กฎแห่งกรรม อธิบายแบบง่ายๆ อย่างไรคะ?

ถ้าจะอธิบาย คำว่า กฎแห่งกรรม แบบง่ายๆ ให้แก่เด็กๆ เข้าใจ
เราจะอธิบายอย่างไรดีคะ?  เอาแบบเข้าใจง่ายๆ ค่ะ (เด็กๆ ประมาณประถม มัธยม)

เราบอกแบบนี้ได้มั้ยคะ ...
"ในทางพุทธ   กรรม คือ การกระทำ
ทุกคนมีการกระทำ และทุกการกระทำ ก็จะมีผลของการกระทำนั้นๆ
เวลากระทำอะไร ก็จะมีผลของการกระทำนั้นเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลทันที หรือจะส่งผลช้าหรือเร็ว
ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ   และการส่งผลของกรรมนั้นบางทีก็ซับซ้อนเกินกว่าสติปัญญาของคนธรรมดาจะเข้าใจได้
เช่น  การส่งผลของกรรม จะไม่ได้เป็นแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เสมอไป
(เช่น เวลาเราฆ่าสัตว์ตาย ก็ไม่ได้หมายความว่า สัตว์นั้นจะเกิดมาเป็นคน แล้วตามมาฆ่าเราเป็นการล้างแค้น
หรือชาติหน้า เราต้องเกิดเป็นสัตว์ แล้วให้มีคนมาฆ่าเรา  ... การให้ผลของกรรมมันไม่ได้ประมวลผลแบบนั้น

หรือเวลาเราทำกรรมดี ด้วยการช่วยชีวิตคน
ก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้าชาตินี้เรามีภัย ก็จะต้องมีใครมาช่วยชีวิตเราบ้าง ถ้าไม่มีใครมาช่วยเรา
เราก็นึกท้อว่า เคยทำกรรมดีไว้ ไม่เห็นมีใครมาสนองตอบ .... อะไรประมาณนี้
การส่งผลของกรรม มันไม่ได้ตรงๆ ง่ายๆ แบบนี้เสมอไป)

การส่งผลของกรรมเป็นเรื่องซับซ้อน  พระพุทธองค์จึงระบุไว้ว่า เป็นเรื่องอจินไตย (ไม่ควรคิดวิเคราะห์ด้วยเพราะสติปัญญายังไม่มากพอ)
...แต่ให้เชื่อมั่นได้ว่า ทำกรรมอะไรไว้  มันจะส่งผลแน่นอน  ไม่ว่าช้าหรือเร็ว"

เราอธิบายแบบนี้ ผิดหลักทางพุทธมั้ยคะ?  รบกวนผู้รู้นะคะ ขอบคุณค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่