อนาคตคนกรุง อัพเดทการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑล

1.ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท (สำโรง - สมุทรปราการ)

แนวเส้นทาง

สถานีสำโรง

เป็นส่วนต่อขยายทางใต้ของรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท โดยต่อจากสถานีแบริ่ง วิ่งตามแนวถนนสุขุมวิท เข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการที่สถานีสำโรง จนสุดสายที่สถานีเคหะสมุทรปราการ
   เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม., MRTA)
   ผู้ดำเนินงาน บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTS)
   ระยะทาง 13 กิโลเมตร
   จำนวนสถานี 9 สถานี
   ขบวนรถไฟฟ้า
       รูปแบบรถไฟฟ้า รถไฟฟ้ารางหนัก
       ขบวนรถเดิม ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-A) จำนวน 35 ขบวน ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน (EMU-B) จำนวน 17 ขบวน
       ขบวนรถใหม่ ซีเมนส์ อินสไปโร จำนวน 22 ขบวน ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน มาตราฐานปัจจุบัน (EMU-B) จำนวน 24 ขบวน
       (ขบวนรถทั้งหมดใช้ร่วมกันในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส)
   การเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น
       สถานีสำโรงเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองสถานีสำโรง
   ความก้าวหน้าของโครงการ 100%
   เปิดให้บริการ เฉพาะสถานีสำโรง 2560 ทั้งโครงการ ธันวาคม 2561

2.ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท (หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต)

แนวเส้นทาง

ภาพจำลองสถานีห้าแยกลาดพร้าว
โครงสร้างรถไฟฟ้ายกสูงเพื่อข้ามดอนเมืองโทลเวย์

เป็นส่วนต่อขยายทางเหนือของรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท โดยต่อจากหมอชิต ยกระดับข้ามดอนเมืองโทลเวย์ที่ห้าแยกลาดพร้าว วิ่งไปตามแนวถนนพหลโยธิน จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนที่ได้ทำการตัดขึ้นมาใหม่ใกล้กับกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เข้าสู่แนวถนนลำลูกกา และสิ้นสุดที่สถานีคูคต
   เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม., MRTA)
   ผู้ดำเนินงาน บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTS)
   ระยะทาง 19 กิโลเมตร
   จำนวนสถานี 16 สถานี
   ขบวนรถไฟฟ้า
       รูปแบบรถไฟฟ้า รถไฟฟ้ารางหนัก
       ขบวนรถเดิม ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-A) จำนวน 35 ขบวน ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน (EMU-B) จำนวน 17 ขบวน
       ขบวนรถใหม่ ซีเมนส์ อินสไปโร จำนวน 22 ขบวน ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน มาตราฐานปัจจุบัน (EMU-B) จำนวน 24 ขบวน
       (ขบวนรถทั้งหมดใช้ร่วมกันในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส)
   การเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น
       สถานีห้าแยกลาดพร้าวเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีพหลโยธิน
       สถานีพหลโยธิน 24เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีพหลโยธิน 24
       สถานีวัดพระศรีมหาธาตุเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
   ความก้าวหน้าของโครงการ 58%
   เปิดให้บริการ เฉพาะสถานีห้าแยกลาดพร้าว มีนาคม 2562 ทั้งโครงการ กรกฎาคม 2563

3.ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ - ท่าพระ)

แนวเส้นทาง(กรอบตัวหนังสือสีดำ)

สถานีท่าพระจุดตัดช่วง บางซื่อ - ท่าพระ และ หัวลำโพง - หลักสูง

เป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เป็นใต้ดิน โดยเริ่มเป็นทางยกระดับที่สถานีบางซื่อ เข้าสู่ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ท่าน้ำบางโพ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ ผ่านแยกบางพลัด, คลองบางยี่ขัน, แยกบรมราชชนนี, คลองบางกอกน้อย, แยกบางขุนนนท์ ตลาดบางขุนศรี แยกไฟฉาย, คลองมอญ, วัดท่าพระ และไปสิ้นสุดเโดยบรรจบกับส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่แยกท่าพระ
   เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม., MRTA)
   ผู้ดำเนินงาน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM)
   ระยะทาง 13 กิโลเมตร
   จำนวนสถานี 11 สถานี
   ขบวนรถไฟฟ้า
       รูปแบบรถไฟฟ้า รถไฟฟ้ารางหนัก
       ขบวนรถเดิม ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร จำนวน 19 ขบวน
       ขบวนรถใหม่ ซีเมนส์ อินสไปโร จำนวน 35 ขบวน
       (ขบวนรถทั้งหมดใช้ร่วมกันในระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน)
   การเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น
       สถานีบางซื่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มและเชื่อมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่สถานีรถไฟกลางบางซื่อ
       สถานีเตาปูนเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่สถานีเตาปูน
       สถานีบางขุนนท์เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันตก)ที่สถานีบางขุนนนท์
   ความก้าวหน้าของโครงการ 97%
   เปิดให้บริการ เฉพาะสถานีบางซื่อ - เตาปูน สิงหาคม 2560 ทั้งโครงการ มีนาคม 2563

4.ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง - บางแค)

แนวเส้นทาง(กรอบตัวหนังสือสีเทา)
สถานีสนามไชย

เป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เป็นใต้ดิน เริ่มต้นจากอุโมงค์ใต้ดินปลายเส้นทางที่สถานีหัวลำโพง ไปตามถนนพระรามที่ 4 ผ่านแยกหัวลำโพงเข้าสู่ถนนเจริญกรุง เลี้ยวซ้ายที่วงเวียน รด. เข้าสู่ถนนสนามไชย ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด ลอดใต้คลองบางกอกใหญ่ และถนนอิสรภาพ  แล้วยกระดับเข้าสู่แยกท่าพระ ไปบรรจบกับส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จากนั้นยกระดับไปตามถนนเพชรเกษม และไปสิ้นสุดเส้นทางที่ทางแยกต่างระดับบางแค
   เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม., MRTA)
   ผู้ดำเนินงาน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM)
   ระยะทาง 13.8 กิโลเมตร
   จำนวนสถานี 12 สถานี (สถานีใต้ดิน 5 สถานี สถานียกระดับ 7 สถานี)
   ขบวนรถไฟฟ้า
       รูปแบบรถไฟฟ้า รถไฟฟ้ารางหนัก
       ขบวนรถเดิม ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร จำนวน 19 ขบวน
       ขบวนรถใหม่ ซีเมนส์ อินสไปโร จำนวน 35 ขบวน
       (ขบวนรถทั้งหมดใช้ร่วมกันในระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน)
   การเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น
       สถานีหัวลำโพงเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มที่สถานีหัวลำโพง
       สถานีสามยอดเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายม่วง(ใต้)ที่สถานีสามยอด
       สถานีบางหว้าเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีลมที่สถานีบางหว้า
   ความก้าวหน้าของโครงการ 97%
   เปิดให้บริการ กันยายน 2562

5.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ - รังสิต)
แนวเส้นทาง

ภาพจำลองสถานีกลางบางซื่อทั้งตัวอาคาร
ภาพจำลองชานชลาชั้นบนสุดของสถานีกลางบางซื่อ
การก่อส้รางสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางการคมนาคมทางรางของไทยและอาเซียน

เป็นเส้นทางหลักในแนวเหนือ-ใต้ ตามแนวทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศเหนือ (พื้นที่ดอนเมือง รังสิต) เข้าสู่ใจกลางเมือง โดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดิน ทางไปสู่ภูมิภาคต่างๆ โครงข่ายสนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอก เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง รองรับประชาชนบริเวณรังสิต ปทุมธานี  รวมถึงในโครงการนี้ จะทำการก่อสร้างสถานีกลางแห่งใหม่แทนสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางระบบรางแห่งภูมิภาคอาเซียน
   เจ้าของโครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท., SRT)
   ผู้ดำเนินงาน บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท., SRTET)
   ระยะทาง 21.6 กิโลเมตร
   จำนวนสถานี 10 สถานี
   ขบวนรถไฟฟ้า
       รูปแบบรถไฟฟ้า รถรางไฟฟ้า (EMU)
       ขบวนรถ ฮิตาชิ (ยังไม่กำหนดชื่อรุ่น) จำนวน 25 ขบวน
       (ขบวนรถทั้งหมดใช้ร่วมกันในระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มและสายสีแดงอ่อน)
   การเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น
       สถานีกลางบางซื่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีบางซื่อ เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนที่สถานีบางซื่อ เชื่อมกับรถไฟฟ้าแอร์
       พอร์ตลิ้งค์(ส่วนต่อขยาย)ที่สถานีบางซื่อ
       สถานีบางเขนเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีบางเขน
       สถานีหลักสี่เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีหลักสี่
       สถานีดอนเมืองเชื่อมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์(ส่วนต่อขยาย)ที่สถานีดอนเมือง
   ความก้าวหน้าของโครงการ 60%
   เปิดให้บริการ ราวๆปลายปี2563 - ต้นปี2564
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่