โจทย์ถามว่า นางสาวแสงดาวทำหนังสือให้แก่นายแสงตะวันอายุ 15 ปี ไปทำสัญญาซื้อรถมอเตอร์ไซค์ (เช่าซื้อ) กับนายสายฟ้า นายแสงตะวันทำสัญญาเช่าซื้อเสร็จแล้วนำเอารถมอเตอร์ไซค์กลับมา เมื่อนางสายหยุดผู้เป็นมารดาทราบจึงบอกล้างนิติกรรมเสีย อยากทราบว่านางสาวแสงดาวยังต้องชำระค่ามอเตอร์ไซค์ให้แก่นายสายฟ้าหรือไม่
ผมตอบอย่างนี้
มาตรา 800 วางหลักว่า "ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ท่านว่าจะทำการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้กิจอันเขามอบหมายให้แก่ตนนั้นสำเร็จลุล่วงไป"
มาตรา 820 วางหลักว่า "ตัวการย่อมมีความผูกผันกับบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำลงไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน"
มาตรา 572 วรรค 2 วางหลักว่า" สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือท่านว่าเป็นโมฆะ"
มาตรา 798 วางหลักว่า "กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฏหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย"
"กิจารอันใดท่านบังคับว่าว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย"
มาตรา 821 วางหลักว่า "บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน"
มาตรา 823 วรรคแรก วางหลักว่า "ถ้าตัวแทนกระทำการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำนาจก็ดี หรือทำนอกทำเหนือของอำนาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น"
ผมเขียนบรรยายไปว่า นางแสงดาวได้ทำหนังสือให้แก่นายแสงอาทิตย์อายุ 15 ปี ให้ไปซื้อมอเตอร์ไซค์ เป็นการที่นางแสงดาวมอบหมายให้นายแสงอาทิตย์เป็นตัวแทนเฉพาะกาลตามมาตรา 800 และได้ทำหนังสือมอบอำนาจไปให้ก็ทำถูกต้องตามมาตรา 798 นายอาทิตย์ไปทำสัญญาซื้อมอเตอร์ไซค์กับนายสายฟ้า ตามมาตร 572 วรรค 2 ประกอบกับมาตรา 798
ต่อมานางสายหยุดมารดาของนายแสงอาทิตย์บอกล้างนิติกรรม ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ ส่งผลทำให้นายแสงอาทิตย์เป็นตัวแทนกระทำการโดยปราศจากอำนาจ แต่ทว่าการที่นายแสงอาทิตย์ได้รับรถจักรยานยนต์กลับมาแล้วและส่งให้แก่นางแสงดาว แม้ว่าตามโจทย์จะไม่ได้ระบุว่านายแสงอาทิตย์นำกลับมาให้นางแสงดาว แต่นางแสงดาวเป็นคนที่มอบหมายให้นายแสงอาทิตย์ไปเช่าซื้อรถจักรยานยนต์จึงอนุมานได้ว่านายอาทิตย์นำไปมอบให้กับนางแสงดาว จึงเท่ากับว่านางแสงดาวได้ให้สัตยาบันตามมาตร 823 วรรคแรก หรืออาจจะเข้าตามมาตรา 821 อันว่าด้วยบุคคลเชิดบุคคลอีกคำหนึ่งเป็นตัวแทนก็ได้ ดังนั้นแม้ว่านิติกรรมนี้จะถูกบอกล้างในภายหลังก็ตาม แต่การที่นางแสงดาวได้ให้สัตยาบันจึงทำให้นางแสงดาวต้องรับผิดชำระค่ามอเตอร์ไซค์ให้แก่นายสายฟ้าตามมาตรา 823 วรรคแรก
ผมตอบอย่างนี้ถูกไหมครับ
ข้อสอบกฏหมายรามเรื่องตัวแทน นายหน้า วิชา Law 2011 ผมตอบอย่างนี้ถูกไหม
ผมตอบอย่างนี้
มาตรา 800 วางหลักว่า "ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ท่านว่าจะทำการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้กิจอันเขามอบหมายให้แก่ตนนั้นสำเร็จลุล่วงไป"
มาตรา 820 วางหลักว่า "ตัวการย่อมมีความผูกผันกับบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำลงไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน"
มาตรา 572 วรรค 2 วางหลักว่า" สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือท่านว่าเป็นโมฆะ"
มาตรา 798 วางหลักว่า "กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฏหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย"
"กิจารอันใดท่านบังคับว่าว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย"
มาตรา 821 วางหลักว่า "บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน"
มาตรา 823 วรรคแรก วางหลักว่า "ถ้าตัวแทนกระทำการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำนาจก็ดี หรือทำนอกทำเหนือของอำนาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น"
ผมเขียนบรรยายไปว่า นางแสงดาวได้ทำหนังสือให้แก่นายแสงอาทิตย์อายุ 15 ปี ให้ไปซื้อมอเตอร์ไซค์ เป็นการที่นางแสงดาวมอบหมายให้นายแสงอาทิตย์เป็นตัวแทนเฉพาะกาลตามมาตรา 800 และได้ทำหนังสือมอบอำนาจไปให้ก็ทำถูกต้องตามมาตรา 798 นายอาทิตย์ไปทำสัญญาซื้อมอเตอร์ไซค์กับนายสายฟ้า ตามมาตร 572 วรรค 2 ประกอบกับมาตรา 798
ต่อมานางสายหยุดมารดาของนายแสงอาทิตย์บอกล้างนิติกรรม ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ ส่งผลทำให้นายแสงอาทิตย์เป็นตัวแทนกระทำการโดยปราศจากอำนาจ แต่ทว่าการที่นายแสงอาทิตย์ได้รับรถจักรยานยนต์กลับมาแล้วและส่งให้แก่นางแสงดาว แม้ว่าตามโจทย์จะไม่ได้ระบุว่านายแสงอาทิตย์นำกลับมาให้นางแสงดาว แต่นางแสงดาวเป็นคนที่มอบหมายให้นายแสงอาทิตย์ไปเช่าซื้อรถจักรยานยนต์จึงอนุมานได้ว่านายอาทิตย์นำไปมอบให้กับนางแสงดาว จึงเท่ากับว่านางแสงดาวได้ให้สัตยาบันตามมาตร 823 วรรคแรก หรืออาจจะเข้าตามมาตรา 821 อันว่าด้วยบุคคลเชิดบุคคลอีกคำหนึ่งเป็นตัวแทนก็ได้ ดังนั้นแม้ว่านิติกรรมนี้จะถูกบอกล้างในภายหลังก็ตาม แต่การที่นางแสงดาวได้ให้สัตยาบันจึงทำให้นางแสงดาวต้องรับผิดชำระค่ามอเตอร์ไซค์ให้แก่นายสายฟ้าตามมาตรา 823 วรรคแรก
ผมตอบอย่างนี้ถูกไหมครับ