ดาวฤกษ์ที่ถูกดูดลงไปในหลุมดำ ปริมาตรจะถูกบีบอัดจนเป็นศูนย์ใช่ไหมครับ

พอดีสงสัยเลยเข้าไปอ่านใน วิกิพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B3
ภาวะเอกฐาน
ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในบริเวณใจกลางหลุมดำทรงกลมนั้นจะมีเอกภาวะกาลอวกาศอยู่ นั่นหมายถึงสุดโค้งของกาลอวกาศ หมายความว่าจากจุดที่ผู้สังเกตที่กำลังจะเข้าสู่หลุมดำ ที่เวลาหนึ่งที่กำลังจะข้ามผ่านจุดนั้นไป หลุมดำจะกลายมาถูกกดอัดเข้าสู่บริเวณที่ปริมาตรเป็นศูนย์ ดังนั้นความหนาแน่นอนันต์ ที่ปริมาตรศูนย์นี้ บริเวณที่มีความหนาแน่นไม่สิ้นสุดจะอยู่บริเวณใจกลางหลุมดำพอดีเรียก เอกภาวะความโน้มถ่วง

นั้นหมายความว่า ดาวฤกษ์ในคลิปนี้ ที่ถูกดูดลงไปในหลุมดำ ปริมาตรของดาวจะเกิดการบีบอัดตัวจนหายไปในที่สุดใช่ไหมครับ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ส่วนมวลของดาวฤกษ์ดวงนี้ส่วนใหญ่ก็จะไปรวมกับมวลของหลุมดำทำให้มวลของหลุมดำเพิมขึ้นใช่ไหมครับ และมีมวลบางส่วนหายไปเพราะแปรสภาพเป็นพลังงานที่เห็นได้จากแดงตกค้างที่เหมือนหางของดาวนั้นใช่ไหมครับ

ผมสงสัยต่อว่า แกนกลางของดาวฤกษ์ก่อนที่จะระเบิดและยุบตัวเป็นหลุมดำหรือดาวนิวตรอน มันคือธาตุหรือโลหะชนิดใด ทำไมมันถึงมีพันธะทางเคมีหรือมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมมากบีบอัดกันถึงขนาดเหลือเฉพาะแกนนิวเคลียส ยิ่งดาวที่มีมวลมากๆที่ยุบตัวเป็นหลุมดำ มันถูกบีบอัดจนปริมาตรหายไปและเกิดเป็นความโน้มถ่วงมหาศาล อะไรที่ทำให้มันเป็นแบบนั้น ในเมื่อพลังงานทั้งหมดของดาวถูกใช้ในการปฏิกิริยาฟิวชั่นไปหมดแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่