รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ “รางวัลซีไรต์” สำหรับปีนี้ดำเนินมาถึงปีที่ 40 แล้ว ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร? และในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป? ลองมาฟังการพูดคุยจากงานเสวนาในหัวข้อ “40 ปีซีไรต์ ก้าวต่อไปในวงวรรณกรรมอาเซียน” ที่จัดโดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย โดยเป็นงานเสวนางานแรกสุดบนเวทีเอเทรียมในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 เวลา 13.00 น.
บนเวทีเสวนามีผู้ร่วมเสวนาดังนี้ ศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธ์ นักวิชาการด้านวรรณกรรม , คุณจิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร นักวิจารณ์รางวัลม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ผู้เป็นกรรมการสมาคมภาษาและหนังสือฯ ดำเนินการเสวนาโดย รศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย โดยรายละเอียดของการเสวนามีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ดร.ตรีศิลป์ บอกว่าวันนี้เราจะเสวนากันเกี่ยวกับรางวัลซีไรต์ หรือชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน โดยรางวัลซีไรต์เดินมาถึงปีที่ 40 แล้ว เรามีนักเขียนที่ได้รับรางวัลซีไรต์แล้ว 40 คน และรางวัลซีไรต์เป็นรางวัลเดียวของประเทศไทยที่มอบให้แก่ประเทศต่างๆ ในอาเซียนครบทั้ง 10 ประเทศ
-ถามว่ารางวัลซีไรต์มีคุโณปการหรือมีความสำคัญต่อวงการวรรณกรรมไทยอย่างไร?
@@@@@@@@@@
อาจารย์รื่นฤทัย ตอบว่า ในภาพรวมรางวัลวรรณกรรมน่าจะมีคุโณปการต่อแวดวงวรรณกรรม ต่อวงการนักเขียน ต่อวงการหนังสือ โดยมีการให้รางวัลด้านวรรณกรรมต่อเนื่องกันมานานแล้ว สำหรับรางวัลซีไรต์มีบทบาทสำคัญและเป็นรางวัลทางวรรณกรรมอันดับหนึ่งของประเทศไทย มีการให้รางวัลต่อเนื่องยาวนานถึง 40 ปี
-สำหรับคุโณปการต่อวงการวรรณกรรมเองก็มีหลายประการ โดยประการแรกคือเป็นการส่งเสริมวรรณกรรมสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ มีแนวทางที่แสดงถึงความก้าวหน้าและพัฒนาการของเรื่อง ที่ผ่านมารางวัลซีไรต์ได้เป็นเหมือนกระจกเงาหรือภาพสะท้อนต่อพัฒนาการของวรรณกรรมร่วมสมัยของไทย
-ทำให้เกิดคำว่า “วรรณกรรมสร้างสรรค์” ขึ้นมาว่า คือมีความสร้างสรรค์ทั้งตัวเนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอด้วย
-ประการที่สองเป็นเรื่องของการส่งเสริมตัวนักเขียน จะเห็นว่านักเขียนผู้ได้รับรางวัลซีไรต์จะเป็นนักเขียนหน้าใหม่เป็นส่วนใหญ่ โดยนักเขียนหน้าใหม่เหล่านี้เป็นผู้สืบทอดตัวงานวรรณกรรมร่วมสมัย และพัฒนาการด้านวรรณกรรมต่อไปในอนาคต
-รางวัลซีไรต์ให้รางวัลกับตัวชิ้นงาน ไม่ได้ให้กับตัวบุคคล ไม่เหมือนรางวัลศิลปินแห่งชาติที่ให้รางวัลกับผลงานทั้งชีวิต ดังนั้นแต่ละคนจึงมีสิทธิ์ที่จะส่งผลงานเข้ามาได้เรื่อยๆ
-ประการที่สามเป็นการสร้างกระแสวรรณกรรม โดยตัวรางวัลซีไรต์มันมีลักษณะเหมือนการก้าวไปข้างหน้าครึ่งก้าวเสมอ คือตัวผลงานที่นักเขียนนำเสนอนั้นอาจจะเนื้อหาไม่ใหม่ม่าก แต่รูปแบบหรือวิธีการเล่าเรื่องเป็นแบบใหม่เสมอ
-อย่างเช่นในปีที่ “ตลิ่งสูง ซุงหนัก” ของคุณนิคม รายยวา ได้รับรางวัลซีไรต์นั้น เป็นการนำเสนอกลวิธีของสัญลักษณ์นิยม ซึ่งเป็นเรื่องแปลกใหม่ในเวลานั้น
-อย่างในปีที่ “แผ่นดินอื่น” ของคุณกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ได้รับรางวัลซีไรต์นั้น มันทำให้สังคมเกิดการตั้งคำถามขึ้นมาว่า แล้วเรื่องสั้นมันคืออะไร? เราเคยใช้คำนิยามของตะวันตกมาตลอดว่าเรื่องสั้นควรจะมีคำกี่คำกี่หน้ากัน แต่เรื่องสั้นในขุดแผ่นดินอื่นนี้ทำให้เห็นว่าเรื่องเล่ามันเล่าเป็นเรื่องสั้นแต่ไม่ต้องมีขนาดสั้นก็ได้ ซึ่งต่อมาก็มีนักเขียนในรุ่นหลังก็เริ่มนำวิธีการแบบนี้มาใช้กันมากขึ้น
-อย่างในปีล่าสุดนี้ที่ “สิงโตนอกคอก” ของคุณจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท ได้รับรางวัลซีไรต์ ทำให้คนเริ่มตั้งคำถามว่าต่อไปนี้งานที่จะได้รับรางวัลซีไรต์จะต้องเป็นแนวแฟนตาซีหรือไม่? ซึ่งทิศทางวรรณกรรมของคุณจิดานันท์นี้จะเห็นได้ว่ามันเป็นการประสานกันระหว่าง วรรณกรรมข้างนอก(หนังสือเล่ม)กับวรรณกรรมในพื้นที่ออนไลน์ เพราะเรื่องในแนววรรณกรรมออนไลน์นั้นจะเป็นเรื่องในแนวแฟนตาซีเสียส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องในแนววรรณกรรมข้างนอกเป็นเรื่องสมจริง ซึ่งเรื่องสั้นในชุดสิงโตนอกคอกนี้เอาทั้งสองอย่างนี้มาผสมกัน จึงทำให้ทั้งคนรุ่นเก่าก็อ่านได้ คนรุ่นใหม่อ่านได้ ซึ่งเป็นทิศทางอะไรบางอย่างมีที่มีผลสะเทือนถึงแวดวงการเขียนวรรณกรรมในอนาคตด้วย
-ในแง่ของแวดวงวรรณกรรม ตัววรรณกรรมเองก็มีอิทธิพลมากเป็นอย่างยิ่ง วรรณกรรมซีไรต์เอาไปใช้ในการเรียนการสอนได้ทุกระดับ โดยบางแห่งให้ความสำคัญกับวรรณกรรมซีไรต์มาก เพราะรู้สึกว่าเป็นงานในกลุ่มก้าวหน้า เป็นงานในกลุ่มสร้างสรรค์ เป็นงานที่สร้างผลสะเทือนอะไรบางอย่าง ทั้งในแวดวงการศึกษา ทั้งในแวดวงการเขียนวรรณกรรม และทั้งในแวดวงการอ่าน มันนำเสนออะไรใหม่ๆ บางอย่างที่เป็นการจุดประกาย เพราะตัววรรณกรรมซีไรต์มันมีเอกลักษณ์ของตัวมันเองอยู่แล้ว
@@@@@@@@@@
อาจารย์ตรีศิลป์ สรุปว่าซีไรต์ต่อทัศนะของนักวิชาการชี้ให้เห็นว่ามีคุโณปการต่อแวดวงวรรณกรรม ทั้งในแง่คุณภาพของงาน ทั้งในแง่ของการสนับสนุนนักเขียน ทั้งในแง่ที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในวงวรรณกรรม รวมทั้งทำให้เกิดกระแสหรือทำให้เกิดทิศทางใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์งาน แล้วยังทำให้เกิดองค์ความรู้ ทำให้เกิดการเรียนการสอน ถือว่าซีไรต์เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์วรรณกรรมร่วมสมัยของไทย
-งานซีไรต์มักจะมีแนวโน้มนำเสนอสิ่งที่แปลกใหม่เสมอ เป็นทิศทางใหม่ๆ หรือเป็นวิธีการเขียนใหม่ๆ ซึ่งมันเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของกาลเวลา ดังนั้นเมื่อมองไปที่วรรณกรรมซีไรต์เราจะเห็นภาพรวมว่าตอนนี้วรรณกรรมไทยเราไปถึงตรงไหนแล้ว
-ความท้าทายในแง่ของการเขียนและนำเสนอสิ่งแปลกใหม่ในงานวรรณกรรม เป็นคุโณปการต่อวงการวรรณกรรมไทย ทำให้เกิดการเขียนสิ่งใหม่ๆ ขึ้น
-ขอถามคนรุ่นใหม่อย่างคุณจิรัฏฐ์ว่ามองรางวัลซีไรต์ว่าอย่างไรบ้าง ทั้งที่ผ่านมาและที่น่าจะเป็นต่อไปในอนาคต มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง?
@@@@@@@@@@
คุณจิฏฐ์ บอกว่าเขาเติบโตมาในยุคที่ซีไรต์เป็นที่รู้จักแล้ว มีชื่อเสียงแล้ว รู้สึกว่าซีไรต์เป็นรางวัลที่มีคุณภาพ รู้สึกดีที่รางวัลซีไรต์ยอมมอบให้แก่คนรุ่นใหม่ ที่นำเสนอแนวทางการทดลองอะไรใหม่ๆ ในงานวรรณกรรม แล้วหลังจากนั้นรู้สึกว่าวรรณกรรมซีไรต์เองก็ถูกท้านทายด้วยจากวรรณกรรมอื่นๆ งานเขียนที่มีทางเลือกมากขึ้น มีอิสระมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีมาตราฐานที่แตกต่างไปจากแนววรรรกรรมซีไรต์
-เชื่อว่าคนในรุ่นผมมีมาตราฐานในการเลือก มีกฎเกณฑ์ผลงานสร้างสรรค์ในอีกแบบหนึ่ง แต่ก็ยังถือว่ารางวัลซีไรต์เป็นหนึ่งในการวางรากฐานทางวรรณกรรม เป็นหนึ่งในหมุดหมายทางวรรณกรรมของไทย เมื่อมีรางวัลอื่นเข้ามาท้าทายด้วย ซีไรต์จึงต้องขยับตัวเองขึ้น ยกระดับมาตราฐานของตัวเองให้เหนือขึ้นไปอีก
-ในยุคสมัยที่ผู้อ่านมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ซีไรต์ในอนาคตก็ต้องมีความเชื่อมโยงกับโลกในอินเตอร์เน็ตมากขึ้นด้วย ตรงนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ การที่มีผลงานใดได้รับรางวัลซีไรต์นั้นมันเป็นการบอกว่าผู้อ่านต้องการอ่านเนื้อเรื่องแบบไหน เพราะมันเป็นแนวความคิดร่วมกันของคนร่วมสมัย บ่งบอกได้ว่าคนร่วมสมัยกำลังคิดอะไรอยู่ หรือว่ากำลังอยากทำสิ่งใด
-ในขณะเดียวกันรางวัลซีไรต์ก็ต้องขยับตัวเองขึ้นไปอีก และเลียวมองรางวัลวรรณกรรมอื่นที่มีทางเลือกใหม่ๆ ขึ้นมาท้าทายด้วย หลังจากนี้แล้วทิศทางของรางวัลซีไรต์ยังคงเคลื่อนตามไปกับกระแสของวรรณกรรมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด
@@@@@@@@@@
อาจารย์ตรีศิลป์ บอกว่า ต้องยอมรับว่าตลอด 40 ปีที่มาผ่านบอกไม่ได้ว่าจะมีเล่มไหนโดดเด่นมากเป็นพิเศษ แต่ว่ามันมีความหลากหลายอยู่ในหลายระดับ แน่นอนว่ารางวัลซีไรต์ต้องอิงกลุ่ม คืออิงจากกลุ่มหนังสือที่ส่งเข้ามา ถ้าหนังสือไม่ได้ส่งเข้ามาเราก็ให้รางวัลไม่ได้
@@@@@@@@@@
อาจารย์รื่นฤทัย บอกว่า ในแต่ละปีเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าหนังสือที่เข้ามาประกวดจะมีเรื่องไหนบ้าง หรือจะเป็นหนังสือแนวไหนกันบ้าง เพราะว่ามันมีเยอะแยะมากมาย แต่ว่างานประเภทไหนที่มันก้าวหน้าทันสมัย ออกแหลมๆ (คือโดดเด่นแปลกใหม่) เขาจะไม่ส่งบางเวที แต่เขาจะส่งมายังซีไรต์เพราะเขารู้ว่าซีไรต์เป็นเวทีสำหรับงานที่มันแปลกพิสดารไปจากธรรมดาปกติเล็กน้อย ซึ่งมันมีอะไรที่บอกความแหลมคมบางอย่าง ถึงแม้ว่ามันบอกทิศทางบางอย่างที่มันอาจจะเลือนลาง แต่มันจะชัดเจนขึ้นในภาคหลังก็ได้ ซึ่งเวทีซีไรต์จะมีคนส่งงานในลักษณะแบบนี้เข้ามามาก
@@@@@@@@@@
คุณจิรัฏฐ์ คิดว่ารางวัลซีไรต์มีบางปีที่งานมันแปลก คือบางปีอาจจะมีเล่มที่โดดเด่นขึ้นมา หรือเป็นเล่มที่นำทางไปสู่มาตราฐานของวงการวรรณกรรม อย่างเช่นงานของคุณกนกพงศ์ งานของคุณปราบดา หยุ่น ผมคิดว่ามันทำให้ทิศทางของการเขียนวรรณกรรมมันเปลี่ยนไป จากเดิมมันนิ่งๆ อยู่ มันดูมีชีวิตชีวาขึ้นมา หลังจากนั้นก็มีงานของคุณอุทิศ เหมะมูล ที่ช่วยมากระตุ้นด้วย
-ผมคิดว่าในกระแสของรางวัลซีไรต์ที่ผ่านมา มันก็มีทั้งช่วงที่นิ่งและช่วงที่โดดเด่น ซึ่งช่วงที่โดดเด่นก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นแนวทางที่ทำให้วงการนักเขียนหรือนักอ่านหันมาสนใจกันมาก อย่างเช่นปีล่าสุดผลงานของคุณจิดานันท์นั้นน่าสนใจมาก คือว่าในบางปีอาจจะเป็นวรรณกรรมเพื่อชีวิต บางปีอาจจะเป็นวรรณกรรมแนวทดลอง แต่วรรณกรรมในแนวดิสโทเปียหรือแนวแฟนตาซีนี้เป็นแนวที่วัยรุ่นชอบอ่านกันเยอะมาก แต่ก่อนยังไม่ได้รับการยอมรับในระดับมาตราฐาน แต่การที่ซีไรต์ให้รางวัลกับงานแนวนี้ (สิงโตนอกคอก) ถือว่าเป็นหมุดหมายที่สำคัญของวงการวรรณกรรมไทยเลย
40 ปีซีไรต์ ก้าวต่อไปในวงวรรณกรรมอาเซียน
รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ “รางวัลซีไรต์” สำหรับปีนี้ดำเนินมาถึงปีที่ 40 แล้ว ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร? และในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป? ลองมาฟังการพูดคุยจากงานเสวนาในหัวข้อ “40 ปีซีไรต์ ก้าวต่อไปในวงวรรณกรรมอาเซียน” ที่จัดโดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย โดยเป็นงานเสวนางานแรกสุดบนเวทีเอเทรียมในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 เวลา 13.00 น.
บนเวทีเสวนามีผู้ร่วมเสวนาดังนี้ ศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธ์ นักวิชาการด้านวรรณกรรม , คุณจิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร นักวิจารณ์รางวัลม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ผู้เป็นกรรมการสมาคมภาษาและหนังสือฯ ดำเนินการเสวนาโดย รศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย โดยรายละเอียดของการเสวนามีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ดร.ตรีศิลป์ บอกว่าวันนี้เราจะเสวนากันเกี่ยวกับรางวัลซีไรต์ หรือชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน โดยรางวัลซีไรต์เดินมาถึงปีที่ 40 แล้ว เรามีนักเขียนที่ได้รับรางวัลซีไรต์แล้ว 40 คน และรางวัลซีไรต์เป็นรางวัลเดียวของประเทศไทยที่มอบให้แก่ประเทศต่างๆ ในอาเซียนครบทั้ง 10 ประเทศ
-ถามว่ารางวัลซีไรต์มีคุโณปการหรือมีความสำคัญต่อวงการวรรณกรรมไทยอย่างไร?
@@@@@@@@@@
อาจารย์รื่นฤทัย ตอบว่า ในภาพรวมรางวัลวรรณกรรมน่าจะมีคุโณปการต่อแวดวงวรรณกรรม ต่อวงการนักเขียน ต่อวงการหนังสือ โดยมีการให้รางวัลด้านวรรณกรรมต่อเนื่องกันมานานแล้ว สำหรับรางวัลซีไรต์มีบทบาทสำคัญและเป็นรางวัลทางวรรณกรรมอันดับหนึ่งของประเทศไทย มีการให้รางวัลต่อเนื่องยาวนานถึง 40 ปี
-สำหรับคุโณปการต่อวงการวรรณกรรมเองก็มีหลายประการ โดยประการแรกคือเป็นการส่งเสริมวรรณกรรมสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ มีแนวทางที่แสดงถึงความก้าวหน้าและพัฒนาการของเรื่อง ที่ผ่านมารางวัลซีไรต์ได้เป็นเหมือนกระจกเงาหรือภาพสะท้อนต่อพัฒนาการของวรรณกรรมร่วมสมัยของไทย
-ทำให้เกิดคำว่า “วรรณกรรมสร้างสรรค์” ขึ้นมาว่า คือมีความสร้างสรรค์ทั้งตัวเนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอด้วย
-ประการที่สองเป็นเรื่องของการส่งเสริมตัวนักเขียน จะเห็นว่านักเขียนผู้ได้รับรางวัลซีไรต์จะเป็นนักเขียนหน้าใหม่เป็นส่วนใหญ่ โดยนักเขียนหน้าใหม่เหล่านี้เป็นผู้สืบทอดตัวงานวรรณกรรมร่วมสมัย และพัฒนาการด้านวรรณกรรมต่อไปในอนาคต
-รางวัลซีไรต์ให้รางวัลกับตัวชิ้นงาน ไม่ได้ให้กับตัวบุคคล ไม่เหมือนรางวัลศิลปินแห่งชาติที่ให้รางวัลกับผลงานทั้งชีวิต ดังนั้นแต่ละคนจึงมีสิทธิ์ที่จะส่งผลงานเข้ามาได้เรื่อยๆ
-ประการที่สามเป็นการสร้างกระแสวรรณกรรม โดยตัวรางวัลซีไรต์มันมีลักษณะเหมือนการก้าวไปข้างหน้าครึ่งก้าวเสมอ คือตัวผลงานที่นักเขียนนำเสนอนั้นอาจจะเนื้อหาไม่ใหม่ม่าก แต่รูปแบบหรือวิธีการเล่าเรื่องเป็นแบบใหม่เสมอ
-อย่างเช่นในปีที่ “ตลิ่งสูง ซุงหนัก” ของคุณนิคม รายยวา ได้รับรางวัลซีไรต์นั้น เป็นการนำเสนอกลวิธีของสัญลักษณ์นิยม ซึ่งเป็นเรื่องแปลกใหม่ในเวลานั้น
-อย่างในปีที่ “แผ่นดินอื่น” ของคุณกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ได้รับรางวัลซีไรต์นั้น มันทำให้สังคมเกิดการตั้งคำถามขึ้นมาว่า แล้วเรื่องสั้นมันคืออะไร? เราเคยใช้คำนิยามของตะวันตกมาตลอดว่าเรื่องสั้นควรจะมีคำกี่คำกี่หน้ากัน แต่เรื่องสั้นในขุดแผ่นดินอื่นนี้ทำให้เห็นว่าเรื่องเล่ามันเล่าเป็นเรื่องสั้นแต่ไม่ต้องมีขนาดสั้นก็ได้ ซึ่งต่อมาก็มีนักเขียนในรุ่นหลังก็เริ่มนำวิธีการแบบนี้มาใช้กันมากขึ้น
-อย่างในปีล่าสุดนี้ที่ “สิงโตนอกคอก” ของคุณจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท ได้รับรางวัลซีไรต์ ทำให้คนเริ่มตั้งคำถามว่าต่อไปนี้งานที่จะได้รับรางวัลซีไรต์จะต้องเป็นแนวแฟนตาซีหรือไม่? ซึ่งทิศทางวรรณกรรมของคุณจิดานันท์นี้จะเห็นได้ว่ามันเป็นการประสานกันระหว่าง วรรณกรรมข้างนอก(หนังสือเล่ม)กับวรรณกรรมในพื้นที่ออนไลน์ เพราะเรื่องในแนววรรณกรรมออนไลน์นั้นจะเป็นเรื่องในแนวแฟนตาซีเสียส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องในแนววรรณกรรมข้างนอกเป็นเรื่องสมจริง ซึ่งเรื่องสั้นในชุดสิงโตนอกคอกนี้เอาทั้งสองอย่างนี้มาผสมกัน จึงทำให้ทั้งคนรุ่นเก่าก็อ่านได้ คนรุ่นใหม่อ่านได้ ซึ่งเป็นทิศทางอะไรบางอย่างมีที่มีผลสะเทือนถึงแวดวงการเขียนวรรณกรรมในอนาคตด้วย
-ในแง่ของแวดวงวรรณกรรม ตัววรรณกรรมเองก็มีอิทธิพลมากเป็นอย่างยิ่ง วรรณกรรมซีไรต์เอาไปใช้ในการเรียนการสอนได้ทุกระดับ โดยบางแห่งให้ความสำคัญกับวรรณกรรมซีไรต์มาก เพราะรู้สึกว่าเป็นงานในกลุ่มก้าวหน้า เป็นงานในกลุ่มสร้างสรรค์ เป็นงานที่สร้างผลสะเทือนอะไรบางอย่าง ทั้งในแวดวงการศึกษา ทั้งในแวดวงการเขียนวรรณกรรม และทั้งในแวดวงการอ่าน มันนำเสนออะไรใหม่ๆ บางอย่างที่เป็นการจุดประกาย เพราะตัววรรณกรรมซีไรต์มันมีเอกลักษณ์ของตัวมันเองอยู่แล้ว
@@@@@@@@@@
อาจารย์ตรีศิลป์ สรุปว่าซีไรต์ต่อทัศนะของนักวิชาการชี้ให้เห็นว่ามีคุโณปการต่อแวดวงวรรณกรรม ทั้งในแง่คุณภาพของงาน ทั้งในแง่ของการสนับสนุนนักเขียน ทั้งในแง่ที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในวงวรรณกรรม รวมทั้งทำให้เกิดกระแสหรือทำให้เกิดทิศทางใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์งาน แล้วยังทำให้เกิดองค์ความรู้ ทำให้เกิดการเรียนการสอน ถือว่าซีไรต์เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์วรรณกรรมร่วมสมัยของไทย
-งานซีไรต์มักจะมีแนวโน้มนำเสนอสิ่งที่แปลกใหม่เสมอ เป็นทิศทางใหม่ๆ หรือเป็นวิธีการเขียนใหม่ๆ ซึ่งมันเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของกาลเวลา ดังนั้นเมื่อมองไปที่วรรณกรรมซีไรต์เราจะเห็นภาพรวมว่าตอนนี้วรรณกรรมไทยเราไปถึงตรงไหนแล้ว
-ความท้าทายในแง่ของการเขียนและนำเสนอสิ่งแปลกใหม่ในงานวรรณกรรม เป็นคุโณปการต่อวงการวรรณกรรมไทย ทำให้เกิดการเขียนสิ่งใหม่ๆ ขึ้น
-ขอถามคนรุ่นใหม่อย่างคุณจิรัฏฐ์ว่ามองรางวัลซีไรต์ว่าอย่างไรบ้าง ทั้งที่ผ่านมาและที่น่าจะเป็นต่อไปในอนาคต มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง?
@@@@@@@@@@
คุณจิฏฐ์ บอกว่าเขาเติบโตมาในยุคที่ซีไรต์เป็นที่รู้จักแล้ว มีชื่อเสียงแล้ว รู้สึกว่าซีไรต์เป็นรางวัลที่มีคุณภาพ รู้สึกดีที่รางวัลซีไรต์ยอมมอบให้แก่คนรุ่นใหม่ ที่นำเสนอแนวทางการทดลองอะไรใหม่ๆ ในงานวรรณกรรม แล้วหลังจากนั้นรู้สึกว่าวรรณกรรมซีไรต์เองก็ถูกท้านทายด้วยจากวรรณกรรมอื่นๆ งานเขียนที่มีทางเลือกมากขึ้น มีอิสระมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีมาตราฐานที่แตกต่างไปจากแนววรรรกรรมซีไรต์
-เชื่อว่าคนในรุ่นผมมีมาตราฐานในการเลือก มีกฎเกณฑ์ผลงานสร้างสรรค์ในอีกแบบหนึ่ง แต่ก็ยังถือว่ารางวัลซีไรต์เป็นหนึ่งในการวางรากฐานทางวรรณกรรม เป็นหนึ่งในหมุดหมายทางวรรณกรรมของไทย เมื่อมีรางวัลอื่นเข้ามาท้าทายด้วย ซีไรต์จึงต้องขยับตัวเองขึ้น ยกระดับมาตราฐานของตัวเองให้เหนือขึ้นไปอีก
-ในยุคสมัยที่ผู้อ่านมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ซีไรต์ในอนาคตก็ต้องมีความเชื่อมโยงกับโลกในอินเตอร์เน็ตมากขึ้นด้วย ตรงนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ การที่มีผลงานใดได้รับรางวัลซีไรต์นั้นมันเป็นการบอกว่าผู้อ่านต้องการอ่านเนื้อเรื่องแบบไหน เพราะมันเป็นแนวความคิดร่วมกันของคนร่วมสมัย บ่งบอกได้ว่าคนร่วมสมัยกำลังคิดอะไรอยู่ หรือว่ากำลังอยากทำสิ่งใด
-ในขณะเดียวกันรางวัลซีไรต์ก็ต้องขยับตัวเองขึ้นไปอีก และเลียวมองรางวัลวรรณกรรมอื่นที่มีทางเลือกใหม่ๆ ขึ้นมาท้าทายด้วย หลังจากนี้แล้วทิศทางของรางวัลซีไรต์ยังคงเคลื่อนตามไปกับกระแสของวรรณกรรมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด
@@@@@@@@@@
อาจารย์ตรีศิลป์ บอกว่า ต้องยอมรับว่าตลอด 40 ปีที่มาผ่านบอกไม่ได้ว่าจะมีเล่มไหนโดดเด่นมากเป็นพิเศษ แต่ว่ามันมีความหลากหลายอยู่ในหลายระดับ แน่นอนว่ารางวัลซีไรต์ต้องอิงกลุ่ม คืออิงจากกลุ่มหนังสือที่ส่งเข้ามา ถ้าหนังสือไม่ได้ส่งเข้ามาเราก็ให้รางวัลไม่ได้
@@@@@@@@@@
อาจารย์รื่นฤทัย บอกว่า ในแต่ละปีเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าหนังสือที่เข้ามาประกวดจะมีเรื่องไหนบ้าง หรือจะเป็นหนังสือแนวไหนกันบ้าง เพราะว่ามันมีเยอะแยะมากมาย แต่ว่างานประเภทไหนที่มันก้าวหน้าทันสมัย ออกแหลมๆ (คือโดดเด่นแปลกใหม่) เขาจะไม่ส่งบางเวที แต่เขาจะส่งมายังซีไรต์เพราะเขารู้ว่าซีไรต์เป็นเวทีสำหรับงานที่มันแปลกพิสดารไปจากธรรมดาปกติเล็กน้อย ซึ่งมันมีอะไรที่บอกความแหลมคมบางอย่าง ถึงแม้ว่ามันบอกทิศทางบางอย่างที่มันอาจจะเลือนลาง แต่มันจะชัดเจนขึ้นในภาคหลังก็ได้ ซึ่งเวทีซีไรต์จะมีคนส่งงานในลักษณะแบบนี้เข้ามามาก
@@@@@@@@@@
คุณจิรัฏฐ์ คิดว่ารางวัลซีไรต์มีบางปีที่งานมันแปลก คือบางปีอาจจะมีเล่มที่โดดเด่นขึ้นมา หรือเป็นเล่มที่นำทางไปสู่มาตราฐานของวงการวรรณกรรม อย่างเช่นงานของคุณกนกพงศ์ งานของคุณปราบดา หยุ่น ผมคิดว่ามันทำให้ทิศทางของการเขียนวรรณกรรมมันเปลี่ยนไป จากเดิมมันนิ่งๆ อยู่ มันดูมีชีวิตชีวาขึ้นมา หลังจากนั้นก็มีงานของคุณอุทิศ เหมะมูล ที่ช่วยมากระตุ้นด้วย
-ผมคิดว่าในกระแสของรางวัลซีไรต์ที่ผ่านมา มันก็มีทั้งช่วงที่นิ่งและช่วงที่โดดเด่น ซึ่งช่วงที่โดดเด่นก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นแนวทางที่ทำให้วงการนักเขียนหรือนักอ่านหันมาสนใจกันมาก อย่างเช่นปีล่าสุดผลงานของคุณจิดานันท์นั้นน่าสนใจมาก คือว่าในบางปีอาจจะเป็นวรรณกรรมเพื่อชีวิต บางปีอาจจะเป็นวรรณกรรมแนวทดลอง แต่วรรณกรรมในแนวดิสโทเปียหรือแนวแฟนตาซีนี้เป็นแนวที่วัยรุ่นชอบอ่านกันเยอะมาก แต่ก่อนยังไม่ได้รับการยอมรับในระดับมาตราฐาน แต่การที่ซีไรต์ให้รางวัลกับงานแนวนี้ (สิงโตนอกคอก) ถือว่าเป็นหมุดหมายที่สำคัญของวงการวรรณกรรมไทยเลย