สวัสดีครับ วันนี้ขอเขียนเรื่อง 2T หรือมอเตอร์ไซค์สองจังหวะหน่อยนะครับ ประวัติการแข่งขัน Top Class 500cc. ของ Grand Prix Motocycle Racing หรือที่ปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อ MotoGP (ขออนุญาตเรียกแบบนี้ไปเลย) นั่นแหละครับ ซึ่งมอเตอร์ไซค์สองจังหวะ V4 ในสมัยนั้นมีเสียงอันไพเราะ และไม่มีอุปกรณ์ Electronic อะไรมาช่วยแบบสมัยนี้ ท้ายปัดก็คือปัดกันจริงๆ ตายได้จริง อัมพาตได้จริง ไม่ใช่สมัยนี้บิดคันเร่งออกโค้งตั้งแต่ยังไม่พลิกรถขึ้นก็ไม่มีล้ม เพราะ Electronic มันตัดเอง จะว่าไปสมัยนี้ MotoGP มันคือให้คนมาขี่ตัว Electronic แล้ว Electronic ไปขี่รถอีกที แต่สมัย 500cc. นั้นมันมีความ "เพียว" มากกว่า คนได้ขี่รถจริงๆมากกว่า
การแข่งขันที่ว่า อยู่ในช่วง ปี คศ. 1949-2001 ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงแชมป์โลกคนสุดท้ายของ Yamaha ผู้ครองแชมป์ในปี 1990, 1991 และ 1992 บนอาน Yamaha YZR500 (รหัส OWC1, OWD3 และ OWE0 ตามลำดับ) ซึ่งหากไม่เกิดเหตุขึ้น เขาน่าจะได้ครองแชมป์ในปี 1993 และในปีต่อๆมาอีก เขาผู้นั้นคือ Wayne Wesley Rainey หรือ เวย์น เรนนี่ ที่คนไทยให้ฉายาว่า ไอ้ฝนเดือด ซึ่งว่ากันว่าเขาขี่แบบนุ่มนวลและใช้สมอง
เรนนี่เกิดเมื่อ 23 ตุลาคม 1960 ที่แคลิฟอเนีย สหรัฐ ซึ่งเมื่ออายุได้ 21 ปี ได้จบการแข่งขันที่ 15 การแข่งขันทางฝุ่นในประเทศตนเองในรายการ AMA (พวกทางเรียบสมัยนั้นมักเริ่มมาจากทางฝุ่น)
(นอกใจครั้งแรกกับ Kawasaki)
พออายุ 22, Kawasaki ได้จ้างให้ไปขับรุ่นทางเรียบ 250cc. รายการ AMA Superbike เป็นเพื่อนร่วมทีมกับ Eddie Lawson (แชมป์ในเวลานั้น) ต่อมาอายุ 23, Lawson ได้โยกข้ามห้วยไปแข่ง Grand Prix (MotoGP)ซะแล้ว ไอ้ฝนเดือดของเราจึงยึดตำแหน่งมือหนึ่งในทีม และก็ได้แชมป์ประเทศในปี 1983 นี่เอง
ในปี 1984 ทาง Kenny Roberts Yamaha Team ที่เพิ่งฟอร์มทีมมาใหม่ในรายการ MotoGP ได้จ้าง Rainey ไปแข่งรุ่น 250cc. ควบ Yamaha TZR250 แต่ปรากฎว่าเป็นปีที่ยากลำบากของเขา เพราะเรื่องการออกตัวแบบเข็นสตาร์ทโดยนักแข่งเองเท่านั้น (ครับสมัยก่อนเขาแข่งกันแบบนี้ เข็นไม่ติดคือ ชีวิตเปลี่ยน) เขาได้ขึ้น Podium แค่สนามเดียวจากทั้งปี
พอปี 1985 Rainey ขยาด จึงย้ายกลับไปแข่งที่บ้านเกิดกับ Maclean Racing Team ในรุ่น 250cc. และรุ่น F1
(นอกใจครั้งที่สองกับ Honda)
พอปี 1986 และ 1987 ย้ายไป America Honda Team แข่งในรุ่น Superbike และรุ่น F1 ซึ่งในปี 1987 นี่เองที่เขาต้องแข่งขันอย่างดุเดือดกับ Kevin Schwantz (คาวบอยอันตรายจาก Texas) เพื่อเป็นแชมป์ ซึ่ง Rainey ซิวแชมป์ไปได้ แต่เรื่องของเขาทั้งสองมันเพิ่งจะเริ่มเท่านั้นเอง
(อย่างไรก็ดีถ้านับกันแค่ MotoGP เพียวๆ Rainey ของเราก็ขี่ให้ Yamaha อย่างเดียวเลย)
ในปี 1988 Rainey กลับไปลุย MotoGP ที่ยุโรปอีกครั้งกับ Roberts Yamaha Team แต่คราวนี้ขอขี่ Yamaha YZR500/ 500cc. นะ
Schwantz ยอมไม่ได้ รีบข้ามห้วยไปเซ็นสัญญากับ Suzuki Team ทันที (แต่แอบไปขี่มาแล้วสามสี่สนาม ในสองปีที่ผ่านมา) การแข่งในปีนั้นเรียกว่าบี้กันเช็ดเม็ดจริงๆในสนามที่บี้ได้ (ต้องยอมรับว่า Suzuki RGV500 นั้นมันไม่แรง) เปิดปีมาสนามแรกที่ญี่ปุ่น พ่อ Texas ซัดที่หนึ่งเลย
Rainey เก็บชัยครั้งแรกได้ในสนามที่สิบสองรายการ 1988 British Grand Prix และแอบไปเก็บชัยในการแข่ง 1988 Suzuka แปดชั่วโมง อันโด่งดังด้วย
สรุปปี 1988 Rainey จบปีอันดับสามเก็บไป 189 แต้ม
พอปี 1989 Rainey จบที่รองแชมป์ (เป็นรองแค่ Lawson ที่ขี่ Honda NSR500 ในปีนั้น เป็นอดีตเพื่อนร่วมทีมกัน) แต่สถิติดีมาก ขี่ไม่จบเพียงสนามเดียวที่สวีเดน, ที่หนึ่ง 3 สนาม, ขึ้น Podium 11 สนาม (จาก 15 สนาม)
พอมาปี 1990 Lawson กลับมาขี่ Yamaha YZR500 ด้วยอีกครั้ง แต่ล้มตั้งแต่สนามแรกมี่ญี่ปุ่นแล้วตีตั๋วนอนโรงพยาบาล/ บาดเจ็บ INJ (Injured) ต่อไปอีกหกสนามนั้น ตอนกลับมาแม้จะติด Podium บ้าง แต่ก็ไม่ได้ที่หนึ่ง ดูเหมือนว่ายุคของ Lawson อดีตแชมป์ 500cc. สี่สมัยมันได้จบลงแล้ว
คลื่นลูกเก่าไป คลื่นลูกใหม่ก็มา ในส่วนของ Rainey คว้าที่หนึ่ง 7 สนาม, ที่สอง 5 สนาม, ที่สาม 2 สนาม และไม่จบที่ Hungary เพียงสนามเดียว เรียกว่าถ้าไม่ล้ม มีขึ้น Podium แน่นอน คะแนนรวม 255 แต้ม แชมป์ปี 1990 (รวม 15 สนาม)
ปี 1991 (รวม 15 สนาม) ที่หนึ่ง 6 สนาม, ที่สอง 4 สนาม, ที่สาม 3 สนาม, ที่เก้า 1 สนาม และไม่จบสนามเดียวที่มาเลเซีย แต้มรวม 233 แชมป์ปี 1991
ปี 1992 (รวม 13 สนาม)
ที่หนึ่ง 3 สนาม, ที่สอง 4 สนาม, ที่ห้า 1 สนาม, แข่งไม่จบ 3 สนาม และไม่ได้ลงแข่ง 1 สนาม แต้มรวม 140 แต่ก็ยังพอเป็นแชมป์ปี 1992
ความจริงการ DNF ถึงสามสนามในปี 1992 อาจจะเป็นลางบอกเหตุอะไรบางอย่างก็ได้ ว่า Rainey อาจจะใช้โชคชะตามากไปแล้ว
ปี 1993 (รวม 14 สนาม)
ที่หนึ่ง 4 สนาม, ที่สอง 3 สนาม, ที่สาม 2 สนาม, ไม่ได้แข่ง สนามที่สิบสาม และสนามที่สิบสี่ เนื่องจากเกิดเหตุที่สนามที่สิบสองรายการ 1993 Italian Grand Prix สนาม Misano
ในสนามนั้นรอบจัดอันดับ Luca Cadalora นักแข่งชาวอิตาลี คลอลิฟายด์ได้ Pole Position ในสนามบ้านเกิด Rainey เองอัดเต็มเหนี่ยวก็ยังได้แค่ที่สอง ขาดไป 0.21 วินาที
ตอนแข่งจริง เมื่อ Rainey ขึ้นนำ ตอนที่จะเข้าโค้งขวาความเร็วสูง เขาเปิดคันเร่งเร็วเกินไป ท้าย YZR500 ปัดทันที ทำให้เขาล้มพับ Lowside (ล้มลงด้านขวาของรถ) ออกนอก Track มันมีร่องดิน (ออกแบบสำหรับการหยุด "รถยนต์" หลุด Track) อยู่ที่ลานหินกรวด ทำให้เขาไม่ได้ slide ไปเฉยๆ แต่ตัวเขาหมุนสะบัดตีลังกาด้วย แล้วเอาหัวลง ตัวเขาถูกนำส่งโรงพยาบาลทางเฮลิคอปเตอร์ทันที โดยมีอาการกระดูกสันหลังหัก
"ผมนอนอยู่ตรงลานทรายนั่น ความเจ็บปวดมันมากอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนมีรูอยู่ตรงกลางหน้าอก" Wayne Rainey
ผลคือ Rainey เป็นอัมพาตตั้งแต่หน้าอกลงไป (แขน มือ คอ ใช้ได้) ณ เวลานั้นเขามีคะแนนรวมที่ 214 แต้ม นำ Schwantz อยู่ 11 แต้ม กับอีกสองสนามที่เหลือที่เขาจะต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งนั่นทำให้ Schwantz เก็บแต้มเพิ่ม และได้รับตำแหน่งแชมป์ปี 1993 ไปกับ 248 แต้ม และ Rainey ได้รองแชมป์
MotoGP ไม่ได้จัดแข่งที่สนาม Misano อีกเลยจนกระทั่งปี 2007 (เว้นไป 14 ปี) และการกลับมานั้นก็ให้เปลี่ยนทิศทางการวิ่ง จากวิ่งทวนเข็ม กลายเป็นวิ่งตามเข็ม โค้งขวาอันตรายนั้นก็กลายเป็นโค้งซ้ายไปแล้ว นัยว่าให้ปลอดภัยขึ้น
หลังจากปรึกษากับและได้กำลังใจจาก Frank Williams เจ้าของทีม F1 (ที่เป็นอัมพาตเช่นกัน) Rainey ก็นั่งรถเข็นมารับตำแหน่งผู้จัดการ Marlboro Yamaha Team อยู่สองสามปีก็เลิกไป
ในด้าน Schwantz นั้นได้แขวนหมวกจากรายการ MotoGP เนื่องจากปัญหาบาดเจ็บ และปฏิเสธไม่ได้ว่าการสูญเสียคู่แข่งตัวกลั่นอย่าง Rainey ไป ทำให้เขาหมดไฟ และทำให้เขาคิดได้ว่าจะเสียบไป เสียบมาอย่างดุเดือดแบบนี้ อนาคตอาจจะไปนั่งบนรถเข็นแบบเพื่อนก็ได้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ Schwantz ถ้าไม่ได้ที่หนึ่งไปเลย ก็จะคว่ำเพราะรถเขาแรงสู้คู่แข่งไม่ได้ เขาเลยไปไล่เสียบทางโค้ง ยกลึก ล้วนแต่เสี่ยงคว่ำทั้งนั้น แต่ก็เพราะการขี่แบบนี้ที่ชนะใจคนดูเพราะเวลาลุ้นไก่รองบ่อนมันสนุกกว่าเป็นไหนๆ
Rainey เองก็ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ยังไปเล่นแข่ง Superkart แบบใช้มือบังคับ (เห็นว่าขี่เล่นกับ Lawson นั่นแหละ) ในบ้านเกิดแคลิฟอเนีย และยังสร้างบ้านหันไปดูวิวที่สนาม Laguna Seca ด้วย ที่โค้ง 9 ในสนามนั้นมีการตั้งชื่อว่า โค้งเรนนี่ "Rainey Curve" เพื่อเป็นเกียรติด้วย อยู่หลังโค้ง 8 "The Corkscrew" อันโด่งดัง
ด้านเกียรติยศ Rainey ได้
ในปี 1999 ได้รับเกียรติบรรจุชื่อไว้ในหอเกียรติยศ AMA Motorcycle
ปี 2000 สมาพันธ์แข่งขันรถจักรยานยนต์โลก (FIM) ให้เกียรติเป็น "Legend" (ตำนาน)
ปี 2003 อัตชีวประวัติของเขาถูกเล่าในสารคดี Faster
ปี 2007 ได้รับเกียรติบรรจุชื่อในหอเกียรติยศ International Motorsports
ปี 2015 Rainey ร่วมก่อตั้งบริษัท MotoAmericana ซึ่งได้รับสิทธิ์ในการจัด AMA Superbike Series ต่อจากผู้รับสิทธิ์เดิม
========
Facebook Page: ทุกเรื่องที่มีล้อ และวิ่งได้
ขอบคุณทุก Follows และทุก Likes ครับ
========
เพจสอนภาษาอังกฤษ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=964273607053218&id=950904501723462
========
Facebook Page: GTG and Students
.
Thanks for all your Follows and Likes
.
Instagram: GTG and Students
Twitter: GTG and Students
========
Photos are courtesy of yamaha-motor.com, wikipedia.org, google.com,
แชมป์โลกคนสุดท้ายยุคสองจังหวะ ของ Yamaha บนอาน Yamaha YZR500
การแข่งขันที่ว่า อยู่ในช่วง ปี คศ. 1949-2001 ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงแชมป์โลกคนสุดท้ายของ Yamaha ผู้ครองแชมป์ในปี 1990, 1991 และ 1992 บนอาน Yamaha YZR500 (รหัส OWC1, OWD3 และ OWE0 ตามลำดับ) ซึ่งหากไม่เกิดเหตุขึ้น เขาน่าจะได้ครองแชมป์ในปี 1993 และในปีต่อๆมาอีก เขาผู้นั้นคือ Wayne Wesley Rainey หรือ เวย์น เรนนี่ ที่คนไทยให้ฉายาว่า ไอ้ฝนเดือด ซึ่งว่ากันว่าเขาขี่แบบนุ่มนวลและใช้สมอง
เรนนี่เกิดเมื่อ 23 ตุลาคม 1960 ที่แคลิฟอเนีย สหรัฐ ซึ่งเมื่ออายุได้ 21 ปี ได้จบการแข่งขันที่ 15 การแข่งขันทางฝุ่นในประเทศตนเองในรายการ AMA (พวกทางเรียบสมัยนั้นมักเริ่มมาจากทางฝุ่น)
(นอกใจครั้งแรกกับ Kawasaki)
พออายุ 22, Kawasaki ได้จ้างให้ไปขับรุ่นทางเรียบ 250cc. รายการ AMA Superbike เป็นเพื่อนร่วมทีมกับ Eddie Lawson (แชมป์ในเวลานั้น) ต่อมาอายุ 23, Lawson ได้โยกข้ามห้วยไปแข่ง Grand Prix (MotoGP)ซะแล้ว ไอ้ฝนเดือดของเราจึงยึดตำแหน่งมือหนึ่งในทีม และก็ได้แชมป์ประเทศในปี 1983 นี่เอง
ในปี 1984 ทาง Kenny Roberts Yamaha Team ที่เพิ่งฟอร์มทีมมาใหม่ในรายการ MotoGP ได้จ้าง Rainey ไปแข่งรุ่น 250cc. ควบ Yamaha TZR250 แต่ปรากฎว่าเป็นปีที่ยากลำบากของเขา เพราะเรื่องการออกตัวแบบเข็นสตาร์ทโดยนักแข่งเองเท่านั้น (ครับสมัยก่อนเขาแข่งกันแบบนี้ เข็นไม่ติดคือ ชีวิตเปลี่ยน) เขาได้ขึ้น Podium แค่สนามเดียวจากทั้งปี
พอปี 1985 Rainey ขยาด จึงย้ายกลับไปแข่งที่บ้านเกิดกับ Maclean Racing Team ในรุ่น 250cc. และรุ่น F1
(นอกใจครั้งที่สองกับ Honda)
พอปี 1986 และ 1987 ย้ายไป America Honda Team แข่งในรุ่น Superbike และรุ่น F1 ซึ่งในปี 1987 นี่เองที่เขาต้องแข่งขันอย่างดุเดือดกับ Kevin Schwantz (คาวบอยอันตรายจาก Texas) เพื่อเป็นแชมป์ ซึ่ง Rainey ซิวแชมป์ไปได้ แต่เรื่องของเขาทั้งสองมันเพิ่งจะเริ่มเท่านั้นเอง
(อย่างไรก็ดีถ้านับกันแค่ MotoGP เพียวๆ Rainey ของเราก็ขี่ให้ Yamaha อย่างเดียวเลย)
ในปี 1988 Rainey กลับไปลุย MotoGP ที่ยุโรปอีกครั้งกับ Roberts Yamaha Team แต่คราวนี้ขอขี่ Yamaha YZR500/ 500cc. นะ
Schwantz ยอมไม่ได้ รีบข้ามห้วยไปเซ็นสัญญากับ Suzuki Team ทันที (แต่แอบไปขี่มาแล้วสามสี่สนาม ในสองปีที่ผ่านมา) การแข่งในปีนั้นเรียกว่าบี้กันเช็ดเม็ดจริงๆในสนามที่บี้ได้ (ต้องยอมรับว่า Suzuki RGV500 นั้นมันไม่แรง) เปิดปีมาสนามแรกที่ญี่ปุ่น พ่อ Texas ซัดที่หนึ่งเลย
Rainey เก็บชัยครั้งแรกได้ในสนามที่สิบสองรายการ 1988 British Grand Prix และแอบไปเก็บชัยในการแข่ง 1988 Suzuka แปดชั่วโมง อันโด่งดังด้วย
สรุปปี 1988 Rainey จบปีอันดับสามเก็บไป 189 แต้ม
พอปี 1989 Rainey จบที่รองแชมป์ (เป็นรองแค่ Lawson ที่ขี่ Honda NSR500 ในปีนั้น เป็นอดีตเพื่อนร่วมทีมกัน) แต่สถิติดีมาก ขี่ไม่จบเพียงสนามเดียวที่สวีเดน, ที่หนึ่ง 3 สนาม, ขึ้น Podium 11 สนาม (จาก 15 สนาม)
พอมาปี 1990 Lawson กลับมาขี่ Yamaha YZR500 ด้วยอีกครั้ง แต่ล้มตั้งแต่สนามแรกมี่ญี่ปุ่นแล้วตีตั๋วนอนโรงพยาบาล/ บาดเจ็บ INJ (Injured) ต่อไปอีกหกสนามนั้น ตอนกลับมาแม้จะติด Podium บ้าง แต่ก็ไม่ได้ที่หนึ่ง ดูเหมือนว่ายุคของ Lawson อดีตแชมป์ 500cc. สี่สมัยมันได้จบลงแล้ว
คลื่นลูกเก่าไป คลื่นลูกใหม่ก็มา ในส่วนของ Rainey คว้าที่หนึ่ง 7 สนาม, ที่สอง 5 สนาม, ที่สาม 2 สนาม และไม่จบที่ Hungary เพียงสนามเดียว เรียกว่าถ้าไม่ล้ม มีขึ้น Podium แน่นอน คะแนนรวม 255 แต้ม แชมป์ปี 1990 (รวม 15 สนาม)
ปี 1991 (รวม 15 สนาม) ที่หนึ่ง 6 สนาม, ที่สอง 4 สนาม, ที่สาม 3 สนาม, ที่เก้า 1 สนาม และไม่จบสนามเดียวที่มาเลเซีย แต้มรวม 233 แชมป์ปี 1991
ปี 1992 (รวม 13 สนาม)
ที่หนึ่ง 3 สนาม, ที่สอง 4 สนาม, ที่ห้า 1 สนาม, แข่งไม่จบ 3 สนาม และไม่ได้ลงแข่ง 1 สนาม แต้มรวม 140 แต่ก็ยังพอเป็นแชมป์ปี 1992
ความจริงการ DNF ถึงสามสนามในปี 1992 อาจจะเป็นลางบอกเหตุอะไรบางอย่างก็ได้ ว่า Rainey อาจจะใช้โชคชะตามากไปแล้ว
ปี 1993 (รวม 14 สนาม)
ที่หนึ่ง 4 สนาม, ที่สอง 3 สนาม, ที่สาม 2 สนาม, ไม่ได้แข่ง สนามที่สิบสาม และสนามที่สิบสี่ เนื่องจากเกิดเหตุที่สนามที่สิบสองรายการ 1993 Italian Grand Prix สนาม Misano
ในสนามนั้นรอบจัดอันดับ Luca Cadalora นักแข่งชาวอิตาลี คลอลิฟายด์ได้ Pole Position ในสนามบ้านเกิด Rainey เองอัดเต็มเหนี่ยวก็ยังได้แค่ที่สอง ขาดไป 0.21 วินาที
ตอนแข่งจริง เมื่อ Rainey ขึ้นนำ ตอนที่จะเข้าโค้งขวาความเร็วสูง เขาเปิดคันเร่งเร็วเกินไป ท้าย YZR500 ปัดทันที ทำให้เขาล้มพับ Lowside (ล้มลงด้านขวาของรถ) ออกนอก Track มันมีร่องดิน (ออกแบบสำหรับการหยุด "รถยนต์" หลุด Track) อยู่ที่ลานหินกรวด ทำให้เขาไม่ได้ slide ไปเฉยๆ แต่ตัวเขาหมุนสะบัดตีลังกาด้วย แล้วเอาหัวลง ตัวเขาถูกนำส่งโรงพยาบาลทางเฮลิคอปเตอร์ทันที โดยมีอาการกระดูกสันหลังหัก
"ผมนอนอยู่ตรงลานทรายนั่น ความเจ็บปวดมันมากอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนมีรูอยู่ตรงกลางหน้าอก" Wayne Rainey
ผลคือ Rainey เป็นอัมพาตตั้งแต่หน้าอกลงไป (แขน มือ คอ ใช้ได้) ณ เวลานั้นเขามีคะแนนรวมที่ 214 แต้ม นำ Schwantz อยู่ 11 แต้ม กับอีกสองสนามที่เหลือที่เขาจะต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งนั่นทำให้ Schwantz เก็บแต้มเพิ่ม และได้รับตำแหน่งแชมป์ปี 1993 ไปกับ 248 แต้ม และ Rainey ได้รองแชมป์
MotoGP ไม่ได้จัดแข่งที่สนาม Misano อีกเลยจนกระทั่งปี 2007 (เว้นไป 14 ปี) และการกลับมานั้นก็ให้เปลี่ยนทิศทางการวิ่ง จากวิ่งทวนเข็ม กลายเป็นวิ่งตามเข็ม โค้งขวาอันตรายนั้นก็กลายเป็นโค้งซ้ายไปแล้ว นัยว่าให้ปลอดภัยขึ้น
หลังจากปรึกษากับและได้กำลังใจจาก Frank Williams เจ้าของทีม F1 (ที่เป็นอัมพาตเช่นกัน) Rainey ก็นั่งรถเข็นมารับตำแหน่งผู้จัดการ Marlboro Yamaha Team อยู่สองสามปีก็เลิกไป
ในด้าน Schwantz นั้นได้แขวนหมวกจากรายการ MotoGP เนื่องจากปัญหาบาดเจ็บ และปฏิเสธไม่ได้ว่าการสูญเสียคู่แข่งตัวกลั่นอย่าง Rainey ไป ทำให้เขาหมดไฟ และทำให้เขาคิดได้ว่าจะเสียบไป เสียบมาอย่างดุเดือดแบบนี้ อนาคตอาจจะไปนั่งบนรถเข็นแบบเพื่อนก็ได้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ Schwantz ถ้าไม่ได้ที่หนึ่งไปเลย ก็จะคว่ำเพราะรถเขาแรงสู้คู่แข่งไม่ได้ เขาเลยไปไล่เสียบทางโค้ง ยกลึก ล้วนแต่เสี่ยงคว่ำทั้งนั้น แต่ก็เพราะการขี่แบบนี้ที่ชนะใจคนดูเพราะเวลาลุ้นไก่รองบ่อนมันสนุกกว่าเป็นไหนๆ
Rainey เองก็ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ยังไปเล่นแข่ง Superkart แบบใช้มือบังคับ (เห็นว่าขี่เล่นกับ Lawson นั่นแหละ) ในบ้านเกิดแคลิฟอเนีย และยังสร้างบ้านหันไปดูวิวที่สนาม Laguna Seca ด้วย ที่โค้ง 9 ในสนามนั้นมีการตั้งชื่อว่า โค้งเรนนี่ "Rainey Curve" เพื่อเป็นเกียรติด้วย อยู่หลังโค้ง 8 "The Corkscrew" อันโด่งดัง
ด้านเกียรติยศ Rainey ได้
ในปี 1999 ได้รับเกียรติบรรจุชื่อไว้ในหอเกียรติยศ AMA Motorcycle
ปี 2000 สมาพันธ์แข่งขันรถจักรยานยนต์โลก (FIM) ให้เกียรติเป็น "Legend" (ตำนาน)
ปี 2003 อัตชีวประวัติของเขาถูกเล่าในสารคดี Faster
ปี 2007 ได้รับเกียรติบรรจุชื่อในหอเกียรติยศ International Motorsports
ปี 2015 Rainey ร่วมก่อตั้งบริษัท MotoAmericana ซึ่งได้รับสิทธิ์ในการจัด AMA Superbike Series ต่อจากผู้รับสิทธิ์เดิม
========
Facebook Page: ทุกเรื่องที่มีล้อ และวิ่งได้
ขอบคุณทุก Follows และทุก Likes ครับ
========
เพจสอนภาษาอังกฤษ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=964273607053218&id=950904501723462
========
Facebook Page: GTG and Students
.
Thanks for all your Follows and Likes
.
Instagram: GTG and Students
Twitter: GTG and Students
========
Photos are courtesy of yamaha-motor.com, wikipedia.org, google.com,