🇹🇭🤘~มาลาริน~เช้าๆอากาศดีๆ..มารู้จักโครงการไทยนิยมยั่งยืนในรัฐบาลลุงตู่กันนะคะ

กระทู้คำถาม
เจาะรายละเอียด "โครงการไทยนิยม ยั่งยืน" คืออะไร ใครได้ประโยชน์ !


รู้จัก "โครงการไทยนิยม ยั่งยืน" แผนพัฒนาประเทศโครงการใหม่จากรัฐบาล สำคัญยังไง ช่วยเหลือเรื่องอะไรบ้าง แล้วจะแก้ปัญหาคนจนได้จริงหรือเปล่า !     

          เริ่มเดินหน้ากันไปแล้วสำหรับ "โครงการไทยนิยม ยั่งยืน" หลังจากที่นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศตั้งคณะทำงานของโครงการนี้ขึ้นมา พร้อมทุ่มงบเฉียดแสนล้าน เพื่อหวังให้เป็นโรดแมปสำคัญในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล คสช. จึงทำให้คนสนใจโครงการนี้เป็นอย่างมาก

          แต่แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนยังคงสงสัย คงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า แล้วชาวบ้านอย่างเรา ๆ จะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้ รวมถึงจะแก้ปัญหาความเดือดร้อนได้ยังไงบ้าง วันนี้ กระปุกดอทคอม จึงจะมาฉายภาพให้เห็นชัด ๆ ว่า "ไทยนิยม ยั่งยืน" คืออะไร ยังไง กันแน่ แล้วจะเป็นประโยชน์กับพวกเราจริงหรือเปล่า



โครงการไทยนิยม ยั่งยืน คืออะไร

          โครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ต่อยอดมาจากแนวคิด "โครงการประชารัฐ" ในการแก้ปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างยั่งยืน ในทุก ๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงความมั่นคง ซึ่งคอนเซ็ปต์ของไทยนิยม ยั่งยืน จะเป็นการจัดสรรงบประมาณลงไปในแต่ละพื้นที่อย่างเท่าเทียม ตามความต้องการของประชาชน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศ พร้อมกับให้ประชาชนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

          ด้วยเหตุนี้ จึงมีการตั้งกลุ่มคณะทำงานขึ้นมาใหม่ในชื่อ "คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน" เพื่อเข้าไปทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศ ด้วยการลงไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในแต่ละพื้นที่จริง ๆ ว่าต้องการอะไร แล้วนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้พ้นจากความยากจน


โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ช่วยเหลือเรื่องอะไรบ้าง

          โจทย์สำคัญเลยของโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ก็เพื่อพัฒนาใน 2 ด้านหลักไปพร้อม ๆ กัน คือ ด้านเศรษฐกิจ ในการดูแลปัญหาปากท้อง ความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น และด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งสิ่งที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์ จะอยู่ในแผนการดำเนินงาน 10 เรื่อง ดังนี้




  1. สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง : จะเป็นการสร้างความสามัคคีปรองดองของทุกฝ่าย โดยจัดให้ทำสัญญาประชาคม

          2. คนไทยไม่ทิ้งกัน : เป็นการต่อยอดโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน ให้ผู้ถือบัตรมีชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งพาตนเองได้

          3. ชุมชนอยู่ดีมีสุข : เป็นการพัฒนาความเป็นอยู่และอาชีพในชุมชนให้ดีขึ้น

          4. วิถีไทยวิถีพอเพียง : สร้างความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างวินัยการออม

          5. รู้สิทธิ รู้หน้าที่ : สร้างวินัย หน้าที่ ความเป็นพลเมืองที่ดี

          6. รู้กลไกการบริหารราชการ : ให้ความรู้และเข้าใจการบริหารงานราชการในระดับต่าง ๆ

          7. รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม : รณรงค์ "เกลียดการโกง" เสริมคุณธรรม ปราบปรามการทุจริต

          8. รู้เท่าทันเทคโนโลยี : พัฒนาโครงการอินเทอร์เน็ตหมูบ้าน ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง

          9. ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด : เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ 8,781 แห่งทั่วประเทศ เพื่อลดปัญหายาเสพติด

          10. งานตามภารกิจของส่วนราชการและหน่วยงานอื่น ๆ

          สำหรับเม็ดเงินที่จะกระจายสู่ระบบเศรษฐกิจทั้งหมด จากโครงการที่ดำเนินการคาดว่าจะสูงถึง 9.95 หมื่นล้านบาท มาจากการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก จำนวน 3.5 หมื่นล้านบาท การพัฒนาเชิงพื้นที่ ชุมชน การท่องเที่ยว และกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 3.45 หมื่นล้านบาท และการปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรจำนวน 3 หมื่นล้านบาท


โครงการไทยนิยม ยั่งยืน เริ่มเมื่อไหร่ ยังไง

          โครงการไทยนิยม ยั่งยืน จะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ช่วง คือ

          ช่วงแรก : รับฟังความคิดเห็น
          เริ่มลงพื้นที่ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 และจะทยอยรับฟังความคิดเห็นให้ครบทั่วประเทศ จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2561 โดยเน้นลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ปัญหาความเดือดร้อนเป็นรายครัวเรือน รายบุคคล

          ช่วงที่สอง : สร้างความรับรู้และปฏิบัติตามสัญญาประชาคม
          ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม จนถึง 10 เมษายน 2561 โดยจะเป็นการลงพื้นที่ไปสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน จากการเปิดรับฟังเสียงสะท้อนของคนในชุมชน แล้วกำหนดเป็นความตกลงของการอยู่ร่วมกัน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ

          ช่วงสุดท้าย : สร้างการรับรู้ ปรับความคิด เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
          เป็นการปรับความคิดของประชาชนในเรื่องต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เพื่อเดินหน้าพัฒนาไปพร้อมกัน โดยระหว่างวันที่ 11-30 เมษายน 2561 จะเป็นการสร้างการรับรู้ ปรับความคิดตามวิถีไทย วิถีพอเพียง และระหว่างวันที่ 1-20 พฤษภาคม 2561 จะเป็นการร่วมแก้ปัญหา รู้เท่าทันยาเสพติด


โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ต่างจากงานที่หน่วยงานภาครัฐดำเนินการอยู่แล้วยังไง

          แม้ว่าโครงการไทยนิยม ยั่งยืน จะคล้ายกับสิ่งที่หลาย ๆ หน่วยงานภาครัฐดำเนินการกันเป็นประจำอยู่แล้ว ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่าง ๆ แต่สิ่งที่ต่างจากโครงการทั่วไป คือ แนวทางดำเนินงานที่เน้นลงพื้นที่รับฟังความต้องการของประชาชนจริง ๆ โดยยึดเอาประชาชนที่มีปัญหา ได้รับความเดือดร้อนเป็นศูนย์กลาง จากนั้นถึงนำข้อมูลที่ได้ ไปประชุมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อออกนโยบายช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาได้ตรงจุดจริง ๆ  


          น่าสนใจว่า โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่เป็นเหมือนโรดแมปสำคัญของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ของประเทศ จะประสบความสำเร็จและขจัดปัญหาความยากจนได้อย่างที่หวังไว้หรือเปล่า เพราะเชื่อว่าหลายคนคงฝากความหวังไว้กับโครงการนี้กันไม่น้อยเลย


ภาพจาก โครงการไทยนิยม ยั่งยืน, สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์


https://money.kapook.com/view189009.html

มาดูช่วงแรกที่รัฐบาลเริ่มต้นนะคะ


มท.เร่งตีปี๊บ‘ไทยนิยม’ เผยปชช.เข้าร่วมแล้ว2.7หมื่นหมู่บ้าน3.2ล้านคน


4 มี.ค.61 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย(มท.) ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” กล่าวสรุปภาพรวมโครงการไทยนิยมฯ ว่า ขณะนี้ทีมขับเคลื่อนไทยนิยมฯระดับตำบลได้ลงพื้นที่ทำประชาคมหมู่บ้าน ชุมชนไปแล้วกว่า 2.7 หมื่นหมู่บ้าน/ชุมชน พบว่า การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ร่วมสะท้อนสภาพปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชน และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา โดยมีจำนวนพี่น้องประชาชนเข้าร่วมแล้วกว่า 3.2 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามโร้ดแมปไทยนิยมฯ ครั้งที่ 1 จะสิ้นสุดในวันที่ 20 มี.ค.นี้ ขอเชิญชวนประชาชนร่วมทำประชาคมหมู่บ้านชุมชนกับทีมขับเคลื่อนฯระดับตำบล เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการ บรรลุวัตถุประสงค์ มีความโปร่งใส และตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชน





http://www.naewna.com/politic/324449

ทบ.หนุนไทยนิยมยั่งยืนส่งทหารคุยปชช.พบมีปัญหาศก.หนี้สิน


กองทัพบก หนุน “ ไทยนิยม ยั่งยืน” ต่อเนื่อง พร้อมให้หน่วยทหารเก็บข้อมูลที่เป็นปัญหาของทุกพื้นที่ เพื่อช่วยผลักดันแก้ไขต่อไป



สำหรับในส่วนของกองทัพบก พล.อ. เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ได้ย้ำให้ทุกหน่วยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” โดยเฉพาะมณฑลทหารบกที่เป็นหน่วยทหารหลักในการรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงและดูแลพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นปัญหาในแต่ละพื้นที่ที่ประชาชนสะท้อนผ่านโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” เพื่อนำไปสู่การช่วยขับเคลื่อน ช่วยตรวจสอบ กำกับดูแล รวมทั้งร่วมกันคลี่คลายสะสางปัญหาเหล่านั้นกับหน่วยงานต่างๆให้หมดไปจากพื้นที่ ตามกระบวนการบริหารจัดการของภาครัฐ

นอกจากนี้ กองทัพบก ยังมอบหมายให้หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน นำนักศึกษาวิชาทหารที่สมัครใจ และเป็นบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์การปฏิบัติงานของทีมขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืนระดับตำบล ทีมละ 2 คนอีกด้วย

https://www.innnews.co.th/breaking-news/news_29332/


เมื่อวันที่ 26 ก.พ. เวลา 17.30 น. ที่กระทรวงมหาดไทย นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนว่า หลังจากเริ่มคิกออฟโครงการเมื่อวันที่ 21 ก.พ. ที่ผ่านมาทางกระทรวงได้ติดตามดูการขับเคลื่อนทีมของตำบล ซึ่งทุกทีมมีความกระตือรือร้น โดยลงพื้นที่ตลอดทั้งวันหยุดสุดสัปดาห์ ขณะที่ผู้บริหารจังหวัด ผู้บริหารส่วนอำเภอก็ให้ความสำคัญและลงติดตาม ตรวจเยี่ยมด้วยตัวเอง และได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนค่อนข้างดี และขณะนี้มีทีมตำบลลงพื้นที่ไปแล้วกว่า 15,000 หมู่บ้าน ประชาชนเข้าร่วมเวทีไทยนิยมยั่งยืนจำนวนกว่า1.8 ล้านคน มากกว่าที่ได้กำหนดไว้จากเดิมกำหนดหมู่บ้าน ชุมชนละ 100 คน แต่ปรากฎมีผู้เข้าร่วมเฉลี่ยประมาณ 130 คนต่อหมู่บ้าน ซึ่งบางหมู่บ้านมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน

นายบุญธรรม กล่าวว่า สำหรับสิ่งที่ประชาต้องการระหว่างลงพื้นที่นั้น ขณะนี้เราให้ทีมตำบลสรุปสิ่งที่ประชาชนต้องการส่งมาที่อำเภอ ซึ่งเรากำลังทำระบบ บันทึกผลอยู่ และคาดว่าในปลายสัปดาห์นี้จะทราบผลประมวลเบื้องต้นจากแต่ละพื้นที่ว่าประชาชนต้องการอะไร ซึ่งเมื่อทราบความต้องการของประชาชนแล้ว ถ้ามีแนวทางที่ตรงกับสิ่งที่กำหนดไว้ เช่น เป็นปัญหาที่ตรงกับกรอบของกองทุนหมู่บ้านก็จะเสนอให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านรับไปพิจารณา ถ้าสิ่งไหนตรงกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน กรรมการหมู่บ้านก็จะเสนอทำโครงการเสนอขอรับงบประมาณอุดหนุน ส่วนเรื่องที่ตรงกับเรื่องการเกษตรก็จะพิจารณาเข้าสู่กระทรวงเกษตรฯ โดยอำเภอจะเป็นคนวิเคราะห์ว่าแต่ละเรื่องจะส่งไปที่ใด จะไปอปท. หรืองบจังหวัดในการทำแผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งแต่ละปัญหาก็จะประมวลแล้วนำเสนอให้ผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับได้รับทราบตั้งแต่ระดับอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด จนถึงปลัดกระทรวง...

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/politics/629522




โครงการไทยนิยมเพิ่งเริ่มในขั้นรับฟังความคิดเห็น  

สร้างความตระหนักให้ประชาชนรู้จักวิเคราะห์ปัญหาในชุมชนของตัวเอง

เปิดใจให้ภาครัฐได้รับทราบเพื่อนำไปสู่นโยบายแก้ปัญหา

ขั้นตอนนี้เรียกว่า  การระดมความคิดนั่นเองค่ะ

ดิฉันคิดว่า...ให้ประชาชนคิดเองดีกว่ารัฐบาลคิดให้แน่นอน

ส่วนจะได้ผลอย่างไรต้องติดตามกันต่อไปนะคะ..✌✌✌✌✌✌


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่