ห้องเพลง**คนรากหญ้า**พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสีไม่มีกลุ่ม มีแต่เสียง 21/3/2561 - การปกครองในโลกนี้

กระทู้คำถาม
ดอกไม้หัวใจสวัสดีครับอมยิ้ม17 สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันพุธ กลางสัปดาห์ MC แอ๊ด (WANG JIE หรือ ชื่อดั้งเดิม "พฤษภเสารี" สมาชิกเก่าห้อง รดน.ช่วงปี 2546-2550) มาเข้าประจำการครับ เพื่อช่วยน้องๆ MC คือคุณโอ้ กับนู๋สร้างชาติที่ไม่ค่อยว่างกัน ทำให้ฮารุจังต้องรับภาระหนัก 5 วันเต็มๆ ตั้งแต่จันทร์ถึงศุกร์ถ้าสองคนนั่นไม่ว่าง ตายแน่ อย่ากระนั้นเลย MC คือผมก็เลยต้องโดดเข้ามาช่วย แต่เวลาในสัปดาห์ก็ต้องเลือกที่เหมาะสมและสะดวก และตัดสินใจเลือกวันพุธครับ ให้ฮารุจังพักหายใจหายคอคล่องหน่อย  อมยิ้ม36

วันนี้ นำเสนอเรื่อง "การปกครองในโลกนี้" ครับ อ่านแล้วลองเปรียบเทียบอะไรกันดู...

ในโลกนี้ มีประเทศทั้งหมด 193 ประเทศ (ข้อมูลจาก http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=441349&Ntype=120 ) แต่ละประเทศ ก็มีระอบบการปกครองที่แตกต่างกันไป คือ เป็นประชาธิปไตย 100% ก็มี ไม่เต็มร้อยก็มี เป็นเผด็จการก็มี ก็ว่ากันไป...แต่เมื่อมองดูจากภาพโดยรวม จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆครับ คือ
1. ประเทศที่เป็น รัฐเดี่ยว (Unitary State)
2. ประเทศที่เป็น สหพันธรัฐ (Federation)


1. รัฐเดี่ยว เป็นรัฐซึ่งปกครองเป็นหน่วยเดี่ยว โดยรัฐบาลกลางอยู่ในระดับสูงสุด และเขตการบริหารใด ๆ ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารระดับย่อยของรัฐ สามารถใช้อำนาจได้เฉพาะตามที่รัฐบาลกลางจะมอบหมายให้ทำการแทนเท่านั้น

มีรัฐเป็นจำนวนมากในโลกนี้ ที่มีรูปแบบเป็นรัฐเดี่ยว รวมทั้ง ประเทศไทย

รัฐเดี่ยว ตรงข้ามกับรัฐสหพันธ์ หรือสหพันธรัฐ อย่างไร ?

ในรัฐเดี่ยว รัฐบาลกลาง อาจจัดตั้ง หรือยุบหน่วยงานบริหารระดับย่อยของรัฐ และอำนาจของหน่วยงานเหล่านี้ อาจถูกขยายเพิ่มเติมหรือย่อลงก็ได้ แม้อำนาจทางการเมืองในรัฐเดี่ยวอาจมีการมอบหมายให้ทำการแทนผ่านการมอบอำนาจปกครองสู่รัฐบาลท้องถิ่นโดยบทกฎหมาย หากรัฐบาลกลางยังอยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งอาจยกเลิกนิติกรรมของรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจหรือตัดทอนอำนาจของรัฐบาลท้องถิ่นก็ได้ (รวมศูนย์อำนาจ)

สหราชอาณาจักร

เป็นตัวอย่างหนึ่งของรัฐเดี่ยว สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งร่วมกับแคว้นอังกฤษ เป็นสี่ประเทศอันประกอบขึ้นเป็น สหราชอาณาจักร มีอำนาจที่ได้รับมอบซึ่งปกครองตนเองระดับหนึ่ง โดบทั้งสกอตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ ต่างมีฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของตนเอง แต่อำนาจที่ได้รับมอบทั้งหมดล้วนแต่เป็นที่รัฐบาลกลางของอังกฤษมอบหมายให้ทำการแทนทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจไม่อาจคัดค้านการเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติที่รัฐสภาออก และอำนาจของรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจนั้น รัฐบาลกลาง (หมายถึง รัฐสภาพร้อมด้วยรัฐบาลอันประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า) สามารถเพิกถอนหรือลดย่อลงได้ ตัวอย่างเช่น รัฐสภาไอร์แลนด์เหนือเคยถูกพักไว้สี่ครั้ง โดยอำนาจได้ถ่ายโอนไปยังสำนักไอร์แลนด์เหนือของรัฐบาลกลาง

ยูเครน

เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐไครเมียในประเทศมีระดับการปกครองตนเองและมีคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติปกครอง ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 สาธารณรัฐดังกล่าวยังได้มีตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งถูกยุบไปเพราะการโน้มเอียงแบ่งแยกซึ่งเจตนาจะโอนไครเมียให้แก่รัสเซีย

2. สหพันธรัฐ (Federation)
สหพันธรัฐ หรือ รัฐสหพันธ์ เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐ หรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้น ตามแบบที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง

ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์

สหพันธรัฐนั้น อาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวนหนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด

องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพันธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ Australia, Brazil, Ethiopia, Germany, India, Mexico, Nigeria, Pakistan และ Switzerland

รูปแบบสหพันธรัฐ
ในระบอบสหพันธรัฐ รัฐบาลท้องถิ่น (หรือ"รัฐบาลองค์ประกอบ") นั้น ถือว่า มีอำนาจอธิปไตยในบางส่วน ทั้งยังมีอำนาจเฉพาะที่รัฐบาลกลางไม่สามารถใช้ได้ ส่วนรัฐบาลกลางจะมีอำนาจในการบริหารจัดการระบบราชการส่วนรวม และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการทูต ซึ่งรวมไปถึงการค้า การสื่อสาร และการทหาร ซึ่งเป็นอำนาจที่รัฐบาลท้องถิ่นไม่มีในครอบครอง อีกทั้งยังไม่มีสถานะเป็นรัฐอธิปไตยในกฎหมายสากล ซึ่งจะถือว่ารัฐบาลกลางเป็นตัวแทนของรัฐบาลท้องถิ่นทั้งประเทศ

ส่วนใหญ่แล้ว ทั่วทั้งของสหพันธรัฐจะใช้ระบบรัฐบาลกลาง-ท้องถิ่นในการบริหารราชการ แต่ในบางกรณี สหพันธรัฐอาจมีดินแดนที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมโดยตรง อย่างเช่นประเทศแคนาดาและออสเตรเลียที่รัฐบาลกลางมีอำนาจในการเปลี่ยนหรือยกเลิกขอบเขตอำนาจบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมก่อน ทำให้ปัจจุบันแต่ละรัฐของสองประเทศนี้มีอำนาจในการปกครองตนเองที่ไม่เท่าเทียมกัน หรือประเทศอินเดีย ที่นอกจากรัฐบาลองค์ประกอบแล้ว ยังมีดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของสหภาพอีกหลายแห่งด้วยกัน


และสหรัฐอเมริกาที่มีเขตปกครองพิเศษของรัฐบาลกลาง คือกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (DC = District of Columbia) ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษที่ติดต่อกับรัฐเวอร์จิเนียและรัฐแมริแลนด์ โดยวอชิงตัน ดี.ซี. อยู่ในเขตฝั่งซ้ายของแม่น้ำโปโตแม็ก (Potomac River) ในกรณีข้างต้น รัฐบาลกลางจะแยกเขตปกครองออกจากการปกครองของรัฐบาลท้องถิ่นดั้งเดิม และใช้พื้นที่ของเขตเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆ ตามที่รัฐบาลกลางกำหนด ส่วนใหญ่แล้วเขตการปกครองพิเศษที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมโดยตรงจะอยู่ในบริเวณที่มีประชากรเบาบางเกินกว่าที่จะตั้งเป็นรัฐ หรือไม่ค่อยมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากเท่าใดนัก หรือไม่ก็เป็นบริเวณที่เคยมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่นเมืองหลวงของประเทศ

ต้นกำเนิดของสหพันธรัฐ ส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นมาจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐอธิปไตย ซึ่งอาจเป็นข้อตกลงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือการทหาร (ในกรณีของสหรัฐอเมริกา) หรือข้อตกลงระหว่างรัฐเพื่อสถาปนารัฐชนชาติเดียว ที่รวบรวมเขตแดนจากรัฐต่างๆ ที่มีเชื้อชาติเดียวกันเข้ามารวมกันเป็นประเทศเดียว (ในกรณีของเยอรมนี) อย่างไรก็ดี ต้นกำเนิดและความเป็นมาของแต่ละชาติย่อมแตกต่างกัน อย่างในออสเตรเลีย ที่สถาปนาสหพันธรัฐจากการอนุมัติของประชาชนผ่านการลงคะแนนเสียงในประชามติ รัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ในขณะที่ประเทศบราซิลเคยใช้ทั้งระบอบสหพันธรัฐและการปกครองแบบรัฐเดียว บราซิลในปัจจุบันประกอบไปด้วยรัฐที่มีอาณาเขตเหมือนในยุคเริ่มแรกที่เพิ่งมี การตั้งอาณานิคมในบราซิลโดยชาวโปรตุเกส ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีความสำคัญในหลายๆ ด้านต่อประเทศ และรัฐใหม่ที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลกลาง โดยรัฐล่าสุดถูกตั้งขึ้นมาผ่านรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2531 โดยมีจุดประสงค์หลักคือเป็นที่ตั้งให้กับหน่วยงานบริหารราชการ

รายชื่อประเทศที่ใช้ระบบสหพันธรัฐ


แผนที่ แยกให้เห็น สหพันธรัฐ กับ รัฐเดี่ยว

ก่อนจะจบ อยากถามท่านทั้งหลายดูเล่นๆ อย่าซีเรียส...

สมมติว่า ถ้าเลือกได้...ย้ำว่า แค่สมมติเท่านั้น อย่าดราม่า!

สมมติว่า ถ้าเลือกได้ ....

มีใคร อยากลอง สหพันธรัฐ บ้างหรือเปล่า ?

ตอบในใจของตนเองเท่านั้นก็ได้นะครับ

แล้วพบกันใหม่ในคราวหน้า สวัสดีครับ อมยิ้ม04
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
มาเล่นกันเถอะ   มาเล่นกันเถอะ


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่