คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
มาตรา 4 ให้พระราชบัญญัตินี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
“เครื่องสำอาง” หมายความว่า
(1) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏ หรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ นั้น ให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทิ่นต่าง ๆ สําหรับผิวด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย
(2) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางโดยเฉพาะ หรือ
(3) วัตถุอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสำอาง
“ภาชนะบรรจุ” หมายความว่า วัตถุใด ๆ ที่ใช้บรรจุหรือหุ้มห่อเครื่องสำอางโดยเฉพาะ
“ข้อความ” หมายความรวมถึง การกระทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใด ๆ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้
“โฆษณา” หมายความว่า การกระทำไม่ว่าโดยวิธีการใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า
“สื่อโฆษณา” หมายความว่า สิ่งที่ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา เช่น หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือป้าย
“ฉลาก” หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ เกี่ยวกับเครื่องสำอางซึ่งแสดงไว้ที่เครื่องสำอาง ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับเครื่องสำอาง ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อและให้ความหมายรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบกับเครื่องสำอาง
“ผลิต” หมายความว่า ทำ ผสม เปลี่ยนรูป แปรสภาพ ปรุงแต่ง แบ่งบรรจุ หรือเปลี่ยนภาชนะบรรจุ
เห็นคำว่า แบ่งบรรจุ ไหมครับ
การแบ่งบรรจุ คือการผลิต ครับ
และคนที่จะเป็นผู้ผลิตได้ ต้องจดทะเบียนผู้ผลิต กับ อย.ด้วยครับ
เพราะกฎหมายห้ามผลิตเพื่อขาย ยกเว้น ผู้ผลิตที่ได้ขึ้นทะเบียน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย รับจ้างผลิตหรือขายเครื่องสำอาง ดังต่อไปนี้
(1) เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้
(2) เครื่องสำอางปลอม
(3) เครื่องสำอางผิดมาตรฐาน
(4) เครื่องสำอางที่รัฐมนตรีประกาศห้ามตามมาตรา 6 (1)
(5) เครื่องสำอางที่ถูกสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งตามมาตรา 36 หรือมาตรา 37
มาตรา 38 เครื่องสำอางที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้
(1) เครื่องสำอางที่ผลิตหรือใช้ภาชนะบรรจุไม่ถูกสุขลักษณะอันอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้
(2) เครื่องสำอางที่มีสารอันสลายตัวได้รวมอยู่ด้วยและอาจทำให้เกิดเป็นพิษอันเป็นอันตรายต่อผู้ใช้
(3) เครื่องสำอางที่มีสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เจือปนอยู่ด้วย
(4) เครื่องสำอางที่มีวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางตามมาตรา 6 (2)
มาตรา 29 เครื่องสำอางที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเครื่องสำอางปลอม
(1) เครื่องสำอางที่ใช้ฉลากแจ้งชื่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือแหล่งผลิตที่มิใช่ความจริง
(2) เครื่องสำอางซึ่งมีสารสำคัญขาดหรือเกินกว่าร้อยละยี่สิบตามที่จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้งหรือตามที่ระบุไว้ในฉลาก
(3) เครื่องสำอางที่ใช้วัตถุอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำเทียมขึ้นเป็นสารสำคัญของเครื่องสำอางนั้น หรือเป็นเครื่องสำอางที่ไม่มีสารสำคัญตามที่ได้จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้งหรือไม่มีสารสำคัญตามที่ระบุไว้ในฉลาก
(4) เครื่องสำอางที่แสดงว่าเป็นเครื่องสำอางที่ได้จดแจ้งไว้ซึ่งมิใช่ความจริง
มาตรา 30 เครื่องสำอางซึ่งมีสารสำคัญขาดหรือเกินกว่าที่ได้จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้งหรือที่ระบุไว้ในฉลากเกินเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ถึงขนาดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 29 (2) ให้ถือว่าเป็นเครื่องสำอางผิดมาตรฐาน
มาตรา 31 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้จดแจ้งฝ่าฝืนมาตรา 26 หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 6 (5) (6) (7) หรือ (8) ให้ผู้รับจดแจ้งมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือแก้ไขปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องได้ และมีอำนาจประกาศการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามดังกล่าวให้ประชาชนทราบ เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองผู้บริโภคได้ตามควรแก่กรณี
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องสำอางดังต่อไปนี้
(1) เครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้งตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง
(2) เครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากตามมาตรา 22 วรรคหนึ่ง
(3) เครื่องสำอางที่มีฉลากซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสอง (1)
(4) เครื่องสำอางที่มีฉลากซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสอง (2) หรือ (3)
(5) เครื่องสำอางที่มีฉลากซึ่งเลขาธิการสั่งเลิกใช้ตามมาตรา 23
(6) เครื่องสำอางที่หมดอายุการใช้ตามที่แสดงไว้ในฉลาก
การที่คนรับจดบอก ใส่ชื่อเราเป็นผู้ผลิตได้ นั่น ทำไม่ได้นะครับถ้าคุณไม่ไปจด ผู้ผลิตก่อน
ไปจดแล้วจะได้เลขผู้ผลิตมาครับ ใช้เลขนั้นไปจด จค. ต่ออีกที
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
มาตรา 4 ให้พระราชบัญญัตินี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
“เครื่องสำอาง” หมายความว่า
(1) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏ หรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ นั้น ให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทิ่นต่าง ๆ สําหรับผิวด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย
(2) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางโดยเฉพาะ หรือ
(3) วัตถุอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสำอาง
“ภาชนะบรรจุ” หมายความว่า วัตถุใด ๆ ที่ใช้บรรจุหรือหุ้มห่อเครื่องสำอางโดยเฉพาะ
“ข้อความ” หมายความรวมถึง การกระทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใด ๆ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้
“โฆษณา” หมายความว่า การกระทำไม่ว่าโดยวิธีการใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า
“สื่อโฆษณา” หมายความว่า สิ่งที่ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา เช่น หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือป้าย
“ฉลาก” หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ เกี่ยวกับเครื่องสำอางซึ่งแสดงไว้ที่เครื่องสำอาง ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับเครื่องสำอาง ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อและให้ความหมายรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบกับเครื่องสำอาง
“ผลิต” หมายความว่า ทำ ผสม เปลี่ยนรูป แปรสภาพ ปรุงแต่ง แบ่งบรรจุ หรือเปลี่ยนภาชนะบรรจุ
เห็นคำว่า แบ่งบรรจุ ไหมครับ
การแบ่งบรรจุ คือการผลิต ครับ
และคนที่จะเป็นผู้ผลิตได้ ต้องจดทะเบียนผู้ผลิต กับ อย.ด้วยครับ
เพราะกฎหมายห้ามผลิตเพื่อขาย ยกเว้น ผู้ผลิตที่ได้ขึ้นทะเบียน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย รับจ้างผลิตหรือขายเครื่องสำอาง ดังต่อไปนี้
(1) เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้
(2) เครื่องสำอางปลอม
(3) เครื่องสำอางผิดมาตรฐาน
(4) เครื่องสำอางที่รัฐมนตรีประกาศห้ามตามมาตรา 6 (1)
(5) เครื่องสำอางที่ถูกสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งตามมาตรา 36 หรือมาตรา 37
มาตรา 38 เครื่องสำอางที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้
(1) เครื่องสำอางที่ผลิตหรือใช้ภาชนะบรรจุไม่ถูกสุขลักษณะอันอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้
(2) เครื่องสำอางที่มีสารอันสลายตัวได้รวมอยู่ด้วยและอาจทำให้เกิดเป็นพิษอันเป็นอันตรายต่อผู้ใช้
(3) เครื่องสำอางที่มีสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เจือปนอยู่ด้วย
(4) เครื่องสำอางที่มีวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางตามมาตรา 6 (2)
มาตรา 29 เครื่องสำอางที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเครื่องสำอางปลอม
(1) เครื่องสำอางที่ใช้ฉลากแจ้งชื่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือแหล่งผลิตที่มิใช่ความจริง
(2) เครื่องสำอางซึ่งมีสารสำคัญขาดหรือเกินกว่าร้อยละยี่สิบตามที่จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้งหรือตามที่ระบุไว้ในฉลาก
(3) เครื่องสำอางที่ใช้วัตถุอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำเทียมขึ้นเป็นสารสำคัญของเครื่องสำอางนั้น หรือเป็นเครื่องสำอางที่ไม่มีสารสำคัญตามที่ได้จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้งหรือไม่มีสารสำคัญตามที่ระบุไว้ในฉลาก
(4) เครื่องสำอางที่แสดงว่าเป็นเครื่องสำอางที่ได้จดแจ้งไว้ซึ่งมิใช่ความจริง
มาตรา 30 เครื่องสำอางซึ่งมีสารสำคัญขาดหรือเกินกว่าที่ได้จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้งหรือที่ระบุไว้ในฉลากเกินเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ถึงขนาดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 29 (2) ให้ถือว่าเป็นเครื่องสำอางผิดมาตรฐาน
มาตรา 31 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้จดแจ้งฝ่าฝืนมาตรา 26 หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 6 (5) (6) (7) หรือ (8) ให้ผู้รับจดแจ้งมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือแก้ไขปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องได้ และมีอำนาจประกาศการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามดังกล่าวให้ประชาชนทราบ เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองผู้บริโภคได้ตามควรแก่กรณี
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องสำอางดังต่อไปนี้
(1) เครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้งตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง
(2) เครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากตามมาตรา 22 วรรคหนึ่ง
(3) เครื่องสำอางที่มีฉลากซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสอง (1)
(4) เครื่องสำอางที่มีฉลากซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสอง (2) หรือ (3)
(5) เครื่องสำอางที่มีฉลากซึ่งเลขาธิการสั่งเลิกใช้ตามมาตรา 23
(6) เครื่องสำอางที่หมดอายุการใช้ตามที่แสดงไว้ในฉลาก
การที่คนรับจดบอก ใส่ชื่อเราเป็นผู้ผลิตได้ นั่น ทำไม่ได้นะครับถ้าคุณไม่ไปจด ผู้ผลิตก่อน
ไปจดแล้วจะได้เลขผู้ผลิตมาครับ ใช้เลขนั้นไปจด จค. ต่ออีกที
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
ถ้านำเข้าสินค้ามา แล้วนำมาแบ่งบรรจุเอง บนฉลากข้างกล่องถือว่าเราเป็นผู้ผลิตได้ไหมครับ
คือผมนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาเป็นล็อตใหญ่ๆ แล้วมาแบ่งบรรจุในนามของแบรนด์ตัวเอง
ฉลากข้างกล่อง ผมสามารถพิมพ์ว่า ผู้ผลิตคือเราเองได้ไหมครับ เหมือนว่าแค่รับวัตถุดิบเข้ามาประมาณนี้ครับ
พอดีเห็นข้อความนี้จากเพจรับจด อย. เพจนึงครับ
"กรณีที่คุณลูกค้าซื้อสินค้าเพื่อแบ่งบรรจุเอง โดยจดแจ้งเป็นผู้แบ่งบรรจุ ท่านสามารถระบุที่ข้างฉลากเป็นผู้ผลิตได้"
หรือถ้าใครมีแหล่งข้อมูลจริง เกี่ยวกับกฎหมายเรื่อง อย. หรือฉลาก รบกวนมาบอกกันหน่อยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ