รายย่อย IFEC กว่า 130 รายรวมตัวร้องปอศ. สอบฐานบริษัท IFEC พร้อมยื่นแพทยสภา สอบฐานะวิชาชีพแพทย์
เมื่อเวลา 10.00 น. ผู้ถือหุ้นรายย่อยบมจ. อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น หรือ IFEC กว่า 130 รายได้รวมตัวยื่นหนังต่อพล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ผู้บัญชาการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ(ปอศ.) เพื่อขอให้ตรวจสอบบริษัท IFEC นายแพทย์วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการ IFEC เพราะกรรมการและผู้บริหาร IFEC กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทและผู้ถือหุ้นกว่า 30,000 ราย ได้รับความเสียหายและยังสร้างความเสียหายเกิดขึ้นกับตลาดเงนิและตลาดทุนของประเทศด้วย
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท IFEC เรียกร้องให้ปอศ. พิจารณาตรวจสอบเส้นทางการเงินของกลุ่มผู้บริหารชุดปัจจุบัน กลุ่มทนายความ และ ผู้รับเหมาให้กับ IFEC และบริษัทย่อยในการดำเนินการฟ้องร้องต่างๆด้วย เช่นกรณีการจ่ายค่าที่ ปรึกษาสูงเกินจริง ค่าฟ้องร้องต่างๆ เช่นกับบริษัทดาราเทวี ซึ่งทราบว่าคืทำคดีสูงกว่าราคา มาตรฐานของทนายความทั่วไป และขอให้ดำเนินการตรวจสอบบริษัทและดำเนิการสืบสอบจากการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. ทั้ง 2 ครั้งรวมถึงต้องการให้บริษัทจัดการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกกรรมการมาดำเนินการบริหารงาน บริษัทต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559 กรรมการ IFEC ขอลาออกไปทำให้กรรมการเหลือไม่ครบเป็นองค์ประชุม ตามพ.ร.บ.บริษัทมหาชน แต่กรรมการชุดดังกล่าวได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น 2 ครั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 และวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 เพื่อเลือกรกรมการใหม่ ถือว่าผิดข้อบังคับในการลงคะแนน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้พิจารณาแล้วว่า การเลือกตั้งกรรมการทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวผิดข้อบังคับและไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ ทำให้คณะกรรมการบริษัทเหลือไม่ถึงจำนวนที่สามารถปฏิบัติติงานได้ แต่กรรมการที่เหลืออยู่ไม่ได้จัดให้มีการเลือกตั้งและไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ตลาดหลักทรัพย์และ ก.ล.ต.กำหนด และทำให้หุ้นของบริษัทไม่สามารถกลับมาซื้อขายได้
ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ได้ขึ้นเครื่องหมาย SP เพื่อห้ามซื้อขายหุ้นตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2560
ปัจจุบันบริษัทตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบุคคลที่ไม่มีหุ้น หรือไม่มีส่วนได้เสียต่อบริษัทและสร้างความเสียหายต่อบริษัทมาโดยตลอด เช่น นายศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์ นายฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ พลตรีบุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ และขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ IFEC นายแพทย์วิชัย ได้ร้องต่อศาลแพ่งว่า บริษัทฯ ถูกหลอกให้ซื้อโรงแรมดาราเทวี และมีหนีปลอมเกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งคู่กรณีได้ฟ้องหมิ่นประมาทต่อนายวิชัยและศาลได้ตัดสินคดีแล้วว่า นายวิชัยผิดจริง และให้นายวิชัยจ่ายค่าปรับในนาม ของบริษัทเป็นเงิน หนึ่งล้านบาทสร้างความเสียหายต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น
นอกจากนั้น ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้รับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ว่า กระทรวงพานิชย์ ได้เข้าไปตรวจสอบบริษัทและได้แจ้งผลการตรวจสอบออกมาว่า ในเดือนธันวาคม 2560 บริษัทได้ใช้จ่ายค่าที่ปรึกษาสูง ถึง 92 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินจริงมาก ผู้ถือหุ้นรายย่อยกังวลว่า คณะกรรมการบริษัทกำลังกระทำการอันไม่สุจริตต่อบริษัท
ซึ่งเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษนายวิชัยต่อ ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินตามกฎหมาย ซึ่งการถูกกล่าวโทษทำให้นายวิชัยเข้าข่ายมีลักษณะขาด ความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการและผบู้ริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียนและเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ก.ล.ต. กล่าวโทษเพิ่มเติมนายแพทย์วิชัยไม่ดำเนินการให้บริษัทตอบประเด็นที่ตลาดหลักทรัพย์ฯสอบถามเรื่องการผิดนัดชำระหนีต๋วแลกเงิน(B/E) จนเป็นเหตุให้หุ้น IFEC ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP ไปตั้งแต่ วันที่ 12 มกราคม
และเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ตลท.ได้แจ้งว่า IFEC จัดอยู่ ในข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ผู้ถือหู้นรายย่อยมีความกังวลต่อกรณีดังกล่าวอย่างมาก ซึ่งบริษัทพยายามมีเจตนาไม่จัดประชุมผู้ถือหนุ้ โดยพยามอ้างเหตุผลว่า บริษัทขาดประธาน แต่ตามมาตรา 83 พ.ร.บ. มหาชนได้ระบุเอาไว้แล้วว่า กรรมการที่เหลืออยู่สามารถจัดประชุมได้
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ผู้ถือหุ้นลุยหมอวิชัย ร้องตำรวจเศรษฐกิจและแพทยสภา จากฐานเศรษฐกิจ IFEC
เมื่อเวลา 10.00 น. ผู้ถือหุ้นรายย่อยบมจ. อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น หรือ IFEC กว่า 130 รายได้รวมตัวยื่นหนังต่อพล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ผู้บัญชาการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ(ปอศ.) เพื่อขอให้ตรวจสอบบริษัท IFEC นายแพทย์วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการ IFEC เพราะกรรมการและผู้บริหาร IFEC กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทและผู้ถือหุ้นกว่า 30,000 ราย ได้รับความเสียหายและยังสร้างความเสียหายเกิดขึ้นกับตลาดเงนิและตลาดทุนของประเทศด้วย
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท IFEC เรียกร้องให้ปอศ. พิจารณาตรวจสอบเส้นทางการเงินของกลุ่มผู้บริหารชุดปัจจุบัน กลุ่มทนายความ และ ผู้รับเหมาให้กับ IFEC และบริษัทย่อยในการดำเนินการฟ้องร้องต่างๆด้วย เช่นกรณีการจ่ายค่าที่ ปรึกษาสูงเกินจริง ค่าฟ้องร้องต่างๆ เช่นกับบริษัทดาราเทวี ซึ่งทราบว่าคืทำคดีสูงกว่าราคา มาตรฐานของทนายความทั่วไป และขอให้ดำเนินการตรวจสอบบริษัทและดำเนิการสืบสอบจากการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. ทั้ง 2 ครั้งรวมถึงต้องการให้บริษัทจัดการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกกรรมการมาดำเนินการบริหารงาน บริษัทต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559 กรรมการ IFEC ขอลาออกไปทำให้กรรมการเหลือไม่ครบเป็นองค์ประชุม ตามพ.ร.บ.บริษัทมหาชน แต่กรรมการชุดดังกล่าวได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น 2 ครั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 และวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 เพื่อเลือกรกรมการใหม่ ถือว่าผิดข้อบังคับในการลงคะแนน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้พิจารณาแล้วว่า การเลือกตั้งกรรมการทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวผิดข้อบังคับและไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ ทำให้คณะกรรมการบริษัทเหลือไม่ถึงจำนวนที่สามารถปฏิบัติติงานได้ แต่กรรมการที่เหลืออยู่ไม่ได้จัดให้มีการเลือกตั้งและไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ตลาดหลักทรัพย์และ ก.ล.ต.กำหนด และทำให้หุ้นของบริษัทไม่สามารถกลับมาซื้อขายได้
ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ได้ขึ้นเครื่องหมาย SP เพื่อห้ามซื้อขายหุ้นตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2560
ปัจจุบันบริษัทตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบุคคลที่ไม่มีหุ้น หรือไม่มีส่วนได้เสียต่อบริษัทและสร้างความเสียหายต่อบริษัทมาโดยตลอด เช่น นายศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์ นายฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ พลตรีบุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ และขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ IFEC นายแพทย์วิชัย ได้ร้องต่อศาลแพ่งว่า บริษัทฯ ถูกหลอกให้ซื้อโรงแรมดาราเทวี และมีหนีปลอมเกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งคู่กรณีได้ฟ้องหมิ่นประมาทต่อนายวิชัยและศาลได้ตัดสินคดีแล้วว่า นายวิชัยผิดจริง และให้นายวิชัยจ่ายค่าปรับในนาม ของบริษัทเป็นเงิน หนึ่งล้านบาทสร้างความเสียหายต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น
นอกจากนั้น ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้รับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ว่า กระทรวงพานิชย์ ได้เข้าไปตรวจสอบบริษัทและได้แจ้งผลการตรวจสอบออกมาว่า ในเดือนธันวาคม 2560 บริษัทได้ใช้จ่ายค่าที่ปรึกษาสูง ถึง 92 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินจริงมาก ผู้ถือหุ้นรายย่อยกังวลว่า คณะกรรมการบริษัทกำลังกระทำการอันไม่สุจริตต่อบริษัท
ซึ่งเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษนายวิชัยต่อ ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินตามกฎหมาย ซึ่งการถูกกล่าวโทษทำให้นายวิชัยเข้าข่ายมีลักษณะขาด ความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการและผบู้ริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียนและเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ก.ล.ต. กล่าวโทษเพิ่มเติมนายแพทย์วิชัยไม่ดำเนินการให้บริษัทตอบประเด็นที่ตลาดหลักทรัพย์ฯสอบถามเรื่องการผิดนัดชำระหนีต๋วแลกเงิน(B/E) จนเป็นเหตุให้หุ้น IFEC ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP ไปตั้งแต่ วันที่ 12 มกราคม
และเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ตลท.ได้แจ้งว่า IFEC จัดอยู่ ในข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ผู้ถือหู้นรายย่อยมีความกังวลต่อกรณีดังกล่าวอย่างมาก ซึ่งบริษัทพยายามมีเจตนาไม่จัดประชุมผู้ถือหนุ้ โดยพยามอ้างเหตุผลว่า บริษัทขาดประธาน แต่ตามมาตรา 83 พ.ร.บ. มหาชนได้ระบุเอาไว้แล้วว่า กรรมการที่เหลืออยู่สามารถจัดประชุมได้
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ