บ้านถือเป็นความฝันที่ยิ่งใหญ่ของใครหลายๆ คน และเชื่อว่าแทบจะทุกคนคงอยากที่จะมีบ้านเป็นของตนเอง แต่เนื่องจากบ้านเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะใช้การกู้ในการซื้อ และด้วยความที่เป็นหนี้ก้อนใหญ่ โดยที่มีเวลาในการชำระหนี้ค่อนข้างนานนี่เอง ธนาคารส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ให้กู้จึงอยากได้ความมั่นใจว่า ผู้กู้อย่างเราๆ นั้น สามารถที่จะผ่อนได้จนครบสัญญา จึงอาจทำให้ใครหลายๆ คนคงปวดหัวไม่น้อย เพราะกู้เท่าไหร่ก็ยังไม่ผ่านซักที
วันนี้
K-EXPERT จึงอยากจะมาแนะนำ 3 จุดหลักๆ ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้การกู้บ้านมักที่จะไม่ผ่านการอนุมัติ เพื่อให้เพื่อนๆ สามารถนำไปปรับใช้ในการขอกู้ครั้งต่อไป
จุดที่ 1 ที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน เพราะรายได้ของผู้กู้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ให้กู้ให้ความสนใจ เพราะรายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือนนั้น จะแสดงถึงความสามารถของผู้กู้ที่จะสามารถชำระหนี้ได้ไหวหรือไม่ หากเราสามารถแสดงถึงรายได้ในแต่ละเดือนที่ชัดเจน เช่น มนุษย์เงินเดือน ที่มีสลิปเงินเดือน และเงินเข้าบัญชีธนาคาร ที่เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ และสามารถตรวจสอบได้ ก็ช่วยสร้างโอกาสในการกู้ได้มากขึ้น
แต่หากเราประกอบอาชีพอิสระ ค้าขาย หรือเป็น Freelance ที่ไม่มีหลักฐานแสดงที่มาของรายได้ หรือเงินเดือนไม่ได้ผ่านบัญชีธนาคาร พูดง่ายๆก็คือ ตรวจสอบได้ยากว่าเราได้รายรับที่แน่นอนสม่ำเสมอ หรือเงินที่ได้มาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ การกู้กับธนาคารจึงมักจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก แต่หากเรามีเอกสารชัดเจนในการประกอบอาชีพ เช่น การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือสัญญาจ้างงาน และการเดินบัญชีเงินฝากทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 6-12 เดือน เป็นต้น ก็จะช่วยให้การขอกู้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
จุดที่ 2 ภาระหนี้สินที่มากเกินไป ธนาคารส่วนใหญ่จะมีเกณฑ์กำหนดให้ผู้ขอกู้บ้านสามารถมีภาระผ่อนหนี้สินต่อเดือนได้ไม่เกิน 40 % ของรายได้ เช่น เงินเดือน 20,000 บาท จะสามารถผ่อนหนี้บ้านต่อเดือนได้อยู่ที่ประมาณ 8,000 บาท แต่บางแห่งหากผู้กู้มีรายได้ หรือเงินเดือนที่สูง อาจสามารถที่จะมีภาระผ่อนหนี้สินต่อเดือนเป็น 50-60% ได้
โดยภาระผ่อนหนี้สินต่อเดือนนั้น จะรวมถึงหนี้สินอื่นๆ ของผู้กู้ด้วย เช่น หนี้ผ่อนรถยนต์ หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือหากผู้กู้มีการกู้ร่วมซื้อบ้าน หรือคอนโดกับผู้อื่นอยู่ หากมีหนี้เหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว จะถูกนำมาหักออกจากความสามารถในการผ่อนหนี้สินต่อเดือน ทำให้ความสามารถในการผ่อนลดน้อยลง หากเมื่อนำมาคำนวณแล้ว ความสามารถในการชำระหนี้สินต่อเดือนต่ำกว่าจำนวนวงเงินของบ้านก็อาจจะถูกปฏิเสธจากธนาคารได้ หากสามารถปิดหนี้ที่มีอยู่เดิมได้ หรือรอให้หนี้เดิมหมดเสียก่อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการผ่อนให้มากยิ่งขึ้นก็สร้างโอกาสในการยื่นกู้ได้มากขึ้นครับ
จุดที่ 3 ประวัติผิดนัดชำระหนี้ที่ผ่านมา โดยข้อมูลการชำระหนี้ที่เรามีทั้งหมดทั้งอดีต และปัจจุบันจะถูกบันทึกอยู่ใน ข้อมูลเครดิตบูโร หากเราเคยชำระล่าช้า หรือผิดนัดชำระหนี้ ระบบดังกล่าวก็จะแสดงให้เห็น โดยส่วนใหญ่จะแสดงย้อนหลัง 3 ปี โดยเวลาที่ผู้กู้ขอสินเชื่อกับธนาคาร ต้องมีการลงนามในเอกสารยินยอมให้ตรวจเครดิตบูโร ธนาคารจะดูว่าปัจจุบันมีภาระหนี้เท่าไร และประวัติการผ่อนชำระหนี้ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เพื่อประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ โดยทั่วไปหากผู้ที่จะซื้อบ้านเคยมีประวัติค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน หรือที่เรียกว่า หนี้ NPL ก็มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อให้เรายากขึ้น
ดังนั้น ผู้ที่เคยมีประวัติชำระหนี้ล่าช้า ไม่ตรงเวลา แนะนำให้รีบหาทางชำระหรือปิดบัญชีหนี้สินให้เรียบร้อย จากนั้นรอระยะเวลาให้ผ่านพ้นไปเกิน 1-3 ปี จึงจะมีโอกาสขอสินเชื่อได้มากยิ่งขึ้น
ทั้ง 3 เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องหลักๆ ที่ผู้กู้มักจะติดปัญหาในการขอสินเชื่อ แต่ทั้งนี้เงื่อนไขในการพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อของแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน เพื่อนๆ สามารถยื่นขอสินเชื่อบ้านที่ตนเองต้องการได้มากกว่า 1 แห่งเพื่อนำมาเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ
3 สาเหตุหลัก! ที่ทำให้กู้บ้านไม่ผ่าน
บ้านถือเป็นความฝันที่ยิ่งใหญ่ของใครหลายๆ คน และเชื่อว่าแทบจะทุกคนคงอยากที่จะมีบ้านเป็นของตนเอง แต่เนื่องจากบ้านเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะใช้การกู้ในการซื้อ และด้วยความที่เป็นหนี้ก้อนใหญ่ โดยที่มีเวลาในการชำระหนี้ค่อนข้างนานนี่เอง ธนาคารส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ให้กู้จึงอยากได้ความมั่นใจว่า ผู้กู้อย่างเราๆ นั้น สามารถที่จะผ่อนได้จนครบสัญญา จึงอาจทำให้ใครหลายๆ คนคงปวดหัวไม่น้อย เพราะกู้เท่าไหร่ก็ยังไม่ผ่านซักที
วันนี้ K-EXPERT จึงอยากจะมาแนะนำ 3 จุดหลักๆ ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้การกู้บ้านมักที่จะไม่ผ่านการอนุมัติ เพื่อให้เพื่อนๆ สามารถนำไปปรับใช้ในการขอกู้ครั้งต่อไป
จุดที่ 1 ที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน เพราะรายได้ของผู้กู้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ให้กู้ให้ความสนใจ เพราะรายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือนนั้น จะแสดงถึงความสามารถของผู้กู้ที่จะสามารถชำระหนี้ได้ไหวหรือไม่ หากเราสามารถแสดงถึงรายได้ในแต่ละเดือนที่ชัดเจน เช่น มนุษย์เงินเดือน ที่มีสลิปเงินเดือน และเงินเข้าบัญชีธนาคาร ที่เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ และสามารถตรวจสอบได้ ก็ช่วยสร้างโอกาสในการกู้ได้มากขึ้น
แต่หากเราประกอบอาชีพอิสระ ค้าขาย หรือเป็น Freelance ที่ไม่มีหลักฐานแสดงที่มาของรายได้ หรือเงินเดือนไม่ได้ผ่านบัญชีธนาคาร พูดง่ายๆก็คือ ตรวจสอบได้ยากว่าเราได้รายรับที่แน่นอนสม่ำเสมอ หรือเงินที่ได้มาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ การกู้กับธนาคารจึงมักจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก แต่หากเรามีเอกสารชัดเจนในการประกอบอาชีพ เช่น การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือสัญญาจ้างงาน และการเดินบัญชีเงินฝากทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 6-12 เดือน เป็นต้น ก็จะช่วยให้การขอกู้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
จุดที่ 2 ภาระหนี้สินที่มากเกินไป ธนาคารส่วนใหญ่จะมีเกณฑ์กำหนดให้ผู้ขอกู้บ้านสามารถมีภาระผ่อนหนี้สินต่อเดือนได้ไม่เกิน 40 % ของรายได้ เช่น เงินเดือน 20,000 บาท จะสามารถผ่อนหนี้บ้านต่อเดือนได้อยู่ที่ประมาณ 8,000 บาท แต่บางแห่งหากผู้กู้มีรายได้ หรือเงินเดือนที่สูง อาจสามารถที่จะมีภาระผ่อนหนี้สินต่อเดือนเป็น 50-60% ได้
โดยภาระผ่อนหนี้สินต่อเดือนนั้น จะรวมถึงหนี้สินอื่นๆ ของผู้กู้ด้วย เช่น หนี้ผ่อนรถยนต์ หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือหากผู้กู้มีการกู้ร่วมซื้อบ้าน หรือคอนโดกับผู้อื่นอยู่ หากมีหนี้เหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว จะถูกนำมาหักออกจากความสามารถในการผ่อนหนี้สินต่อเดือน ทำให้ความสามารถในการผ่อนลดน้อยลง หากเมื่อนำมาคำนวณแล้ว ความสามารถในการชำระหนี้สินต่อเดือนต่ำกว่าจำนวนวงเงินของบ้านก็อาจจะถูกปฏิเสธจากธนาคารได้ หากสามารถปิดหนี้ที่มีอยู่เดิมได้ หรือรอให้หนี้เดิมหมดเสียก่อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการผ่อนให้มากยิ่งขึ้นก็สร้างโอกาสในการยื่นกู้ได้มากขึ้นครับ
จุดที่ 3 ประวัติผิดนัดชำระหนี้ที่ผ่านมา โดยข้อมูลการชำระหนี้ที่เรามีทั้งหมดทั้งอดีต และปัจจุบันจะถูกบันทึกอยู่ใน ข้อมูลเครดิตบูโร หากเราเคยชำระล่าช้า หรือผิดนัดชำระหนี้ ระบบดังกล่าวก็จะแสดงให้เห็น โดยส่วนใหญ่จะแสดงย้อนหลัง 3 ปี โดยเวลาที่ผู้กู้ขอสินเชื่อกับธนาคาร ต้องมีการลงนามในเอกสารยินยอมให้ตรวจเครดิตบูโร ธนาคารจะดูว่าปัจจุบันมีภาระหนี้เท่าไร และประวัติการผ่อนชำระหนี้ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เพื่อประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ โดยทั่วไปหากผู้ที่จะซื้อบ้านเคยมีประวัติค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน หรือที่เรียกว่า หนี้ NPL ก็มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อให้เรายากขึ้น
ดังนั้น ผู้ที่เคยมีประวัติชำระหนี้ล่าช้า ไม่ตรงเวลา แนะนำให้รีบหาทางชำระหรือปิดบัญชีหนี้สินให้เรียบร้อย จากนั้นรอระยะเวลาให้ผ่านพ้นไปเกิน 1-3 ปี จึงจะมีโอกาสขอสินเชื่อได้มากยิ่งขึ้น
ทั้ง 3 เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องหลักๆ ที่ผู้กู้มักจะติดปัญหาในการขอสินเชื่อ แต่ทั้งนี้เงื่อนไขในการพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อของแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน เพื่อนๆ สามารถยื่นขอสินเชื่อบ้านที่ตนเองต้องการได้มากกว่า 1 แห่งเพื่อนำมาเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ