หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
ชาวแม่สะเรียงสรงน้ำ 'พระเพชร' ต้อนรับสงกรานต์
กระทู้สนทนา
พระพุทธรูป
ศาสนาพุทธ
อำเภอแม่สะเรียง
วันสงกรานต์
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันที่ 13 เมษายนของทุกปี ชาวแม่สะเรียงจะออกมารวมตัวกันในเวียง (ในเมือง) เพื่อร่วมสรงน้ำพระเพชรในวันสงกรานต์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลายคนคงสงสัยว่าทำไมต้องพระเพชรและทำไมต้องทำวันสงกรานต์
อาจารย์อินทร นันทสมบูรณ์ รองนายกเทศมนตรีตำบลแม่สะเรียง ซึ่งเป็นชาวแม่สะเรียงโดยกำเนิด เล่าให้ฟังว่า เพราะพระเพชรเป็นพระพุทธรูปองค์แรกของเมืองยวมใต้หรือเมือง “แม่สะเรียง” ในปัจจุบัน เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดลุ่ม หรือต่อมาเรียก วัดแสนทอง ซึ่งวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ในเวียงเดิม
ย้อนไปช่วงพ.ศ.1945-1984 รัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เจ้าผู้ครองนครพิงค์แห่งราชวงศ์มังรายพระองค์ทรงปลดพระราชบุตรพระนามว่า “ท้าวลก” จากตำแหน่งเจ้าเมืองพร้าว (อ.พร้าว จ.เชียงใหม่) แล้วเนรเทศให้มาปกครองเมืองยวมใต้ที่เป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรล้านนา ครานั้นเรื่องเล่าบอกต่อกันมาว่าพญาสามฝั่งแกนทรงมอบพระพุทธสิหิงค์ ปางมารวิชัย ให้ท้าวลกนำติดตัวมาด้วย นั่นก็คือพระเพชร (ท้าวลกต่อมา คือ พระเจ้าติโลกราช ผู้ปกครองล้านนาที่ยิ่งใหญ่ รัชสมัยของพระองค์เป็นยุคทอง แต่หารู้ไม่ว่าก่อนขึ้นครองราชย์ ท้าวลกก่อรัฐประหารโค่นล้มพระราชบิดาของตัวเอง)
กลับมาที่พระเพชร พระพุทธรูปองค์นี้ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ มีน้ำหนักมาก หน้าตักประมาณ 13.5 นิ้ว และสูงราว 16 นิ้ว ชาวเมืองยวมใต้เรียก “พระเพชร” เพราะท่านเคยมีเพชรแท้ 3 เม็ด ประดับอยู่ที่พระนลาฎ (หน้าผาก) 1 เม็ด และที่พระอังสา (บ่า ไหล่) อีกข้างละ 1 เม็ด ต่อคำถามที่ว่าแล้วเพชรของพระเพชรไปไหน อ.อินทรบอกว่ามีเรื่องเล่าที่สันนิษฐานว่าตัวเพชรหายไปช่วงสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา (Pacific War) ซึ่งเป็นเขตสงครามหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง พื้นที่รบอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก คราวนั้นเป็นช่วงที่กองทัพญี่ปุ่นผ่านมาแถวแม่ฮ่องสอนเพื่อเดินทางต่อไปยังพม่า แต่เรื่องจริงเป็นอย่างไรนั้น ไม่อาจเป็นที่อาจรู้ได้
ประเพณีสรงน้ำพระเพชรในวันสงกรานต์ที่แม่สะเรียงเริ่มขึ้นปีพ.ศ.2541 รับอิทธิพลมาจากชาวเชียงใหม่ที่มีประเพณีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์เพื่อความเป็นสิริมงคล สุขาภิบาลแม่สะเรียงเป็นผู้ริเริ่มแห่พระเพชร ตอนแรกแห่เพียงขบวนเดียว แต่ภายหลังมีการประชาสัมพันธ์และได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากคนท้องถิ่น จึงยึดถือกันเรื่อยมา ปีที่แล้วมีรถแห่พระพุทธรูปที่มาร่วมขบวนกับพระเพชรถึงกว่า 20 ขบวน โต้โผใหญ่คือเทศบาลตำบลแม่สะเรียงที่ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ส่วนราชการอื่นๆ และคณะศรัทธาจากวัดต่างๆ เข้าร่วม
ปีนี้ พิธีสรงน้ำพระเริ่มราว 15:30 น. ขบวนแห่วนไปตามเส้นทางในเวียงปัจจุบัน เริ่มจากที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียงบนถนนเวียงใหม่ หันหน้าไปทางแม่น้ำยวม จากนั้นเลี้ยวขวาขึ้นทิศเหนือไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเลี้ยวซ้ายเพื่อเข้าถนนแหล่งพาณิชย์ ซึ่งผ่านทั้งริเวอร์เฮ้าส์โฮเท็ล (บ้านไม้) ริเวอร์เฮ้าส์รีสอร์ท และร้านอาหารบ้านไม้แดงของเราทั้งหมด ขบวนเคลื่อนต่อไปยังวัดสุพรรณรังสี (วัดจองคำ) และไปสิ้นสุดที่หน้าสถานีตำรวจภูธรแม่สะเรียง ใช้เวลาแห่ราว 3 ชั่วโมง งานนี้สะท้อนชัดว่าชาวแม่สะเรียงยังยึดมั่นในพุทธศาสนาและชื่นชอบกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ยังรักษาความเป็นพหุวัฒนธรรมของตนไว้ได้ดี จากการที่ขบวนแห่กำหนดเดินผ่านชุมชนมุสลิม ซึ่งถึงแม้ชาวมุสลิมจะไม่มีส่วนร่วม แต่ก็ร่วมชมขบวนด้วยความยินดี
แก้ไขข้อความเมื่อ
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
13เมษา2560 "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" พร้อมด้วย "น้องไปป์" ลูกชาย สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ และเล่นน้ำสงกรานต์
copyมากไม่ได้ครับ เคยเจอลบและเตือนไปแล้ว กลัวมาก แหะๆๆๆ “ปู” ควงลูกชายร่วมสรงน้ำขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ ปชช.แห่รดน้ำดำหัวอวยพร (คลิป) วันที่ 13 เมษายน 2560 - 17:16 น https://www.khaosod.co.
สมาชิกหมายเลข 3776759
7 วัด ไหว้พระขอพรใกล้กรุง
1. วัดจุฬามณี ขอพร “ท้าวเวสสุวรรณ” วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ตำนานความศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองแม่กลอง วัดจุฬามณี เดิมมีชื่อว่า “วัดแม่เจ้าทิ
Kaewapi
เสริมพลัง Soft Power ด้วยเสน่ห์แห่งสีสัน เทศกาลแห่งศรัทธา ส่งเสริม Winter Festivals ในประเพณีแห่ดาวคริสต์มาส สกลนคร
กระทรวงวัฒนธรรม เสริมพลัง Soft Power ด้วยเสน่ห์แห่งสีสัน เทศกาลแห่งศรัทธา ส่งเสริม Winter Festivals ในประเพณีแห่ดาวคริสต์มาส จังหวัดสกลนคร ประจำปี ค.ศ. 2024 นางสาวสุดาว
อาคุงกล่อง
การจัดเรียงเครื่องรางบนสร้อยคอ
เราจะจัดเรียงสร้อยพระ สมเด็จวัดระฆัง กรมหลวงชุมพร ท้าวเวสสุวรรณ ควรเรียงที่สร้อยยังไง
สมาชิกหมายเลข 4956174
ชมโบราณสถาน วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ขอพรท้าวเวสสุวรรณ อายุ 200 ปี และพระพุทธรูปอายุกว่า 700 ปี
วันนี้ก็จะเพื่อนๆมาชมโบราณสถานและกราบไว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดละมุดนะครับ ซึ่งตั้งอยู่ที่ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม นะครับ เดียวเราไปเดินเที่ยวภายในวัดกันครับ ตอนนี้เราก็อยู่ภายในวัดละมุดแล้วนะครั
บ่าวบ้านจังเอิน พาเที่ยว
กระทรวงวัฒนธรรม วธ. ปักหมุด เทศกาลนวราตรี 1 ปีมีครั้งเดียว ร่วมสืบสานเทศกาลแห่งการฉลองบูชาพระแม่อุมาเทวี ครั้งยิ่งใหญ่
กระทรวงวัฒนธรรม ปักหมุด เทศกาลนวราตรี 1 ปีมีครั้งเดียว ร่วมสืบสานเทศกาลแห่งการฉลองบูชาพระแม่อุมาเทวี ครั้งยิ่งใหญ่ เสริมสร้าง Soft Power ในมิติศาสนา วันที่ 9
อาคุงกล่อง
สาวเหนือเซาะกิ๋น*U*ภาพบรรยากาศขบวนแห่พระพุทธรูปเชียงใหม่ วันสังขานล่อง พร้อมภาพหนุ่มสาวชุดล้านนา 13/4/2558
สาวเหนือเซาะกิ๋นทำภาพงานวันสังขานล่อง หรือวันสิ้นปีเก่าของชาวล้านนา เสร็จแล้วเจ้า ตะวา(13/4/2558)ยืนถ่ายรูปจนเมื่อย เพิ่งคัดภาพเสร็จวันนี้เอง จึงนำมาหื้อชมกั๋น ในประเพณีล้านนา วันที่ 13 เมษายนของทุกป
สาวเหนือเซาะกิ๋น
ตารางเวลารถเมล์ สัมพันธ์กับตารางเวลารถไฟ ทั้ง 2 ระบบ
ไปเห็นตารางเวลารถเมล์ที่รถเมล์เวียงจันทน์ปรับใหม่ เลยนำมาเชื่อมโยงให้ครับ รถเมล์จากด่านสะพานมิตรภาพ 1 ไปสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ (รถไฟลาว-จีน น่ะแหละ) มาดูตารางเวลารถไฟลาว-จีน ที่ผมทำไว้บน Exce
ไปซะ ก่อนจะไปไม่ไหว
ขอเรียนถามทุกท่าน ที่เป็นพุทธแท้พุทธเทียมพุทธตามทะเบียนพุธพฤหัสสุขเสา
ตามอาคารโรงแรมบ้านเรือนตึกสูงใหญ่ ที่เจ้าของเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา ตามสถานที่ราชการ กรมกองกระทรวงต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ ทำไม เค้าไหนก็ไม่รู้ ไม่ตั้งองค์พระพุทธรูปเล็กใหญ่ตามสถานที่ ตั้งองค์เดียวพอจบ
สมาชิกหมายเลข 7552962
คลื่นมหาชนแห่ 'หลวงพ่อพระใส' พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ในงานสงกรานต์ที่หนองคาย
ชาวหนองคาย พร้อมนักท่องเที่ยว ร่วมกันแห่หลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ลงจากพระอุโบสถ แห่รอบเมืองในเทศกาลสงกรานต์ บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก https://www.youtube.com/watch?v=jw
สมาชิกหมายเลข 2972496
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
พระพุทธรูป
ศาสนาพุทธ
อำเภอแม่สะเรียง
วันสงกรานต์
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ :
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
ชาวแม่สะเรียงสรงน้ำ 'พระเพชร' ต้อนรับสงกรานต์
วันที่ 13 เมษายนของทุกปี ชาวแม่สะเรียงจะออกมารวมตัวกันในเวียง (ในเมือง) เพื่อร่วมสรงน้ำพระเพชรในวันสงกรานต์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลายคนคงสงสัยว่าทำไมต้องพระเพชรและทำไมต้องทำวันสงกรานต์
อาจารย์อินทร นันทสมบูรณ์ รองนายกเทศมนตรีตำบลแม่สะเรียง ซึ่งเป็นชาวแม่สะเรียงโดยกำเนิด เล่าให้ฟังว่า เพราะพระเพชรเป็นพระพุทธรูปองค์แรกของเมืองยวมใต้หรือเมือง “แม่สะเรียง” ในปัจจุบัน เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดลุ่ม หรือต่อมาเรียก วัดแสนทอง ซึ่งวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ในเวียงเดิม
ย้อนไปช่วงพ.ศ.1945-1984 รัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เจ้าผู้ครองนครพิงค์แห่งราชวงศ์มังรายพระองค์ทรงปลดพระราชบุตรพระนามว่า “ท้าวลก” จากตำแหน่งเจ้าเมืองพร้าว (อ.พร้าว จ.เชียงใหม่) แล้วเนรเทศให้มาปกครองเมืองยวมใต้ที่เป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรล้านนา ครานั้นเรื่องเล่าบอกต่อกันมาว่าพญาสามฝั่งแกนทรงมอบพระพุทธสิหิงค์ ปางมารวิชัย ให้ท้าวลกนำติดตัวมาด้วย นั่นก็คือพระเพชร (ท้าวลกต่อมา คือ พระเจ้าติโลกราช ผู้ปกครองล้านนาที่ยิ่งใหญ่ รัชสมัยของพระองค์เป็นยุคทอง แต่หารู้ไม่ว่าก่อนขึ้นครองราชย์ ท้าวลกก่อรัฐประหารโค่นล้มพระราชบิดาของตัวเอง)
กลับมาที่พระเพชร พระพุทธรูปองค์นี้ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ มีน้ำหนักมาก หน้าตักประมาณ 13.5 นิ้ว และสูงราว 16 นิ้ว ชาวเมืองยวมใต้เรียก “พระเพชร” เพราะท่านเคยมีเพชรแท้ 3 เม็ด ประดับอยู่ที่พระนลาฎ (หน้าผาก) 1 เม็ด และที่พระอังสา (บ่า ไหล่) อีกข้างละ 1 เม็ด ต่อคำถามที่ว่าแล้วเพชรของพระเพชรไปไหน อ.อินทรบอกว่ามีเรื่องเล่าที่สันนิษฐานว่าตัวเพชรหายไปช่วงสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา (Pacific War) ซึ่งเป็นเขตสงครามหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง พื้นที่รบอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก คราวนั้นเป็นช่วงที่กองทัพญี่ปุ่นผ่านมาแถวแม่ฮ่องสอนเพื่อเดินทางต่อไปยังพม่า แต่เรื่องจริงเป็นอย่างไรนั้น ไม่อาจเป็นที่อาจรู้ได้
ประเพณีสรงน้ำพระเพชรในวันสงกรานต์ที่แม่สะเรียงเริ่มขึ้นปีพ.ศ.2541 รับอิทธิพลมาจากชาวเชียงใหม่ที่มีประเพณีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์เพื่อความเป็นสิริมงคล สุขาภิบาลแม่สะเรียงเป็นผู้ริเริ่มแห่พระเพชร ตอนแรกแห่เพียงขบวนเดียว แต่ภายหลังมีการประชาสัมพันธ์และได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากคนท้องถิ่น จึงยึดถือกันเรื่อยมา ปีที่แล้วมีรถแห่พระพุทธรูปที่มาร่วมขบวนกับพระเพชรถึงกว่า 20 ขบวน โต้โผใหญ่คือเทศบาลตำบลแม่สะเรียงที่ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ส่วนราชการอื่นๆ และคณะศรัทธาจากวัดต่างๆ เข้าร่วม
ปีนี้ พิธีสรงน้ำพระเริ่มราว 15:30 น. ขบวนแห่วนไปตามเส้นทางในเวียงปัจจุบัน เริ่มจากที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียงบนถนนเวียงใหม่ หันหน้าไปทางแม่น้ำยวม จากนั้นเลี้ยวขวาขึ้นทิศเหนือไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเลี้ยวซ้ายเพื่อเข้าถนนแหล่งพาณิชย์ ซึ่งผ่านทั้งริเวอร์เฮ้าส์โฮเท็ล (บ้านไม้) ริเวอร์เฮ้าส์รีสอร์ท และร้านอาหารบ้านไม้แดงของเราทั้งหมด ขบวนเคลื่อนต่อไปยังวัดสุพรรณรังสี (วัดจองคำ) และไปสิ้นสุดที่หน้าสถานีตำรวจภูธรแม่สะเรียง ใช้เวลาแห่ราว 3 ชั่วโมง งานนี้สะท้อนชัดว่าชาวแม่สะเรียงยังยึดมั่นในพุทธศาสนาและชื่นชอบกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ยังรักษาความเป็นพหุวัฒนธรรมของตนไว้ได้ดี จากการที่ขบวนแห่กำหนดเดินผ่านชุมชนมุสลิม ซึ่งถึงแม้ชาวมุสลิมจะไม่มีส่วนร่วม แต่ก็ร่วมชมขบวนด้วยความยินดี