ทำไมคำไทย (ยึดตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสภา) จึงมีคำยืมจากเขมรเยอะมากก ก ก แต่ไม่ค่อยมีการอธิบายที่มาที่ไป

ยกตัวอย่าง

เดิน เฎีร ដើរ
การ ការ
ทรมาน ធរមាន
กล កល
กง កង
ประกอบ ប្រកប
ประยุทธ์ ប្រយុទ្ទ
ประชาชน ប្រជាជន
สะอาด สอาด ស្អាត
เชิง ជើង
เพลง เภลง ភ្លេង
ดนตรี តន្ត្រិ
ผกา ផ្កា
ฉนำ ឆ្នាំ
ผลู ផ្លូវ
แข ខែ
ไถง ធ្ងៃ
ขยม ขญม ខ្ញុំ
เจริญ ច្រើន
ขวนขวาย ខ្វលខ្វាយ
มวย មួយ
บังเกิด បង្កើត

บางคำใช้แค่ในบทร้อยกรองโบราณ ไม่มีใช้แล้วในภาษาสมัยใหม่ การออกเสียงก็ออกแบบไทยๆ แต่ความหมายก็ยังเป๊ะอยู่ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสภาก็ยังถือว่าเป็นคำไทยด้วย???? บางคำก็ยังใช้ในภาษาสมัยใหม่แบบเราไม่รู้ตัว และมากจริงๆ

คำเหล่านี้และอีกหลายๆคำ เข้ามาในสารบบคำไทยตั้งแต่เมื่อไร? สมัยไหน?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่