คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ตัวช่วยสำคัญค่อนข้างมากในการบอกบริบทของประโยคนะคะ
ภาษาญี่ปุ่น การเรียงประโยคจะเป็น ประธาน (คำช่วย) กรรม (คำช่วย) กริยา หรือบางทีก้อสลับกันได้ในตำแหน่งของ ประธาน และ กรรม
ในกรณีที่ กรรม เป็นสิ่งของก็อาจจะเข้าใจได้ง่ายๆ ตัวอย่างเช่น ประโยค ที่ถูกต้องคือ
วาตาชิ (วะ) ชิมบุน (โอ๊ะ) โยมิมัส = ฉัน (คำช่วย) หนังสือพิมพ์ (คำช่วย) อ่าน
ก็แปลได้ว่า ฉันอ่านหนังสือพิมพ์ ถ้าเราไม่พูดตัวช่วยเลย เหลือพูดแค่ว่า วาตาชิ ชิมบุน โยมิมัส ก็ยังพอเข้าใจได้ เหมือนการจับคีย์เวิด แล้วเข้าใจ แต่ไม่ได้ถูกต้องตามหลักภาษา
ในทางกลับกัน ถ้าเป็นประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น กลายเป็นประโยคที่กรรมเป็นบุคคลขึ้นมา ถ้าไม่ใช้ตัวช่วยก็งงกันเลยทีเดียว
ตัวอย่างเช่น วาตาชิ (วะ) อานาตะ (นิ) ฮานะ (โอ๊ะ) อาเกมัส = ฉัน (คำช่วย) คุณ (แด่) ดอกไม้ (คำช่วย) ให้
ก็แปลได้ว่า ฉันให้ดอกไม้แด่คุณ
กรณีนี้ ถ้าสลับตำแหน่งเป็น อานาตะ (นิ) วาตาชิ (วะ) ฮานะ (โอ๊ะ) อาเกมัส = คุณ (แก่) ฉัน (คำช่วย) ดอกไม้ (คำช่วย) ให้
ก็ยังสามารถแปลได้ว่า ฉันให้ดอกไม้แก่คุณ
อ้าว แล้วถ้าประโยคเดียวกันทั้งหมด แต่ สลับแค่คำช่วยล่ะ
วาตาชิ (นิ) อานาตะ (ก๊ะ) ฮานะ (โอ๊ะ) อาเกมัส => ความหมายจะกลายเป็น คุณให้ดอกไม้แก่ฉัน ทันทีเลย
แต่ประโยคเดียวกัน ถ้าไม่ใส่คำช่วย วาตาชิ อานาตะ ฮานะ (โอ๊ะ) อาเกมัส = คุณ ฉัน ดอกไม้ (คำช่วย) ให้
คราวนี้ ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า ใครเป็นคนให้ หรือใครเป้นคนรับแล้ว
ในเรื่องของคำช่วย ต้องติดอยู่กับประธานหรือกรรมไปด้วยกัน ถึงแม้จะสลับตำแหน่งก็ยังสามารถให้ความหมายตามเดิมได้ค่ะ
ยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องของการเปรียบเทียบ
= A = B
B (โยริ) A (ก๊ะ) อี้ => ความหมายคือ A ดีกว่า B อันนี้คือถูกต้อง
ซึ่งถ้าแปลประโยคตามตำแหน่งก็จะแปลได้ว่า ถ้าเทียบกับ B แล้ว A ดีกว่า
A (โยริ) B (ก๊ะ) อี้ => ความหมายคือ B ดีกว่า A อันนี้คือ ผิดแน่ๆ เพราะอกหักคงไม่ดีไปกว่าสมหวังแน่ๆ
แต่ถ้าเราสลับตำแหน่งโดยที่ตัวช่วยไปกับประธาน หรือกรรมไปด้วยกัน ความหมายก็ยังคงเดิมได้อยู่ เป็น
A (ก๊ะ) B (โยริ) อี้ => ความหมายก็ยังคงเป็น A ดีกว่า B
ซึ่งถ้าแปลประโยคตามตำแหน่งก็จะแปลได้ว่า A ดีกว่า B
ไม่ทราบว่า ตัวอย่างข้างบน พอจะเห็นภาพบ้างมั้ยคะ ><
ภาษาญี่ปุ่น การเรียงประโยคจะเป็น ประธาน (คำช่วย) กรรม (คำช่วย) กริยา หรือบางทีก้อสลับกันได้ในตำแหน่งของ ประธาน และ กรรม
ในกรณีที่ กรรม เป็นสิ่งของก็อาจจะเข้าใจได้ง่ายๆ ตัวอย่างเช่น ประโยค ที่ถูกต้องคือ
วาตาชิ (วะ) ชิมบุน (โอ๊ะ) โยมิมัส = ฉัน (คำช่วย) หนังสือพิมพ์ (คำช่วย) อ่าน
ก็แปลได้ว่า ฉันอ่านหนังสือพิมพ์ ถ้าเราไม่พูดตัวช่วยเลย เหลือพูดแค่ว่า วาตาชิ ชิมบุน โยมิมัส ก็ยังพอเข้าใจได้ เหมือนการจับคีย์เวิด แล้วเข้าใจ แต่ไม่ได้ถูกต้องตามหลักภาษา
ในทางกลับกัน ถ้าเป็นประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น กลายเป็นประโยคที่กรรมเป็นบุคคลขึ้นมา ถ้าไม่ใช้ตัวช่วยก็งงกันเลยทีเดียว
ตัวอย่างเช่น วาตาชิ (วะ) อานาตะ (นิ) ฮานะ (โอ๊ะ) อาเกมัส = ฉัน (คำช่วย) คุณ (แด่) ดอกไม้ (คำช่วย) ให้
ก็แปลได้ว่า ฉันให้ดอกไม้แด่คุณ
กรณีนี้ ถ้าสลับตำแหน่งเป็น อานาตะ (นิ) วาตาชิ (วะ) ฮานะ (โอ๊ะ) อาเกมัส = คุณ (แก่) ฉัน (คำช่วย) ดอกไม้ (คำช่วย) ให้
ก็ยังสามารถแปลได้ว่า ฉันให้ดอกไม้แก่คุณ
อ้าว แล้วถ้าประโยคเดียวกันทั้งหมด แต่ สลับแค่คำช่วยล่ะ
วาตาชิ (นิ) อานาตะ (ก๊ะ) ฮานะ (โอ๊ะ) อาเกมัส => ความหมายจะกลายเป็น คุณให้ดอกไม้แก่ฉัน ทันทีเลย
แต่ประโยคเดียวกัน ถ้าไม่ใส่คำช่วย วาตาชิ อานาตะ ฮานะ (โอ๊ะ) อาเกมัส = คุณ ฉัน ดอกไม้ (คำช่วย) ให้
คราวนี้ ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า ใครเป็นคนให้ หรือใครเป้นคนรับแล้ว
ในเรื่องของคำช่วย ต้องติดอยู่กับประธานหรือกรรมไปด้วยกัน ถึงแม้จะสลับตำแหน่งก็ยังสามารถให้ความหมายตามเดิมได้ค่ะ
ยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องของการเปรียบเทียบ
= A = B
B (โยริ) A (ก๊ะ) อี้ => ความหมายคือ A ดีกว่า B อันนี้คือถูกต้อง
ซึ่งถ้าแปลประโยคตามตำแหน่งก็จะแปลได้ว่า ถ้าเทียบกับ B แล้ว A ดีกว่า
A (โยริ) B (ก๊ะ) อี้ => ความหมายคือ B ดีกว่า A อันนี้คือ ผิดแน่ๆ เพราะอกหักคงไม่ดีไปกว่าสมหวังแน่ๆ
แต่ถ้าเราสลับตำแหน่งโดยที่ตัวช่วยไปกับประธาน หรือกรรมไปด้วยกัน ความหมายก็ยังคงเดิมได้อยู่ เป็น
A (ก๊ะ) B (โยริ) อี้ => ความหมายก็ยังคงเป็น A ดีกว่า B
ซึ่งถ้าแปลประโยคตามตำแหน่งก็จะแปลได้ว่า A ดีกว่า B
ไม่ทราบว่า ตัวอย่างข้างบน พอจะเห็นภาพบ้างมั้ยคะ ><
แสดงความคิดเห็น
สงสัยความสำคัญของคำช่วยในภาษาญี่ปุ่น