ประเทศไทยมีเพศหลากหลาย มีคนข้ามเพศ เราอยู่ในระบบสองเพศ คือ หญิง และ ชาย
กรอบนี้ตีกรอบ "คำนำหน้านาม" สร้างอุปสรรคให้กับคนข้ามเพศ
นาย นาง นางสาว หรือ ไม่มีคำนำหน้า ...
การเปิดโอกาสให้คนข้ามเพศ ได้เลือกคำนำหน้า น่าจะเป็นการปลดล็อกกรอบของระบบ 2 เพศ
ให้บุคคลที่บรรลุนิติภาวะ ได้มีโอกาสเลือกเพศที่ตนเองต้องการ
ให้ทุกคนเปลี่ยนหรือไม่ระบุคำนำหน้าชื่อได้ด้วยตัวเอง เพื่อเปิดโอกาสให้คนข้ามเพศ ได้เลือกคำนำหน้าชื่อได้เอง จะเป็นการปลดล็อก กรอบระบบ 2 เพศ ในประเทศไทย
5 เหตุผลทำไมเราจึงต้องพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ (ในประเทศไทย)
ทำไมเราจึงต้องมาพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ:
1. เพราะเพศไม่ได้จำกัดแค่ชายและหญิง ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศที่ให้การยอมรับกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศในเชิงสังคมวัฒนธรรม ถึงขั้นคนต่างชาติยกย่องให้เป็น "the paradise of LGBT" หรือ ''สวรรค์ของเกย์ ชายรักชาย กะเทย คนข้ามเพศ ทอมดี้ หญิงรักหญิง และคนรักสองเพศ" ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการยอมรับเชิงสังคมวัฒนธรรมเป็นการยอมรับเชิงกฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกเพศในสังคมไทย
2.การเปลี่ยนคำนำหน้านามของคนข้ามเพศในเอกสารราชการไม่ได้เป็น "สิทธิพิเศษ" น้อยครั้งมากที่บุคคลที่นิยามตัวเองว่าชายหรือหญิงจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตนถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่อง "ตัวตนทางเพศ" ของตนเองจากเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ในต่างประเทศ) และบุคคลทั่วไป เพราะตัวตนทางเพศไม่ได้ดูขัดแย้งกับคำนำหน้านามในบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และเอกสารสำคัญทางราชการ ในทางตรงกันข้าม กะเทย และคนข้ามเพศจะต้องตอบคำถามจากคนอีกจำนวนมากถึงความเป็นเพศ ตัวตนทางเพศ และเนื้อตัวร่างกายของตน ดังนั้น การเปลี่ยนคำนำหน้านามของคนข้ามเพศจึงเป็นการคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นประชาชนคนหนึ่งในสังคมไทย ... การถูกตั้งคำถามถึงเรื่องเพศควรต้องมาพร้อมกับอำนาจในการตัดสินใจว่าสะดวกใจตอบหรือไม่ตอบ การถูกบังคับให้อธิบายความเป็นเพศของตนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะหลักการพื้นฐานทางสิทธิที่ว่า "All human beings are born free and equal in dignity and rights - มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความเป็นอิสระและเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ"
3. อาการกังวลว่าคนข้ามเพศจะไปหลอกคู่ของตัวเองว่าตนเป็นชายหรือหญิงจริงแท้เป็นอาการเกลียดกลัวคนข้ามเพศ (Transphobia) ซึ่งเกิดจากอคติเกี่ยวกับความเป็นเพศ และความเชื่อเรื่องเพศที่มีเพียงสองเพศคือ ชายและหญิง ที่ยึดโยงกับเพศสรีระมากกว่าการให้ความหมายเพศทางวัฒนธรรม ซึ่งไม่ควรนำมาเป็นประเด็นในการพิจารณาผ่านกฎหมายรับรองเพศสภาพของคนข้ามเพศ เพราะเอาเข้าจริงการโกหกและหลอกลวงเกิดกับคนทุกเพศ ไม่เว้นแม้แต่ชายหรือหญิง นอกจากนี้ความเป็นเพศอะไรก็ไม่ควรถูกมาใช้เป็นเครื่องพิสูจน์ความรักของคู่รัก และถ้าคิดในความเป็นจริงที่ว่าจะมีกะเทยซักกี่คนในประเทศไทยที่จะมีคนรอบข้างเพียง 1 คนไม่สามารถบอกได้ว่าเธอเป็นเพศอะไร และสุดท้ายทำไมเราจึงอยากรู้ว่าใครเป็นเพศอะไร มันช่วยให้ความสัมพันธ์ของเรากับคนคนนั้นดีขึ้นอย่างไรกัน สังคมไทยควรเรียนรู้ที่จะเคารพอำนาจการตัดสินใจของคนคนหนึ่งต่อความเป็นเพศของเขาเองโดยไม่ตั้งคำถามกลับ เพราะมันไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไร สุดท้ายจงอย่าลืมว่าอาการเกลียดกลัวคนข้ามเพศนี้เป็นทางเลือก เราเลือกที่จะเกลียดคนคนหนึ่งหรือไม่เกลียดคนคนหนึ่งจากอคติของเราเอง ... ส่วนการเกิดมาเป็นกะเทยหรือคนข้ามเพศนั้นเกิดขึ้นเอง กรณีเหล่านี้เป็นกรณีเดียวกับการที่คิดว่าชายไทยจะแปลงเพศเพื่อหนีทหาร หรือหนีความผิดทางกฎหมาย จงอย่าลืมว่า การเป็นกะเทยไม่ได้เป็นง่ายๆ ตื่นขึ้นมาเป็นกะเทยเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน
4. ชวนพูดเรื่องตัวบทกฎหมายบ้างว่าทำไมการเปลี่ยนคำนำหน้านามจึงไม่ควรเลือกปฏิบัติโดยการให้สิทธิคนที่ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศเพียงเท่านั้น ขอแบ่งเป็นข้อย่อยๆดังนี้
4.1 กะเทยและคนข้ามเพศจำนวนหนึ่งไม่ต้องการเปลี่ยนเพศ อวัยวะเพศไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องตัดสินความเป็นเพศ และการตัดสินใจเปลี่ยนเนื้อตัวร่างกายคือสิทธิของกะเทยและคนข้ามเพศ ฉะนั้นการตัดสินความเป็นเพศไม่ควรถูกทำผ่านวาทกรรมทางการแพทย์
4.2 การเข้าถึงศัลยกรรม การเปลี่ยนเพศ และการใช้ฮอร์โมน ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เงิน ดังนั้นกระบวนการทางการเปลี่ยนแปลงสรีระจึงจำกัดเพียงคนกลุ่มหนึ่งที่มีทุนทางสังคม และสามารถเข้าถึงกระบวนการดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง ... จงอย่าลืมว่ากะเทยและคนข้ามเพศจำนวนมากในประเทศที่ "ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ" ยังประสบปัญหาการหางาน การจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมจากนายจ้าง การเลือกปฎิบัติทางสังคม และการประสบปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้างในสังคมไทย ที่ทำให้กะเทยและคนข้ามเพศจำนวนมากมีรายได้น้อย หรือ มีรายได้ที่ต่ำกว่าระดับการศึกษาและความสามารถของตน ดังนั้นการที่จะใช้เงินเพื่อการเข้าถึงกระบวนการทางการแพทย์เพื่อเปลี่ยนแปลงสรีระจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับกะเทยและคนข้ามเพศที่ประสบปัญหาความยากจน และกะเทยชนชั้นแรงงาน
4.3 ระบบทางการแพทย์ และทุนนิยมทำให้การเข้าถึงกระบวนการทางการแพทย์สำหรับคนข้ามเพศเป็นเรื่องยาก และราคาแพง เนื่องจากการให้การบริการทางการแพทย์สำหรับคนข้ามเพศเป็นภาระของคนข้ามเพศเองที่จะรับผิดชอบต่อการหาข้อมูลและบริการ การเข้าสู่การบริการทางการแพทย์ และการรับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่เกิดจากการบริการที่ตนเลือก ภาระเหล่านี้สร้างความกังวลให้กับคนข้ามเพศ ปัดความรับผิดชอบที่ไม่เป็นธรรมให้กับคนข้ามเพศ และลดทางเลือกในการตัดสินใจในเรื่องสุขภาพของคนข้ามเพศคนหนึ่ง เช่น ตัดสินใจกินยาคุมกำเนิดแทนฮอร์โมนเพศโดยไม่ทราบผลข้างเคียง เพราะราคาถูกและเข้าถึงง่าย เป็นต้น ระบบสาธารณสุขไทยผลักภาระเหล่านี้ให้กับคนข้ามเพศ โดยไม่คำนึงถึงสิทธิของผู้รับบริการ ซึ่งแตกต่างกันกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีกฎหมายครอบคลุมการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อสุขภาพของคนข้ามเพศอย่างเท่าเทียม ที่รวมถึงการมีข้อมูลที่ครบถ้วนต่อการตัดสินใจในการรับบริการทางการแพทย์ และการมีระบบการรักษาที่มีมาตรฐาน ที่รวมการติดตามสถานะทางสุขภาพของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าประเทศไทยจะมีประชากรกะเทยและคนข้ามเพศจำนวนมาก ระบบสาธารณสุขไทยยังปฎิเสธการให้บริการทางการแพทย์กับคนกลุ่มนี้ ... ประเทศไทยมีแพทย์ที่สามารถทำการแปลงเพศ และทำศัลยกรรมจำนวนมาก การสร้างระบบบริการทางการแพทย์สำหรับคนข้ามเพศในระบบสาธารณสุขไทยจะเป็นการลดรายได้ของแพทย์กลุ่มนี้ นี้แหละคือความน่ากลัวของระบอบทุนนิยม
4.4 การเปลี่ยนเพศของชายข้ามเพศที่ต้องใช้เงินจำนวนมากกว่าการเปลี่ยนเพศของหญิงข้ามเพศ มีกระบวนการที่ซับซ้อน และต้องการระบบการติดตามทางสุขภาพของชายที่ผ่านการแปลงเพศที่มีประสิทธิภาพ (มากกว่าที่เป็นอยู่) ดังนั้นการเปลี่ยนเพศของชายข้ามเพศจึงมีข้อจำกัดจำนวนมาก และความเสี่ยงที่มากกว่า
การเปลี่ยนคำนำหน้านามทางกฎหมายเฉพาะคนแปลงเพศจึงต้องคิดอย่างถี่ถ้วนเพื่อครอบคลุมประเด็นเหล่านี้ที่กล่าวไปข้างต้น และสร้างให้กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่เป็นธรรม และไม่แบ่งแยกเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
5. กฎหมายเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศได้รับการพิจารณาและออกเป็นกฎหมายในหลายประเทศเช่น อังกฤษ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา บลาซิล อาร์เจนทิน่า และอีกหลายประเทศ ซึ่งกฎหมายนี้ในหลายประเทศไม่ได้จำกัดสิทธิการเปลี่ยนคำนำหน้านามเพียงชายหรือหญิงข้ามเพศที่ผ่านการแปลงเพศเท่านั้น แต่ครอบคลุมทุกคนที่นิยามเพศของตนต่างจากเพศกำเนิด โดยไม่ต้องผ่านการทำศัลยกรรม หรือกระบวนทางการแพทย์ในการเปลี่ยนสรีระ ฉะนั้นแนวคิดของการรับรองเพศใหม่ให้กับคนข้ามเพศจึงเป็นแนวคิดที่ปฏิบัติได้จริง และมีตัวอย่างจำนวนมาก ... คำถามสำคัญคือ ประเทศไทยพร้อมหรือยังที่จะผ่านกฎหมายการรับรองเพศสภาพกับกะเทยและคนข้ามเพศ หรือประเทศไทยจะรอจนกว่าประเทศอื่นๆมีกฎหมายนี้ และรอให้ประชาคมโลกรู้ว่า "the paradise of LGBT" เป็นเรื่องสร้างภาพสำหรับประเทศที่ระบอบทุนนิยมกำลังจะกลืนกินความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ และเผยเนื้อแท้แห่งอคติทางเพศ คอรัปชั่น และความอยุติธรรมในสังคมวัฒนธรรมที่ "หน้า" สำคัญกว่า "จิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์"
----------------
ที่มาและติดตามบทความอื่นๆได้ที่ blog
http://katoeykatoey.blogspot.com/?view=magazine
จิ๋ม ซาร่า กะเทยไทยคนเเรก ที่ได้ใช้คำนำหน้า นางสาว กับชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย
บทความฉบับเต็ม
http://www.zubzip.co/41416/
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ผลักดันเปลี่ยนคำนำหน้านามตามเพศที่ใช้
ความเชื่อที่ว่ามนุษย์นั้นมีแค่ชายกับหญิงนั้นไม่จริง ความจริงแล้วเพศของมนุษย์ถูกสร้างมาให้มีความหลากหลาย
กรอบนี้ตีกรอบ "คำนำหน้านาม" สร้างอุปสรรคให้กับคนข้ามเพศ
นาย นาง นางสาว หรือ ไม่มีคำนำหน้า ...
การเปิดโอกาสให้คนข้ามเพศ ได้เลือกคำนำหน้า น่าจะเป็นการปลดล็อกกรอบของระบบ 2 เพศ
ให้บุคคลที่บรรลุนิติภาวะ ได้มีโอกาสเลือกเพศที่ตนเองต้องการ
ให้ทุกคนเปลี่ยนหรือไม่ระบุคำนำหน้าชื่อได้ด้วยตัวเอง เพื่อเปิดโอกาสให้คนข้ามเพศ ได้เลือกคำนำหน้าชื่อได้เอง จะเป็นการปลดล็อก กรอบระบบ 2 เพศ ในประเทศไทย
5 เหตุผลทำไมเราจึงต้องพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ (ในประเทศไทย)
ทำไมเราจึงต้องมาพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ:
1. เพราะเพศไม่ได้จำกัดแค่ชายและหญิง ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศที่ให้การยอมรับกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศในเชิงสังคมวัฒนธรรม ถึงขั้นคนต่างชาติยกย่องให้เป็น "the paradise of LGBT" หรือ ''สวรรค์ของเกย์ ชายรักชาย กะเทย คนข้ามเพศ ทอมดี้ หญิงรักหญิง และคนรักสองเพศ" ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการยอมรับเชิงสังคมวัฒนธรรมเป็นการยอมรับเชิงกฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกเพศในสังคมไทย
2.การเปลี่ยนคำนำหน้านามของคนข้ามเพศในเอกสารราชการไม่ได้เป็น "สิทธิพิเศษ" น้อยครั้งมากที่บุคคลที่นิยามตัวเองว่าชายหรือหญิงจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตนถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่อง "ตัวตนทางเพศ" ของตนเองจากเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ในต่างประเทศ) และบุคคลทั่วไป เพราะตัวตนทางเพศไม่ได้ดูขัดแย้งกับคำนำหน้านามในบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และเอกสารสำคัญทางราชการ ในทางตรงกันข้าม กะเทย และคนข้ามเพศจะต้องตอบคำถามจากคนอีกจำนวนมากถึงความเป็นเพศ ตัวตนทางเพศ และเนื้อตัวร่างกายของตน ดังนั้น การเปลี่ยนคำนำหน้านามของคนข้ามเพศจึงเป็นการคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นประชาชนคนหนึ่งในสังคมไทย ... การถูกตั้งคำถามถึงเรื่องเพศควรต้องมาพร้อมกับอำนาจในการตัดสินใจว่าสะดวกใจตอบหรือไม่ตอบ การถูกบังคับให้อธิบายความเป็นเพศของตนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะหลักการพื้นฐานทางสิทธิที่ว่า "All human beings are born free and equal in dignity and rights - มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความเป็นอิสระและเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ"
3. อาการกังวลว่าคนข้ามเพศจะไปหลอกคู่ของตัวเองว่าตนเป็นชายหรือหญิงจริงแท้เป็นอาการเกลียดกลัวคนข้ามเพศ (Transphobia) ซึ่งเกิดจากอคติเกี่ยวกับความเป็นเพศ และความเชื่อเรื่องเพศที่มีเพียงสองเพศคือ ชายและหญิง ที่ยึดโยงกับเพศสรีระมากกว่าการให้ความหมายเพศทางวัฒนธรรม ซึ่งไม่ควรนำมาเป็นประเด็นในการพิจารณาผ่านกฎหมายรับรองเพศสภาพของคนข้ามเพศ เพราะเอาเข้าจริงการโกหกและหลอกลวงเกิดกับคนทุกเพศ ไม่เว้นแม้แต่ชายหรือหญิง นอกจากนี้ความเป็นเพศอะไรก็ไม่ควรถูกมาใช้เป็นเครื่องพิสูจน์ความรักของคู่รัก และถ้าคิดในความเป็นจริงที่ว่าจะมีกะเทยซักกี่คนในประเทศไทยที่จะมีคนรอบข้างเพียง 1 คนไม่สามารถบอกได้ว่าเธอเป็นเพศอะไร และสุดท้ายทำไมเราจึงอยากรู้ว่าใครเป็นเพศอะไร มันช่วยให้ความสัมพันธ์ของเรากับคนคนนั้นดีขึ้นอย่างไรกัน สังคมไทยควรเรียนรู้ที่จะเคารพอำนาจการตัดสินใจของคนคนหนึ่งต่อความเป็นเพศของเขาเองโดยไม่ตั้งคำถามกลับ เพราะมันไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไร สุดท้ายจงอย่าลืมว่าอาการเกลียดกลัวคนข้ามเพศนี้เป็นทางเลือก เราเลือกที่จะเกลียดคนคนหนึ่งหรือไม่เกลียดคนคนหนึ่งจากอคติของเราเอง ... ส่วนการเกิดมาเป็นกะเทยหรือคนข้ามเพศนั้นเกิดขึ้นเอง กรณีเหล่านี้เป็นกรณีเดียวกับการที่คิดว่าชายไทยจะแปลงเพศเพื่อหนีทหาร หรือหนีความผิดทางกฎหมาย จงอย่าลืมว่า การเป็นกะเทยไม่ได้เป็นง่ายๆ ตื่นขึ้นมาเป็นกะเทยเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน
4. ชวนพูดเรื่องตัวบทกฎหมายบ้างว่าทำไมการเปลี่ยนคำนำหน้านามจึงไม่ควรเลือกปฏิบัติโดยการให้สิทธิคนที่ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศเพียงเท่านั้น ขอแบ่งเป็นข้อย่อยๆดังนี้
4.1 กะเทยและคนข้ามเพศจำนวนหนึ่งไม่ต้องการเปลี่ยนเพศ อวัยวะเพศไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องตัดสินความเป็นเพศ และการตัดสินใจเปลี่ยนเนื้อตัวร่างกายคือสิทธิของกะเทยและคนข้ามเพศ ฉะนั้นการตัดสินความเป็นเพศไม่ควรถูกทำผ่านวาทกรรมทางการแพทย์
4.2 การเข้าถึงศัลยกรรม การเปลี่ยนเพศ และการใช้ฮอร์โมน ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เงิน ดังนั้นกระบวนการทางการเปลี่ยนแปลงสรีระจึงจำกัดเพียงคนกลุ่มหนึ่งที่มีทุนทางสังคม และสามารถเข้าถึงกระบวนการดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง ... จงอย่าลืมว่ากะเทยและคนข้ามเพศจำนวนมากในประเทศที่ "ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ" ยังประสบปัญหาการหางาน การจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมจากนายจ้าง การเลือกปฎิบัติทางสังคม และการประสบปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้างในสังคมไทย ที่ทำให้กะเทยและคนข้ามเพศจำนวนมากมีรายได้น้อย หรือ มีรายได้ที่ต่ำกว่าระดับการศึกษาและความสามารถของตน ดังนั้นการที่จะใช้เงินเพื่อการเข้าถึงกระบวนการทางการแพทย์เพื่อเปลี่ยนแปลงสรีระจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับกะเทยและคนข้ามเพศที่ประสบปัญหาความยากจน และกะเทยชนชั้นแรงงาน
4.3 ระบบทางการแพทย์ และทุนนิยมทำให้การเข้าถึงกระบวนการทางการแพทย์สำหรับคนข้ามเพศเป็นเรื่องยาก และราคาแพง เนื่องจากการให้การบริการทางการแพทย์สำหรับคนข้ามเพศเป็นภาระของคนข้ามเพศเองที่จะรับผิดชอบต่อการหาข้อมูลและบริการ การเข้าสู่การบริการทางการแพทย์ และการรับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่เกิดจากการบริการที่ตนเลือก ภาระเหล่านี้สร้างความกังวลให้กับคนข้ามเพศ ปัดความรับผิดชอบที่ไม่เป็นธรรมให้กับคนข้ามเพศ และลดทางเลือกในการตัดสินใจในเรื่องสุขภาพของคนข้ามเพศคนหนึ่ง เช่น ตัดสินใจกินยาคุมกำเนิดแทนฮอร์โมนเพศโดยไม่ทราบผลข้างเคียง เพราะราคาถูกและเข้าถึงง่าย เป็นต้น ระบบสาธารณสุขไทยผลักภาระเหล่านี้ให้กับคนข้ามเพศ โดยไม่คำนึงถึงสิทธิของผู้รับบริการ ซึ่งแตกต่างกันกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีกฎหมายครอบคลุมการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อสุขภาพของคนข้ามเพศอย่างเท่าเทียม ที่รวมถึงการมีข้อมูลที่ครบถ้วนต่อการตัดสินใจในการรับบริการทางการแพทย์ และการมีระบบการรักษาที่มีมาตรฐาน ที่รวมการติดตามสถานะทางสุขภาพของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าประเทศไทยจะมีประชากรกะเทยและคนข้ามเพศจำนวนมาก ระบบสาธารณสุขไทยยังปฎิเสธการให้บริการทางการแพทย์กับคนกลุ่มนี้ ... ประเทศไทยมีแพทย์ที่สามารถทำการแปลงเพศ และทำศัลยกรรมจำนวนมาก การสร้างระบบบริการทางการแพทย์สำหรับคนข้ามเพศในระบบสาธารณสุขไทยจะเป็นการลดรายได้ของแพทย์กลุ่มนี้ นี้แหละคือความน่ากลัวของระบอบทุนนิยม
4.4 การเปลี่ยนเพศของชายข้ามเพศที่ต้องใช้เงินจำนวนมากกว่าการเปลี่ยนเพศของหญิงข้ามเพศ มีกระบวนการที่ซับซ้อน และต้องการระบบการติดตามทางสุขภาพของชายที่ผ่านการแปลงเพศที่มีประสิทธิภาพ (มากกว่าที่เป็นอยู่) ดังนั้นการเปลี่ยนเพศของชายข้ามเพศจึงมีข้อจำกัดจำนวนมาก และความเสี่ยงที่มากกว่า
การเปลี่ยนคำนำหน้านามทางกฎหมายเฉพาะคนแปลงเพศจึงต้องคิดอย่างถี่ถ้วนเพื่อครอบคลุมประเด็นเหล่านี้ที่กล่าวไปข้างต้น และสร้างให้กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่เป็นธรรม และไม่แบ่งแยกเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
5. กฎหมายเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศได้รับการพิจารณาและออกเป็นกฎหมายในหลายประเทศเช่น อังกฤษ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา บลาซิล อาร์เจนทิน่า และอีกหลายประเทศ ซึ่งกฎหมายนี้ในหลายประเทศไม่ได้จำกัดสิทธิการเปลี่ยนคำนำหน้านามเพียงชายหรือหญิงข้ามเพศที่ผ่านการแปลงเพศเท่านั้น แต่ครอบคลุมทุกคนที่นิยามเพศของตนต่างจากเพศกำเนิด โดยไม่ต้องผ่านการทำศัลยกรรม หรือกระบวนทางการแพทย์ในการเปลี่ยนสรีระ ฉะนั้นแนวคิดของการรับรองเพศใหม่ให้กับคนข้ามเพศจึงเป็นแนวคิดที่ปฏิบัติได้จริง และมีตัวอย่างจำนวนมาก ... คำถามสำคัญคือ ประเทศไทยพร้อมหรือยังที่จะผ่านกฎหมายการรับรองเพศสภาพกับกะเทยและคนข้ามเพศ หรือประเทศไทยจะรอจนกว่าประเทศอื่นๆมีกฎหมายนี้ และรอให้ประชาคมโลกรู้ว่า "the paradise of LGBT" เป็นเรื่องสร้างภาพสำหรับประเทศที่ระบอบทุนนิยมกำลังจะกลืนกินความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ และเผยเนื้อแท้แห่งอคติทางเพศ คอรัปชั่น และความอยุติธรรมในสังคมวัฒนธรรมที่ "หน้า" สำคัญกว่า "จิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์"
----------------
ที่มาและติดตามบทความอื่นๆได้ที่ blog http://katoeykatoey.blogspot.com/?view=magazine
จิ๋ม ซาร่า กะเทยไทยคนเเรก ที่ได้ใช้คำนำหน้า นางสาว กับชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย
บทความฉบับเต็ม
http://www.zubzip.co/41416/
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ผลักดันเปลี่ยนคำนำหน้านามตามเพศที่ใช้