วันนี้มีระเบิดที่สุไหงโกล๊ก รู้สึกยังไงไม่ถูกสงสารชาวบ้านแถวนั้นที่ต้องตกเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ เลยทำให้ลุกขึ้นมาเขียนเรื่องเบตงที่ค้างไว้ให้เสร็จดีกว่า ซึ่งพึ่งไปเมื่อเดือนกว่าที่ผ่านแต่ดองเอาไว้ด้วยความยุ่งและขี้เกียจ
เบตง เป็นอำเภอหนึ่งในยะละ 1 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีข่าวก่อความไม่สงบอยู่ประจำ ทำให้นักท่องเที่ยวมักไม่ค่อยกล้าเดินทางไปแถวนั้น จริงๆชาวบ้านทางนั้นน่าสงสารพอสมควร พอมีระเบิดคนไม่กล้าไปก็ขาดรายได้ไปส่วนหนึ่ง ก่อนไปก็นึกในใจว่าเป็นเมืองที่น่ากลัวมีแต่ความรุนแรง แต่พอไปถึงกลับไม่เป็นอย่างที่คิด มันเหมือนกับเป็นเมืองที่ถูกซ่อนในหุบเขา บรรยากาศบ้านเรือนยังคงสภาพเหมือนเมืองทีถูกหยุดเวลาไว้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว
เมืองเล็กแห่งนี้มีวงเวียนเดียวคือหอนาฬิกาใจกลางเมือง ซึ่งเป็นแหล่งที่ครึกครื้นที่สุด ตอนกลางคืนเปิดแสงสีนิดหน่อยได้บรรยากาศ ชาวบ้านใช้ชีวิตกันอยู่อย่างเรียบง่าย รถไม่ได้มีคับคั่งมาก ในรูปคือถนนที่ดูจะครึกครื้นที่สุดในเมือง
บรรยากาศแอบมีความสงบแบบช้าๆ อยู่ท่ามกลางหุบเขา จึงมีความเป็นเนินเขาขึ้นๆลงๆอยู่ เวลาอยู่ที่สูงของเมืองมองไกลๆ สามารถมองได้เห็นเกือบทั้งเมือง
พอย่ำค่ำเริ่มมืดไม่รู้นกมาจากไหนเป็นหมื่นตัว บินว่อนเต็มท้องฟ้า บ้างก็เกาะตามเสาและสายไฟฟ้า
ถนนแต่ละเส้นก็มีความเป็นเอกลักษณ์ อย่างเส้นนี้ก็เป็นเส้นที่กิ๊บเก๋เส้นหนึ่งของเมือง บ้านเรือนมีจั่วสามเหลี่ยม ทาสีสลับกันไปมา
เหตุจากการก่อความไม่สงบ
ทำให้นักท่องเที่ยวไม่กล้ามาเที่ยว เบตงจึงขายรายได้ไป จึงเกิดโครงการ
Betong Street Art มีเพื่อเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยว อารมณ์คล้ายๆที่ภาพวาดปีนัง โดยภาพวาดทั้งหมดจะสะท้อนถึงวิธีชาวบ้านในย่านนี้ มีอยู่ 11 จุด ทั้งบนผนัง กำแพง ใต้สะพาน และตัวอาคารหลายจุดรอบเมืองเบตง วาดโดยทีมนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรซึ่งนำทีมโดยอาจารย์อํามฤทธิ์ ชูสุวรรณ คณะบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เนื่องจากเมืองเล็กมาก ในเมืองมีร้านขนมชื่อดังไม่กี่ร้าน อย่างร้าน"บั่นฮวด" ก็เป็นร้านนึงที่ใครๆก็พูดถึงกัน ขายพวกขนมเปี๊ยะ เบเกอรี่ และขนมโบราณ
"มุ่ยเชียง" เป็นร้านขนมปังสังขยา อยู่ไม่ไกลจากหอนาฬิกาใจกลางเมือง ร้านเค้าขายขนมปังอย่างเดียว มาหลายสิบปีแล้ว ลองซื้อมาชิมก็อร่อยดีนะ ขนมปังมีความเอกลักษณ์เหมือนกัน
ตู้ไปรษณีย์ยักษ์ เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของเมืองนี้ ด้านบนมีรูไว้กระจายเสียงแจ้งข่าวสารให้ชาวบ้าน
โอเคเบตง - เมืองกลางหุบเขาในยะลา 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่คุณอาจจะหลงรัก
เบตง เป็นอำเภอหนึ่งในยะละ 1 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีข่าวก่อความไม่สงบอยู่ประจำ ทำให้นักท่องเที่ยวมักไม่ค่อยกล้าเดินทางไปแถวนั้น จริงๆชาวบ้านทางนั้นน่าสงสารพอสมควร พอมีระเบิดคนไม่กล้าไปก็ขาดรายได้ไปส่วนหนึ่ง ก่อนไปก็นึกในใจว่าเป็นเมืองที่น่ากลัวมีแต่ความรุนแรง แต่พอไปถึงกลับไม่เป็นอย่างที่คิด มันเหมือนกับเป็นเมืองที่ถูกซ่อนในหุบเขา บรรยากาศบ้านเรือนยังคงสภาพเหมือนเมืองทีถูกหยุดเวลาไว้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว
เมืองเล็กแห่งนี้มีวงเวียนเดียวคือหอนาฬิกาใจกลางเมือง ซึ่งเป็นแหล่งที่ครึกครื้นที่สุด ตอนกลางคืนเปิดแสงสีนิดหน่อยได้บรรยากาศ ชาวบ้านใช้ชีวิตกันอยู่อย่างเรียบง่าย รถไม่ได้มีคับคั่งมาก ในรูปคือถนนที่ดูจะครึกครื้นที่สุดในเมือง
บรรยากาศแอบมีความสงบแบบช้าๆ อยู่ท่ามกลางหุบเขา จึงมีความเป็นเนินเขาขึ้นๆลงๆอยู่ เวลาอยู่ที่สูงของเมืองมองไกลๆ สามารถมองได้เห็นเกือบทั้งเมือง
พอย่ำค่ำเริ่มมืดไม่รู้นกมาจากไหนเป็นหมื่นตัว บินว่อนเต็มท้องฟ้า บ้างก็เกาะตามเสาและสายไฟฟ้า
ถนนแต่ละเส้นก็มีความเป็นเอกลักษณ์ อย่างเส้นนี้ก็เป็นเส้นที่กิ๊บเก๋เส้นหนึ่งของเมือง บ้านเรือนมีจั่วสามเหลี่ยม ทาสีสลับกันไปมา
เหตุจากการก่อความไม่สงบ
ทำให้นักท่องเที่ยวไม่กล้ามาเที่ยว เบตงจึงขายรายได้ไป จึงเกิดโครงการ Betong Street Art มีเพื่อเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยว อารมณ์คล้ายๆที่ภาพวาดปีนัง โดยภาพวาดทั้งหมดจะสะท้อนถึงวิธีชาวบ้านในย่านนี้ มีอยู่ 11 จุด ทั้งบนผนัง กำแพง ใต้สะพาน และตัวอาคารหลายจุดรอบเมืองเบตง วาดโดยทีมนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรซึ่งนำทีมโดยอาจารย์อํามฤทธิ์ ชูสุวรรณ คณะบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เนื่องจากเมืองเล็กมาก ในเมืองมีร้านขนมชื่อดังไม่กี่ร้าน อย่างร้าน"บั่นฮวด" ก็เป็นร้านนึงที่ใครๆก็พูดถึงกัน ขายพวกขนมเปี๊ยะ เบเกอรี่ และขนมโบราณ
"มุ่ยเชียง" เป็นร้านขนมปังสังขยา อยู่ไม่ไกลจากหอนาฬิกาใจกลางเมือง ร้านเค้าขายขนมปังอย่างเดียว มาหลายสิบปีแล้ว ลองซื้อมาชิมก็อร่อยดีนะ ขนมปังมีความเอกลักษณ์เหมือนกัน
ตู้ไปรษณีย์ยักษ์ เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของเมืองนี้ ด้านบนมีรูไว้กระจายเสียงแจ้งข่าวสารให้ชาวบ้าน