เพื่อนๆทราบหรือไม่คับว่าการผลิตไฟฟ้าในประเทศกว่า 60% เราพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย??
แล้วทราบไหมคับว่าแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวได้มีขุดปิโตรเลียมมา สามสิบกว่าปีแล้ว และสัมปทานการขุดเจาะกำลังสิ้นสุดลงในปี 2565 และความแน่ชัดในการจัดการแหล่งทั้งสองดังกล่าว มีการเลื่อนมาแล้วหลายครั้ง โดยเกิดจากการถูกคัดค้านจากคนกลุ่มเดิมๆ มาโดยตลอด
แล้วทราบมั๊ยคับว่าเรื่องที่ฟังดูแล้วไกลตัวอย่างเรื่องการประมูลปิโตรเลียมแต่ที่จริงแล้วมันใกล้ตัวเรามาก ถ้าผมจะบอกว่ามันทำให้เงินในกระเป๋าของเราเหลือน้อยลงจากที่มันน้อยอยู่แล้ว เพื่อนๆจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวอีกไหมคับ??
เกริ่นมาซะยืดยาวมาดูกันเลยดีกว่าว่าจะเกิดความเสียหายอะไรบ้างหากมีการเลื่อนการประมูลปิโตรเลียมออกไป
อย่างแรกเลยค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นแน่นอน เพราะมีก๊าซหายไปจากระบบ 2,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (เทียบเท่าโรงไฟฟ้าขนาด 1,200 MW หรือ50% ของโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซทั้งหมด) ส่งผลให้ต้องมีการนำเข้า LNG มาทดแทนซึ่งราคาจะผันผวนตามตลาด + กับค่าขนส่งทำให้มีต้นทุนที่แพงกว่าก๊าซจากในอ่าวไทย และส่งผลให้ค่าไฟฟ้า(Ft) เพิ่มขึ้น 18สต.ต่อหน่วย (สมมติฐานจากราคา LNG ที่ 10ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู) ตีเป็นเงินก็ประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี
ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆราคาแพงขึ้น ?? อ่านไม่ผิดหรอกคับมันแพงขึ้นจริงๆ เพราะวัตถุดิบต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน พลาสติก ,เส้นใย ,ยาง ,สี ,สารซักฟอกและสารเคลือบผิว ล้วนมาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีซึ่งเกี่ยวข้องกับก๊าซในอ่าวไทยโดยตรง ถ้าก๊าซตรงนี้หายไปจากระบบ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีก็ต้องนำเข้าสารตั้งต้นส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น สุดท้ายพวกสินค้าต่างๆตามท้องตลาดหลายชนิดก็จะมีราคาสูงขึ้น ไม่เชื่อลองหันไปมองรอบตัวสิคับมีของอะไรที่ทำมาจากพลาสติดบ้าง?
เงินลงทุนในประเทศจากบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทาน รวมทั้ง บ.ไทยอื่นๆ ที่รับจ้างบริการต่างๆ เช่นก่อสร้าง เดินเรือ ซ่อมบำรุง ฯลฯ และแน่นอนว่าแรงงานต่างๆ ที่เป็นคนในประเทศเองหรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้าน ก็ต้องมีคนต้องตกงานจากการที่บริษัทไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วย
และสุดท้ายรายได้ของรัฐพวก ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และรายด้านอื่นๆ ที่จะหายไปประมาณ 60,000 หมื่นล้านบาทต่อปี
ทั้งหมดนี่คือข้อเสียที่จะเกิดขึ้นหากไม่สามารถผลิตก๊าซต่อในแหล่งสัมปทานเดิมที่จะหมดอายุลงได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลได้มีความพยามในการที่จะเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมมาหลายครั้งในหลายรัฐบาลแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากมีการคัดค้านมาโดยตลอด และหากการประมูลยิ่งล่าช้าออกไปประเทศก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในปัจจุบันไทยถือเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านพลังงานมากที่สุดในอาเซียนแล้ว ไม่แน่ในอนาคตเราอาจเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงาน 100% เลยก็ได้
ไม่รู้ไม่ได้ สำคัญแค่ไหน?? ประมูลแหล่งปิโตรเลียม เอราวัณ – บงกช
เพื่อนๆทราบหรือไม่คับว่าการผลิตไฟฟ้าในประเทศกว่า 60% เราพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย??
แล้วทราบไหมคับว่าแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวได้มีขุดปิโตรเลียมมา สามสิบกว่าปีแล้ว และสัมปทานการขุดเจาะกำลังสิ้นสุดลงในปี 2565 และความแน่ชัดในการจัดการแหล่งทั้งสองดังกล่าว มีการเลื่อนมาแล้วหลายครั้ง โดยเกิดจากการถูกคัดค้านจากคนกลุ่มเดิมๆ มาโดยตลอด
แล้วทราบมั๊ยคับว่าเรื่องที่ฟังดูแล้วไกลตัวอย่างเรื่องการประมูลปิโตรเลียมแต่ที่จริงแล้วมันใกล้ตัวเรามาก ถ้าผมจะบอกว่ามันทำให้เงินในกระเป๋าของเราเหลือน้อยลงจากที่มันน้อยอยู่แล้ว เพื่อนๆจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวอีกไหมคับ??
เกริ่นมาซะยืดยาวมาดูกันเลยดีกว่าว่าจะเกิดความเสียหายอะไรบ้างหากมีการเลื่อนการประมูลปิโตรเลียมออกไป
อย่างแรกเลยค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นแน่นอน เพราะมีก๊าซหายไปจากระบบ 2,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (เทียบเท่าโรงไฟฟ้าขนาด 1,200 MW หรือ50% ของโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซทั้งหมด) ส่งผลให้ต้องมีการนำเข้า LNG มาทดแทนซึ่งราคาจะผันผวนตามตลาด + กับค่าขนส่งทำให้มีต้นทุนที่แพงกว่าก๊าซจากในอ่าวไทย และส่งผลให้ค่าไฟฟ้า(Ft) เพิ่มขึ้น 18สต.ต่อหน่วย (สมมติฐานจากราคา LNG ที่ 10ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู) ตีเป็นเงินก็ประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี
ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆราคาแพงขึ้น ?? อ่านไม่ผิดหรอกคับมันแพงขึ้นจริงๆ เพราะวัตถุดิบต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน พลาสติก ,เส้นใย ,ยาง ,สี ,สารซักฟอกและสารเคลือบผิว ล้วนมาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีซึ่งเกี่ยวข้องกับก๊าซในอ่าวไทยโดยตรง ถ้าก๊าซตรงนี้หายไปจากระบบ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีก็ต้องนำเข้าสารตั้งต้นส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น สุดท้ายพวกสินค้าต่างๆตามท้องตลาดหลายชนิดก็จะมีราคาสูงขึ้น ไม่เชื่อลองหันไปมองรอบตัวสิคับมีของอะไรที่ทำมาจากพลาสติดบ้าง?
เงินลงทุนในประเทศจากบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทาน รวมทั้ง บ.ไทยอื่นๆ ที่รับจ้างบริการต่างๆ เช่นก่อสร้าง เดินเรือ ซ่อมบำรุง ฯลฯ และแน่นอนว่าแรงงานต่างๆ ที่เป็นคนในประเทศเองหรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้าน ก็ต้องมีคนต้องตกงานจากการที่บริษัทไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วย
และสุดท้ายรายได้ของรัฐพวก ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และรายด้านอื่นๆ ที่จะหายไปประมาณ 60,000 หมื่นล้านบาทต่อปี
ทั้งหมดนี่คือข้อเสียที่จะเกิดขึ้นหากไม่สามารถผลิตก๊าซต่อในแหล่งสัมปทานเดิมที่จะหมดอายุลงได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลได้มีความพยามในการที่จะเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมมาหลายครั้งในหลายรัฐบาลแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากมีการคัดค้านมาโดยตลอด และหากการประมูลยิ่งล่าช้าออกไปประเทศก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในปัจจุบันไทยถือเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านพลังงานมากที่สุดในอาเซียนแล้ว ไม่แน่ในอนาคตเราอาจเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงาน 100% เลยก็ได้