สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ไม่มีหลักฐานกล่าวถึงครับ และหมื่นสุนทรเทวาก็เป็นเพียงบรรดาศักดิ์ที่แต่งขึ้นในนิยายเท่านั้น
ออกขุนศรีวิสารวาจา (อ่านว่า วิ-สา-ระ-วา-จา มักสะกดผิดเป็น วิศาลวาจา) ในประวัติศาสตร์ไม่มีประวัติว่าเป็นใคร หรือมีชื่อจริงว่าอะไร มีหลักฐานเพียงว่าเป็นบุตรของราชทูตที่เคยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับโปรตุเกสที่กรุงลิสบัว (ซึ่งผู้เขียนนิยายบุพเพสันนิวาสใช้ช่องว่างทางประวัติศาสตร์สมมติว่าราชทูตผู้นี้ก็คือออกญาโหราธิบดี) ส่วนตัวออกขุนศรีวิสารวาจาเมื่อก่อนเป็นตรีทูตไปฝรั่งเศส เคยเป็นทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจักรวรรดิโมกุลในอินเดียมาก่อน แต่ไม่ชัดเจนว่าในครั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งอะไร
ในจดหมายเหตุของ เดอ วีเซ ซึ่งเรียบเรียงจดหมายเหตุเกี่ยวกับคณะทูตสยามขณะที่พำนักในฝรั่งเศสไม่ได้เขียนเรื่องราวของออกขุนวิสารวาจาไว้มากนัก คงเป็นด้วยเหตุที่ท่านเป็นตรีทูตซึ่งเป็นผู้น้อยเลยให้ออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) ราชทูตเป็นผู้มีบทบาทหลักมากกว่า เช่นเดียวกับออกหลวงกัลยาราชไมตรีอุปทูตซึ่งไม่ค่อยมีบทบาทเช่นกัน
หลังจากกลับมาถึงกรุงศรีอยุทธยาแล้ว ราชทูตกับอุปทูตมีหน้าที่คอยเตรียมการรับคณะทูตฝรั่งเศสของลาลูแบร์ ส่วนออกขุนศรีวิสารวาจาไม่มีหน้าที่ในส่วนนี้ แต่ปรากฏในจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ราชทูตฝรั่งเศสว่า ท่านต้องไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เพื่อกราบทูลถวายรายงานเรื่องการไปเจริญทางพระราชไมตรีในประเทศฝรั่งเศสในคราวนี้ ซึ่งเข้าใจว่าจะกราบทูลตามรายงานที่คณะทูตไปจดบันทึกไว้อย่างละเอียดเมื่อยังอยู่ที่ฝรั่งเศส
ไม่ค่อยพบหลักฐานกล่าวถึงออกขุนศรีวิสารวาจาที่ชัดเจนเหมือนกับราชทูตและอุปทูตซึ่งมีบทบาทในช่วงเหตุการณ์รัฐประหารสมเด็จพระนารายณ์ ใน พ.ศ. ๒๒๓๑ แต่พบว่าท่านมีชีวิตอยู่ถึงรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา ปรากฏหลักฐานในจดหมายบาทหลวงกาเบรียล โบรด์ (Gabriel Braud) รองประมุขมิสซังสยามถึงผู้อำนวยการคณะมิสซังต่างประเทศ ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ค.ศ. ๑๖๙๙ (พ.ศ. ๒๒๔๒) กล่าวถึงออกขุนศรีวิสารวาจา (ในตอนนั้นจะมีบรรดาศักดิ์ใดไม่ปรากฏ) ออกไปรับบาทหลวงตาชารด์ซึ่งเป็นราชทูตฝรั่งเศสที่เมืองมะริด จึงสันนิษฐานว่าท่านน่าจะรับราชการอยู่ในกรมพระคลังหรือกรมท่าที่รับผิดชอบเรื่องต่างประเทศตามเดิมครับ
"ฝ่ายในกรุงก็เตรียม การที่จะรับบาดหลวงตาชาทุกอย่าง ไทยได้จัดให้ข้าราชการล่วงหน้าไปรับบาดหลวงตาชา คนสำคัญ ที่เปนหัวหน้าไปนั้น มีขุนนางที่เคยเปนราชทูตที่ ๓ ไปยังประเทศฝรั่งเศสคน ๑ ขุนนางผู้น้อยซึ่งได้เคยไปฝรั่งเศสและกลับมากับบาดหลวงตาชาและเคยผ่านมาทางเมืองเบงกอลมายังเมืองไทย เมื่อ ค.ศ.๑๖๙๒ (พ.ศ.๒๒๓๕) คน ๑ กับมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรล่ามของเราคน ๑ รวม ๓ คนเปนหัวหน้าออกไปรับบาดหลวงตาชา"
หลังจากนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงออกขุนศรีวิสารวาจาอีก
ออกขุนศรีวิสารวาจา (อ่านว่า วิ-สา-ระ-วา-จา มักสะกดผิดเป็น วิศาลวาจา) ในประวัติศาสตร์ไม่มีประวัติว่าเป็นใคร หรือมีชื่อจริงว่าอะไร มีหลักฐานเพียงว่าเป็นบุตรของราชทูตที่เคยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับโปรตุเกสที่กรุงลิสบัว (ซึ่งผู้เขียนนิยายบุพเพสันนิวาสใช้ช่องว่างทางประวัติศาสตร์สมมติว่าราชทูตผู้นี้ก็คือออกญาโหราธิบดี) ส่วนตัวออกขุนศรีวิสารวาจาเมื่อก่อนเป็นตรีทูตไปฝรั่งเศส เคยเป็นทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจักรวรรดิโมกุลในอินเดียมาก่อน แต่ไม่ชัดเจนว่าในครั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งอะไร
ในจดหมายเหตุของ เดอ วีเซ ซึ่งเรียบเรียงจดหมายเหตุเกี่ยวกับคณะทูตสยามขณะที่พำนักในฝรั่งเศสไม่ได้เขียนเรื่องราวของออกขุนวิสารวาจาไว้มากนัก คงเป็นด้วยเหตุที่ท่านเป็นตรีทูตซึ่งเป็นผู้น้อยเลยให้ออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) ราชทูตเป็นผู้มีบทบาทหลักมากกว่า เช่นเดียวกับออกหลวงกัลยาราชไมตรีอุปทูตซึ่งไม่ค่อยมีบทบาทเช่นกัน
หลังจากกลับมาถึงกรุงศรีอยุทธยาแล้ว ราชทูตกับอุปทูตมีหน้าที่คอยเตรียมการรับคณะทูตฝรั่งเศสของลาลูแบร์ ส่วนออกขุนศรีวิสารวาจาไม่มีหน้าที่ในส่วนนี้ แต่ปรากฏในจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ราชทูตฝรั่งเศสว่า ท่านต้องไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เพื่อกราบทูลถวายรายงานเรื่องการไปเจริญทางพระราชไมตรีในประเทศฝรั่งเศสในคราวนี้ ซึ่งเข้าใจว่าจะกราบทูลตามรายงานที่คณะทูตไปจดบันทึกไว้อย่างละเอียดเมื่อยังอยู่ที่ฝรั่งเศส
ไม่ค่อยพบหลักฐานกล่าวถึงออกขุนศรีวิสารวาจาที่ชัดเจนเหมือนกับราชทูตและอุปทูตซึ่งมีบทบาทในช่วงเหตุการณ์รัฐประหารสมเด็จพระนารายณ์ ใน พ.ศ. ๒๒๓๑ แต่พบว่าท่านมีชีวิตอยู่ถึงรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา ปรากฏหลักฐานในจดหมายบาทหลวงกาเบรียล โบรด์ (Gabriel Braud) รองประมุขมิสซังสยามถึงผู้อำนวยการคณะมิสซังต่างประเทศ ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ค.ศ. ๑๖๙๙ (พ.ศ. ๒๒๔๒) กล่าวถึงออกขุนศรีวิสารวาจา (ในตอนนั้นจะมีบรรดาศักดิ์ใดไม่ปรากฏ) ออกไปรับบาทหลวงตาชารด์ซึ่งเป็นราชทูตฝรั่งเศสที่เมืองมะริด จึงสันนิษฐานว่าท่านน่าจะรับราชการอยู่ในกรมพระคลังหรือกรมท่าที่รับผิดชอบเรื่องต่างประเทศตามเดิมครับ
"ฝ่ายในกรุงก็เตรียม การที่จะรับบาดหลวงตาชาทุกอย่าง ไทยได้จัดให้ข้าราชการล่วงหน้าไปรับบาดหลวงตาชา คนสำคัญ ที่เปนหัวหน้าไปนั้น มีขุนนางที่เคยเปนราชทูตที่ ๓ ไปยังประเทศฝรั่งเศสคน ๑ ขุนนางผู้น้อยซึ่งได้เคยไปฝรั่งเศสและกลับมากับบาดหลวงตาชาและเคยผ่านมาทางเมืองเบงกอลมายังเมืองไทย เมื่อ ค.ศ.๑๖๙๒ (พ.ศ.๒๒๓๕) คน ๑ กับมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรล่ามของเราคน ๑ รวม ๓ คนเปนหัวหน้าออกไปรับบาดหลวงตาชา"
หลังจากนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงออกขุนศรีวิสารวาจาอีก
แสดงความคิดเห็น
ขุนศรีวิสารวาจา หรือ หมื่นสุนทรเทวา ในประวัติศาสตร์แล้วมีคู่ครองหรือไม่เจ้าคะ