http://www.thaidk.com/dk2016.html
อาคารด้านบนเคยเป็นที่เก็บหนังสือจำนวน 12 ล้านเล่ม ปัจจุบันหนังสือ 8 ล้านเล่มถูกนำไปหลอมเป็นเยื่อกระดาษ ใช้ทำกระดาษชำระ ส่วนอีก 4 ล้านเล่มถูกย้ายไปเก็บในอาคารของกลุ่มดวงกมล
หนังสือไทยมาถึงจุดจบใน พ.ศ.2559
ธุรกิจหนังสือไทยทรุดตัวลงอย่างตลอดในช่วงห้าปีที่ผ่านมาจากการปิดตัวหรือลดกิจกรรมของหลายองค์กรในวงการหนังสือที่เคยโด่งดังและยิ่งใหญ่ในอดีตมาอย่างต่อเนื่อง ค่ายเดิมอย่างดอกหญ้า ดวงกมล มาสู่ เอเชียบุ๊ค์และเนชั่น นายอินทร์ รวมทั้งซีเอ็ดโดยไม่เว้นบรรดาสำนักพิมพ์ รวมถึงหนังสือพิมพ์และนิตยาสารต่าง ๆ โดยต่างรู้ชะตากรรมของตนเองเป็นอย่างดี ร้านหนังสือเก่าแก่ในต่างจังหวัดเช่นสุริวงศ์ บุ๊ค์เซนเตอร์แห่งเชียงใหม่ ที่เคยเป็นอันดับหนึ่งมาหลายสิบปีก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
แต่เป็นความโชคดีที่มีผู้ใหญ่ใจดีรายใหญ่ที่รวยล้นฟ้าเจ้าของเครื่องหมายช้างมาเป็นผู้อุปการะในยามยาก รับซื้อที่ดินและหุ้นของกลุ่มธุรกิจหนังสือรายแล้วรายเล่า หาไม่แล้วคงเป็นข่าวใหญ่มากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้แน่นอน โดยเฉพาะดวงกมลที่มีโอกาสปล่อยที่ดินแปลงใหญ่ขนาด 700 ไร่ไปอย่างทันเวลา
กลุ่มดวงกมลได้พยายามตั้งรับการล่มสลายของวงการหนังสือไทยด้วยการขายอาคารและที่ดินหลายแปลง และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตด้วย โครงการศูนย์อนุรักษ์หนังสือไทยที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยสร้างอาคารตึกแถวสี่ชั้นขนาด 4คูณ16เมตรสูง4ชั้น จำนวน 40คูหามีพื้นที่ใช้งานกว่า10000 ตารางเมตร เพื่อใช้เก็บหนังสือมากกว่า 12 ล้านเล่มไว้ให้คนรุ่นหลัง แต่เมื่อดำเนินการไปร่วมสิบปีก็ มีคำสั่งศาลให้ส่งคืนอาคารทั้งหมดให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท(หน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย) ทั้งๆที่มีการเจรจากันมาตลอดว่าจะหาวิธีการซื้อคืน ในราคาที่เหมาะสมแต่แล้วก็พบว่าบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทมีการเล็งจะหากำไรจากอาคารดังกล่าวโดยไม่รับฟังเหตุผลใดๆทั้งสิ้น
ทั้งที่มีหลักฐานว่ากลุ่มดวงกมลมีหนี้จากการจำนองอยู่ยี่สิบล้านแต่พอจะขอซื้อคืนก็เรียกราคาหกสิบล้าน ทั้งๆที่มีหลักฐานยืนยันว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์จัดตั้งโดยกฎหมายพิเศษเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินและลูกหนี้ทั้งหลายไม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหากำไร อย่างไรก็ตามเมื่อเขาใช้ช่องทางทางศาลมาจัดการกับเราเราก็ต้องเคารพคำสั่งศาล แล้วค่อยหาทางแก้ไขทางอื่นต่อไป เสียดายและเสียใจเป็นที่สุด แต่ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป
การแก้ปัญหาของดวงกมล
เมื่อได้รับคำสั่งศาลให้ส่งคืนอาคารให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท ก็ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอเวลาในการขนย้ายหนังสือมากกว่า 12 ล้านเล่ม เป็นเวลา1ปีโดยอ้างว่าต้องมีการสร้างอาคารใหม่เพื่อใช้ในการเก็บหนังสือที่จำเป็นจริงๆ มากกว่าสี่ล้านเล่มโดยเรามีแผนทำลายหนังสือ8ล้านเล่ม ที่ด้อยคุณค่าด้วยการส่งเข้าโรงหลอมทำเยื่อกระดาษ
แต่ศาลก็ได้แจ้งว่าเราต้องคุยกับเจ้าของอาคารเอง เราจึงได้หันไปคุยกับบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทอีกครั้ง ซึ่งก็ตอกย้ำให้เราทำตามคำสั่งศาลก็แล้วกัน เราจึงได้เริ่มทยอยขนหนังสือมากกว่า8ล้านเล่มน้ำหนัก1000ตันเข้าสู่โรงหลอมกระดาษด้วยความอาลัยยิ่ง โดยใช้เวลาสี่เดือนเต็มๆในการขนย้าย ส่วนหนังสืออีก 4 ล้านเล่มก็ได้มีการสร้างอาคารชั่วคราวไว้เก็บเพื่อรอการแก้ปัญหาต่อไป ใครสนใจภาระกิจนี้ก็เข้าชมได้ที่ดวงกมลนครสวรรค์ครับ
1กค.2560 ผู้รับเหมาส่งมอบอาคารคลังหนังสือหลังใหม่ พื้นที่ 1600 ตารางเมตร ในวันเดียวกันก็ได้รับหมายศาล ให้ขนย้ายของออกไปจากอาคารหลังเก่า ภายในกำหนดแปดวัน
วันที่ 4 กค.2560 มีจดหมายแจ้งแก่บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิทอีกครั้งว่า เราได้ขนย้ายหนังสือออกจากอาคารแล้ว 75% เป็นพื้นที่ 3 ชั้นจากทั้งหมด 4 ชั้น เหลือเพียงชั้นล่าง ซึ่งจะใช้เวลาอีกเพียงสามเดือนก็จะเรียบร้อย จึงขอความกรุณาผ่อนผัน เพื่อไม่ให้หนังสือที่เหลือถูกทำลาย เพราะการที่เอาหนังสือแปดล้านเล่มไปทำลายในครั้งแรกก็เป็นความเจ็บปวดแสนสาหัสแล้ว จึงขอความกรุณาอีกครั้ง ในระหว่างนี้ก็จะเร่งขนย้ายตามที่ขอไว้
Email:
dkbookbb2000@yahoo.com
gmail :somboondk@gmail.com
::รูปขนหนังสือ8ล้านเล่มไปทำลาย
รูปภาพเพิ่มเติมอีกมากตามลิ้งค์
https://web.facebook.com/somboondk/media_set?set=a.1398368386871675.1073741829.100000955816867&type=3
รูปภาพการทำลายหนังสือ 8 ล้านเล่ม เคราะห์กรรมของดวงกมลเมืองหนังสือพัฒนาการ
อาคารด้านบนเคยเป็นที่เก็บหนังสือจำนวน 12 ล้านเล่ม ปัจจุบันหนังสือ 8 ล้านเล่มถูกนำไปหลอมเป็นเยื่อกระดาษ ใช้ทำกระดาษชำระ ส่วนอีก 4 ล้านเล่มถูกย้ายไปเก็บในอาคารของกลุ่มดวงกมล
หนังสือไทยมาถึงจุดจบใน พ.ศ.2559
ธุรกิจหนังสือไทยทรุดตัวลงอย่างตลอดในช่วงห้าปีที่ผ่านมาจากการปิดตัวหรือลดกิจกรรมของหลายองค์กรในวงการหนังสือที่เคยโด่งดังและยิ่งใหญ่ในอดีตมาอย่างต่อเนื่อง ค่ายเดิมอย่างดอกหญ้า ดวงกมล มาสู่ เอเชียบุ๊ค์และเนชั่น นายอินทร์ รวมทั้งซีเอ็ดโดยไม่เว้นบรรดาสำนักพิมพ์ รวมถึงหนังสือพิมพ์และนิตยาสารต่าง ๆ โดยต่างรู้ชะตากรรมของตนเองเป็นอย่างดี ร้านหนังสือเก่าแก่ในต่างจังหวัดเช่นสุริวงศ์ บุ๊ค์เซนเตอร์แห่งเชียงใหม่ ที่เคยเป็นอันดับหนึ่งมาหลายสิบปีก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
แต่เป็นความโชคดีที่มีผู้ใหญ่ใจดีรายใหญ่ที่รวยล้นฟ้าเจ้าของเครื่องหมายช้างมาเป็นผู้อุปการะในยามยาก รับซื้อที่ดินและหุ้นของกลุ่มธุรกิจหนังสือรายแล้วรายเล่า หาไม่แล้วคงเป็นข่าวใหญ่มากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้แน่นอน โดยเฉพาะดวงกมลที่มีโอกาสปล่อยที่ดินแปลงใหญ่ขนาด 700 ไร่ไปอย่างทันเวลา
กลุ่มดวงกมลได้พยายามตั้งรับการล่มสลายของวงการหนังสือไทยด้วยการขายอาคารและที่ดินหลายแปลง และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตด้วย โครงการศูนย์อนุรักษ์หนังสือไทยที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยสร้างอาคารตึกแถวสี่ชั้นขนาด 4คูณ16เมตรสูง4ชั้น จำนวน 40คูหามีพื้นที่ใช้งานกว่า10000 ตารางเมตร เพื่อใช้เก็บหนังสือมากกว่า 12 ล้านเล่มไว้ให้คนรุ่นหลัง แต่เมื่อดำเนินการไปร่วมสิบปีก็ มีคำสั่งศาลให้ส่งคืนอาคารทั้งหมดให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท(หน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย) ทั้งๆที่มีการเจรจากันมาตลอดว่าจะหาวิธีการซื้อคืน ในราคาที่เหมาะสมแต่แล้วก็พบว่าบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทมีการเล็งจะหากำไรจากอาคารดังกล่าวโดยไม่รับฟังเหตุผลใดๆทั้งสิ้น
ทั้งที่มีหลักฐานว่ากลุ่มดวงกมลมีหนี้จากการจำนองอยู่ยี่สิบล้านแต่พอจะขอซื้อคืนก็เรียกราคาหกสิบล้าน ทั้งๆที่มีหลักฐานยืนยันว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์จัดตั้งโดยกฎหมายพิเศษเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินและลูกหนี้ทั้งหลายไม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหากำไร อย่างไรก็ตามเมื่อเขาใช้ช่องทางทางศาลมาจัดการกับเราเราก็ต้องเคารพคำสั่งศาล แล้วค่อยหาทางแก้ไขทางอื่นต่อไป เสียดายและเสียใจเป็นที่สุด แต่ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป
การแก้ปัญหาของดวงกมล
เมื่อได้รับคำสั่งศาลให้ส่งคืนอาคารให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท ก็ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอเวลาในการขนย้ายหนังสือมากกว่า 12 ล้านเล่ม เป็นเวลา1ปีโดยอ้างว่าต้องมีการสร้างอาคารใหม่เพื่อใช้ในการเก็บหนังสือที่จำเป็นจริงๆ มากกว่าสี่ล้านเล่มโดยเรามีแผนทำลายหนังสือ8ล้านเล่ม ที่ด้อยคุณค่าด้วยการส่งเข้าโรงหลอมทำเยื่อกระดาษ
แต่ศาลก็ได้แจ้งว่าเราต้องคุยกับเจ้าของอาคารเอง เราจึงได้หันไปคุยกับบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทอีกครั้ง ซึ่งก็ตอกย้ำให้เราทำตามคำสั่งศาลก็แล้วกัน เราจึงได้เริ่มทยอยขนหนังสือมากกว่า8ล้านเล่มน้ำหนัก1000ตันเข้าสู่โรงหลอมกระดาษด้วยความอาลัยยิ่ง โดยใช้เวลาสี่เดือนเต็มๆในการขนย้าย ส่วนหนังสืออีก 4 ล้านเล่มก็ได้มีการสร้างอาคารชั่วคราวไว้เก็บเพื่อรอการแก้ปัญหาต่อไป ใครสนใจภาระกิจนี้ก็เข้าชมได้ที่ดวงกมลนครสวรรค์ครับ
1กค.2560 ผู้รับเหมาส่งมอบอาคารคลังหนังสือหลังใหม่ พื้นที่ 1600 ตารางเมตร ในวันเดียวกันก็ได้รับหมายศาล ให้ขนย้ายของออกไปจากอาคารหลังเก่า ภายในกำหนดแปดวัน
วันที่ 4 กค.2560 มีจดหมายแจ้งแก่บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิทอีกครั้งว่า เราได้ขนย้ายหนังสือออกจากอาคารแล้ว 75% เป็นพื้นที่ 3 ชั้นจากทั้งหมด 4 ชั้น เหลือเพียงชั้นล่าง ซึ่งจะใช้เวลาอีกเพียงสามเดือนก็จะเรียบร้อย จึงขอความกรุณาผ่อนผัน เพื่อไม่ให้หนังสือที่เหลือถูกทำลาย เพราะการที่เอาหนังสือแปดล้านเล่มไปทำลายในครั้งแรกก็เป็นความเจ็บปวดแสนสาหัสแล้ว จึงขอความกรุณาอีกครั้ง ในระหว่างนี้ก็จะเร่งขนย้ายตามที่ขอไว้
Email:
dkbookbb2000@yahoo.com
gmail :somboondk@gmail.com
::รูปขนหนังสือ8ล้านเล่มไปทำลาย
รูปภาพเพิ่มเติมอีกมากตามลิ้งค์
https://web.facebook.com/somboondk/media_set?set=a.1398368386871675.1073741829.100000955816867&type=3