สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
ผมร่วมด้วยครับ ขออนุญาตไม่พาดพิงนะครับ เอาประสบการณ์ให้ลองเทียบเคียงให้ จขกท. ดู
เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
เรียน อธิบดีกรมสรรพากร
อ้างถึง หนังสือที่ กค 0702(กม.)/1306 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2553
ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร ขอให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด โอ.พี.พี.วัฒนา (2008) แจ้งข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ห้างฯจึงขอชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้
1.การให้บริการขนย้ายน้ำตาลของห้างฯ เป็นการขนย้ายน้ำตาลจากโรงงานผลิตไปเก็บไว้ยังโกดังของผู้ว่าจ้างตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ในการขนย้ายน้ำตาลใช้แรงคนเป็นหลัก และมีอุปกรณ์อื่นเช่น รถเข็น รถยนต์บรรทุกในบางครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะทางในการขนย้าย 1 กม. – 2 กม. โดยประมาณ
2.การประกอบการของห้างฯ ตกลงจัดหากรรมกรรับขนน้ำตาลให้แก่ผู้ว่าจ้างไม่มีการทำสัญญา แต่อย่างใด
3. กรณีข้อมูลไม่ชัดเจนครบถ้วน และกรมสรรพากรต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ นายปรีชา สายคำศร โทร.081 8701500 ยินดีให้รายละเอียดเพิ่มเติม
ห้างฯ ต้องขออภัยที่แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมล่าช้าเกินเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับคำตอบจากท่านเพื่อแก้ไขปัญหาข้อปฏิบัติ จึงขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้
เลขที่หนังสือ : กค 0702/1973
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการรับจ้างขนย้ายน้ำตาล
ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/3 มาตรา 89(4) มาตรา 86/13 และมาตรา 90/4(3)
ข้อหารือ ห้างฯ จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่๑ เมษายน ๒๕๕๑ ประกอบกิจการรับขนย้ายน้ำตาลบรรจุกระสอบ จากโรงงาน ผลิตไปยังโกดังเก็บสินค้าของผู้ว่าจ้างตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง โดยไม่มีการให้บริการอื่น ในการขนย้ายน้ำตาลใช้แรงงานคน เป็นหลัก และมีอุปกรณ์อื่น เช่น รถเข็น รถยนต์บรรทุกในบางครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นกับระยะทางในการขนย้าย (ประมาณ ๑ ถึง ๒ กิโลเมตร)
เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ เจ้าหน้าที่สรรพากรได้แจ้งว่า ห้างฯ มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ ต้องเสียภาษีย้อนหลังให้ครบถ้วนและยื่นแบบ ภ.พ.๓๐ เพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ห้างฯ เห็นว่า การประกอบกิจการของห้างฯ เป็นการให้บริการรับขนของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเป็นทางค้าปกติโดยมิได้ มีการให้บริการอื่น การประกอบกิจการดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๑(๑)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร ห้างฯ จึงหารือ ดังนี้
๑. การให้บริการขนย้ายน้ำตาลของห้างฯ เป็นการขนสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยไม่มีการให้บริการอื่นใดอีก ลักษณะดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๑(๑)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถูกต้องหรือไม่
๒. กรณีห้างฯ เป็นผู้ประกอบการขนส่งตามข้อ ๑. เมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายเงินค่าขนย้ายน้ำตาลผู้ว่าจ้างมีหน้าที่หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ ๑.๐ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.๔/๒๕๒๘ เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ถูกต้องหรือไม่
๓. กรณีห้างฯ ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบ ภ.พ. ๓๐ แล้วตั้งแต่เดือนภาษีกรกฎาคม ๒๕๕๑ จนถึงปัจจุบัน ห้างฯ ต้องทำอย่างไรในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งแล้ว
แนววินิจฉัย ๑. กรณีห้างฯ รับขนย้ายน้ำตาลบรรจุกระสอบจากโรงงานผลิตไปยังโกดังเก็บสินค้าของผู้ว่าจ้างตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง โดยไม่มีการให้บริการอื่นใดอีกในการรับขนดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ห้างฯ จึงได้รับยกเว้นภาษี มูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๑(๑)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๑/๓ แห่งประมวลรัษฎากร บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าขนย้ายน้ำตาล มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ ๑.๐ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.๔/๒๕๒๘ฯ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘
๒. กรณีห้างฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยห้างฯ ได้ประกอบกิจการขนส่งสินค้า ในราชอาณาจักรเพียงประเภทเดียว ไม่ได้ประกอบกิจการอื่น ให้ห้างฯ ติดต่อกับสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ได้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ เพื่อดำเนินการยกเลิกทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม สำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ห้างฯ ได้เสียไปแล้ว เมื่อห้างฯ ได้ทำการถอนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยยื่นคำร้องตามแบบ ค.๑๐ ภายใน ๓ ปีนับแต่วันที่ได้ชำระภาษี ตามมาตรา ๘๔/๑(๒) แห่งประมวลรัษฎากร
นอกจากนี้ ห้างฯ ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าบริการขนส่งจากผู้ว่าจ้าง ตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ และภาษีซื้อที่ห้างฯ จ่ายไปเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการ ห้างฯ ไม่มีสิทธินำไปหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ แห่งประมวลรัษฎากร และมีผลให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่ได้นำใบกำกับภาษี ที่ออกโดยห้างฯ ไปใช้ขอคืนภาษีหรือขอเครดิตภาษีต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ตามมาตรา ๘๙(๔) และมาตรา ๘๙/๑ แห่งประมวลรัษฎากร และต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา ๙๐/๓(๗) แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีห้างฯ ออกใบกำกับภาษีโดย ไม่มีสิทธิออกตามกฎหมายต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี ตามมาตรา ๘๖/๑๓ แห่งประมวล รัษฎากร และแม้ว่าห้างฯ ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีไปแล้ว ก็ยังต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวน ภาษีตามใบกำกับภาษีนั้น ตามมาตรา ๘๙(๖) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องรับผิดทางอาญา ตามมาตรา ๙๐/๔(๓) แห่ง ประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ดี เนื่องจากการออกใบกำกับภาษีและการใช้ใบกำกับภาษีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เกิดจากความสำคัญผิด ในข้อกฎหมาย จึงงดเบี้ยปรับให้ตามข้อ ๑๐ ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๘๑/๒๕๔๒ เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๖ มาตรา ๖๗ ตรี มาตรา ๘๙ และ มาตรา ๙๑/๒๑(๖) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ และการที่บริษัทฯ และผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่นำใบกำกับภาษีไปใช้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา จึงไม่ต้องรับผิดทางอาญา แต่ประการใด
เลขตู้ : 75/38062
เพื่อเป็นการช่วยเหลือกันอีกแรง คิดว่าประสบการณ์ตรงของผมน่าจะใกล้เคียงกับกรณี จขกท. ถ้าไงสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ หนังสือที่ผมนำมาให้ดู ยังมีฉบับแรกอีกแต่ผมเห็นว่าไม่จำเป็นเลยไม่ได้เอามาลงให้ดู
ห้างหุ้นส่วนจำกัด โอ.พี.พี.วัฒนา (2008)
6 หมู่ 1 ต.ห้วยโจด อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
วันที่ 20 ธันวาคม 2553
เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
เรียน อธิบดีกรมสรรพากร
อ้างถึง หนังสือที่ กค 0702(กม.)/1306 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2553
ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร ขอให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด โอ.พี.พี.วัฒนา (2008) แจ้งข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ห้างฯจึงขอชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้
1.การให้บริการขนย้ายน้ำตาลของห้างฯ เป็นการขนย้ายน้ำตาลจากโรงงานผลิตไปเก็บไว้ยังโกดังของผู้ว่าจ้างตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ในการขนย้ายน้ำตาลใช้แรงคนเป็นหลัก และมีอุปกรณ์อื่นเช่น รถเข็น รถยนต์บรรทุกในบางครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะทางในการขนย้าย 1 กม. – 2 กม. โดยประมาณ
2.การประกอบการของห้างฯ ตกลงจัดหากรรมกรรับขนน้ำตาลให้แก่ผู้ว่าจ้างไม่มีการทำสัญญา แต่อย่างใด
3. กรณีข้อมูลไม่ชัดเจนครบถ้วน และกรมสรรพากรต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ นายปรีชา สายคำศร โทร.081 8701500 ยินดีให้รายละเอียดเพิ่มเติม
ห้างฯ ต้องขออภัยที่แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมล่าช้าเกินเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับคำตอบจากท่านเพื่อแก้ไขปัญหาข้อปฏิบัติ จึงขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
(นายสมชาย ไกลกลิ่น)
หุ้นส่วนผู้จัดการ
เลขที่หนังสือ : กค 0702/1973
วันที่ : 6 มีนาคม 2555
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการรับจ้างขนย้ายน้ำตาล
ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/3 มาตรา 89(4) มาตรา 86/13 และมาตรา 90/4(3)
ข้อหารือ ห้างฯ จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่๑ เมษายน ๒๕๕๑ ประกอบกิจการรับขนย้ายน้ำตาลบรรจุกระสอบ จากโรงงาน ผลิตไปยังโกดังเก็บสินค้าของผู้ว่าจ้างตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง โดยไม่มีการให้บริการอื่น ในการขนย้ายน้ำตาลใช้แรงงานคน เป็นหลัก และมีอุปกรณ์อื่น เช่น รถเข็น รถยนต์บรรทุกในบางครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นกับระยะทางในการขนย้าย (ประมาณ ๑ ถึง ๒ กิโลเมตร)
เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ เจ้าหน้าที่สรรพากรได้แจ้งว่า ห้างฯ มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ ต้องเสียภาษีย้อนหลังให้ครบถ้วนและยื่นแบบ ภ.พ.๓๐ เพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ห้างฯ เห็นว่า การประกอบกิจการของห้างฯ เป็นการให้บริการรับขนของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเป็นทางค้าปกติโดยมิได้ มีการให้บริการอื่น การประกอบกิจการดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๑(๑)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร ห้างฯ จึงหารือ ดังนี้
๑. การให้บริการขนย้ายน้ำตาลของห้างฯ เป็นการขนสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยไม่มีการให้บริการอื่นใดอีก ลักษณะดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๑(๑)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถูกต้องหรือไม่
๒. กรณีห้างฯ เป็นผู้ประกอบการขนส่งตามข้อ ๑. เมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายเงินค่าขนย้ายน้ำตาลผู้ว่าจ้างมีหน้าที่หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ ๑.๐ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.๔/๒๕๒๘ เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ถูกต้องหรือไม่
๓. กรณีห้างฯ ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบ ภ.พ. ๓๐ แล้วตั้งแต่เดือนภาษีกรกฎาคม ๒๕๕๑ จนถึงปัจจุบัน ห้างฯ ต้องทำอย่างไรในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งแล้ว
แนววินิจฉัย ๑. กรณีห้างฯ รับขนย้ายน้ำตาลบรรจุกระสอบจากโรงงานผลิตไปยังโกดังเก็บสินค้าของผู้ว่าจ้างตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง โดยไม่มีการให้บริการอื่นใดอีกในการรับขนดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ห้างฯ จึงได้รับยกเว้นภาษี มูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๑(๑)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๑/๓ แห่งประมวลรัษฎากร บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าขนย้ายน้ำตาล มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ ๑.๐ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.๔/๒๕๒๘ฯ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘
๒. กรณีห้างฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยห้างฯ ได้ประกอบกิจการขนส่งสินค้า ในราชอาณาจักรเพียงประเภทเดียว ไม่ได้ประกอบกิจการอื่น ให้ห้างฯ ติดต่อกับสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ได้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ เพื่อดำเนินการยกเลิกทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม สำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ห้างฯ ได้เสียไปแล้ว เมื่อห้างฯ ได้ทำการถอนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยยื่นคำร้องตามแบบ ค.๑๐ ภายใน ๓ ปีนับแต่วันที่ได้ชำระภาษี ตามมาตรา ๘๔/๑(๒) แห่งประมวลรัษฎากร
นอกจากนี้ ห้างฯ ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าบริการขนส่งจากผู้ว่าจ้าง ตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ และภาษีซื้อที่ห้างฯ จ่ายไปเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการ ห้างฯ ไม่มีสิทธินำไปหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ แห่งประมวลรัษฎากร และมีผลให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่ได้นำใบกำกับภาษี ที่ออกโดยห้างฯ ไปใช้ขอคืนภาษีหรือขอเครดิตภาษีต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ตามมาตรา ๘๙(๔) และมาตรา ๘๙/๑ แห่งประมวลรัษฎากร และต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา ๙๐/๓(๗) แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีห้างฯ ออกใบกำกับภาษีโดย ไม่มีสิทธิออกตามกฎหมายต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี ตามมาตรา ๘๖/๑๓ แห่งประมวล รัษฎากร และแม้ว่าห้างฯ ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีไปแล้ว ก็ยังต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวน ภาษีตามใบกำกับภาษีนั้น ตามมาตรา ๘๙(๖) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องรับผิดทางอาญา ตามมาตรา ๙๐/๔(๓) แห่ง ประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ดี เนื่องจากการออกใบกำกับภาษีและการใช้ใบกำกับภาษีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เกิดจากความสำคัญผิด ในข้อกฎหมาย จึงงดเบี้ยปรับให้ตามข้อ ๑๐ ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๘๑/๒๕๔๒ เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๖ มาตรา ๖๗ ตรี มาตรา ๘๙ และ มาตรา ๙๑/๒๑(๖) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ และการที่บริษัทฯ และผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่นำใบกำกับภาษีไปใช้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา จึงไม่ต้องรับผิดทางอาญา แต่ประการใด
เลขตู้ : 75/38062
เพื่อเป็นการช่วยเหลือกันอีกแรง คิดว่าประสบการณ์ตรงของผมน่าจะใกล้เคียงกับกรณี จขกท. ถ้าไงสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ หนังสือที่ผมนำมาให้ดู ยังมีฉบับแรกอีกแต่ผมเห็นว่าไม่จำเป็นเลยไม่ได้เอามาลงให้ดู
แสดงความคิดเห็น
คนที่รู้จักโดนสรรพากรตรวจปรับให้จ่ายภาษีมูลค่าย้อนหลัง จากกรณีรับจ้างขนไก่เป็น ช่วยตีความข้อ กม. ให้หน่อยค่ะ
จากการรับบรรทุกขนไก่เป็นจากหน้าฟาร์มไปโรงเชือด โดยทางเราได้ทำสัญญากับทาง cp ไว้เป็นสัญญาลอจิสติกส์ ในทุกครั้งที่ได้รายได้ทาง cp จะให้หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย เป็นค่าขนส่ง และให้ทางเราออกใบเสร็จเป็นค่าขนส่ง
ในสัญญาที่ระบุของทาง cp คือ เราต้องมีตาขั่ง เวลาไปเอาไก่ขึ้นรถเราต้องจับไก่มาชั่งน้ำหนักและจับขึ้นรถ ทางสรรพากรเลยตีความว่าเป็นรายได้จากการจ้างทำของ ไม่ใช่รายได้จากการขนส่ง ตอนนี้เครียดมากเพราะโดนเรียกเก็บย้อนหลังเยอะมาก
ในกรณีนี้ตกลงตีความว่าเป็นรายได้อะไรกันแน่
ปล. คนรับจ้างบรรทุกไก่รายอื่นที่มีรายได้เยอะกว่า ทำมานานกว่า ก็ยังยื่นรายได้เป็นค่าขนส่ง (สรรพากรคนละพื้นที่)