วันศุกร์ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561, 19.14 น.
ป.ป.ช. มติเอกฉันท์ ศาลรธน. สนช. ต่ออายุป.ป.ช. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ติดตามแนวหน้า
9 มี.ค.61 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่เอกสารข่าวถึงสื่อมวลชน กรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาคำร้องกรณีที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่งความเห็นของสมาชิก สนช.จำนวน 32 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 267 วรรคห้า มาตรา 81 มาตรา 145 และมาตรา 263 ว่าร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 185 บัญญัติว่าให้ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช.และกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนที่ พ.ร.ป.นี้ใช้บังคับ ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนครบวาระตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 19 เว้นแต่กรณีตามมาตรา 19 (3) ในส่วนที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 9 และลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 11 (1) และ (18) มิให้นำมาใช้บังคับ มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ทั้งนี้ ผลการพิจารณา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ทำความเห็นส่วนตนเป็นหนังสือพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมและที่ประชุมปรึกษาหารือก่อนลงมติร่วมกันเป็นมติเอกฉันท์ ว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 185 ในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตาม 11 (1) และ (18) มิให้นำมาใช้บังคับ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
http://www.naewna.com/politic/325735
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 (พ.ร.ป.) ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 2 มี.ค. โดยกฎหมายฉบับนี้มีหลักการสำคัญอย่างน้อย 3 ข้อ คือ
(1) ห้ามไม่ให้วิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญด้วยคำหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ผู้กระทำผิดมีโทษตั้งแต่โดนตักเตือน ไล่ออกจากบริเวณศาล ไปจนถึงโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(2) ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับหน้าที่ขององค์กรทางการเมือง ทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ ที่อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยให้องค์กรที่มีข้อโต้แย้งระหว่างกันยื่นร้องต่อศาลได้
(3) ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลโดยตรงเมื่อได้รับความเดือดร้อน และร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วถูกปฏิเสธ หรือหน่วยงานนั้นๆ ดำเนินการล่าช้า รวมถึงกรณีที่ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพ (ยกเว้น เป็นการกระทำของรัฐบาล) ก็สามารถยื่นคำร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือยื่นคำร้องต่อศาลได้โดยตรงถ้าเกินกำหนดเวลา
ที่มา – WorkpointNews
มติเอกฉันท์ศาลรธน.(ผู้มีกฎหมายใหม่ห้ามวิจารณ์) ชี้ขาด สนช. ต่ออายุ ป.ป.ช. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ป.ป.ช. มติเอกฉันท์ ศาลรธน. สนช. ต่ออายุป.ป.ช. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ติดตามแนวหน้า
9 มี.ค.61 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่เอกสารข่าวถึงสื่อมวลชน กรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาคำร้องกรณีที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่งความเห็นของสมาชิก สนช.จำนวน 32 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 267 วรรคห้า มาตรา 81 มาตรา 145 และมาตรา 263 ว่าร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 185 บัญญัติว่าให้ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช.และกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนที่ พ.ร.ป.นี้ใช้บังคับ ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนครบวาระตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 19 เว้นแต่กรณีตามมาตรา 19 (3) ในส่วนที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 9 และลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 11 (1) และ (18) มิให้นำมาใช้บังคับ มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ทั้งนี้ ผลการพิจารณา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ทำความเห็นส่วนตนเป็นหนังสือพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมและที่ประชุมปรึกษาหารือก่อนลงมติร่วมกันเป็นมติเอกฉันท์ ว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 185 ในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตาม 11 (1) และ (18) มิให้นำมาใช้บังคับ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
http://www.naewna.com/politic/325735
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 (พ.ร.ป.) ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 2 มี.ค. โดยกฎหมายฉบับนี้มีหลักการสำคัญอย่างน้อย 3 ข้อ คือ
(1) ห้ามไม่ให้วิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญด้วยคำหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ผู้กระทำผิดมีโทษตั้งแต่โดนตักเตือน ไล่ออกจากบริเวณศาล ไปจนถึงโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(2) ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับหน้าที่ขององค์กรทางการเมือง ทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ ที่อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยให้องค์กรที่มีข้อโต้แย้งระหว่างกันยื่นร้องต่อศาลได้
(3) ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลโดยตรงเมื่อได้รับความเดือดร้อน และร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วถูกปฏิเสธ หรือหน่วยงานนั้นๆ ดำเนินการล่าช้า รวมถึงกรณีที่ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพ (ยกเว้น เป็นการกระทำของรัฐบาล) ก็สามารถยื่นคำร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือยื่นคำร้องต่อศาลได้โดยตรงถ้าเกินกำหนดเวลา
ที่มา – WorkpointNews