รบกวนผู้รู้ช่วย ฟันธง เรื่องเกณฑ์การจด ภาษีมูลค่าเพิ่มให้ด้วยค่ะ

บริษัทฯ เป็นทำธุรกิจรับจ้าง ปี 58 ยังไม่ได้จดมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ถูกหัก ณ ที่จ่าย ไม่เกิน ล้านแปด  
แต่บริษัทมีการปรับปรุงรายการทางบัญชี เป็นยอดค้างรับ เพิ่ม 200,000 บาท  ทำให้มียอดที่อยู่ในแบบภงด.50  เกินล้านแปด
ต่อมาบริษัท จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปี 59 เดือนกุมภาพันธ์

เราขอสรุปเรื่องที่สรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังดังนี้

1. ปี 58 บริษัทถูกหักภาษีไว้ ไม่เกิน ล้านแปดแต่ทางบัญชีปรับปรุงรายได้ค้างรับ อีก 200000  ( รับเงินมกราคม 59 )
    สรรพากรบอกว่ายังไงปี 58 ก็ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษ๊มูลค่าเพิ่ม ในส่วนที่เกิน

2. ปี 59 เดือนมกราคม เรารับเงิน มีการถูกหัก ณ ที่จ่าย 200000
    สรรพากรบอกว่า เรียกเก็บมูลค่าเพิ่มในเดือนมกราคม 59 นี้ด้วย

เราถามสรรพากรว่า เราถึงเกณฑ์เสียเมื่อไหร่  สรรพากรบอกถึงเกณฑ์ ปี 58 ต้องเสียตั้งแต่ปี 58
เราบอก ok  แต่ปี 58 เราจดแจ้งบัญชีเดียว  เราต้องได้รับยกเว้น  สรรพากรบอกขอถามหัวหน้าก่อน  ----สรุปว่าใช่ไม่ต้องเสียปี 58
แต่สรรพากรบอกว่า เราต้องเสียปีในส่วนของปี 59 เดือนมกราคม ที่ได้รับเงิน ซึ่งถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้
เราถามว่า...เงิน 200000 ของปี 58 กับเงินที่ไดรับ มกราคม 59 มันคือเงินตัวเดียวกัน   สรุปว่าเราต้องเสียจากเกณฑ์ไหนกันแน่
สรุปว่าเราต้องเสียเดือนมกราคม 59

เราขอถามว่า จุดรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ของเราควรอยู่ตรงไหน เราไม่เข้าใจ เกณฑ์สิทธิ หรือเกณฑ์เงินสด
เรายินดีจ่ายนะ แต่เราไม่เข้าใจจริงๆ เหมือนโดนทั้งสองต่อ

ขอบคุณค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่