สวัสดีครับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปทำงานและท่องเที่ยวที่เมืองเชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ ความประทับใจจากเรื่องราวระหว่างทางจึงกลั่นออกมาเป็นบทความพร้อมภาพประกอบ เรียนเชิญอ่านได้เลยครับ
เชียงตุง (Kyainge Tung) เป็นจังหวัดหนึ่งในรัฐฉานของเมียนมาร์ ประชากรส่วนใหญ่เป็น ชาวไทขึนหรือไทเขิน มีไทใหญ่ รองลงมา นอกนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ 33 ชนเผ่า ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออก สูง 2,750 ฟุตจากระดับน้ำทะเล พื้นที่เป็นแอ่งกะทะมีภูเขาล้อมรอบ
ด้วยระยะทาง 180 กิโลเมตร ขับรถจากด่านแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก มาตามถนนลัดเลาะขึ้นเขาลงห้วย ผ่านหมู่บ้าน ผ่านทุ่งนา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3.5 ชั่วโมง
เมื่อถึงเชียงตุง สิ่งแรกที่เห็น คือ วัดเยอะมาก มีทุกตรอกซอย พี่หอมทิพย์ ไกด์ประจำทริปบอกว่าเชียงตุงได้รับฉายา "เมืองร้อยวัด" เปรียบเป็นกระจกสะท้อนความเจริญพุทธศาสนาของที่นี่ วัดเด่นๆ ที่เราแวะไปเท่าที่เวลาเอื้ออำนวย
วัดจอมลอย หรือจอมดอย ตั้งอยู่บนยอดเขา นอกเมืองเชียงตุง พระธาตุที่นี่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า อายุเก่าแก่กว่า 2 พันปี สร้างโดยสามีภรรยาชาวไตลอยที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชา นอกจากนี้ยังมีวิหารพระหมื่นรูปที่องค์พระทาสีทองตัดสลับกับสีแดงของวิหาร ตั้งเด่นตระหง่านท่ามกลางขุนเขา มองเห็นวิวทิวทัศน์ด้านนอกงดงาม
วัดพระธาตุจอมคำ วัดอีกแห่งที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า พระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 1,200 ปี สร้างขึ้นโดยตุงคฤาษี ผู้สร้างเมืองเชียงตุง องค์เจดีย์เป็นสีทองอร่าม มีพระประจะวัดเกิดให้สักการะขอพร ตั้งอยู่บนจอมคำ (จอมหมายถึงเนินเขา) ฝั่งตรงข้ามหนองตุง
วัดพระเจ้าหลวง หรือ วัดมหาเมี๊ยะมุณี ตั้งอยู่ในวงเวียนใจกลางเมืองเชียงตุง ซึ่งจำลองมาจากพระเจ้าพะราละแข่งแห่งเมืองมัณฑะเลย์ องค์พระมหาเมี๊ยะมุณีได้ถูกสร้างขึ้นที่เมืองมัณฑะเลย์ และแยกชิ้นส่วนใส่เกวียนเทียมวัวขนมาประกอบที่เชียงตุง แม้เป็นองค์จำลองแต่ผู้คนแวะมาเชียงตุงมักจะมาแวะกราบขอพรให้ประสบผลสำเร็จดังหวัง
วัดหัวข่วง เป็นวัดที่สำคัญของเชียงตุง ในอดีตเจ้าฟ้าของเชียงตุงทุกพระองค์จะมาบวชเป็นส่าง (สามเณร) หรือตุ๊ (พระภิกษุ) ที่วัดนี้ด้วย
นอกจากความเข้มข้นของศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของคนที่นี่ ยังมีวิถีชีวิตผู้คน ที่แม้ต่างกลุ่มชาติพันธุ์แต่อยู่ร่วมกันได้ และความใกล้ชิดกับคนไทย เพราะพวกเค้าใช้ภาษาเมือง สื่อสารกับคนไทยอย่างเรารู้เรื่อง รอติดตามตอนหน้าเด้อ 😊
ขอบพระคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ ถ้ายังไงสามารถติดตามอ่าน และ ชมภาพประกอบได้ใน เพจ ผู้บ่าวขาเลาะ www.facebook.com/mancanmove เพจท่องเที่ยวบ้านๆ เบิกบานใจ สไตล์ผู้บ่าวขาเลาะ ฝากกด Like & Share หน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ
ชื่อสินค้า: เชียงตุง, รัฐฉาน, ไทใหญ่, เมียนมาร์, พม่า, เจ้าฟ้าเชียงตุง, ไปเชียงตุง, ไกด์เชียงตุง, มนต์เสน่ห์เชียงตุง, Keng Tung, เขมรัฐเชียงตุง, เที่ยวเชียงตุง, บันทึกนักเดินทาง, Backpack, เที่ยวต่างประเทศ, เที่ยววัด, ประเทศเพื่อนบ้าน
คะแนน:
[CR] รีวิว ตะลุยเชียงตุง เมืองร้อยวัด หลากวัฒนธรรม (1)
เชียงตุง (Kyainge Tung) เป็นจังหวัดหนึ่งในรัฐฉานของเมียนมาร์ ประชากรส่วนใหญ่เป็น ชาวไทขึนหรือไทเขิน มีไทใหญ่ รองลงมา นอกนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ 33 ชนเผ่า ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออก สูง 2,750 ฟุตจากระดับน้ำทะเล พื้นที่เป็นแอ่งกะทะมีภูเขาล้อมรอบ
ด้วยระยะทาง 180 กิโลเมตร ขับรถจากด่านแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก มาตามถนนลัดเลาะขึ้นเขาลงห้วย ผ่านหมู่บ้าน ผ่านทุ่งนา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3.5 ชั่วโมง
เมื่อถึงเชียงตุง สิ่งแรกที่เห็น คือ วัดเยอะมาก มีทุกตรอกซอย พี่หอมทิพย์ ไกด์ประจำทริปบอกว่าเชียงตุงได้รับฉายา "เมืองร้อยวัด" เปรียบเป็นกระจกสะท้อนความเจริญพุทธศาสนาของที่นี่ วัดเด่นๆ ที่เราแวะไปเท่าที่เวลาเอื้ออำนวย
วัดจอมลอย หรือจอมดอย ตั้งอยู่บนยอดเขา นอกเมืองเชียงตุง พระธาตุที่นี่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า อายุเก่าแก่กว่า 2 พันปี สร้างโดยสามีภรรยาชาวไตลอยที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชา นอกจากนี้ยังมีวิหารพระหมื่นรูปที่องค์พระทาสีทองตัดสลับกับสีแดงของวิหาร ตั้งเด่นตระหง่านท่ามกลางขุนเขา มองเห็นวิวทิวทัศน์ด้านนอกงดงาม
วัดพระธาตุจอมคำ วัดอีกแห่งที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า พระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 1,200 ปี สร้างขึ้นโดยตุงคฤาษี ผู้สร้างเมืองเชียงตุง องค์เจดีย์เป็นสีทองอร่าม มีพระประจะวัดเกิดให้สักการะขอพร ตั้งอยู่บนจอมคำ (จอมหมายถึงเนินเขา) ฝั่งตรงข้ามหนองตุง
วัดพระเจ้าหลวง หรือ วัดมหาเมี๊ยะมุณี ตั้งอยู่ในวงเวียนใจกลางเมืองเชียงตุง ซึ่งจำลองมาจากพระเจ้าพะราละแข่งแห่งเมืองมัณฑะเลย์ องค์พระมหาเมี๊ยะมุณีได้ถูกสร้างขึ้นที่เมืองมัณฑะเลย์ และแยกชิ้นส่วนใส่เกวียนเทียมวัวขนมาประกอบที่เชียงตุง แม้เป็นองค์จำลองแต่ผู้คนแวะมาเชียงตุงมักจะมาแวะกราบขอพรให้ประสบผลสำเร็จดังหวัง
วัดหัวข่วง เป็นวัดที่สำคัญของเชียงตุง ในอดีตเจ้าฟ้าของเชียงตุงทุกพระองค์จะมาบวชเป็นส่าง (สามเณร) หรือตุ๊ (พระภิกษุ) ที่วัดนี้ด้วย
นอกจากความเข้มข้นของศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของคนที่นี่ ยังมีวิถีชีวิตผู้คน ที่แม้ต่างกลุ่มชาติพันธุ์แต่อยู่ร่วมกันได้ และความใกล้ชิดกับคนไทย เพราะพวกเค้าใช้ภาษาเมือง สื่อสารกับคนไทยอย่างเรารู้เรื่อง รอติดตามตอนหน้าเด้อ 😊
ขอบพระคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ ถ้ายังไงสามารถติดตามอ่าน และ ชมภาพประกอบได้ใน เพจ ผู้บ่าวขาเลาะ www.facebook.com/mancanmove เพจท่องเที่ยวบ้านๆ เบิกบานใจ สไตล์ผู้บ่าวขาเลาะ ฝากกด Like & Share หน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ