เหลวไหลจริง ๆ เลยยย เรื่องไหล ๆ เหลว ๆ ใน รถ มอเตอร์ไซค์ ฉบับ ไข่ต้ม ครับ ^^

แฮ่ ๆ สวัสดี ทุกท่านที่เคารพ นะครับผม
กระผม นาย ไข่ตั้ง ตังค์ไม่มี คนเดิม
ชายผู้มีเวลา โคตรจะว่างมากที่สุดในโลก ที่ สวนทางกับรายได้ แบบ สุด ๆ

วันนี้ก็ มาว่ากันด้วยเรื่อง เหลวไหล ๆ กัน บ้างดีกว่า เนอะ
กับ เรื่องราวของ ระบบ " ของเหลว " ในรถของเรา

ซึ่งแน่นอน ว่า ก็ยังคงเป็น ข้อมูลแบบ พื้นฐาน คร่าว ๆ ให้เราได้ สะกิดกันซักนิดว่า เฮ๊ยย มันถึงเวลาหรือยัง หรือ เฮ๊ย อย่าเพิ่งลืมกันนะว่า รถเราก็มี ไอ้ของเหลว เหล่านี้อยู่ด้วย  ครับผม

นั่นก็คือ สารพัด น้ำทั้งหลาย ในรถเราครับ (ฟังดูแปร่ง ๆ กับเรื่องน้ำ )


แฮ่ ๆ นั่นแหละครับ น้ำมากมายก่ายกอง ที่มีในรถเรา มันจะมี น้ำอะไรมั่งเอ่ย มาปั่นประสาทกันเล๊ยยยยย

อันดับแรก วันนี้ ขอเริ่มที่ น้ำที่สุดแสนจะเป็น น้ำที่ใคร ๆ ก็ ต้องให้ความใส่ใจเป็นอันดับต้น ๆ เลย ก็คือ
" น้ำมันเครื่อง " ( จะกลายเป็น โฆษณาให้เขาเปล่าหว่า... เอ่อ ถ้ายังไง จะให้ค่า สปอนเซอร์ ก็ไม่ว่านะ )

รูปจาก กูเกิ้ล

อ่า นั่นแหละครับ อันดับแรกเลย คือเรื่องของ น้ำมันเครื่อง ที่น่าจะเรียกว่า เป็น น้ำ ต้น ๆ ที่เรามักจะให้ความสำคัญ อย่างมากเลย
ซึ่ง เจ้า น้ำมันเครื่องเนี่ยเราจะเห็นว่ามันมีทั้ง น้ำมันเครื่องธรรมดา กึ่งสังเคราะห์ สังเคราะห์ 100% ที่เราได้ยินกันมานาน

แต่ถ้าจะเป็น รูปแบบ ที่ แยกกันเป็นสากล เขาจะแยก เป็น Group ครับผม
จะมีแยกเป็น 5 Group ตามตาราง นี้




โดยที่ Group 1 - 3 โดยส่วนมาก คือ
Mineral oil หรือ น้ำมันแร่พื้นฐาน ครับ แต่ว่า ใน กรุ้ป 2 - 3 จะเป็นการนำมาเพิ่มคุณภาพขึ้น โดยเฉพาะ ใน Group 3 จะมีการปรับแต่ง ใส่สารเพิ่มคุณภาพต่าง ๆ เข้าไป แล้วจะใช้คำว่า Synthetic Blend ประกอบ ซึ่งตรงนี้ อาจจะมีหลายคน เข้าใจผิดได้ว่า มัน คือ น้ำมันเครื่อง สังเคราะห์แท้ จริงๆ แล้ว มันคือ น้ำมันแร่ แต่มีการนำมา ใส่สารปรุงแต่ง เพิ่ม สมรรถภาพ ครับผม

ต่อมา จะ ว่ากันที่ Group 4 - 5  ซึ่งนี้คือ Fully Synthetic ที่แท้ทรู
พวกนี้ จะเป็นน้ำมันสังเคราะห์แท้ ที่มีตัวเบส จาก สารสังเคราะห์โดยตรง โดยที่ จะแยก เป็น PAO ( Polyalphaolefin )  และ Ester  ครับ

เช่น
ตัวยอดฮิต ลิตรหลักพัน ... ( ที่ชั้นก็ได้แค่มองงงง )
เขียนกันเลย ประกาศชั้นว่าชั้นคือ Ester ซึ่ง จัดเป็นระดับ สูงสุด คือ Group 5 ( กลายเป็น โฆษณา อีกเปล่าว๊าาา ก็ถ้า ทาง หมูตุ๋นจะ เห็นใจ ส่งให้ใช้ฟรี สักลัง ก็ โอเค คร๊าบ )

ซึงใน น้ำมันเครื่อง Group 4 ขึ้นไป ผมจะขอเรียก น้ำมันเหล่านี้ว่า " น้ำมันสังเคราะห์แท้ แบบ 100 % " เพราะด้วย สารตั้งต้นของมัน คือน้ำมันสังเคราะห์ ที่มาจากการสังเคราะห์ จนได้เบสพื้นฐานมา
ไม่ใช่ การนำเอา น้ำมันแร่ มายัดเยียด สารปรับแต่ง คุณภาพ แล้ว ใช้คำว่า Synthetic ดังนั้นแล้ว ในน้ำมัน ตระกูลนี้ จะมีราคาที่ สูงกว่ามาก ด้วยต้นทุนการผลิตที่มากกว่า คุณภาพของสารตั้งต้น ที่สูงกว่า ทำให้มี ประสิทธิภาพที่ดี และ สูงกว่ามาก
ทั้งการหล่อลื่น ความสามารถในกาารทนความร้อน การชะล้าง รวมทั้ง การไม่เกิดฟอง อายุการใช้งานที่ยาวนาน และ อีกหลาย ปัจจัย ครับผม

ดังนั้นแล้ว บางที การที่เราเลือก น้ำมันเครื่อง สังเคราะห์แท้ 100 % แล้วเจอความแตกต่างของราคา นั่นก็ด้วย Group ที่มันอยู่นั่นเองครับ  ซึ่งในปัจจุบัน ก็มี ผู้ผลิต หลายราย ที่ใช้น้ำมัน Group 3 มายัดเยียด ความเป็น สังเคราะห์ ซึ่งในทาง ข้อกฏหมายก็ ไม่ผิดครับ แต่ถ้าด้วย เรื่องของ ประสิทธิภาพ ยังไงเสีย ก็ คงไม่สามารถสู้ Group 4 - 5  ได้
ดังนั้น ในการเลือกน้ำมันเครื่อง หากมี ทุนทรัพย์มากพอ การจะจัดน้ำมันเครื่อง ดี ๆ ระดับ Group 4 - 5 ก็เป็นทางเลือกที่ดี ครับผม
แต่โดยส่วนมาก ก็ คงไม่สามารถทราบได้โดยง่าย ว่า เป็น น้ำมันเครื่อง Group ไหนครับ ก็ อาจต้องดูในส่วน Data Sheet ซึ่งจะมีบอก ( ในบางยี่ห้อ )
และ ดูที่ ค่า VI (Viscosity Index ) ซึ่งในพวก Group 4 โดยมาก จะมีค่ามากกว่า 120 ขึ้นไป จาก ตาราง
( แต่ข้อมูลส่วนนี้ คงต้อง เสริท นะครับ หาไว้ก็ดี)

ส่วน ใน น้ำมันเครื่อง มอเตอร์ไซค์นั้น ก็ จะมี มาตรฐาน ของ น้ำมันเครื่อง กำหนดไว้ คือ

API ( American Petroleum Institute ) เป็น มาตรฐานน้ำมันครับ จะมี ข้อกำหนดต่างๆ ของ คุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง เช่น การชะล้าง การทนความร้อน ไม่เกิดฟอง การกัดกร่อน ต่าง ๆ
ในส่วนของ มอเตอร์ไซค์พื้นฐานก็ สามารถใช้ได้ ตั้งแต่ SJ  ขึ้นไป แต่ ใน ปัจจุบัน ว่ากันที่ SN+ ไปแร้ววว

SAE อันนี้ ก็เรื่อง ค่าความหนืด ของน้ำมันครับ ซึ่งเป็น เบอร์ความหนืดครับผม และ ค่อนข้างจะมีดราม่า มากมายที่สุดแล้วล่ะ ในเรื่องของความหนืด ครับ
โดยที่ ค่า ความหนืดนั้น คือ สภาวะการคงสภาพ ความข้นใส ของน้ำมันเครื่อง ใน อุณหภูมิที่กำหนดครับ โดยที่ยังคงความ ข้นใส ตามเบอร์ที่กำหนด
ซึ่งจะมี กราฟ  หน้าตาประมาณนี้



โดยตัวเลขหน้า คือ ในสภาวะที่ อุณภูมิ ติดลบ ตัวน้ำมันเครื่อง จะยังสามารถ " คงสภาพความเป็นของไหล " ได้อยู่
ส่วนในตัวเลขหลัง คือ ใน อุณหภูมิสูง น้ำมันเครื่อง ก็ยังมีความ " ข้นใส " และ ประสิทธิภาพของไหล ตามเบอร์ น้ำมัน ตามกราฟ ครับ
ซึ่ง แน่นอน ใน อดีต เราจะเจอ น้ำมันเกรดเดียว ที่เรียกว่า Mono Grade  ดังนั้น การเลือก อาจจะต้องดูจาก สภาพแวดล้อม พื้นที่ และ ประเภทเครื่องยนต์ที่ใช้
แต่ในปัจจุบัน เรามีน้ำมันเครื่องแบบ Multi Grade แล้ว ดังนั้น ก็สะดวกในการเลือกใช้งาน ให้เหมาะสมครับ

ส่วน จะเลือก หนืด ๆ หรือ ใส ๆ ดี ส่วนตัวผมเอง ผมจะไม่เน้นมากนักครับ แค่ให้ ค่า SAE อยู่ในเกณฑ์ ตามคู่มือรถกำหนด ผมก็ใช้แล้วล่ะครับ ผมจะเน้นที่ Group น้ำมันเสียมากกว่า เพราะ ความสามารถและ ประสิทธิภาพ จริง ๆ ของ น้ำมันเครื่อง มันคือ ตรงนี้
เช่น น้ำมันเครื่อง สังเคราะห์ เหมือนกันแท้ ๆ เลย เบอร์ความหนืด เท่ากัน แต่หากเป็น น้ำมัน คนละ กรุ๊ป ผลที่ได้ เห็นผลต่างกันเลยล่ะครับ

และ ในส่วนของ JASO กำกับไว้ โดยแบ่งแยกเป็น JASO MA / MB ซึ่งเป็น เรื่องของ ค่าแรงเสียดทาน ซึ่งส่งผลกับ คลัทซ์ ครับ
อันนี้ จะเป็น สำเหรับ มอเตอร์ไซค์ โดย MA นั้นจะแยกเป็น 1 / 2  อีก ในส่วนนี้ ผมยังไม่ทราบถึง ข้อกำหนดในการทดสอบว่า ตัวไหน สูงกว่า ( ถ้าท่าน สมาชิกจะเพิ่มเติม ก็ ยินดีครับผม ) แต่ ผมจะ จำไว้ว่า
JASO MA  จะใช้กับรถที่ ห้องน้ำมันเครื่อง กับ ห้อง คลัทซ์ อยู่ด้วยกัน หรือ เรียกว่า คลัทซ์เปียก นั่นเอง
ส่วน
JASO MB จะใช้กับรถที่มี ห้องคลัทซ์ห้องเฟืองขับ แยกออกจากแคร๊งค์น้ำมันเครื่อง หรือ คลัทซ์แห้ง นั่นเอง

ต่อมาก็เจอ ปัญหาโลกแตก คือ น้ำมันเครื่อง รถยนต์ ใช้กับ มอเตอร์ไซค์ได้มั้ย ใช้แล้ว คลัทซ์จะลื่นมั้ย
ตรงส่วนนี้ ก็ ยังไม่มีการทดลองเป็น รูปธรรม ให้เห็นกัน ผมคงไม่ออกความเห็น ในส่วนนี้ ครับผม เพราะมีหลายท่านก็ใช้ได้ โดยไม่เกิดปัญหา

แต่ถ้า ถามด้วย กายภาพ และการใช้งาน ผมขอเลือกใช้ให้ ตรงประเภท เพื่อความสบายใจ แล้วกันครับผม ^^

ครับ ก็คงเป็น เรื่อง พื้นฐาน คร่าว ๆ ให้กับ มือไหม่ ในการเลือก น้ำมันเครื่อง นะครับผม หากผิดพลาด หรือ มีเพิ่มเติมประการใด ก็ ขอความอนุเคราะห์ ท่านสมาชิก ให้ความรู้เพิ่มเติมกันต่อได้นะครับผม

แล้วเดี๋ยวใน คราวต่อไป ผมจะลงเรื่อง เหลวไหล ตัวไหนอีก ก็ ติดตามกันนะครับผม  รอบนี้ พิมพ์จนนิ้วล๊อคแระ ขอพักแปร๊บนึง

นาย ไข่ตั้ง ตังค์ไม่มี ( บุรุษผู้มีเวลาล้นฟ้าสวนทางกับรายได้... )
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่