ในวินาทีที่หุ่นยิปซีอเวนเจอร์ออกวิ่งเข้าปะทะกับหุ่นออบซิเดี้ยนฟิวรี่เพื่อทำลายแกนพลังงาน เรนเจอร์ เจค และเนต รู้สึกเหมือนตัวเองถูกกดไปข้างหลังด้วยแรง g มากกว่ากระสวยอวกาศเป็น 10 เท่า แต่ทันใดนั้น หุ่นออบซิเดี้ยนฟิวรี่ก็วาดดาบสวนออกมาทำให้เจคและเนตต้องเบรคกระทันหันจากความเร็วกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงลงมาที่ 0 ภายในเสี้ยววินาที ประดุจเฟอรารี่ตะบึงเต็มที่เข้าชนกำแพง มันไม่ใช่แค่การวิ่ง การหลบออกข้าง การเบี่ยงตัว หรือกระโดด ด้วยขนาดที่ใหญ่โตกว่ามนุษย์ถึง 45 เท่าของหุ่นเยเกอร์ที่เลียนแบบมนุษย์ ภายใต้ทุกการเคลื่อนไหวมีขนาดของความเร่งมหาศาล บทความนี้ เราจะมาคุยกันเรื่องฟิสิกส์ของการ scaling และความเร่งกัน
การบังคับหุ่นเยเกอร์ เป็นการบังคับด้วยการเคลื่อนไหวของมนุษย์โดยตรง ความเร็วการเคลื่อนไหวของเยเกอร์จึงเท่ากับมนุษย์ในสัดส่วนที่ขยายขึ้นมามาก ด้วยความสูง 81 เมตร
[1] มันมีความสูงกว่ามนุษย์ถึง 45 เท่า ถ้า 1 ก้าวของมนุษย์ กินระยะประมาณ 0.7 เมตร 1 ก้าวของเยเกอร์ จะกินระยะคือ 0.7 m x 45 = 31.5 เมตร ถ้ามนุษย์ เดินด้วยความเร็ว 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เยเกอร์ก็จะเดินด้วยความเร็ว 5 x 45 = 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และถ้าวิ่งเหยาะๆแบบจ๊อกกิ้ง ความเร็วของมันจะไปถึง 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
รูปที่ 1: เปรียบเทียบขนาดของเยเกอร์ ไคจู และสิ่งก่อสร้างของมนุษย์
และเพราะมันเคลื่อนที่แบบมนุษย์ มนุษย์สามารถเร่งความเร็วจากหยุดนิ่งเป็นการเดินภายในแค่ 1 ก้าว หรือประมาณ 1.3 m/s2 แต่ด้วยสเกลของเยเกอร์ 1 ก้าวของเยเกอร์ไกลกว่ามนุษย์ถึง 45 เท่า และความเร่งนี้ จะกลายเป็น 58 m/s2 ความเร่งนี้ เทียบได้ประมาณ 6 g หรือมากกว่าแรงที่กระทำต่อนักบินอวกาศขณะเข้าออกชั้นบรรยากาศไป 2 เท่าแค่นั้นเอง
หอบังคับการ: Conn Pod
รูปที่ 2: Conn Pod ที่ปรกติจะอยู่ที่ส่วนหัว ยกเว้นหุ่นของรัสเซีย เชอร์โนอัลฟ่าที่อยู่ที่ท้อง
การควบคุมหุ่นยนต์ยักษ์เยเกอร์ มีระบบที่เรียกว่า Conn Pod เป็นค็อกพิทศูนย์บัญชาการการทำงานทั้งหมดของเยเกอร์ การควบคุมการเคลื่อนไหว และสวิทช์คำสั่งต่างๆทำผ่านระบบ HUD ซึ่งมีลักษณะเหมือนโฮโลแกรม เพราะการบังคับหุ่นเยเกอร์ เรนเจอร์ จะใช้การเคลื่อนไหวของตัวชุดที่สวมในการควบคุม ในภาคที่แล้ว การควบคุมส่วนขาเยเกอร์ ขาของเรนเจอร์จะถูกล็อคเข้ากับกลไกควบคุมที่พื้น ส่วนในภาค Uprising หุ่น Gypsy Avenger ส่วนขาเข้าใจว่าควบคุมด้วยเฟรมในตัวชุดเองไม่ล็อกติดเข้ากับกลไกที่พื้น ซึ่ง ตรงนี้ เป็นข้อดีที่สำคัญเมื่อเราคิดถึงฟิสิกส์ของระบบรับแรงกระแทก
รูปที่ 3: สังเกตว่าใน Pacific Rim Uprising ตัวชุดของเรนเจอร์จะไม่ล็อคเข้ากับพื้น ซึ่งจะทำให้ระบบ Suspension ที่ยึดด้านหลังเคลื่อนที่ได้ระยะมากกว่าและน่าจะซับแรงได้มากกว่าภาคก่อน
มีคำกล่าวในทางวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งที่ฆ่าคนไม่ใช่ความเร็ว แต่เป็นความเร่ง (deceleration) ยิ่งการเบรค ทำเร็วเท่าไร ความเสียหายต่อร่างกายมนุษย์ก็จะยิ่งมาก เราอาจเปรียบเทียบกรณีของรถชน สมมุติเราขับรถด้วยความเร็ว 48 กมต่อชั่วโมงเข้าชนกับกำแพง ถ้าคุณไม่ใส่เข็มขัดนิรภัย ระยะการเบรค (ยุบ) ของร่างกายเราตอนกระแทกเข้ากับกระจกหรือพวงมาลัยจะมีแค่ 5-6 เซนติเมตร และนั่นจะเท่ากับร่างกายเราโดนอัดด้วยความเร่ง 150 g แต่ถ้าคุณใส่เข็มขัดนิรภัย ร่างกายเราจะมีระยะเบรค (ยุบหรือโยก) ถึง 30 เซนติเมตร เราจะสัมผัสกับความเร่งเพียง 30 g และถ้าเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบยืดได้ ระยะการเบรคจะเพิ่มขึ้นมาที่ 45 เซนติเมตร และความเร่งที่อัดกับร่างกายเราจะเหลือแค่ 20 g
[2]
มาตรฐานการ Crash test จะทำที่ 35 mph หรือ 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เรามาดูเผื่อช่วยในการจินตนาการการขับเยเกอร์
เช่นเดียวกับกรณีของหุ่นยนต์ยักษ์ การที่เรนเจอร์ถูกแขวนไว้บนก้านซับแรง Suspension ซึ่งดูตามขนาดแล้วน่าจะมีระยะการซับแรงได้… อาจสูงถึง 1.5 เมตร ละนะ สำหรับกรณีถ้าเป็นการเดินเข้าไปชนบาทาไคจู แรงปะทะที่จะเกิดขึ้นหลังถูกซับแรงด้วยระบบ suspension แล้วก็น่าจะอยู่แถวๆ 135 g กรณีถ้าเยเกอร์วิ่งสุดฝีเท้าเข้าปะทะกับกำปั้นหรือบาทาไคจู การปะทะด้วยความเร็ว 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเหลือ 0 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในระยะทาง 1.5 เมตรจะเท่ากับแรง g เพียง 530 g เท่านั้นเอง … รู้สึกจะไม่ใช่ตัวเลขที่จะรอดได้เลยนะเนี่ย บางที เราอาจต้องนับการซับแรงด้วยระบบ Suspension ของส่วนคอหุ่นเยเกอร์เข้าช่วยด้วย ถ้าสมมุติให้หัวสามารถโยกช่วยได้อีกสัก 5 เมตร รวมเป็น 6.5 เมตร การเดิน และ วิ่งเข้าไปบวกกับบาทาไคจู จะเป็นภาระกับเรนเจอร์ที่ขนาดความเร่ง 30 g และ 120 g ตามลำดับ ซึ่งตัวเลขอ้างอิงของหมัดน็อคเอ้าท์นักมวยรุ่นเฮวี่เวทจะอยู่แถวๆ 50 g
[3] ตัวเลขนี้เราพอจะบอกได้ว่าระบบซับแรงของส่วนหัวเยเกอร์ “อาจจะ”พอรักษาชีวิตของเรนเจอร์ผู้ขับหุ่นได้ แต่ไม่น่าจะรักษาสติไม่ให้ KO สักเท่าไร นี่แค่เดินหรือวิ่งเข้าไปชนเฉยๆนะ ถ้าเป็นกรณีที่ไคจู หวดหาง ฟาดแข้ง หรือต่อยสวนมา เราคงต้องเอาศพนักบินเทใส่ถังก่อนเอาไปฝังเลยละ
สำหรับสูตรการคำนวณความเร่ง คุณคำนวณได้จากสมการ
a = v2/2S โดย
a = ความเร่งในหน่วย m/s2
v = ความเร็วในหน่วย m/s และ
S = ระยะทางในหน่วย m
โดยสรุป ระบบ suspension ใน Conn Pod ของเยเกอร์น่าจะซับแรงช่วยในการเคลื่อนไหวเดิน วิ่ง โยกลบได้พอควร แต่ไม่ค่อยจะมีประโยชน์เวลาเข้าบวกกัน ในการต่อสู้กับไคจูด้วยเยเกอร์ ผมเชื่อว่าเรนเจอร์ควรจะต้องฝึกท่าโยกหลบให้แม่นๆ และการเข้าไปคลุกวงใน ไม่น่าจะเป็นแนวทางการต่อสู้ที่ดีสักเท่าไร และ นอกจากเรื่องการปะทะ การเบรค การเร่ง เรายังมีอีกส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาของการบังคับหุ่นเยเกอร์ นั่นก็คือ ผลกระทบจากการเหวี่ยงและหมุนเกิดเป็นความเร่งหนีศูนย์
การเหวี่ยง และ แกนการหมุน
วัตถุ จะใหญ่จะเล็ก ถ้าหมุนรอบตัวเองในเวลาเท่ากันความเร็วเชิงมุมก็จะเท่ากัน ความเร็วเชิงมุม จะนับเป็นรอบต่อวินาทีหรือเรเดียนต่อวินาที มันก็ประมาณเดียวกัน สำหรับมนุษย์หรือหุ่นยนต์ที่ยืนสองขา การหมุนตัวตามแนวแกนของร่างกาย จะได้รับผลกระทบจากแรงเหวี่ยงน้อยที่สุด ทว่า ถ้าเป็นการถูกจับเหวี่ยง หรือ โดนเตะกลิ้งโค่โล่ สถานการณ์มันจะต่างกันมากกับขนาดตัวที่ขยายขึ้นมา 45 เท่า
ตัวอย่างการต่อสู้กับไคจูที่ทั้งต้องหลบหลีกกลิ้งไถล ต่อให้ไม่โดนกระแทกเตะต่อยฟาดหางเข้าจังๆ เหล่าเรนเจอร์ผู้ขับจะต้องรับกับแรงเหวี่ยงมหาศาลเป็นปรกติ
การหมุนจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าความเร่งหนีศูนย์ หรือ Centripetal acceleration แม้ว่าเราจะใช้ความเร็วเชิงมุมหมุนๆๆด้วยรอบคงที่ และ ความเร่งหนีศูนย์ จะแปรผันกับรัศมีของการหมุน และรอบการหมุนยกกำลังสอง การที่หุ่นเยเกอร์รุ่นต่างๆตั้งแต่ MK 1 ถึง MK 6 เอา Conn Pod ไปตั้งไว้บนส่วนหัว (ยกเว้น Cherno Alpha ที่ Conn Pod อยู่ที่ท้อง) จะต้องรับภาระของแรงเหวี่ยง โดยเฉพาะ เมื่อมีการหมุนในแนวตั้งฉากกับแกนสมมาตรด้านซ้ายขวาของหุ่น ไม่ว่าจะโดยการกระโดดกลิ้งม้วนตัว โดนรวบขา หรือโดนซัดหงายกลิ้ง เพราะหุ่นเยเกอร์สูงถึง 80 เมตร การควงรอบแกนไปด้วยความเร็ว 1 รอบต่อวินาที ถ้าเราเอามาเข้าสูตรคำนวณหาควางเร่งหนีศูนย์เราจะได้ความเร่งที่ 160 g (อ่านว่า 160 เท่าของแรงโน้มถ่วง) เพราะรัศมีของการเหวี่ยงคือ 40 เมตร
สำหรับสูตรการคำนวณความเร่ง คุณคำนวณได้จากสมการ
a = v2/R โดย
a = ความเร่งในหน่วย m/s2
v = ความเร็วในหน่วย m/s = 2πR.RPS *
R = รัศมีการหมุนในหน่วย m
*RPS ย่อมาจาก Round per second หรือ รอบต่อวินาที
สำหรับหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นเช่นกันดั้ม จะนิยมเอาห้อง Cockpit ไปไว้กลางลำตัว ซึ่งจะถูกต้องกว่าในการรบแบบ 3 มิติ โดยจะสามารถใช้เวอร์เนียหันหุ่นไปในทิศที่ศัตรูอยู่แล้วยิงทำลายได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องผลของแรงเหวี่ยงต่อตัวนักบิน แต่ทั้งนี้ การที่หุ่นเยเกอร์จะเอา Conn Pod ไปตั้งบนหัว ก็อาจมีข้อดีว่า จุดตายที่สำคัญของมนุษย์อยู่ที่หัวกบาล จะโดนต่อยโดนยิงโดนฟันโดนแทง คนเราก็ต้องกันหัวกบาลตัวเองไว้ก่อน ถ้าเกิดเอา Conn Pod ไปตั้งที่กลางลำตัว อาจเผลอมัวแต่กันหน้าลืมกันพุงโดนแทงห้องนักบินตายเอาง่ายๆเสียก็ได้ เพราะนักบินเผลอหลุดป้องกันหัวตามสัญชาตญาณ
อ้างอิง
[1] http://pacificrim.wikia.com/wiki/Gipsy_Avenger
[2] http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/carcr2.html
[3] https://www.connectsavannah.com/savannah/the-true-force-of-a-boxers-punch/Content?oid=2133328
GIANT ROBO!!! 2 ฟิสิกส์ของหุ่นเยเกอร์ (มีสปอยล์เล็กน้อย)
ในวินาทีที่หุ่นยิปซีอเวนเจอร์ออกวิ่งเข้าปะทะกับหุ่นออบซิเดี้ยนฟิวรี่เพื่อทำลายแกนพลังงาน เรนเจอร์ เจค และเนต รู้สึกเหมือนตัวเองถูกกดไปข้างหลังด้วยแรง g มากกว่ากระสวยอวกาศเป็น 10 เท่า แต่ทันใดนั้น หุ่นออบซิเดี้ยนฟิวรี่ก็วาดดาบสวนออกมาทำให้เจคและเนตต้องเบรคกระทันหันจากความเร็วกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงลงมาที่ 0 ภายในเสี้ยววินาที ประดุจเฟอรารี่ตะบึงเต็มที่เข้าชนกำแพง มันไม่ใช่แค่การวิ่ง การหลบออกข้าง การเบี่ยงตัว หรือกระโดด ด้วยขนาดที่ใหญ่โตกว่ามนุษย์ถึง 45 เท่าของหุ่นเยเกอร์ที่เลียนแบบมนุษย์ ภายใต้ทุกการเคลื่อนไหวมีขนาดของความเร่งมหาศาล บทความนี้ เราจะมาคุยกันเรื่องฟิสิกส์ของการ scaling และความเร่งกัน
การบังคับหุ่นเยเกอร์ เป็นการบังคับด้วยการเคลื่อนไหวของมนุษย์โดยตรง ความเร็วการเคลื่อนไหวของเยเกอร์จึงเท่ากับมนุษย์ในสัดส่วนที่ขยายขึ้นมามาก ด้วยความสูง 81 เมตร[1] มันมีความสูงกว่ามนุษย์ถึง 45 เท่า ถ้า 1 ก้าวของมนุษย์ กินระยะประมาณ 0.7 เมตร 1 ก้าวของเยเกอร์ จะกินระยะคือ 0.7 m x 45 = 31.5 เมตร ถ้ามนุษย์ เดินด้วยความเร็ว 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เยเกอร์ก็จะเดินด้วยความเร็ว 5 x 45 = 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และถ้าวิ่งเหยาะๆแบบจ๊อกกิ้ง ความเร็วของมันจะไปถึง 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
และเพราะมันเคลื่อนที่แบบมนุษย์ มนุษย์สามารถเร่งความเร็วจากหยุดนิ่งเป็นการเดินภายในแค่ 1 ก้าว หรือประมาณ 1.3 m/s2 แต่ด้วยสเกลของเยเกอร์ 1 ก้าวของเยเกอร์ไกลกว่ามนุษย์ถึง 45 เท่า และความเร่งนี้ จะกลายเป็น 58 m/s2 ความเร่งนี้ เทียบได้ประมาณ 6 g หรือมากกว่าแรงที่กระทำต่อนักบินอวกาศขณะเข้าออกชั้นบรรยากาศไป 2 เท่าแค่นั้นเอง
หอบังคับการ: Conn Pod
การควบคุมหุ่นยนต์ยักษ์เยเกอร์ มีระบบที่เรียกว่า Conn Pod เป็นค็อกพิทศูนย์บัญชาการการทำงานทั้งหมดของเยเกอร์ การควบคุมการเคลื่อนไหว และสวิทช์คำสั่งต่างๆทำผ่านระบบ HUD ซึ่งมีลักษณะเหมือนโฮโลแกรม เพราะการบังคับหุ่นเยเกอร์ เรนเจอร์ จะใช้การเคลื่อนไหวของตัวชุดที่สวมในการควบคุม ในภาคที่แล้ว การควบคุมส่วนขาเยเกอร์ ขาของเรนเจอร์จะถูกล็อคเข้ากับกลไกควบคุมที่พื้น ส่วนในภาค Uprising หุ่น Gypsy Avenger ส่วนขาเข้าใจว่าควบคุมด้วยเฟรมในตัวชุดเองไม่ล็อกติดเข้ากับกลไกที่พื้น ซึ่ง ตรงนี้ เป็นข้อดีที่สำคัญเมื่อเราคิดถึงฟิสิกส์ของระบบรับแรงกระแทก
มีคำกล่าวในทางวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งที่ฆ่าคนไม่ใช่ความเร็ว แต่เป็นความเร่ง (deceleration) ยิ่งการเบรค ทำเร็วเท่าไร ความเสียหายต่อร่างกายมนุษย์ก็จะยิ่งมาก เราอาจเปรียบเทียบกรณีของรถชน สมมุติเราขับรถด้วยความเร็ว 48 กมต่อชั่วโมงเข้าชนกับกำแพง ถ้าคุณไม่ใส่เข็มขัดนิรภัย ระยะการเบรค (ยุบ) ของร่างกายเราตอนกระแทกเข้ากับกระจกหรือพวงมาลัยจะมีแค่ 5-6 เซนติเมตร และนั่นจะเท่ากับร่างกายเราโดนอัดด้วยความเร่ง 150 g แต่ถ้าคุณใส่เข็มขัดนิรภัย ร่างกายเราจะมีระยะเบรค (ยุบหรือโยก) ถึง 30 เซนติเมตร เราจะสัมผัสกับความเร่งเพียง 30 g และถ้าเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบยืดได้ ระยะการเบรคจะเพิ่มขึ้นมาที่ 45 เซนติเมตร และความเร่งที่อัดกับร่างกายเราจะเหลือแค่ 20 g[2]
เช่นเดียวกับกรณีของหุ่นยนต์ยักษ์ การที่เรนเจอร์ถูกแขวนไว้บนก้านซับแรง Suspension ซึ่งดูตามขนาดแล้วน่าจะมีระยะการซับแรงได้… อาจสูงถึง 1.5 เมตร ละนะ สำหรับกรณีถ้าเป็นการเดินเข้าไปชนบาทาไคจู แรงปะทะที่จะเกิดขึ้นหลังถูกซับแรงด้วยระบบ suspension แล้วก็น่าจะอยู่แถวๆ 135 g กรณีถ้าเยเกอร์วิ่งสุดฝีเท้าเข้าปะทะกับกำปั้นหรือบาทาไคจู การปะทะด้วยความเร็ว 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเหลือ 0 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในระยะทาง 1.5 เมตรจะเท่ากับแรง g เพียง 530 g เท่านั้นเอง … รู้สึกจะไม่ใช่ตัวเลขที่จะรอดได้เลยนะเนี่ย บางที เราอาจต้องนับการซับแรงด้วยระบบ Suspension ของส่วนคอหุ่นเยเกอร์เข้าช่วยด้วย ถ้าสมมุติให้หัวสามารถโยกช่วยได้อีกสัก 5 เมตร รวมเป็น 6.5 เมตร การเดิน และ วิ่งเข้าไปบวกกับบาทาไคจู จะเป็นภาระกับเรนเจอร์ที่ขนาดความเร่ง 30 g และ 120 g ตามลำดับ ซึ่งตัวเลขอ้างอิงของหมัดน็อคเอ้าท์นักมวยรุ่นเฮวี่เวทจะอยู่แถวๆ 50 g[3] ตัวเลขนี้เราพอจะบอกได้ว่าระบบซับแรงของส่วนหัวเยเกอร์ “อาจจะ”พอรักษาชีวิตของเรนเจอร์ผู้ขับหุ่นได้ แต่ไม่น่าจะรักษาสติไม่ให้ KO สักเท่าไร นี่แค่เดินหรือวิ่งเข้าไปชนเฉยๆนะ ถ้าเป็นกรณีที่ไคจู หวดหาง ฟาดแข้ง หรือต่อยสวนมา เราคงต้องเอาศพนักบินเทใส่ถังก่อนเอาไปฝังเลยละ
สำหรับสูตรการคำนวณความเร่ง คุณคำนวณได้จากสมการ
a = v2/2S โดย
a = ความเร่งในหน่วย m/s2
v = ความเร็วในหน่วย m/s และ
S = ระยะทางในหน่วย m
โดยสรุป ระบบ suspension ใน Conn Pod ของเยเกอร์น่าจะซับแรงช่วยในการเคลื่อนไหวเดิน วิ่ง โยกลบได้พอควร แต่ไม่ค่อยจะมีประโยชน์เวลาเข้าบวกกัน ในการต่อสู้กับไคจูด้วยเยเกอร์ ผมเชื่อว่าเรนเจอร์ควรจะต้องฝึกท่าโยกหลบให้แม่นๆ และการเข้าไปคลุกวงใน ไม่น่าจะเป็นแนวทางการต่อสู้ที่ดีสักเท่าไร และ นอกจากเรื่องการปะทะ การเบรค การเร่ง เรายังมีอีกส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาของการบังคับหุ่นเยเกอร์ นั่นก็คือ ผลกระทบจากการเหวี่ยงและหมุนเกิดเป็นความเร่งหนีศูนย์
การเหวี่ยง และ แกนการหมุน
วัตถุ จะใหญ่จะเล็ก ถ้าหมุนรอบตัวเองในเวลาเท่ากันความเร็วเชิงมุมก็จะเท่ากัน ความเร็วเชิงมุม จะนับเป็นรอบต่อวินาทีหรือเรเดียนต่อวินาที มันก็ประมาณเดียวกัน สำหรับมนุษย์หรือหุ่นยนต์ที่ยืนสองขา การหมุนตัวตามแนวแกนของร่างกาย จะได้รับผลกระทบจากแรงเหวี่ยงน้อยที่สุด ทว่า ถ้าเป็นการถูกจับเหวี่ยง หรือ โดนเตะกลิ้งโค่โล่ สถานการณ์มันจะต่างกันมากกับขนาดตัวที่ขยายขึ้นมา 45 เท่า
การหมุนจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าความเร่งหนีศูนย์ หรือ Centripetal acceleration แม้ว่าเราจะใช้ความเร็วเชิงมุมหมุนๆๆด้วยรอบคงที่ และ ความเร่งหนีศูนย์ จะแปรผันกับรัศมีของการหมุน และรอบการหมุนยกกำลังสอง การที่หุ่นเยเกอร์รุ่นต่างๆตั้งแต่ MK 1 ถึง MK 6 เอา Conn Pod ไปตั้งไว้บนส่วนหัว (ยกเว้น Cherno Alpha ที่ Conn Pod อยู่ที่ท้อง) จะต้องรับภาระของแรงเหวี่ยง โดยเฉพาะ เมื่อมีการหมุนในแนวตั้งฉากกับแกนสมมาตรด้านซ้ายขวาของหุ่น ไม่ว่าจะโดยการกระโดดกลิ้งม้วนตัว โดนรวบขา หรือโดนซัดหงายกลิ้ง เพราะหุ่นเยเกอร์สูงถึง 80 เมตร การควงรอบแกนไปด้วยความเร็ว 1 รอบต่อวินาที ถ้าเราเอามาเข้าสูตรคำนวณหาควางเร่งหนีศูนย์เราจะได้ความเร่งที่ 160 g (อ่านว่า 160 เท่าของแรงโน้มถ่วง) เพราะรัศมีของการเหวี่ยงคือ 40 เมตร
สำหรับสูตรการคำนวณความเร่ง คุณคำนวณได้จากสมการ
a = v2/R โดย
a = ความเร่งในหน่วย m/s2
v = ความเร็วในหน่วย m/s = 2πR.RPS *
R = รัศมีการหมุนในหน่วย m
*RPS ย่อมาจาก Round per second หรือ รอบต่อวินาที
สำหรับหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นเช่นกันดั้ม จะนิยมเอาห้อง Cockpit ไปไว้กลางลำตัว ซึ่งจะถูกต้องกว่าในการรบแบบ 3 มิติ โดยจะสามารถใช้เวอร์เนียหันหุ่นไปในทิศที่ศัตรูอยู่แล้วยิงทำลายได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องผลของแรงเหวี่ยงต่อตัวนักบิน แต่ทั้งนี้ การที่หุ่นเยเกอร์จะเอา Conn Pod ไปตั้งบนหัว ก็อาจมีข้อดีว่า จุดตายที่สำคัญของมนุษย์อยู่ที่หัวกบาล จะโดนต่อยโดนยิงโดนฟันโดนแทง คนเราก็ต้องกันหัวกบาลตัวเองไว้ก่อน ถ้าเกิดเอา Conn Pod ไปตั้งที่กลางลำตัว อาจเผลอมัวแต่กันหน้าลืมกันพุงโดนแทงห้องนักบินตายเอาง่ายๆเสียก็ได้ เพราะนักบินเผลอหลุดป้องกันหัวตามสัญชาตญาณ
อ้างอิง
[1] http://pacificrim.wikia.com/wiki/Gipsy_Avenger
[2] http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/carcr2.html
[3] https://www.connectsavannah.com/savannah/the-true-force-of-a-boxers-punch/Content?oid=2133328