ผมเห็นโครงการ “ธรรมยาตรา” ที่วัดธรรมกายจัดขึ้นในปีนี้ ทำให้เกิดความสงสัยว่ามันแตกต่างกันอย่างไรกับโครงการ “ธุดงค์ธรรมชัย” ในปีก่อนๆที่ผ่านมา
นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมเกิดความสงสัยไปจนถึงความแตกต่างระหว่างคำ 3 คำ คือ
ธรรมยาตรา
ธุดงค์
ธรรมจาริก
จากการไปถามอากู๋มา ได้ความหมายคร่าวๆ ของแต่ละคำดังนี้ครับ
ธุดงค์
เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก
การถือธุดงค์ตามความหมายในพระไตรปิฎกสามารถเลือกสมาทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการเดินถือกลด บาตร ไปที่ต่างๆ เช่น การอยู่ป่า (อรัญญิกังคะ), การอยู่ป่าช้า (โสสานิกังคะ) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความปลีกวิเวกปราศจากความวุ่นวายทางสังคม เพื่อมุ่งต่อการปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มงวด
ธุดงค์ เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่างๆ ไว้หลายพระสูตร รวมทั้งหมด 13 ข้อ
ในปัจจุบัน ธุดงค์ยังคงเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นที่นิยมของชาวพุทธเถรวาททั่วไปในหลายประเทศ โดยไ
ม่จำกัดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น คฤหัสถ์ทั่วไปก็ถือปฏิบัติได้บางข้อเช่นกัน
แต่ในประเทศไทย ถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดิน(จาริก)ของพระสงฆ์ไปยังที่ต่างๆ หรือเรียกว่า “การเดินธุดงค์” ซึ่งความหมายนี้แตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก
ธรรมจาริก
ธรรม หมายถึง ธรรมชาติ, สัจธรรม, สภาพที่ทรงไว้
จาริก หมายถึง ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อศาสนกิจ หรือแสวงบุญ
(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ธรรมจาริก จึงหมายถึง การท่องเที่ยวไปเพื่อสอนธรรมะแก่คนทั่วไป ซึ่งจะไปผู้เดียว หรือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปก็ได้
ธรรมยาตรา
ยาตรา หมายถึง เดิน, เดินเป็นกระบวน
(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ธรรมยาตรา จึงหมายถึง การดำเนินไปด้วยธรรม (มากกว่า 1คนขึ้นไป)
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า
การเดินธุดงค์ คือ ข้อควรปฏิบัติเพื่อกำจัดขัดเกลากิเลส ให้เป็นผู้มักน้อย อยู่ง่าย กินง่าย ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะแค่การถือกลดออกเดินจาริกไปยังป่าเขาเพื่อวิเวกของพระสงฆ์เท่านั้น แต่เป็นข้อปฏิบัติที่คฤหัสถ์ก็สามารถนำไปใช้เพื่อฝึกตนได้
ธรรมจาริก คือ การเดินทางไปเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ หรือ การเผยแผ่ธรรมให้แก่ประชาชนในที่ต่างๆ จะเดินทางไปผู้เดียว หรือไปเป็นหมู่คณะก็ได้
ธรรมยาตรา คือ การเดินทางไปเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ เป็นหมู่คณะ
กิจกรรมธรรมยาตรา ที่วัดพระธรรมกายจัดทำขึ้น ทำให้นึกไปถึง กิจกรรมธรรมยาตราลุ่มน้ำลำปะทาว ของท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ขึ้นมาทันที
กิจกรรมในครั้งนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านเกิดความตื่นตัวในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “ธรรมะ + ธรรมชาติ + ชีวิต” 3 สิ่งที่ต้องเกื้อกูลกันตลอดมา
ผมเข้าไปดูวีดีโอของโครงการนี้ รู้สึกว่าเป็นโครงการที่ดีโครงการหนึ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุน
สำหรับกิจกรรมธรรมยาตราในครั้งนี้ ผมจะขอหารายละเอียด และวัตถุประสงค์ที่จัดทำขึ้นมา ว่าพวกเราๆ (ชาวบ้าน , คนทั่วไป) จะได้ประโยชน์อะไรจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้
ไม่เป็นทั้งฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน แต่จะขอนำข้อเท็จจริงเท่าที่สามารถหาได้มาเล่าสู่กันฟัง
*** เพื่อนๆ สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้ครับ แต่ขอแบบสุภาพ มีเหตุผล ไม่กระแนะกระแหนนะครับ ***
ขอทิ้งท้ายไว้ ว่าสาเหตุที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพราะความสงสัยใคร่รู้ส่วนตัวจริงๆ ไม่มีเจตนาอื่น เพราะเห็นสื่อนำเสนอกันมาก (ความคิดแรกที่แวบขึ้นมา คือ
อาจกลบข่าวบางข่าวที่สำคัญกว่าหรือไม่อย่างไร ฮา พูดเล่นครับ)
ธรรมยาตรา ???
นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมเกิดความสงสัยไปจนถึงความแตกต่างระหว่างคำ 3 คำ คือ
ธรรมยาตรา
ธุดงค์
ธรรมจาริก
จากการไปถามอากู๋มา ได้ความหมายคร่าวๆ ของแต่ละคำดังนี้ครับ
ธุดงค์
เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก
การถือธุดงค์ตามความหมายในพระไตรปิฎกสามารถเลือกสมาทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการเดินถือกลด บาตร ไปที่ต่างๆ เช่น การอยู่ป่า (อรัญญิกังคะ), การอยู่ป่าช้า (โสสานิกังคะ) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความปลีกวิเวกปราศจากความวุ่นวายทางสังคม เพื่อมุ่งต่อการปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มงวด
ธุดงค์ เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่างๆ ไว้หลายพระสูตร รวมทั้งหมด 13 ข้อ
ในปัจจุบัน ธุดงค์ยังคงเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นที่นิยมของชาวพุทธเถรวาททั่วไปในหลายประเทศ โดยไม่จำกัดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น คฤหัสถ์ทั่วไปก็ถือปฏิบัติได้บางข้อเช่นกัน
แต่ในประเทศไทย ถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดิน(จาริก)ของพระสงฆ์ไปยังที่ต่างๆ หรือเรียกว่า “การเดินธุดงค์” ซึ่งความหมายนี้แตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก
ธรรมจาริก
ธรรม หมายถึง ธรรมชาติ, สัจธรรม, สภาพที่ทรงไว้
จาริก หมายถึง ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อศาสนกิจ หรือแสวงบุญ
(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ธรรมจาริก จึงหมายถึง การท่องเที่ยวไปเพื่อสอนธรรมะแก่คนทั่วไป ซึ่งจะไปผู้เดียว หรือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปก็ได้
ธรรมยาตรา
ยาตรา หมายถึง เดิน, เดินเป็นกระบวน
(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ธรรมยาตรา จึงหมายถึง การดำเนินไปด้วยธรรม (มากกว่า 1คนขึ้นไป)
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า
การเดินธุดงค์ คือ ข้อควรปฏิบัติเพื่อกำจัดขัดเกลากิเลส ให้เป็นผู้มักน้อย อยู่ง่าย กินง่าย ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะแค่การถือกลดออกเดินจาริกไปยังป่าเขาเพื่อวิเวกของพระสงฆ์เท่านั้น แต่เป็นข้อปฏิบัติที่คฤหัสถ์ก็สามารถนำไปใช้เพื่อฝึกตนได้
ธรรมจาริก คือ การเดินทางไปเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ หรือ การเผยแผ่ธรรมให้แก่ประชาชนในที่ต่างๆ จะเดินทางไปผู้เดียว หรือไปเป็นหมู่คณะก็ได้
ธรรมยาตรา คือ การเดินทางไปเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ เป็นหมู่คณะ
กิจกรรมธรรมยาตรา ที่วัดพระธรรมกายจัดทำขึ้น ทำให้นึกไปถึง กิจกรรมธรรมยาตราลุ่มน้ำลำปะทาว ของท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ขึ้นมาทันที
กิจกรรมในครั้งนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านเกิดความตื่นตัวในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “ธรรมะ + ธรรมชาติ + ชีวิต” 3 สิ่งที่ต้องเกื้อกูลกันตลอดมา
ผมเข้าไปดูวีดีโอของโครงการนี้ รู้สึกว่าเป็นโครงการที่ดีโครงการหนึ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุน
สำหรับกิจกรรมธรรมยาตราในครั้งนี้ ผมจะขอหารายละเอียด และวัตถุประสงค์ที่จัดทำขึ้นมา ว่าพวกเราๆ (ชาวบ้าน , คนทั่วไป) จะได้ประโยชน์อะไรจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้
ไม่เป็นทั้งฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน แต่จะขอนำข้อเท็จจริงเท่าที่สามารถหาได้มาเล่าสู่กันฟัง
*** เพื่อนๆ สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้ครับ แต่ขอแบบสุภาพ มีเหตุผล ไม่กระแนะกระแหนนะครับ ***
ขอทิ้งท้ายไว้ ว่าสาเหตุที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพราะความสงสัยใคร่รู้ส่วนตัวจริงๆ ไม่มีเจตนาอื่น เพราะเห็นสื่อนำเสนอกันมาก (ความคิดแรกที่แวบขึ้นมา คือ
อาจกลบข่าวบางข่าวที่สำคัญกว่าหรือไม่อย่างไร ฮา พูดเล่นครับ)