จังหวัดฟุกุชิมะออกประกาศว่าร้านอาหารญี่ปุ่นทั้ง 11 ร้านของกรุงเทพมหานคร ได้ยกเลิกการนำเข้าปลาตาเดียว ปลาลิ้นหมา ปลาหมึกที่จับจากชายฝั่งเมืองโซมะแล้ว
เดิมประเทศไทยไม่ได้มีการจัดการควบคุมการนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากฟุกุชิมะ แต่กลุ่มคนส่วนมากได้คัดค้านการนำเข้าสิ่งเหล่านี้ ทั้งยังมีการแพร่กระจายข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต ร้านค้าจึงตัดสินใจยกเลิกการนำเข้าเนื่องจากกลัวว่าจำนวนลูกค้าจะลดลงและร้านถูกดิสเครดิต
นี่เป็นการส่งออกปลาสดเป็นครั้งแรกหลังจากการเกิดภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ แต่ในอนาคตข้างหน้า อาจไม่มีโอกาสที่จะส่งออกอีกต่อไป
ข้อมูลจากทางจังหวัดบอกว่าเมื่อ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีการส่งออกให้ประเทศไทย 143 กก. ประมาณ 50 กก.ถูกนำมาใช้ในงานอีเวนต์ที่ร่วมจัดขึ้นทั้ง 11 ร้าน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 เดือนมีนาคมนี้ และเคยมีแผนว่าจะส่งออกอีกประมาณ 1 ตันภายในกลางเดือนมีนาคม
กลุ่มผู้บริโภคส่วนหนึ่งได้ประท้วงต่อกระทรวงสาธารณสุขไทยว่า "อย่าปล่อยให้ประชาชนกินปลาที่อันตรายเหล่านี้" แต่ในขณะเดียวกัน กระทรวงก็ออกประกาศว่า "ได้มีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดและพบว่ามีความปลอดภัย"
ในการสำรวจกัมมันตรังสีซีเซียมภายในจังหวัดตั้งแต่ปี 2015 พบว่าผลิตภัณฑ์ทางทะเลที่มีผลผลิตภายในจังหวัดได้ลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐานของประเทศ (100 Bq/kg)
ผู้จัดการฝ่ายการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประจำจังหวัดได้กล่าวว่า "ประเทศไทยเป็นแหล่งส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุด ผมจึงต้องการแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจให้มากขึ้น"
แปลข่าวจาก
https://headlines.yahoo.co.jp/hl?a=20180312-00000096-mai-soci
(ข่าวญี่ปุ่น) ร้านอาหารญี่ปุ่นของประเทศไทย ระงับการนำเข้าปลาตาเดียวและอื่น ๆ จากชายฝั่งโซมะแล้ว
เดิมประเทศไทยไม่ได้มีการจัดการควบคุมการนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากฟุกุชิมะ แต่กลุ่มคนส่วนมากได้คัดค้านการนำเข้าสิ่งเหล่านี้ ทั้งยังมีการแพร่กระจายข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต ร้านค้าจึงตัดสินใจยกเลิกการนำเข้าเนื่องจากกลัวว่าจำนวนลูกค้าจะลดลงและร้านถูกดิสเครดิต
นี่เป็นการส่งออกปลาสดเป็นครั้งแรกหลังจากการเกิดภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ แต่ในอนาคตข้างหน้า อาจไม่มีโอกาสที่จะส่งออกอีกต่อไป
ข้อมูลจากทางจังหวัดบอกว่าเมื่อ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีการส่งออกให้ประเทศไทย 143 กก. ประมาณ 50 กก.ถูกนำมาใช้ในงานอีเวนต์ที่ร่วมจัดขึ้นทั้ง 11 ร้าน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 เดือนมีนาคมนี้ และเคยมีแผนว่าจะส่งออกอีกประมาณ 1 ตันภายในกลางเดือนมีนาคม
กลุ่มผู้บริโภคส่วนหนึ่งได้ประท้วงต่อกระทรวงสาธารณสุขไทยว่า "อย่าปล่อยให้ประชาชนกินปลาที่อันตรายเหล่านี้" แต่ในขณะเดียวกัน กระทรวงก็ออกประกาศว่า "ได้มีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดและพบว่ามีความปลอดภัย"
ในการสำรวจกัมมันตรังสีซีเซียมภายในจังหวัดตั้งแต่ปี 2015 พบว่าผลิตภัณฑ์ทางทะเลที่มีผลผลิตภายในจังหวัดได้ลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐานของประเทศ (100 Bq/kg)
ผู้จัดการฝ่ายการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประจำจังหวัดได้กล่าวว่า "ประเทศไทยเป็นแหล่งส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุด ผมจึงต้องการแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจให้มากขึ้น"
แปลข่าวจาก https://headlines.yahoo.co.jp/hl?a=20180312-00000096-mai-soci