สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
คนที่กำลังจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างจริงจังหรือคนที่ลงทุนอยู่แล้วแต่ยังใช้วิธีหรือกลยุทธ์อื่น ถ้าอยากเป็น “นักลงทุนแบบ VI” จะต้องทำอย่างไร?
ก่อนอื่นจะต้องรู้ก่อนว่าอะไรคือValue Investment หรือ “VI” เพราะถ้ายังไม่ชัดเจนก็จะทำให้เราทำผิดหรือเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้องและนำไปสู่วิธีการที่ผิด
หลักการของ VI ที่สำคัญจริง ๆ ก็คือการลงทุนที่เราต้องศึกษาและวิเคราะห์หา “มูลค่าที่แท้จริง”ของ “ธุรกิจ” ซึ่งก็คือกระแสเงินสดทั้งหมดที่เราจะได้รับจากเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่น ๆ ในอนาคตของบริษัทตลอดไป โดยปันผลทั้งหมดนั้นจะต้องถูกลดค่าโดยต้นทุนของเงินที่เราลงทุน ยิ่งกระแสเงินได้รับมาช้า การคิดลดก็จะสูง เช่น ปันผลในปีหน้าอาจจะถูกลดค่าลง 10% ปันผลปีที่สองก็จะถูกคิดลด 21% และปีที่ 3 ก็ถูกคิดลด 33% เป็นต้น เมื่อหามูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจได้แล้ว เราก็เอามาเปรียบเทียบกับ “ราคา” หุ้นของบริษัทนั้น ถ้าราคาของหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากพอ เช่น 30% ซึ่งเราเรียกว่า Margin of Safety สูง เราก็ซื้อหุ้นตัวนั้น และถ้าหุ้นตัวนั้นมีราคาปรับตัวขึ้นไปสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง เราก็จะขาย
จากหลักการดังกล่าวก็จะพบว่าสิ่งที่คนอยากเป็น VI จะต้องทำก็คือ ข้อแรก เขาจะต้องเรียนรู้เรื่องของ “ธุรกิจ” หรือบริษัทว่าเป็นอย่างไร อยู่ในอุตสาหกรรมอะไร มียอดขายเท่าไร กำไรเท่าไร และจ่ายปันผลหรือสามารถจ่ายปันผลเท่าไรหลังจากสิ้นปี นอกจากนั้น เขาจะต้องรู้ว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่สม่ำเสมอแน่นอนหรือไม่ ซึ่งจะทำอย่างนั้นได้ ตัวอุตสาหกรรมจะต้องไม่ตกต่ำลง และบริษัทก็จะต้องมีความสามารถในการรักษาลูกค้าและสามารถกำหนดมาร์จินหรืออัตราการทำกำไรต่อยอดขายได้ ซึ่งหมายความว่าบริษัทต้องมีความสามารถในด้านการตลาดที่เหนือกว่าหรือไม่แพ้คู่แข่ง ทั้งหมดนี้ผมเรียกมันว่า “ความแข็งแกร่งของบริษัท”
เรื่องต่อมาที่จะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมก็คือ การ “เติบโต” ของกิจการเพื่อที่จะมองว่า “กระแสเงินสด” หรือกำไรและปันผลในอนาคตจะเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหนและอีกยาวนานเท่าไร นี่ก็เช่นเดียวกัน เราจะต้องรู้ว่าอุตสาหกรรมนั้นจะโตต่อไปอีกนานแค่ไหน เช่นเดียวกัน บริษัทจะโตต่อไปได้อีกมากน้อยแค่ไหน ถ้าอุตสาหกรรมยังโตได้อีกมาก การเติบโตก็จะง่าย และถ้าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าคู่แข่งมากขึ้นเรื่อย ๆ การเติบโตโดยการกินส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่งก็จะทำได้มากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตของบริษัทในระยะยาวเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะทำได้ไม่สูงมาก บริษัทที่เป็นสุดยอดของการเติบโตก็มักจะมีการเติบโตแบบทบต้นโดยเฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 15-20% ยกเว้นก็เฉพาะบริษัทขนาดเล็กในอุตสาหกรรมไฮเทคที่อาจจะโตได้สูงกว่านั้น
ความแข็งแกร่งและการเติบโตของบริษัทนั้น เมื่อเอามาประกอบกันก็จะกลายเป็นเรื่องของ “คุณภาพ” ของกิจการ บริษัทที่แข็งแกร่งมากและโตเร็วมากผมก็จะเรียกว่าเป็น “Great Company” หรือบริษัทที่ “ยิ่งใหญ่” บริษัทที่แข็งแกร่งมากแต่ไม่โตก็อาจจะเป็น “Good Company” หรือบริษัทที่ “ดี” บริษัทที่ไม่แข็งแกร่งแต่โตเร็ว อาจจะเนื่องจากบริษัทยังเล็กมากก็อาจจะเรียกว่า Growth Company หรือบริษัทที่ “โตเร็ว” เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อยู่แล้วในอุตสาหกรรมจะโตเร็วมากไม่ค่อยได้แม้ว่าในช่วงสั้น ๆ ปีสองปีอาจจะดูว่าโตเร็วเนื่องจากเหตุผลพิเศษก็ตาม VI จำเป็นที่จะต้องเข้าใจในประเด็นเหล่านี้และแยกแยะได้ว่าบริษัทที่เราวิเคราะห์อยู่นั้นเป็นบริษัทแบบไหน
การเรียนรู้ในด้านของธุรกิจนั้น ต้องใช้เวลาและประสบการณ์สะสมไปเรื่อย ๆ คนที่ทำธุรกิจอยู่แล้วก็จะเข้าใจได้ง่ายกว่าคนที่ไม่เคยทำธุรกิจเพราะเขารู้จักเรื่องของการตลาดและการแข่งขัน น่าเสียดายที่นักธุรกิจบางคนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นโดยที่เขาคิดว่าหุ้นกับธุรกิจเป็นคนละเรื่อง ดังนั้น เขาจึงใช้ “ศาสตร์ของการเล่นหุ้น” ที่มักเน้นเรื่องของการจับจังหวะและการเก็งกำไรจากเรื่องราวต่าง ๆ มาใช้ในการลงทุน ซึ่งทำให้เขาไม่ได้เปรียบคนอื่นในตลาดหุ้น ส่วนคนที่ไม่เคยทำธุรกิจหรือไม่ได้สัมผัสกับธุรกิจเช่น อาจจะเป็นพนักงานกินเงินเดือนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตลาดหรือการขายหรือในด้านของบัญชีก็อาจจะเสียเปรียบและจะต้องอ่านหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจ กลยุทธ์การตลาด การแข่งขัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น ก็จะต้องคอยติดตามกลยุทธ์และการดำเนินงานของบริษัทอย่างสม่ำเสมอรวมถึงการสังเกตหรือสำรวจตลาด “ในสนาม” เพื่อให้รู้ว่าบริษัทแข็งแกร่งหรือเติบโตมากน้อยแค่ไหน
ในกระบวนการเรียนรู้เรื่องของกิจการนั้น ประเด็นสำคัญก็คือ เราจะต้องเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้องและ “ไม่ลำเอียง” เพราะในตลาดหุ้นนั้น มักจะมี “อวิชชา” และ “ข่าวลวง” หรือเรื่องที่เกิดจากความ “ลำเอียง” ของคนที่ถูกปล่อยออกมาทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจเป็นจำนวนมาก มากเสียยิ่งกว่าเรื่องจริงและความรู้ที่ถูกต้อง การรับข้อมูลโดยไม่แยกแยะหรือตั้งคำถามนั้น ในที่สุดก็จะทำให้เราเป็น VI “พันธุ์ทาง” หรือแม้แต่เป็นเหยื่อความคิดแบบ VI วิธีแก้ก็คือการดูว่า “ใครคือคนพูด” เขาน่าเชื่อถือไหม เขามีแรงจูงใจอะไร และเขามี Conflict of Interest หรือมีผลประโยชน์ซ่อนเร้นหรือไม่ เป็นต้น การที่จะเป็น VI ที่ดีได้จริง ๆ นั้น ผมคิดว่าคุณสมบัติที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือ เขาต้องไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ และต้องตั้งคำถามเสมอ
การเรียนรู้เรื่องต่อมาถ้าอยากจะเป็น VI ก็คือเรื่องของราคาหุ้น การวิเคราะห์หามูลค่าที่แท้จริงตามทฤษฎีให้ถูกต้องนั้นค่อนข้างยาก นักวิเคราะห์มักจะต้องตั้งสมมุติฐานที่มักจะห่างจากความเป็นจริงมาก ดังนั้น ถ้าเราใช้วิธีแบบนั้นโอกาสผิดก็จะสูงมาก อาจจะเรียกว่า “Precisely Wrong” ในทางปฏิบัติเราจึงมองภาพใหญ่ ๆ และหาค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงหรือเรียกว่า “Approximately Right” โดยใช้ค่า PE ค่า PB Dividend Yield และ Market Cap. เป็นต้น ซึ่งด้วยวิธีการเหล่านี้ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้มูลค่าที่แท้จริงว่าเป็นเท่าไรแน่ แต่เรารู้ว่าราคามันแพงหรือถูกเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่น ๆ ในตลาดโดยเฉลี่ย เช่น ในภาวะปัจจุบัน หุ้นที่มีค่า PE ไม่เกิน 17 เท่าอาจจะถือว่าไม่แพงและถ้าต่ำกว่า 10 เท่าก็อาจจะถือว่าถูก ส่วนหุ้นที่มีค่า PE เกิน 17 เท่าก็ถือว่าแพงและหุ้นที่มี PE 30-40 เท่าขึ้นไปก็ต้องถือว่าแพงมาก เป็นต้น
การที่จะเป็น VI นั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องซื้อแต่หุ้นถูก เราจะต้องเปรียบเทียบคุณภาพกับความถูกความแพงของหุ้น หุ้นที่ทั้งแข็งแกร่งและเติบโตดีเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่นั้น อาจจะแพงกว่าหุ้นอื่นทั่ว ๆ ไปได้ เช่น อาจจะมีค่า PE ถึง 30 เท่าก็ไม่ถือว่าแพง แต่ถ้าหุ้นมีราคาคิดเป็นค่า PE ถึง 50-100 เท่า โดยที่ไม่ได้เป็นหุ้นตัวเล็กจิ๋ว แบบนี้ก็ถือว่าไม่คุ้มและคนที่เป็น VI ก็มักจะไม่สนใจซื้อ ตรงกันข้าม หุ้นที่มีค่า PE เพียง 10 เท่าที่ถือว่ามีราคาถูกมากนั้น ก็อาจจะไม่คุ้มที่จะซื้อถ้าคุณภาพของกิจการ “แย่มาก” เพราะไม่แข็งแกร่งและกำลังถดถอย เป็นต้น
ความสามารถของ VI นั้น จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ตลอดเวลาและสะสมประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ สิ่งที่จะบอกว่ามีความก้าวหน้าก็คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ตัวกิจการหรือบริษัทได้ถูกต้อง นั่นคือ ความแข็งแกร่งและการเติบโตของบริษัท—ในระยะยาว ความสามารถประการที่สองก็คือ การซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าพื้นฐานที่แท้จริงมากพอ นั่นก็คือ ซื้อในราคาที่มีค่า PE หรือมาตรวัดอื่น ๆ ที่เหมาะสมหรือถูกมาก และนี่ก็คือศิลปะของ VI แต่ละคน และก็มักจะกลายเป็น “สไตล์” ที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ไหน จำไว้ว่า VI ที่แท้จริงนั้น จะไม่ซื้อหุ้นที่แพงเกินคุณภาพโดยเด็ดขาด ถ้าไม่เชื่อก็ลองดูว่าในชีวิตของวอเร็น บัฟเฟตต์นั้น เขาจะไม่ซื้อหุ้นที่แพงเกินไปเลย เขาอาจจะซื้อหุ้นไฮเท็คแบบ แอปเปิลหรือ IBM แต่ก็ซื้อในยามที่มันไม่แพง เขาอาจจะซื้อหุ้นบริษัทรถไฟที่อาจจะไม่โตหรือกำลังถดถอย แต่มันก็ไม่แพง บางครั้งเขาก็เล่นพวก Derivative ถ้ามันไม่แพง พูดง่าย ๆ VI สามารถและก็ลงทุนได้ทุกอย่าง บางครั้งก็ลงทุนสั้น ๆ ด้วยก็ได้ สิ่งเหล่านั้นไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ใช่ VI สิ่งเดียวที่จะแสดงว่าเขาอาจจะไม่ใช่ VI ก็คือ เขาลงทุนในหุ้นที่ “แพงจัด” หรือแพงเกินไปอยู่บ่อย ๆ
คนที่กำลังจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างจริงจังหรือคนที่ลงทุนอยู่แล้วแต่ยังใช้วิธีหรือกลยุทธ์อื่น ถ้าอยากเป็น “นักลงทุนแบบ VI” จะต้องทำอย่างไร?
ก่อนอื่นจะต้องรู้ก่อนว่าอะไรคือValue Investment หรือ “VI” เพราะถ้ายังไม่ชัดเจนก็จะทำให้เราทำผิดหรือเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้องและนำไปสู่วิธีการที่ผิด
หลักการของ VI ที่สำคัญจริง ๆ ก็คือการลงทุนที่เราต้องศึกษาและวิเคราะห์หา “มูลค่าที่แท้จริง”ของ “ธุรกิจ” ซึ่งก็คือกระแสเงินสดทั้งหมดที่เราจะได้รับจากเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่น ๆ ในอนาคตของบริษัทตลอดไป โดยปันผลทั้งหมดนั้นจะต้องถูกลดค่าโดยต้นทุนของเงินที่เราลงทุน ยิ่งกระแสเงินได้รับมาช้า การคิดลดก็จะสูง เช่น ปันผลในปีหน้าอาจจะถูกลดค่าลง 10% ปันผลปีที่สองก็จะถูกคิดลด 21% และปีที่ 3 ก็ถูกคิดลด 33% เป็นต้น เมื่อหามูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจได้แล้ว เราก็เอามาเปรียบเทียบกับ “ราคา” หุ้นของบริษัทนั้น ถ้าราคาของหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากพอ เช่น 30% ซึ่งเราเรียกว่า Margin of Safety สูง เราก็ซื้อหุ้นตัวนั้น และถ้าหุ้นตัวนั้นมีราคาปรับตัวขึ้นไปสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง เราก็จะขาย
จากหลักการดังกล่าวก็จะพบว่าสิ่งที่คนอยากเป็น VI จะต้องทำก็คือ ข้อแรก เขาจะต้องเรียนรู้เรื่องของ “ธุรกิจ” หรือบริษัทว่าเป็นอย่างไร อยู่ในอุตสาหกรรมอะไร มียอดขายเท่าไร กำไรเท่าไร และจ่ายปันผลหรือสามารถจ่ายปันผลเท่าไรหลังจากสิ้นปี นอกจากนั้น เขาจะต้องรู้ว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่สม่ำเสมอแน่นอนหรือไม่ ซึ่งจะทำอย่างนั้นได้ ตัวอุตสาหกรรมจะต้องไม่ตกต่ำลง และบริษัทก็จะต้องมีความสามารถในการรักษาลูกค้าและสามารถกำหนดมาร์จินหรืออัตราการทำกำไรต่อยอดขายได้ ซึ่งหมายความว่าบริษัทต้องมีความสามารถในด้านการตลาดที่เหนือกว่าหรือไม่แพ้คู่แข่ง ทั้งหมดนี้ผมเรียกมันว่า “ความแข็งแกร่งของบริษัท”
เรื่องต่อมาที่จะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมก็คือ การ “เติบโต” ของกิจการเพื่อที่จะมองว่า “กระแสเงินสด” หรือกำไรและปันผลในอนาคตจะเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหนและอีกยาวนานเท่าไร นี่ก็เช่นเดียวกัน เราจะต้องรู้ว่าอุตสาหกรรมนั้นจะโตต่อไปอีกนานแค่ไหน เช่นเดียวกัน บริษัทจะโตต่อไปได้อีกมากน้อยแค่ไหน ถ้าอุตสาหกรรมยังโตได้อีกมาก การเติบโตก็จะง่าย และถ้าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าคู่แข่งมากขึ้นเรื่อย ๆ การเติบโตโดยการกินส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่งก็จะทำได้มากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตของบริษัทในระยะยาวเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะทำได้ไม่สูงมาก บริษัทที่เป็นสุดยอดของการเติบโตก็มักจะมีการเติบโตแบบทบต้นโดยเฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 15-20% ยกเว้นก็เฉพาะบริษัทขนาดเล็กในอุตสาหกรรมไฮเทคที่อาจจะโตได้สูงกว่านั้น
ความแข็งแกร่งและการเติบโตของบริษัทนั้น เมื่อเอามาประกอบกันก็จะกลายเป็นเรื่องของ “คุณภาพ” ของกิจการ บริษัทที่แข็งแกร่งมากและโตเร็วมากผมก็จะเรียกว่าเป็น “Great Company” หรือบริษัทที่ “ยิ่งใหญ่” บริษัทที่แข็งแกร่งมากแต่ไม่โตก็อาจจะเป็น “Good Company” หรือบริษัทที่ “ดี” บริษัทที่ไม่แข็งแกร่งแต่โตเร็ว อาจจะเนื่องจากบริษัทยังเล็กมากก็อาจจะเรียกว่า Growth Company หรือบริษัทที่ “โตเร็ว” เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อยู่แล้วในอุตสาหกรรมจะโตเร็วมากไม่ค่อยได้แม้ว่าในช่วงสั้น ๆ ปีสองปีอาจจะดูว่าโตเร็วเนื่องจากเหตุผลพิเศษก็ตาม VI จำเป็นที่จะต้องเข้าใจในประเด็นเหล่านี้และแยกแยะได้ว่าบริษัทที่เราวิเคราะห์อยู่นั้นเป็นบริษัทแบบไหน
การเรียนรู้ในด้านของธุรกิจนั้น ต้องใช้เวลาและประสบการณ์สะสมไปเรื่อย ๆ คนที่ทำธุรกิจอยู่แล้วก็จะเข้าใจได้ง่ายกว่าคนที่ไม่เคยทำธุรกิจเพราะเขารู้จักเรื่องของการตลาดและการแข่งขัน น่าเสียดายที่นักธุรกิจบางคนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นโดยที่เขาคิดว่าหุ้นกับธุรกิจเป็นคนละเรื่อง ดังนั้น เขาจึงใช้ “ศาสตร์ของการเล่นหุ้น” ที่มักเน้นเรื่องของการจับจังหวะและการเก็งกำไรจากเรื่องราวต่าง ๆ มาใช้ในการลงทุน ซึ่งทำให้เขาไม่ได้เปรียบคนอื่นในตลาดหุ้น ส่วนคนที่ไม่เคยทำธุรกิจหรือไม่ได้สัมผัสกับธุรกิจเช่น อาจจะเป็นพนักงานกินเงินเดือนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตลาดหรือการขายหรือในด้านของบัญชีก็อาจจะเสียเปรียบและจะต้องอ่านหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจ กลยุทธ์การตลาด การแข่งขัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น ก็จะต้องคอยติดตามกลยุทธ์และการดำเนินงานของบริษัทอย่างสม่ำเสมอรวมถึงการสังเกตหรือสำรวจตลาด “ในสนาม” เพื่อให้รู้ว่าบริษัทแข็งแกร่งหรือเติบโตมากน้อยแค่ไหน
ในกระบวนการเรียนรู้เรื่องของกิจการนั้น ประเด็นสำคัญก็คือ เราจะต้องเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้องและ “ไม่ลำเอียง” เพราะในตลาดหุ้นนั้น มักจะมี “อวิชชา” และ “ข่าวลวง” หรือเรื่องที่เกิดจากความ “ลำเอียง” ของคนที่ถูกปล่อยออกมาทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจเป็นจำนวนมาก มากเสียยิ่งกว่าเรื่องจริงและความรู้ที่ถูกต้อง การรับข้อมูลโดยไม่แยกแยะหรือตั้งคำถามนั้น ในที่สุดก็จะทำให้เราเป็น VI “พันธุ์ทาง” หรือแม้แต่เป็นเหยื่อความคิดแบบ VI วิธีแก้ก็คือการดูว่า “ใครคือคนพูด” เขาน่าเชื่อถือไหม เขามีแรงจูงใจอะไร และเขามี Conflict of Interest หรือมีผลประโยชน์ซ่อนเร้นหรือไม่ เป็นต้น การที่จะเป็น VI ที่ดีได้จริง ๆ นั้น ผมคิดว่าคุณสมบัติที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือ เขาต้องไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ และต้องตั้งคำถามเสมอ
การเรียนรู้เรื่องต่อมาถ้าอยากจะเป็น VI ก็คือเรื่องของราคาหุ้น การวิเคราะห์หามูลค่าที่แท้จริงตามทฤษฎีให้ถูกต้องนั้นค่อนข้างยาก นักวิเคราะห์มักจะต้องตั้งสมมุติฐานที่มักจะห่างจากความเป็นจริงมาก ดังนั้น ถ้าเราใช้วิธีแบบนั้นโอกาสผิดก็จะสูงมาก อาจจะเรียกว่า “Precisely Wrong” ในทางปฏิบัติเราจึงมองภาพใหญ่ ๆ และหาค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงหรือเรียกว่า “Approximately Right” โดยใช้ค่า PE ค่า PB Dividend Yield และ Market Cap. เป็นต้น ซึ่งด้วยวิธีการเหล่านี้ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้มูลค่าที่แท้จริงว่าเป็นเท่าไรแน่ แต่เรารู้ว่าราคามันแพงหรือถูกเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่น ๆ ในตลาดโดยเฉลี่ย เช่น ในภาวะปัจจุบัน หุ้นที่มีค่า PE ไม่เกิน 17 เท่าอาจจะถือว่าไม่แพงและถ้าต่ำกว่า 10 เท่าก็อาจจะถือว่าถูก ส่วนหุ้นที่มีค่า PE เกิน 17 เท่าก็ถือว่าแพงและหุ้นที่มี PE 30-40 เท่าขึ้นไปก็ต้องถือว่าแพงมาก เป็นต้น
การที่จะเป็น VI นั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องซื้อแต่หุ้นถูก เราจะต้องเปรียบเทียบคุณภาพกับความถูกความแพงของหุ้น หุ้นที่ทั้งแข็งแกร่งและเติบโตดีเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่นั้น อาจจะแพงกว่าหุ้นอื่นทั่ว ๆ ไปได้ เช่น อาจจะมีค่า PE ถึง 30 เท่าก็ไม่ถือว่าแพง แต่ถ้าหุ้นมีราคาคิดเป็นค่า PE ถึง 50-100 เท่า โดยที่ไม่ได้เป็นหุ้นตัวเล็กจิ๋ว แบบนี้ก็ถือว่าไม่คุ้มและคนที่เป็น VI ก็มักจะไม่สนใจซื้อ ตรงกันข้าม หุ้นที่มีค่า PE เพียง 10 เท่าที่ถือว่ามีราคาถูกมากนั้น ก็อาจจะไม่คุ้มที่จะซื้อถ้าคุณภาพของกิจการ “แย่มาก” เพราะไม่แข็งแกร่งและกำลังถดถอย เป็นต้น
ความสามารถของ VI นั้น จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ตลอดเวลาและสะสมประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ สิ่งที่จะบอกว่ามีความก้าวหน้าก็คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ตัวกิจการหรือบริษัทได้ถูกต้อง นั่นคือ ความแข็งแกร่งและการเติบโตของบริษัท—ในระยะยาว ความสามารถประการที่สองก็คือ การซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าพื้นฐานที่แท้จริงมากพอ นั่นก็คือ ซื้อในราคาที่มีค่า PE หรือมาตรวัดอื่น ๆ ที่เหมาะสมหรือถูกมาก และนี่ก็คือศิลปะของ VI แต่ละคน และก็มักจะกลายเป็น “สไตล์” ที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ไหน จำไว้ว่า VI ที่แท้จริงนั้น จะไม่ซื้อหุ้นที่แพงเกินคุณภาพโดยเด็ดขาด ถ้าไม่เชื่อก็ลองดูว่าในชีวิตของวอเร็น บัฟเฟตต์นั้น เขาจะไม่ซื้อหุ้นที่แพงเกินไปเลย เขาอาจจะซื้อหุ้นไฮเท็คแบบ แอปเปิลหรือ IBM แต่ก็ซื้อในยามที่มันไม่แพง เขาอาจจะซื้อหุ้นบริษัทรถไฟที่อาจจะไม่โตหรือกำลังถดถอย แต่มันก็ไม่แพง บางครั้งเขาก็เล่นพวก Derivative ถ้ามันไม่แพง พูดง่าย ๆ VI สามารถและก็ลงทุนได้ทุกอย่าง บางครั้งก็ลงทุนสั้น ๆ ด้วยก็ได้ สิ่งเหล่านั้นไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ใช่ VI สิ่งเดียวที่จะแสดงว่าเขาอาจจะไม่ใช่ VI ก็คือ เขาลงทุนในหุ้นที่ “แพงจัด” หรือแพงเกินไปอยู่บ่อย ๆ
แสดงความคิดเห็น
ดร.นิเวศน์ บอกว่า บริษัท รายได้ลด กำไรลด ปันผลลดลง ให้ขายหุ้น นี่คือ กี่ปีลดติดต่อกัน หรือนานเท่าไหร่ครับ