เห็นช่วงนี้ หลายคนชอบเอาP/E มาเป็นตัวชี้วัดหลัก โดยลืมส่วนประกอบอื่นที่สำคัญยิ่งกว่า เช่นพื้นฐานต่างๆของธุรกิจนั้นๆ !!
นี่จึงเป็นบทความที่ผมเห็นว่า อธิบายได้ดีมีประโยชน์ และคงเข้าใจได้ง่ายกว่าการที่ผมจะมาอธิบาย.. จึงขอนำมาเผยแพร่ ดังนี้
.........
การวิเคราะห์หุ้นเพื่อการลงทุนมักมีการแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ หนึ่ง เชิงคุณภาพ ซึ่งมักพิจารณาว่า บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันหรือไม่ มีกลยุทธ์เหนือคู่แข่งไหม ผู้บริหารเก่งกาจเพียงใด และ สอง เชิง ปริมาณ ซึ่งมักใช้อัตราส่วนทางการเงินในการเปรียบเทียบ เช่น ราคาหุ้นต่อกำไร อัตราผลตอบแทนเงินปันผล หรือ ความสามารถในการสร้างกระแสเงินสด คำถามจึงเกิดขึ้นว่า ผลจะเป็นอย่างไร หากนักลงทุนเข้าไปซื้อหุ้น ซึ่งหากวิเคราะห์เชิงคุณภาพแล้วพบว่า “ยอดเยี่ยม” แต่หากวิเคราะห์ในเชิงปริมาณจะพบว่า ดูเหมือนจะไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุน?
เพื่อตอบคำถามนี้ ผมจึงเลือกหุ้นจากรายชื่อ 2018 Most Admired Companies ซึ่งจัดทำโดยนิตยสาร Fortune ซึ่งบริษัทชั้นนำเหล่านี้ถูกเลือกโดย ผู้บริหารระดับสูง, กรรมการบริษัท และ นักวิเคราะห์ จำนวนกว่า 3,900 คนว่าเป็นบริษัทที่มีการบริหารจัดการชั้นเลิศ เป็นที่ยกย่องของคนในวงการ เพื่อเป็นการเลือกเฟ้นว่า บริษัทเหล่านี้คือบริษัทที่มี “คุณภาพ” ชั้นยอด โดยจากทั้งหมด 50 บริษัท ผมเลือกมา 15 บริษัท ซึ่งเป็น บริษัทที่คนไทยเราคุณเคยกับผลิตภัณฑ์และบริการเป็นอย่างดี ได้แก่ 1) American Express 2) P&G 3) APPLE 4) Starbucks 5) Disney 6) FedEx 7) Nike 8) Coke 9) Johnson & Johnson 10) McDonalds 11) 3M 12) Marriott 13) Boeing 14) GE และ 15) ExxonMobil
ขั้นต่อมา ผมเลือกระดับ PE ที่ 50 ซึ่งเป็นระดับซึ่งสูงกว่าค่า PE เฉลี่ยของหุ้นในดัชนี S&P500 ในช่วง 118 ปีที่ผ่านมาถึง 3 เท่า เพื่อแสดงว่าเป็นระดับที่หุ้นนั้นๆ มีมูลค่าที่ดูเหมือนว่าไม่คุ้มกับการลงทุน หลังจากนั้น ผมย้อนกลับไปดูข้อมูลราคาหุ้นย้อนหลัง 20 ปี นับตั้งแต่ปี 1998 เพื่อจะดูว่า หากนักลงทุนซื้อหุ้นใน 15 ตัวนี้ ที่ราคาซึ่งมี PE มากกว่า 50 เท่า ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งใน 20 ปีนี้แล้วถือมาจนถึงปัจจุบันจะเป็นอย่างไร?
ผลปรากฏว่าหุ้น จากหุ้น Super Stocks 15 ตัวที่เลือกมา มีอยู่ 6 ตัวซึ่ง PE ไม่เคยไปแตะระดับ 50 เท่าเลยตลอด 20 ปีที่ผ่านมา และ หุ้นที่เหลือ 9 ตัวที่เคยขึ้นไปสัมผัสระดับความแพงสุดขีดคือ 1) APPLE 2) Starbucks 3) Disney 4) FedEx 5) NIKE 6) Coke 7) Marriott 8) Boeing และ 9) GE แล้วถ้าตัดสินใจซื้อหุ้นเหล่านี้ ณ จุดที่ PE มากกว่า 50 เท่า ผลในวันนี้จะเป็นอย่างไร? ผมพบว่า มีหุ้นแปดจากเก้าตัวที่ได้กำไร และช่วงกำไรก็มีตั้งแต่ 45% จนถึง มากกว่า 200 เท่า ส่วนหุ้นหนึ่งตัวที่ขาดทุนนั้น ติดลบไปราว 75%
เราได้ข้อคิดอะไรจากการศึกษาเรื่องนี้บ้าง? หนึ่ง การซื้อหุ้น PE สูงซึ่งดูเหมือนมีความเสี่ยง แต่ก็ไม่ใช่การลงทุนที่เลวร้ายในทุกกรณีไป การละเลยหุ้นบ้างตัวเพราะปัจจัยเรื่องของ PE เพียงอย่างเดียว อาจทำให้นักลงทุนพลาดโอกาสกำไรก้อนโตได้ ถ้าหากนักลงทุนสนใจลงรายละเอียดเพิ่มอีกสักหน่อย ขุดค้นไปเพื่อดูว่า ที่ PE หุ้นตัวนั้นขึ้นไปสูงเพราะอะไร เราอาจจะพบว่าที่ PE สูงนั้นเพราะมีเหตุการณ์ผิดปกติ ทำให้ตลาดตื่นตกใจขายหุ้นออกมา แท้จริงแล้ว ช่วงนั้นอาจจะเป็นนาทีทองของการลงทุนก็ได้ อย่างกรณีของ Boeing ซึ่งหลังจากเกิดเหตุก่อการร้ายเครื่องบินชนตึก World Trade Center ในปี 2001 ทำให้อุตสาหกรรมการบินอยู่ในขาลง กำไรของบริษัทลดลงอย่างน่าใจหายถึง 75% ในปี 2002 ทำให้ในบางช่วงของปี หุ้นของบริษัทซื้อขายกันที่ PE สูงเกิน 100 เท่า แต่ถ้านักลงทุนตัดสินใจซื้อหุ้นในวันนั้น แล้วทนถือมาจนวันนี้เขาจะได้กำไรถึง 10 เท่า ไม่รวมเงินปันผล
สอง หุ้นดีไม่จำเป็นต้องมี PE สูงก็ได้ จากหุ้นที่เลือกมา 15 ตัว มีถึง 6 ตัวซึ่ง PE ไม่เคยอยู่ในระดับสูงเลย ซื้อขายแบบช้าๆได้พร้าเล่มงาม อย่างหุ้นของบริษัท 3M ซึ่งตลอด 20 ปี ซื้อขายกันอยู่ในช่วง PE ระดับ 10-36 เท่า ซึ่งกำไรของบริษัทก็ค่อยๆเติบโตไปเรื่อยอย่างแข่งแกร่ง จากเพียง 1.17 พันล้านเหรียญมาเป็น เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มาเป็น 4.85 พันล้านเหรียญในปี 2017 ซึ่งราคาหุ้นก็ตอบสนองไปในทิศทางเดียวกัน
สาม กิจการที่เราศึกษาในบทความนี้ เป็นกิจการที่แข็งแกร่งระดับโลก ซึ่งมีเครือข่ายในหลายประเทศ มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และ ทีมงานผู้บริหารที่สุดยอด ในช่วงที่บริษัทมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เปิดตลาดใหม่ หรือ มีกลยุทธ์การลดต้นทุนใหม่ อาจจะทำให้ตลาดชื่นชอบใจ ปรับราคาให้ไปซื้อขายกันที่ PE สูงได้ แต่สำหรับบางกิจการในไทย ซึ่งถ้าวิเคราะห์กันด้านคุณภาพของกิจการก็เห็นว่าไม่มีอะไรโดดเด่นมากนัก มาร์จิ้นก็โดนทั้งคู่ค้าและลูกค้ากดดันตลอด ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆก็ไม่มีออกสู่ตลาด แต่ราคากลับยืนอยู่ในระดับที่สูงมาก ถ้าเราพบเจอหุ้นเหล่านี้ก็น่าจะมองข้ามไปหากิจการอื่นๆซึ่งน่าจะเสี่ยงน้อยกว่า แต่มีคุณภาพสูงกว่า
*** หากเราตั้งธง PE ไว้ในใจว่า หุ้นที่เราลงทุนจะต้องมี PE ไม่เกิน 10-12 เท่าเท่านั้น เกินกว่านั้นจะไม่ซื้อ ถ้าคิดอย่างนี้ เราจะมีโอกาสได้ซื้อ Super Stocks 15 ตัวด้านบนนี้หรือไม่? และถ้ามี…โอกาสนั้นจะเกิดขึ้นกี่ครั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา…???
(Thaivi.org)
...........................
ถ้าในตลาดหุ้นไทย ตัวอย่างง่ายๆ คือ AOT BEAUTY RS ที่ใครหลายคนบ่นว่าแพงๆ หุ้นปั่น .. จนมูลค่าหุ้นขึ้นมากว่า 10เท่า เกิน1000% ผมเชื่อว่าเม่าหลายคนที่บ่นแพงเพราะยึดตึดกับ p/e เขาเหล่านั้นต้องพลาดโอกาส พลาดความรวย เพียงเพราะติดกับดักp/e "ที่เขาไม่ได้รู้จริงอย่างถ่องแท้" ว่าหุ้นที่เขาดู ต้องดูด้วยตัวเลขเชิงปริมาณหรือ"คุณภาพที่แท้จริง"กันแน่!!
ปล. คุณ โจ ลูกอีสาน ก็ยังยอมรับว่ามีถือหุ้นp/e50 ในพอร์ต ถ้าเป็นหุ้นดี เติบโต เขายอมถือ เพราะเขารู้จริงครับ!!
เพราะงั้นก่อนจะเชื่อ เสียงวิจารณ์ โปรดคิด และ หาความรู้ ตัดสินใจลงทุนด้วยตัวเองก่อนนะครับ โชคดีทุกท่าน
เตือน! การเข้าใจผิดและกับดักของการยึดติด P/E..!! ด้วยความหวังดี..
นี่จึงเป็นบทความที่ผมเห็นว่า อธิบายได้ดีมีประโยชน์ และคงเข้าใจได้ง่ายกว่าการที่ผมจะมาอธิบาย.. จึงขอนำมาเผยแพร่ ดังนี้
.........
การวิเคราะห์หุ้นเพื่อการลงทุนมักมีการแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ หนึ่ง เชิงคุณภาพ ซึ่งมักพิจารณาว่า บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันหรือไม่ มีกลยุทธ์เหนือคู่แข่งไหม ผู้บริหารเก่งกาจเพียงใด และ สอง เชิง ปริมาณ ซึ่งมักใช้อัตราส่วนทางการเงินในการเปรียบเทียบ เช่น ราคาหุ้นต่อกำไร อัตราผลตอบแทนเงินปันผล หรือ ความสามารถในการสร้างกระแสเงินสด คำถามจึงเกิดขึ้นว่า ผลจะเป็นอย่างไร หากนักลงทุนเข้าไปซื้อหุ้น ซึ่งหากวิเคราะห์เชิงคุณภาพแล้วพบว่า “ยอดเยี่ยม” แต่หากวิเคราะห์ในเชิงปริมาณจะพบว่า ดูเหมือนจะไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุน?
เพื่อตอบคำถามนี้ ผมจึงเลือกหุ้นจากรายชื่อ 2018 Most Admired Companies ซึ่งจัดทำโดยนิตยสาร Fortune ซึ่งบริษัทชั้นนำเหล่านี้ถูกเลือกโดย ผู้บริหารระดับสูง, กรรมการบริษัท และ นักวิเคราะห์ จำนวนกว่า 3,900 คนว่าเป็นบริษัทที่มีการบริหารจัดการชั้นเลิศ เป็นที่ยกย่องของคนในวงการ เพื่อเป็นการเลือกเฟ้นว่า บริษัทเหล่านี้คือบริษัทที่มี “คุณภาพ” ชั้นยอด โดยจากทั้งหมด 50 บริษัท ผมเลือกมา 15 บริษัท ซึ่งเป็น บริษัทที่คนไทยเราคุณเคยกับผลิตภัณฑ์และบริการเป็นอย่างดี ได้แก่ 1) American Express 2) P&G 3) APPLE 4) Starbucks 5) Disney 6) FedEx 7) Nike 8) Coke 9) Johnson & Johnson 10) McDonalds 11) 3M 12) Marriott 13) Boeing 14) GE และ 15) ExxonMobil
ขั้นต่อมา ผมเลือกระดับ PE ที่ 50 ซึ่งเป็นระดับซึ่งสูงกว่าค่า PE เฉลี่ยของหุ้นในดัชนี S&P500 ในช่วง 118 ปีที่ผ่านมาถึง 3 เท่า เพื่อแสดงว่าเป็นระดับที่หุ้นนั้นๆ มีมูลค่าที่ดูเหมือนว่าไม่คุ้มกับการลงทุน หลังจากนั้น ผมย้อนกลับไปดูข้อมูลราคาหุ้นย้อนหลัง 20 ปี นับตั้งแต่ปี 1998 เพื่อจะดูว่า หากนักลงทุนซื้อหุ้นใน 15 ตัวนี้ ที่ราคาซึ่งมี PE มากกว่า 50 เท่า ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งใน 20 ปีนี้แล้วถือมาจนถึงปัจจุบันจะเป็นอย่างไร?
ผลปรากฏว่าหุ้น จากหุ้น Super Stocks 15 ตัวที่เลือกมา มีอยู่ 6 ตัวซึ่ง PE ไม่เคยไปแตะระดับ 50 เท่าเลยตลอด 20 ปีที่ผ่านมา และ หุ้นที่เหลือ 9 ตัวที่เคยขึ้นไปสัมผัสระดับความแพงสุดขีดคือ 1) APPLE 2) Starbucks 3) Disney 4) FedEx 5) NIKE 6) Coke 7) Marriott 8) Boeing และ 9) GE แล้วถ้าตัดสินใจซื้อหุ้นเหล่านี้ ณ จุดที่ PE มากกว่า 50 เท่า ผลในวันนี้จะเป็นอย่างไร? ผมพบว่า มีหุ้นแปดจากเก้าตัวที่ได้กำไร และช่วงกำไรก็มีตั้งแต่ 45% จนถึง มากกว่า 200 เท่า ส่วนหุ้นหนึ่งตัวที่ขาดทุนนั้น ติดลบไปราว 75%
เราได้ข้อคิดอะไรจากการศึกษาเรื่องนี้บ้าง? หนึ่ง การซื้อหุ้น PE สูงซึ่งดูเหมือนมีความเสี่ยง แต่ก็ไม่ใช่การลงทุนที่เลวร้ายในทุกกรณีไป การละเลยหุ้นบ้างตัวเพราะปัจจัยเรื่องของ PE เพียงอย่างเดียว อาจทำให้นักลงทุนพลาดโอกาสกำไรก้อนโตได้ ถ้าหากนักลงทุนสนใจลงรายละเอียดเพิ่มอีกสักหน่อย ขุดค้นไปเพื่อดูว่า ที่ PE หุ้นตัวนั้นขึ้นไปสูงเพราะอะไร เราอาจจะพบว่าที่ PE สูงนั้นเพราะมีเหตุการณ์ผิดปกติ ทำให้ตลาดตื่นตกใจขายหุ้นออกมา แท้จริงแล้ว ช่วงนั้นอาจจะเป็นนาทีทองของการลงทุนก็ได้ อย่างกรณีของ Boeing ซึ่งหลังจากเกิดเหตุก่อการร้ายเครื่องบินชนตึก World Trade Center ในปี 2001 ทำให้อุตสาหกรรมการบินอยู่ในขาลง กำไรของบริษัทลดลงอย่างน่าใจหายถึง 75% ในปี 2002 ทำให้ในบางช่วงของปี หุ้นของบริษัทซื้อขายกันที่ PE สูงเกิน 100 เท่า แต่ถ้านักลงทุนตัดสินใจซื้อหุ้นในวันนั้น แล้วทนถือมาจนวันนี้เขาจะได้กำไรถึง 10 เท่า ไม่รวมเงินปันผล
สอง หุ้นดีไม่จำเป็นต้องมี PE สูงก็ได้ จากหุ้นที่เลือกมา 15 ตัว มีถึง 6 ตัวซึ่ง PE ไม่เคยอยู่ในระดับสูงเลย ซื้อขายแบบช้าๆได้พร้าเล่มงาม อย่างหุ้นของบริษัท 3M ซึ่งตลอด 20 ปี ซื้อขายกันอยู่ในช่วง PE ระดับ 10-36 เท่า ซึ่งกำไรของบริษัทก็ค่อยๆเติบโตไปเรื่อยอย่างแข่งแกร่ง จากเพียง 1.17 พันล้านเหรียญมาเป็น เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มาเป็น 4.85 พันล้านเหรียญในปี 2017 ซึ่งราคาหุ้นก็ตอบสนองไปในทิศทางเดียวกัน
สาม กิจการที่เราศึกษาในบทความนี้ เป็นกิจการที่แข็งแกร่งระดับโลก ซึ่งมีเครือข่ายในหลายประเทศ มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และ ทีมงานผู้บริหารที่สุดยอด ในช่วงที่บริษัทมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เปิดตลาดใหม่ หรือ มีกลยุทธ์การลดต้นทุนใหม่ อาจจะทำให้ตลาดชื่นชอบใจ ปรับราคาให้ไปซื้อขายกันที่ PE สูงได้ แต่สำหรับบางกิจการในไทย ซึ่งถ้าวิเคราะห์กันด้านคุณภาพของกิจการก็เห็นว่าไม่มีอะไรโดดเด่นมากนัก มาร์จิ้นก็โดนทั้งคู่ค้าและลูกค้ากดดันตลอด ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆก็ไม่มีออกสู่ตลาด แต่ราคากลับยืนอยู่ในระดับที่สูงมาก ถ้าเราพบเจอหุ้นเหล่านี้ก็น่าจะมองข้ามไปหากิจการอื่นๆซึ่งน่าจะเสี่ยงน้อยกว่า แต่มีคุณภาพสูงกว่า
*** หากเราตั้งธง PE ไว้ในใจว่า หุ้นที่เราลงทุนจะต้องมี PE ไม่เกิน 10-12 เท่าเท่านั้น เกินกว่านั้นจะไม่ซื้อ ถ้าคิดอย่างนี้ เราจะมีโอกาสได้ซื้อ Super Stocks 15 ตัวด้านบนนี้หรือไม่? และถ้ามี…โอกาสนั้นจะเกิดขึ้นกี่ครั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา…???
(Thaivi.org)
...........................
ถ้าในตลาดหุ้นไทย ตัวอย่างง่ายๆ คือ AOT BEAUTY RS ที่ใครหลายคนบ่นว่าแพงๆ หุ้นปั่น .. จนมูลค่าหุ้นขึ้นมากว่า 10เท่า เกิน1000% ผมเชื่อว่าเม่าหลายคนที่บ่นแพงเพราะยึดตึดกับ p/e เขาเหล่านั้นต้องพลาดโอกาส พลาดความรวย เพียงเพราะติดกับดักp/e "ที่เขาไม่ได้รู้จริงอย่างถ่องแท้" ว่าหุ้นที่เขาดู ต้องดูด้วยตัวเลขเชิงปริมาณหรือ"คุณภาพที่แท้จริง"กันแน่!!
ปล. คุณ โจ ลูกอีสาน ก็ยังยอมรับว่ามีถือหุ้นp/e50 ในพอร์ต ถ้าเป็นหุ้นดี เติบโต เขายอมถือ เพราะเขารู้จริงครับ!!
เพราะงั้นก่อนจะเชื่อ เสียงวิจารณ์ โปรดคิด และ หาความรู้ ตัดสินใจลงทุนด้วยตัวเองก่อนนะครับ โชคดีทุกท่าน