คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
พอดีกำลังจะเอาไปใส่ในกระทู้เนื้อหาแล้วไม่แน่ใจว่ามันถูกหลักแน่รึเปล่า ขอฝากตัวด้วยนะครับ
๑ ......
ร่มเกล้าหนอแกร่งไร้- ใดเทียบ (เทียงกัน)
มีทรัพย์สินล้นเพียบ มากไซร้
หวังสร้างชื่อขจรเหยียบ กลบผู้ (อื่นสิ้น)
เหนือยิ่งกว่าเทพไท้ เชิดค้ำบารมี
-----------------------------------------------------
♦ คำสร้อย ไม่ต้องใส่ ..วงเล็บ..ครับ ใช้การเว้นวรรคแยกให้เห็นว่าเป็นคำสร้อยเท่านั้น
♦ โคลงสี่ฯ มีจำนวนคำรวม 30 คำ / คำสร้อยไม่นับรวม จะมีหรือไม่มีก็ได้
♦ ในบาทที่ 3 คำที่ 7 ..หวังสร้างชื่อขจรเหยียบ กลบผู้ (อื่นสิ้น)
วรรคหลัง ..ผู้ ผิด"ฉันทลักษณ์" .. ต้องเป็นคำเอก (ใช้รูปเอกหรือเสียงเอก) ก็ได้ครับ
♦ ♦ คำสร้อย มีจำนวนคำให้เลือกใช้ได้ทั้งหมด 18 คำ
ขอให้ท่านไปดูที่ ..คำสร้อยที่ใช้ในโคลงสี่ฯ.. ที่ในวิกิพีเดีย
มีให้ไว้เลือกใช้ทั้งหมด พร้อมคำอธิบายแต่ละคำว่าคำไหนควรใช้กับรูปประโยคใด
♦ ♦ คำสร้อย ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ถ้าเนื้อความในบาทสมบูรณ์แล้ว
เอามาใส่ก็ถือว่าเป็นการ ..รกสร้อย..
---------------------------------------------------------------------------------------
๒ ..
ผู้หนึ่งถามท่านเจ้า นามว่า (อันใด)
ประเสริฐทั้งปรีชา เทิดแท้
พลังอำนาจเหนือฟ้า มิกล่าว (เกินจริง)
วานช่วยเหลือเฉลยแก้ พ่างท้าวบอกกล่าว
------------------------------------------------------------------------
บาท 1 คำที่ 7 วรรคหลัง นามว่า / ห้ามใช้รูปวรรณยุกต์
บาท 3 คำที่ 5 วรรคหน้า ฟ้า / ........... " ..........
♦♦ ตัวอย่าง ..รกสร้อย..
ผู้หนึ่งถามท่านเจ้า นามว่า (อันใด)
สมมติปรับเป็น ..นามใด .. อย่างนี้ ก้ไม่ต้องใช้คำสร้อยอีกครับ แต่จะต้องปรับคำรับสัมผัสที่บาท 2 3 ใหม่ด้วย
♦ ♦ ♦ ผมสงสัยรูปประโยคบาท 1 ...ผู้หนึ่งถามท่านเจ้า นามว่า (อันใด)
..ท่าน / เจ้า ..หมายถึง(บุรุษที่ 2 ) คนเดียวกันหรือไม่
ถ้าเป็นคนเดียวกัน ก็อาจใช้คำว่า.....ผู้หนึ่งถามเจ้าว่า ได้เลยครับ ไม่ผิดฉันทลักษณ์ ครับคือ
ในบาทที่ 1 ของโคลงสี่ฯ
ในตำแหน่งคำที่ 4 5 เป็น เอก โท // ให้สลับเป็น โท เอก ได้ครับ แต่คำโท ต้องเป็น รูปโท เหมือนเดิม
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
๓ ..
ถามข้ารึต่ำช้า ยิ่งนัก (เพียงมนุษย์)
หาญเอ่ยสืบถามจัก จัดแจ้ง
จงจำใส่หัวบัก ข้าไอนซ์ (อูล โกวน์)
ผู้ปกครองที่นี้ ทั่วหล้าสุดเนตร
♦ ♦ คำที่ 7 วรรคหลัง "ผิดฉันทลักษณ์" ต้องเป็น คำเอกหรือรูปเอก
ถ้าจำเป็นต้องใช้ ก็ไปปรับเปลี่ยนลงในตำแหน่งที่ไม่โดนบังคับด้วยฉันทลักษณ์
ท่านจขกท. อาจจะงงสงสัยที่ที่จะลง 3 คำนี้ได้อย่างไร ดังนี้ครับ
ไปดูที่ บาทแรก วรรคหน้า ได้ 3 คำแรกพอดี
หรือจะเป็น วรรคหลัง -------- ไอนซ์อูล -โกว์นเอย ..ก็ได้ครับ (ใช้ .เอย. เป็นคำสร้อย)
♦ ♦ บาท 4 วรรคหน้าคำที่ 5 ..นี้.. ไม่รับสัมผัส กับ ..แจ้ง..ในบาท 2 คำที่ 7
วรรคหลัง ..ทั่วหล้าสุดเนตร..
## คำที่ 9 เนตร เป็นคำตาย เสียงเอก
♣ ♣ ♣ ในโคลงสี่ฯ คำสุดท้ายของโคลง ให้ใช้ เฉพาะเสียงสามัญ หรือเสียงจัตวาเท่านั้น
และเสียงจัตวาเป็นเสียงที่ไพเราะที่สุด
ในการขับทำนองเสนาะ เสียงสามัญ และเสียงจัตวาจะเอื้อนเสียงได้ยาวและเสียงจัตวาจะไพเราะสุด
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
๔..
ขออภัยพระปิ่นเกล้า ผู้เรือง (ฤทธิ์หลาย)
ข้าจักมิกล่าวเคือง ท่านอีก
ได้โปรดอย่าทัณฑ์เนือง เลยเถอด (จอมบดินทร์)
สมบัติใดต้องท่าน มอบให้ตามขอ
♦ ♦ บาท 2 คำที่ 7 วรรคหลัง .อีก.ต้องเป็น คำโท (รูปโท) เท่านั้น
♦ ♦ บาท 3 คำที่ 7 เถอด / คำถูก = เถิด
♦ ♦ บาท 4 คำที่ 7 คำ .ท่าน . เป็นคำเอก และไม่รับสัมผัสกับคำ 7 บาท 2 / " ผิดฉันทลักษณ์"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๕
ข้อเสนอเจ้าไม่คล้อย สนองข้า (แต่นิด)
อัลเบโด้จงมา มอบเพ้ย
หมดประโยชน์แล้วหนา ไปสู่ (ปรลัย)
รีบส่งเขาเถิดเอย เร่งร้นโดยพลัน
บาท 1 คำที่ 7 ต้องไม่มีวรรณยุกต์
บาท 2 คำที่ 2 ต้องเป็นคำเอก
บาท 4 คำ 5 ต้องเป็นคำโท (รูปโท )
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ป.ล. เห็นชื่อแปลก ๆ นี่ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ชื่อตัวละครเฉย ๆ แต่ว่าเปลี่ยนไม่ได้นะครับ
BeatDaBest
7 ชั่วโมงที่แล้ว
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ท่านจขกท.ครับ ถ้าได้แต่งโคลงสี่ฯบ่อย ๆก็จะเก่งยิ่งขึ้นครับ
ยิ่งแต่งร้อยกรองบ่อย ๆ คำศัพท์ที่จะใช้ก็จะยิ่งได้หลากหลายมากขึ้น
แต่สำคัญสุดก็คือ ฉันทลักษณ์ ครับ
เมื่อฉันทลักษณ์ได้ถูกต้อง ท่านจขกท.ก็จะได้ร้อยกรองตามใจปราถนา
แต่งบ่อย ๆ คำศัพท์ก็จะพร่างรายมางดงามครับ
ท่านแต่งมาได้หลายบทอย่างนี้ ดีที่สุดครับ คือเป็นโอกาสท่านจะได้เทียบได้รู้ว่ามีตรงไหนขัดข้องอย่างไร
ถ้าท่านแต่งมานิดเดียว ก็จะไม่ทราบถึงผลสะท้อนกลับว่ามีติดขัดตรงไหนบ้างครับ
ถ้าถามว่า..นั่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ถูก จะให้ทำอย่างไรดี
ครับผม ท่านครับ มีอย่างเดียวที่จะได้ คือแต่งบ่อย ๆ พยายามรักษาฉันทลักษณ์ และสัมผัส คือหัวใจของงานร้อยกรองครับ
อย่าเพิ่งท้อครับ
นักกลอนทุกคน ไม่มีใครเป็นมาก่อน
นักกลอนที่เก่งที่สุด มีชื่อเสียงที่สุด ณ วันนี้ เมื่อก่อนนั้น เขาก็ไม่รู้ ไม่เก่งครับ
มีสิ่งใดที่ผมได้ล่วงเกินต่อท่าน มีสิ่งผิดพลาด บกพร่อง หลงลืม ผมขอน้อมรับผิดนั้น ๆทุกประการครีบ
ขอน้อมรับด้วยใจจริงครับ
ขอบคุณครับ
๑ ......
ร่มเกล้าหนอแกร่งไร้- ใดเทียบ (เทียงกัน)
มีทรัพย์สินล้นเพียบ มากไซร้
หวังสร้างชื่อขจรเหยียบ กลบผู้ (อื่นสิ้น)
เหนือยิ่งกว่าเทพไท้ เชิดค้ำบารมี
-----------------------------------------------------
♦ คำสร้อย ไม่ต้องใส่ ..วงเล็บ..ครับ ใช้การเว้นวรรคแยกให้เห็นว่าเป็นคำสร้อยเท่านั้น
♦ โคลงสี่ฯ มีจำนวนคำรวม 30 คำ / คำสร้อยไม่นับรวม จะมีหรือไม่มีก็ได้
♦ ในบาทที่ 3 คำที่ 7 ..หวังสร้างชื่อขจรเหยียบ กลบผู้ (อื่นสิ้น)
วรรคหลัง ..ผู้ ผิด"ฉันทลักษณ์" .. ต้องเป็นคำเอก (ใช้รูปเอกหรือเสียงเอก) ก็ได้ครับ
♦ ♦ คำสร้อย มีจำนวนคำให้เลือกใช้ได้ทั้งหมด 18 คำ
ขอให้ท่านไปดูที่ ..คำสร้อยที่ใช้ในโคลงสี่ฯ.. ที่ในวิกิพีเดีย
มีให้ไว้เลือกใช้ทั้งหมด พร้อมคำอธิบายแต่ละคำว่าคำไหนควรใช้กับรูปประโยคใด
♦ ♦ คำสร้อย ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ถ้าเนื้อความในบาทสมบูรณ์แล้ว
เอามาใส่ก็ถือว่าเป็นการ ..รกสร้อย..
---------------------------------------------------------------------------------------
๒ ..
ผู้หนึ่งถามท่านเจ้า นามว่า (อันใด)
ประเสริฐทั้งปรีชา เทิดแท้
พลังอำนาจเหนือฟ้า มิกล่าว (เกินจริง)
วานช่วยเหลือเฉลยแก้ พ่างท้าวบอกกล่าว
------------------------------------------------------------------------
บาท 1 คำที่ 7 วรรคหลัง นามว่า / ห้ามใช้รูปวรรณยุกต์
บาท 3 คำที่ 5 วรรคหน้า ฟ้า / ........... " ..........
♦♦ ตัวอย่าง ..รกสร้อย..
ผู้หนึ่งถามท่านเจ้า นามว่า (อันใด)
สมมติปรับเป็น ..นามใด .. อย่างนี้ ก้ไม่ต้องใช้คำสร้อยอีกครับ แต่จะต้องปรับคำรับสัมผัสที่บาท 2 3 ใหม่ด้วย
♦ ♦ ♦ ผมสงสัยรูปประโยคบาท 1 ...ผู้หนึ่งถามท่านเจ้า นามว่า (อันใด)
..ท่าน / เจ้า ..หมายถึง(บุรุษที่ 2 ) คนเดียวกันหรือไม่
ถ้าเป็นคนเดียวกัน ก็อาจใช้คำว่า.....ผู้หนึ่งถามเจ้าว่า ได้เลยครับ ไม่ผิดฉันทลักษณ์ ครับคือ
ในบาทที่ 1 ของโคลงสี่ฯ
ในตำแหน่งคำที่ 4 5 เป็น เอก โท // ให้สลับเป็น โท เอก ได้ครับ แต่คำโท ต้องเป็น รูปโท เหมือนเดิม
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
๓ ..
ถามข้ารึต่ำช้า ยิ่งนัก (เพียงมนุษย์)
หาญเอ่ยสืบถามจัก จัดแจ้ง
จงจำใส่หัวบัก ข้าไอนซ์ (อูล โกวน์)
ผู้ปกครองที่นี้ ทั่วหล้าสุดเนตร
♦ ♦ คำที่ 7 วรรคหลัง "ผิดฉันทลักษณ์" ต้องเป็น คำเอกหรือรูปเอก
ถ้าจำเป็นต้องใช้ ก็ไปปรับเปลี่ยนลงในตำแหน่งที่ไม่โดนบังคับด้วยฉันทลักษณ์
ท่านจขกท. อาจจะงงสงสัยที่ที่จะลง 3 คำนี้ได้อย่างไร ดังนี้ครับ
ไปดูที่ บาทแรก วรรคหน้า ได้ 3 คำแรกพอดี
หรือจะเป็น วรรคหลัง -------- ไอนซ์อูล -โกว์นเอย ..ก็ได้ครับ (ใช้ .เอย. เป็นคำสร้อย)
♦ ♦ บาท 4 วรรคหน้าคำที่ 5 ..นี้.. ไม่รับสัมผัส กับ ..แจ้ง..ในบาท 2 คำที่ 7
วรรคหลัง ..ทั่วหล้าสุดเนตร..
## คำที่ 9 เนตร เป็นคำตาย เสียงเอก
♣ ♣ ♣ ในโคลงสี่ฯ คำสุดท้ายของโคลง ให้ใช้ เฉพาะเสียงสามัญ หรือเสียงจัตวาเท่านั้น
และเสียงจัตวาเป็นเสียงที่ไพเราะที่สุด
ในการขับทำนองเสนาะ เสียงสามัญ และเสียงจัตวาจะเอื้อนเสียงได้ยาวและเสียงจัตวาจะไพเราะสุด
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
๔..
ขออภัยพระปิ่นเกล้า ผู้เรือง (ฤทธิ์หลาย)
ข้าจักมิกล่าวเคือง ท่านอีก
ได้โปรดอย่าทัณฑ์เนือง เลยเถอด (จอมบดินทร์)
สมบัติใดต้องท่าน มอบให้ตามขอ
♦ ♦ บาท 2 คำที่ 7 วรรคหลัง .อีก.ต้องเป็น คำโท (รูปโท) เท่านั้น
♦ ♦ บาท 3 คำที่ 7 เถอด / คำถูก = เถิด
♦ ♦ บาท 4 คำที่ 7 คำ .ท่าน . เป็นคำเอก และไม่รับสัมผัสกับคำ 7 บาท 2 / " ผิดฉันทลักษณ์"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๕
ข้อเสนอเจ้าไม่คล้อย สนองข้า (แต่นิด)
อัลเบโด้จงมา มอบเพ้ย
หมดประโยชน์แล้วหนา ไปสู่ (ปรลัย)
รีบส่งเขาเถิดเอย เร่งร้นโดยพลัน
บาท 1 คำที่ 7 ต้องไม่มีวรรณยุกต์
บาท 2 คำที่ 2 ต้องเป็นคำเอก
บาท 4 คำ 5 ต้องเป็นคำโท (รูปโท )
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ป.ล. เห็นชื่อแปลก ๆ นี่ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ชื่อตัวละครเฉย ๆ แต่ว่าเปลี่ยนไม่ได้นะครับ
BeatDaBest
7 ชั่วโมงที่แล้ว
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ท่านจขกท.ครับ ถ้าได้แต่งโคลงสี่ฯบ่อย ๆก็จะเก่งยิ่งขึ้นครับ
ยิ่งแต่งร้อยกรองบ่อย ๆ คำศัพท์ที่จะใช้ก็จะยิ่งได้หลากหลายมากขึ้น
แต่สำคัญสุดก็คือ ฉันทลักษณ์ ครับ
เมื่อฉันทลักษณ์ได้ถูกต้อง ท่านจขกท.ก็จะได้ร้อยกรองตามใจปราถนา
แต่งบ่อย ๆ คำศัพท์ก็จะพร่างรายมางดงามครับ
ท่านแต่งมาได้หลายบทอย่างนี้ ดีที่สุดครับ คือเป็นโอกาสท่านจะได้เทียบได้รู้ว่ามีตรงไหนขัดข้องอย่างไร
ถ้าท่านแต่งมานิดเดียว ก็จะไม่ทราบถึงผลสะท้อนกลับว่ามีติดขัดตรงไหนบ้างครับ
ถ้าถามว่า..นั่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ถูก จะให้ทำอย่างไรดี
ครับผม ท่านครับ มีอย่างเดียวที่จะได้ คือแต่งบ่อย ๆ พยายามรักษาฉันทลักษณ์ และสัมผัส คือหัวใจของงานร้อยกรองครับ
อย่าเพิ่งท้อครับ
นักกลอนทุกคน ไม่มีใครเป็นมาก่อน
นักกลอนที่เก่งที่สุด มีชื่อเสียงที่สุด ณ วันนี้ เมื่อก่อนนั้น เขาก็ไม่รู้ ไม่เก่งครับ
มีสิ่งใดที่ผมได้ล่วงเกินต่อท่าน มีสิ่งผิดพลาด บกพร่อง หลงลืม ผมขอน้อมรับผิดนั้น ๆทุกประการครีบ
ขอน้อมรับด้วยใจจริงครับ
ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
ช่วยตรวจดูโคลงสี่สุภาพนี้ให้หน่อยได้มั้ยครับ?
ร่มเกล้าหนอแกร่งไร้- ใดเทียบ (เทียงกัน)
มีทรัพย์สินล้นเพียบ มากไซร้
หวังสร้างชื่อขจรเหยียบ กลบผู้ (อื่นสิ้น)
เหนือยิ่งกว่าเทพไท้ เชิดค้ำบารมี
ผู้หนึ่งถามท่านเจ้า นามว่า (อันใด)
ประเสริฐทั้งปรีชา เทิดแท้
พลังอำนาจเหนือฟ้า มิกล่าว (เกินจริง)
วานช่วยเหลือเฉลยแก้ พ่างท้าวบอกกล่าว
ถามข้ารึต่ำช้า ยิ่งนัก (เพียงมนุษย์)
หาญเอ่ยสืบถามจัก จัดแจ้ง
จงจำใส่หัวบัก ข้าไอนซ์ (อูล โกวน์)
ผู้ปกครองที่นี้ ทั่วหล้าสุดเนตร
ขออภัยพระปิ่นเกล้า ผู้เรือง (ฤทธิ์หลาย)
ข้าจักมิกล่าวเคือง ท่านอีก
ได้โปรดอย่าทัณฑ์เนือง เลยเถอด (จอมบดินทร์)
สมบัติใดต้องท่าน มอบให้ตามขอ
ข้อเสนอเจ้าไม่คล้อย สนองข้า (แต่นิด)
อัลเบโด้จงมา มอบเพ้ย
หมดประโยชน์แล้วหนา ไปสู่ (ปรลัย)
รีบส่งเขาเถิดเอย เร่งร้นโดยพลัน
เรื่องที่ผมอยากจะสื่อก็ประมาณว่า:
ตัวละครตัวนี้เก่ง (อ่านว่า โกง) มาก มีเงินทองมากมาย หวังสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ประจักษ์เหนือกว่าผู้ใดในอดีต แล้วมันยกตัวอย่างครั้งหนึ่งว่ามนุษย์ถูกจับมาแล้วมันสงสัยว่าทรงพลังถึงเพียงนี้มีชื่อว่าอะไร แล้วมันก็บอกชื่อตนเองพร้อมทั้งเคือง (เห็นมนุษย์ไม่มีค่า ก็เลยแบบ "ยังจะมาถามอีก") เจ้าคนนี้เลยขอโทษแล้วบอกว่าอยากได้อะไรเอาไปอย่าลงโทษหนัก ๆ เลย ตัวละครนี้เลยบอกว่าไม่สนใจข้อเสนอ แล้วก็เรียกลูกน้องตนเองให้ไล่มันไปตาย (เพราะหมดประโยชน์แล้ว ซึ่งตัวประโยชน์คืออะไรไม่อยู่ในโคลงนี้) อย่างรวดเร็ว
ป.ล. เห็นชื่อแปลก ๆ นี่ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ชื่อตัวละครเฉย ๆ แต่ว่าเปลี่ยนไม่ได้นะครับ