื่อนอย่างที่คิด กลับมองเราเป็น....... เลยได้คำตอบว่า ถ้าจะไป ข้ามฝั่งไปเที่ยวสักวัน แล้วกลับมานอนแผ่นดินแม่ของเราดีกว่า
ค่าครองชีพที่เคยคิดว่า น่าจะพอๆกับบ้านเรา (เมื่อก่อน ตอนยังเด็กๆ คิดแบบนั้นจริงๆ) ปรากฏว่าทุกอย่างแพงกว่าที่ไทย และจากการได้ติดตามคนลาวหลายๆคนที่ มาเรียนในไทย หรือบางคนแต่งงานกับคนไทย แต่ยังใช้ชีวิตทำกิจการที่ลาวยังข้ามไปๆมาๆ ระหว่างลาวกับไทย พบว่าข้าวของต่างๆ ราคาแพงกว่าที่ไทยจริงๆ ไม่ใช่ราคานักท่องเที่ยว
ผัดไทย ร้านข้างทางที่สะหวันนะเขต ราคา 80-100 บาท
ราคาข้าวเหนียวส้มตำก็แพงกว่า
ราคาน้ำขวด คนลาวบางคนยังข้ามมาซื้อที่ไทยไปใช้ เพราะราคาถูกกว่ากันครึ่งต่อครึ่งหรือเกินครึ่ง ที่สำคัญเขาบอกเองว่า เขาเชื่อถือด้านคุณภาพหรือความสะอาดของไทยมากกว่า แถมยังราคาถูกกว่าอีก (เขาบอกว่า เสียดายที่ขนไปทีละเยอะๆไม่ได้)
ราคาทองคำอ้างอิงการขึ้นลงของราคาตามสมาคมค้าทองคำไทย แต่แพงกว่าฝั่งไทย
ในบางพื้นที่ ไม่ใช่ทางด่วน แต่ต้องเสียค่าผ่านทาง บางคนต้องส่งลูกไปโรงเรียน เสียเฉพาะค่าผ่านทางเดือนละกว่า 4000 บาท
ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า น้ำมัน แพงกว่าไทยแทบทุกอย่าง
ที่ถูกกว่าไทย น่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่
"ลาว” ค่าใช้จ่าย “แพงสุด” ในลุ่มน้ำโขง ชู 2018 ปีแห่งการท่องเที่ยว
แท้จริงแล้ว สปป.ลาว กลายเป็นประเทศที่มี “ค่าใช้จ่ายสูงที่สุด” ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง
เหตุผลประการแรกและสำคัญที่สุดก็คือ “Land Locked Country” นี่คือจุดบอดของประเทศนี้ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ที่เป็นภูเขามากกว่าพื้นที่ราบยากต่อการเพาะปลูก นอกจากนี้ ยังยากต่อการค้าขาย และการย้ายถิ่นฐานอพยพ
โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สปป.ลาว ยังต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกประเภท
แม้แต่ “ข้าวเหนียว” ที่เป็นอาหารหลักที่ต้องบริโภคทุกมื้อ เพราะการเพาะปลูกไม่เพียงพอต่อความต้องการ
มีเพียงไม่กี่อุตสาหกรรมที่ สปป.ลาวสามารถทำและเพิ่มช่องทางรายได้ให้กับประเทศได้ และ “การท่องเที่ยว” ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือแก้ความจนที่รัฐบาลเลือก ซึ่งก็ฟังดูคล้ายๆ กับประเทศอื่นทั่วโลกที่พยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อทำเงิน
แต่ปัญหาก็คือ “ค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว” สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาเยือน สปป.ลาว เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่มลุ่มน้ำโขง กลายมาเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใน สปป.ลาวน้อยลงต่อเนื่อง
วีโอเอ ภาษาลาว รายงานว่า นายสูน มะนีวง หัวหน้ากรมประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว กระทรวงการแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ยืนยันว่าปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาใน สปป.ลาวมีจำนวนลดลงต่อเนื่อง เหตุมาจากค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวที่สูงเกินไป ทั้งการเดินทาง ค่าธรรมเนียม และค่าบริการต่างๆ ที่รวมถึงที่พัก และอาหารการกินในแต่ละมื้อ
“หากเฉลี่ยค่าเดินทางท่องเที่ยวระหว่าง สปป.ลาวและเวียดนาม โดยอ้างข้อมูลจากโปรโมชั่นของกลุ่มทัวร์จะพบว่า
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ใช้ใน เวียดนาม สามารถเที่ยวได้ 4 คืน 5 วัน
ขณะที่ สปป.ลาว กลับเที่ยวได้เพียง 2 คืน 3 วันเท่านั้น”
ผลกระทบเริ่มชัดเจนขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาใน สปป.ลาว ลดลงถึง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2016
โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากชาติอาเซียนที่เดินทางเข้าประเทศลดลงมากที่สุด
หากจะช่วยขยายความหรือยกตัวอย่างให้เห็นภาพจากประสบการณ์ตรงจากผู้เขียน เมื่อลองเปรียบเทียบราคาเครื่องดื่มหรืออาหารระหว่างไทยและ สปป.ลาว พบว่า
: น้ำดื่มขวดเล็กที่ขายใน 7-11 ในราคา 7 บาท ใน สปป.ลาวราคาดีดขึ้นไปถึง 30 บาท,
โรตีใส่ไข่ 60 บาทที่ สปป.ลาว เทียบกับเมืองไทยที่มีราคาเพียง 30-40 บาท,
ค่าห้องน้ำสาธารณะ 10 บาท หรือบางที่มีราคาสูงถึง 20 บาท,
ก๋วยเตี๋ยวชามขนาดปกติที่ สปป.ลาว จะอยู่ราวๆ 60-70 บาท
ส่วนราคาข้าวเหนียวหนึ่งกระติ๊บเพื่อใส่บาตรพระตอนเช้าราคาปาเข้าไปที่ 100 บาท (ณ หลวงพระบาง)
ขณะเดียวกัน สิ่งที่ชาวเน็ตและนักวิเคราะห์ตลาดเคยศึกษาว่า คนลาวหรือคนท้องถิ่นสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไรกับราคาค่าครองชีพที่สูงลิ่วขนาดนี้?
: ตอบได้เพียงว่าคนลาวยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม คือการทำอาหารทานเอง ปลูกผักและเลี้ยงเนื้อสัตว์เพื่อทานเองในครอบครัว
: ซึ่งมากกว่า 70% ของคนลาวทั้งประเทศยังมีฐานะยากจน ส่วนราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เราเห็นกันนั้นไม่ได้เป็นราคาสำหรับนักท่องเที่ยวแต่อย่างใด เศรษฐีชาวลาวก็จับจ่ายใช้สอยในราคานี้เช่นกัน
เนื้อข่าวเต็มๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ก่อนหน้านี้ สมัยที่ยังเรียนอยู่ เคยคิดว่าวันนึงที่เรียนจบ อยากไปเที่ยวประเทศลาว ไปแบบเดินทางคนเดียว เที่ยวคนเดียว ไปสัก 7-10 วัน
ต่อมา จากการหาข้มูลมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เข้าใจโลกกว้างขึ้น ประกอบกับข้อมูลทาง social media ที่มากขึ้น พบว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรา หลายๆคน ไม่ได้มองเราเป็นเพื่อนอย่างที่คิด กลับมองเราเป็น....... เลยได้คำตอบว่า ถ้าจะไป ข้ามฝั่งไปเที่ยวสักวัน แล้วกลับมานอนแผ่นดินแม่ของเราดีกว่า
ค่าครองชีพที่เคยคิดว่า น่าจะพอๆกับบ้านเรา (เมื่อก่อน ตอนยังเด็กๆ คิดแบบนั้นจริงๆ) ปรากฏว่าทุกอย่างแพงกว่าที่ไทย และจากการได้ติดตามคนลาวหลายๆคนที่ มาเรียนในไทย หรือบางคนแต่งงานกับคนไทย แต่ยังใช้ชีวิตทำกิจการที่ลาวยังข้ามไปๆมาๆ ระหว่างลาวกับไทย พบว่าข้าวของต่างๆ ราคาแพงกว่าที่ไทยจริงๆ ไม่ใช่ราคานักท่องเที่ยว
ผัดไทย ร้านข้างทางที่สะหวันนะเขต ราคา 80-100 บาท
ราคาข้าวเหนียวส้มตำก็แพงกว่า
ราคาน้ำขวด คนลาวบางคนยังข้ามมาซื้อที่ไทยไปใช้ เพราะราคาถูกกว่ากันครึ่งต่อครึ่งหรือเกินครึ่ง ที่สำคัญเขาบอกเองว่า เขาเชื่อถือด้านคุณภาพหรือความสะอาดของไทยมากกว่า แถมยังราคาถูกกว่าอีก (เขาบอกว่า เสียดายที่ขนไปทีละเยอะๆไม่ได้)
ราคาทองคำอ้างอิงการขึ้นลงของราคาตามสมาคมค้าทองคำไทย แต่แพงกว่าฝั่งไทย
ในบางพื้นที่ ไม่ใช่ทางด่วน แต่ต้องเสียค่าผ่านทาง บางคนต้องส่งลูกไปโรงเรียน เสียเฉพาะค่าผ่านทางเดือนละกว่า 4000 บาท
ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า น้ำมัน แพงกว่าไทยแทบทุกอย่าง
ที่ถูกกว่าไทย น่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่