คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ให้ไปอ่านศึกษาเรื่องการจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ตอนหย่ากันให้ดีตามลิ้งค์นี้
http://www.dol.go.th/lo/smt/handbook/may/news23.htm
ย้ำว่าให้อ่านให้ดี ๆ การแบ่งแบบนี้บางทีเสียค่าจดทะเบียนนิดเดียว อ่านดูแล้วให้ทำตามนั้น
จะประหยัดได้มาก คือบางเรื่องอาจต้องเสียมากหน่อย การคิดแบ่งนี่เขาคิดจากทรัพย์ทั้งหมด
ที่มีอยู่ที่เป็นสินสมรส อะไรเป็นส่วนตัวมันก็ไม่ต้องแบ่งเพราะเป็นสินส่วนตัวอยู่แล้ว อะไรเป็นอะไร
ก็ดูตอนได้มาเมื่อไรและได้มาโดยวิธีใด เจ้าหน้าที่เรารู้ดีอยู่แล้ว
เราต้องทำบัญชีทรัพย์สินสมรสให้ครบถ้วนว่ามีอะไรและแบ่งกันอย่างไร บอกให้ชัดไปเลย
การแบ่งเกินครึ่งหรือไม่เกินดูจากราคาประเมินรวมกันทั้งหมด ตอนแบ่งไม่จำเป็นต้องมีชื่อทุกโฉนด
คนหนึ่งจะเอาโฉนดนี้ อีกคนจะเอาโฉนดนั้น แล้วจดให้เหลือคนเดียว หากราคาไม่เกินครึ่งเมื่อดูจาก
ยอดรวมก็ไม่ต้องเสียค่าโอนอะไรเพิ่มเติม อะไรที่ไมเกินครึ่งเสียเวลาจดก็เสียค่าจดทะเบียนแค่ แปลงละ
75 บาท คือถ้าเรายังไม่ได้จดทะเบียนหย่าก็ให้เอาหลักตามลิ้งค์ไปคิดดูด้วย แล้วตกลงกันให้พยายาม
ได้แบบไม่เกินครึ่ง แต่หากมันจะเกินครึ่งบ้างก็ไม่เป็นไรเพราะคงเป็นจำนวนราคาไม่มาก (แต่อยู่ที่ความพอใจด้วย)
เวลาไปโอนต่างจังหวัดเราต้องเอาบัญชีรายการทั้งหมดไปให้ดูด้วย และอันไหนโอนแล้วก็ระบุไป
คือถ้าทำการแบ่งให้ดีและแนบประกอบการจดทะเบียนหย่ามันก็เป็นหลักฐานแล้ว เอาไปประกอบด้วยกัน
ทุกครั้ง (เอาฉบับจริงและถ่ายสำเนาและรับรองสำเนาด้วยเจ้าหน้าที่จะบอกเอง) คือมันจะคิดจากยอดรวมทั้งหมด
ว่ามีเท่าไรและใครเอาอะไรบ้าง ก็จดตามนั้นไม่ใช่เป็นการยกให้แต่เป็นการจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
มันเป็นคนละเรื่องกันอย่าสับสน ก็เพราะมันคนละเรื่องกับการยกให้มันจึงเสียค่าจดทะเบียนน้อยกว่าปกติ
เพราะมันเป็นทรัพย์สินของเราทั้งสองคนอยู่แล้ว(คนละครึ่งนั่นเอง การแบ่งที่ไม่เกินครึ่ง
จึงเป็นการแบ่งตามสิทธิที่แต่ละคนมีอยู่) ไม่ใช่มายกให้กันต่างหาก แต่หากได้เกินกว่าสิทธิส่วนนั้น
ถึงจะเป็นการยกให้กันได้ ก็ต้องคิดค่าโอนต่างหาก คือยังไง ๆ ส่วนที่เกิดนี้ปกติมันน้อย เว้นแต่อีกคน
ใจดียอมให้มาก ๆ
ใครก็ตามที่คิดจะหย่ากันก็ให้อ่านระเบียบข้างบนให้ดี อย่าได้ไปโอนกันสะเปะสะปะ เพราะหากเราไป
บอกให้โอนตามนั้นเจ้าหน้าที่เขาก็จะโอนให้ตามนั้น แต่หากเราไปบอกว่าจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
เขาก็จะทำตามนี้ ซึ่งค่าจดทะเบียนมันจะต่างกันได้ลิบลับ
การจดทะเบียนทุกครั้งเราต้องเอาหลักฐานการโอนที่ทำไปแล้วไปประกอบด้วย เขาจะได้รู้ว่า
จดอะไรไปบ้างแล้ว จะได้ระวังไม่ให้เกินครึ่ง(คือถ้าจะเกินครึ่งก็คิดส่วนนั้นอีกเรทหนึ่ง)
http://www.dol.go.th/lo/smt/handbook/may/news23.htm
ย้ำว่าให้อ่านให้ดี ๆ การแบ่งแบบนี้บางทีเสียค่าจดทะเบียนนิดเดียว อ่านดูแล้วให้ทำตามนั้น
จะประหยัดได้มาก คือบางเรื่องอาจต้องเสียมากหน่อย การคิดแบ่งนี่เขาคิดจากทรัพย์ทั้งหมด
ที่มีอยู่ที่เป็นสินสมรส อะไรเป็นส่วนตัวมันก็ไม่ต้องแบ่งเพราะเป็นสินส่วนตัวอยู่แล้ว อะไรเป็นอะไร
ก็ดูตอนได้มาเมื่อไรและได้มาโดยวิธีใด เจ้าหน้าที่เรารู้ดีอยู่แล้ว
เราต้องทำบัญชีทรัพย์สินสมรสให้ครบถ้วนว่ามีอะไรและแบ่งกันอย่างไร บอกให้ชัดไปเลย
การแบ่งเกินครึ่งหรือไม่เกินดูจากราคาประเมินรวมกันทั้งหมด ตอนแบ่งไม่จำเป็นต้องมีชื่อทุกโฉนด
คนหนึ่งจะเอาโฉนดนี้ อีกคนจะเอาโฉนดนั้น แล้วจดให้เหลือคนเดียว หากราคาไม่เกินครึ่งเมื่อดูจาก
ยอดรวมก็ไม่ต้องเสียค่าโอนอะไรเพิ่มเติม อะไรที่ไมเกินครึ่งเสียเวลาจดก็เสียค่าจดทะเบียนแค่ แปลงละ
75 บาท คือถ้าเรายังไม่ได้จดทะเบียนหย่าก็ให้เอาหลักตามลิ้งค์ไปคิดดูด้วย แล้วตกลงกันให้พยายาม
ได้แบบไม่เกินครึ่ง แต่หากมันจะเกินครึ่งบ้างก็ไม่เป็นไรเพราะคงเป็นจำนวนราคาไม่มาก (แต่อยู่ที่ความพอใจด้วย)
เวลาไปโอนต่างจังหวัดเราต้องเอาบัญชีรายการทั้งหมดไปให้ดูด้วย และอันไหนโอนแล้วก็ระบุไป
คือถ้าทำการแบ่งให้ดีและแนบประกอบการจดทะเบียนหย่ามันก็เป็นหลักฐานแล้ว เอาไปประกอบด้วยกัน
ทุกครั้ง (เอาฉบับจริงและถ่ายสำเนาและรับรองสำเนาด้วยเจ้าหน้าที่จะบอกเอง) คือมันจะคิดจากยอดรวมทั้งหมด
ว่ามีเท่าไรและใครเอาอะไรบ้าง ก็จดตามนั้นไม่ใช่เป็นการยกให้แต่เป็นการจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
มันเป็นคนละเรื่องกันอย่าสับสน ก็เพราะมันคนละเรื่องกับการยกให้มันจึงเสียค่าจดทะเบียนน้อยกว่าปกติ
เพราะมันเป็นทรัพย์สินของเราทั้งสองคนอยู่แล้ว(คนละครึ่งนั่นเอง การแบ่งที่ไม่เกินครึ่ง
จึงเป็นการแบ่งตามสิทธิที่แต่ละคนมีอยู่) ไม่ใช่มายกให้กันต่างหาก แต่หากได้เกินกว่าสิทธิส่วนนั้น
ถึงจะเป็นการยกให้กันได้ ก็ต้องคิดค่าโอนต่างหาก คือยังไง ๆ ส่วนที่เกิดนี้ปกติมันน้อย เว้นแต่อีกคน
ใจดียอมให้มาก ๆ
ใครก็ตามที่คิดจะหย่ากันก็ให้อ่านระเบียบข้างบนให้ดี อย่าได้ไปโอนกันสะเปะสะปะ เพราะหากเราไป
บอกให้โอนตามนั้นเจ้าหน้าที่เขาก็จะโอนให้ตามนั้น แต่หากเราไปบอกว่าจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
เขาก็จะทำตามนี้ ซึ่งค่าจดทะเบียนมันจะต่างกันได้ลิบลับ
การจดทะเบียนทุกครั้งเราต้องเอาหลักฐานการโอนที่ทำไปแล้วไปประกอบด้วย เขาจะได้รู้ว่า
จดอะไรไปบ้างแล้ว จะได้ระวังไม่ให้เกินครึ่ง(คือถ้าจะเกินครึ่งก็คิดส่วนนั้นอีกเรทหนึ่ง)
แสดงความคิดเห็น
สอบถามการจัดการทรัพย์สินและภาษีหลังการหย่า
- ที่ดินมีหลายแปลง อยู่หลายจังหวัด เราต้องแจกแจงให้ครบทุกแปลงเลยหรือเปล่า (บางแปลงใช้เงินมรดกมาซื้อ สองฝ่ายรู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่สินสมรส แต่ทางกฎหมายจะแยกยังไงว่าไม่ใช่สินสมรส)
- เฉพาะที่เป็นสินสมรส เวลาไปโอนชื่อแต่ละแปลง (ซึ่งอยู่คนละจังหวัด) จะรู้ได้อย่างไรว่าแปลงนี้ต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเท่าไหร่ กรมที่ดินมีวิธีคำนวณยังไง (แปลงนี้โอนมาเป็นชื่อเรา แปลงนั้นโอนไปเป็นชื่อเขา)
- หรือไม่ได้เสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตอนโอน แต่ไปเสียเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี
- ถ้าโอนชื่อแบ่งกันให้เรียบร้อยก่อนหย่า เวลาจดทะเบียนหย่าก็ระบุว่าทรัพย์สินหากเป็นชื่อใครก็เป็นของคนนั้นไป ทำแบบนี้จะได้หรือไม่ พอหย่าแล้วก็ไม่ต้องไปโอนกันอีก (กรณีนี้จะมีปัญหาภายหลังหรือไม่ เช่น ไปขายต่อแล้วที่ดินมีข้อมูลอยู่ว่าตอนได้มาเจ้าของที่ดินมีคู่สมรสอยู่)
คำถามงงๆ หน่อยเพราะตอนนี้งงจริงๆ ครับ