รู้สมาธิให้ถูกทาง

คนที่ทำสมาธิใหม่ๆๆ  จะรู้สึกถึงธรรมเหล่านี้
จะ ติดใจ หลงใหล ในสมาธิ
จะไม่พอใจ เมื่อทำสมาธิแล้วมีอะไรมากวนใจ
จะขี้เกียจ ท้อแท้ ทำแล้วไม่เห็นอะไร
ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่ง
จะ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
แสดงว่ามาถูกทาง
คนที่ทำใหม่ๆ ไม่รู้ถึงธรรมเหล่านี้ แสดงว่าทำสมาธิผิด

พอทำสมาธิเห็นความรู้สึก มีสติเห็นแบบนี้
พอความ ท้อแท้ ง่วงเหงา หาว นอน ความลังเลสงสัยหายไป

เราจะรู้ว่าตนได้เข้าฌานที่1 แล้ว
ใจจะรู้สึกรื่นเริงในธรรม กายเบาใจเบา

พอความไม่พอใจในการทำสมาธิแล้วไม่เห็นอะไร หงุดหงิด หายไป
เกิดปิติ เราจะรู้ว่าตนได้เข้าฌานที่2 แล้ว

ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่ง หายไป ใจนิ่ง ใจเป็นสุข จนไม่อยากออกจากสมาธิ
เราจะรู้ว่าตนได้เข้าฌานที่ 3 แล้ว

ความพอใจในสมาธิ ใจติดสุขสมาธิ หายไป
เราจะรู้ว่าตนได้เข้าฌานที่ 4 แล้ว

ธรรมะเหล่านี้เป็นของแก้กัน
เราไม่เห็นนิวรณ์ไม่รู้จักว่านิวรณ์คืออะไร เราก็ไม่รู้วิธีแก้
ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรมาแก้ ทำไปแบบหลงๆๆ ไม่รู้หนทาง
ก็เลยไม่รู้ว่ามรรคเป็นอย่างไร
เพราะเราไประงับตั้งแต่ยังไม่ทำสมาธิ
นิวรณ์5เป็นธรรมะเบื้องต้นที่เราจะต้องรู้
เป็นครูที่จะสอนให้เรารู้จักสมาธิ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
การเผานิวรณ์

การเผา การข่ม การทำลายหรือการประหารนิวรณ์ กล่าวสรุปอย่างสั้น ๆ ก็ต้องใช้

วิตก เผา ถีนมิทธนิวรณ์

วิจาร เผา วิจิกิจฉานิวรณ์

ปิติ เผา พยาปาทนิวรณ์

สุข เผา อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์

เอกัคคตา เผา กามฉันทนิวรณ์

นิวรณ์ทั้ง ๕ อันเป็นปฏิปักษ์ธรรมอันเป็นเครื่องขัดขวางมิให้เกิดฌาน ต้องเผาให้หมดทั้ง ๕ ก่อน ฌานจิตจึงเกิดขึ้นได้ ถ้านิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ยังคงอยู่แม้แต่อย่างเดียว ฌานจิตก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย

เหตุนี้ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา จึงเป็นปัจจัยส่วนสำคัญยิ่งที่ให้เกิดฌานจิต ดังนั้นจึงเรียกธรรม ๕ ประการ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา นี้ว่าเป็น องค์ฌาน เพราะเป็นองค์สำคัญที่ทำให้เกิดฌานจิต

การข่มนิวรณ์ด้วยอำนาจแห่งฌานนี้ เรียกว่า วิขัมภนปหาน เป็นการประหารไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม ซึ่งเปรียบเหมือนหินทับหญ้า ถ้าไม่ยกหินออก หญ้าก็งอกขึ้นไม่ได้ฉันใด ถ้าฌานยังไม่เสื่อม นิวรณ์ก็ไม่มีโอกาสจะกำเริบขึ้นได้ฉันนั้น หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นิวรณ์กำเริบขึ้นได้เมื่อใด ฌานก็เสื่อมไปเมื่อนั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่