ประวัติ ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์) บุพเพสันนิวาส “ราชินีแห่งขนมไทย”
https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/104465.html
บุพเพสันนิวาส ละครแนวพีเรียด คอมเมดี้ ที่กำลังมาแรง นอกจากความสนุกก็ยังมีในเรื่องของประวัติศาสตร์ที่สอดแทรกสาระความรู้ด้วยนะคะ แคมปัส-สตาร์ ขอนำเรื่องราวของ ท้าวทองกีบม้า หรือตัวละครที่ชื่อ มารี กีมาร์ ในละคร บุพเพสันนิวาส (รับบทโดย ซูซี่-สุษิรา แอนจิลีน่า) มาให้ทุกคนได้อ่านเป็นความรู้กันค่ะ ในอดีตมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า มารี เธอรับราชการในห้องเครื่องต้น และได้เป็นผู้คิดประดิษฐ์ขนมไทยขึ้นมา อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน และหม้อแกง ขึ้นมา จนได้รับได้รับฉายา”ราชินีแห่งขนมไทย”
ประวัติ ท้าวทองกีบม้า ชีวิตรุ่งโรจน์ และตกอับ
ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ จากในละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ในอดีตมีเรื่องเล่าว่า เธอมีตัวตนจริงๆ และเป็นที่รู้จักจากการที่เธอได้รับหน้าที่ เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขนมไทยที่เรารู้จักกันดีเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ขนมหม้อแกง ก็ได้เธอผู้นี่แหละที่เป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นมา
ประวัติ ท้าวทองกีบม้า
คำว่า ท้าวทองกีบม้า คือตำแหน่งหน้าที่การงานในพระราชสำนักตามพระไอยการ และชื่อ มารี กีมาร์ ก็เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ชอบเรียก แต่จริงๆ แล้วเธอมีชื่อจริงว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha) อ่านชื่อก็น่าจะพอเดากันออกว่าเธอไม่ใช่คนไทยแท้ๆ ครอบครัวของมารี เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส และยังมีเชื้อสาย เบงกอล และญี่ปุ่น ร่วมด้วย โดยเธอเป็นลูกคนโตของคุณพ่อ ฟานิก กูโยมาร์ (Fanik Guyomar) ซึ่งมีเชื้อสายโปรตุเกส, ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสในเมืองกัว และมีคุณแม่ชื่ออูร์ซูลา ยะมะดะ (Ursula Yamada) ผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่น
ชีวิตแต่งงานเริ่มตอนอายุ 16
ภาพประกอบจาก ละครบุพเพสันนิวาส IG: susiroo
มารี กีมาร์ได้สมรสตอนอายุ 16 ปี กับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน (ในเรื่องบุพเพสันนิวาส รับบทโดย หลุยส์ สก็อต) เขาเป็นขุนนางชาวกรีกที่ทำราชการในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และว่ากันว่าเป็นคนโปรดของพระรายณ์ด้วย สำหรับการสมรสของมารี ในตอนแรกคุณพ่อของเธอไม่พอใจนัก เพราะรู้ถึงพฤติกรรมของลูกเขยที่หลงลาภยศสรรเสริญ และมักในโลกีย์ หรือเจ้าชู้นั่นเอง ทางลูกเขย หรือฟอลคอนจึงแสดงความจริงใจด้วยการยอมละนิกายแองกลิคันที่ตนนับถือ และเปลี่ยนเป็นนิกายโรมันคาทอลิกตามมารี คุณพ่อจึงยินยอม และได้แต่งงานกันในที่สุด
หลังจากแต่งงานแรกๆ ทั้งคู่ก็ใช้ชีวิตด้วยความสุขเป็นอย่างดี ตัวมารีเองถึงแม้สามีจะมียศใหญ่เชิดหน้าชูตาได้ แต่เธอก็ทำตัวธรรมดา ไม่ได้อวดร่ำรวยแต่อย่างใด และยังมีน้ำใจเผื่อแผ่เมตตาช่วยเหลือผู้คนมากมาย โดยเฉพาะเด็กๆ เธอและสามียังอุปถัมภ์เข้ารีตกว่า 120 คน พร้อมกันนั้นด้วยความที่เป็นคนเคร่งศาสนาจึงไม่ลืมที่จะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปด้วย สามีของเธอก็ดูปลื้มใจปลื้มปีติ โดยอ้างอิงได้จาก ในงานบันทึกของบาทหลวงเดอ แบซ ได้กล่าวถึงพฤติกรรมท้าวทองกีบม้าหลังการสมรสกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ความว่า
“…เขา (เจ้าพระยาวิชเยนทร์])ได้รับความชุ่มชื่นใจจากความเลื่อมใสศรัทธาและความกระตือรือร้นในพระศาสนาของภรรยาเป็นที่ยิ่ง จึงทำให้บ้านเรือนของเขานั้นเปรียบเสมือนว่าเป็นบ่อแห่งคุณธรรมความดีและพระศาสนา จนแทบกล่าวได้ว่า เป็นโรงธรรมยิ่งกว่าจะเป็นทำเนียบของขุนนางผู้ใหญ่ในแผ่นดินเสียอีก…”
ชีวิตคู่เริ่มไม่ราบรื่น
ท้าวทองกีบม้า และเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ครองรักกันมาจน มีบุตรด้วยกัน 2 คือ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) และ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantin Phaulkon) จริงๆ แล้วก่อนหน้าที่มารีจะแต่งงาน ฟอลคอนเคยมีบุตรสาวมาแล้วมาแล้วหนึ่งคน ที่เกิดกับหญิงชาววัง ซึ่งได้รับพระราชทานจากกรมหลวงโยธาเทพเพื่อผูกมัดฟอลคอนไว้กับราชสำนัก หลังมารีสมรสจึงส่งหญิงผู้เคยเป็นเมียของสามีเธอไปเมืองพิษณุโลก และแสดงน้ำใจด้วยการนำบุตรของหญิงผู้นั้นมาเลี้ยงเองเป็นอย่างดี อาจดูเหมือนชีวิตความรักของมารีน่าจะราบรื่นมีความสุข แต่จริงๆ แล้วไม่ ด้วยเพราะเหตุที่สามี เป็นคนมีนิสัยเจ้าชู้ ได้แอบไปนอกใจมารี ไปมีสัมพันธ์สวาทกับ คลารา (Clara) นางทาสชาวจีนในอุปการะของมารีเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เธอรู้สึกไม่พอใจ และไม่อยู่ร่วมกัยสามีอีก จึงขนข้าวของ และผู้คนจากลพบุรีกลับไปที่กรุงศรีอยุธยามาแล้วครั้งหนึ่ง
วันที่ชีวิตตกอับก็มาถึง
เจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นสามีของมารี ถูกตัดสินประหารชีวิต และริบราชบาตรหลังเกิดจลาจลก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพียงไม่กี่วัน ขณะที่เจ้าพระยาวิชเยนทร์กำลังจะถูกประหารนั้น บางบันทึกระบุว่า “นางเศร้าโศกร่ำไห้ปิ่มว่าจะขาดใจ” บ้างก็ว่า นางมิได้ร่ำไห้ให้สามีแม้แต่น้อย แต่นางกลับถ่มน้ำลายรดหน้าสามี และไม่ยอมให้จูบลาลูก บาทหลวงอาร์ตุส เดอ ลียอน ที่เข้ามาเผยแผ่พระศาสนาในช่วงนั้น ได้ระบุเหตุการณ์ การจัดการทรัพย์สินของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ดังกล่าวว่า
“…วันที่ 30 พฤษภาคม เขาได้เรียกตราประจำตำแหน่งของสามีนางคืนไป วันที่ 31 ริบอาวุธ เอกสาร และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย วันต่อมาได้ตีตราประตูห้องหับทั่วทุกแห่งแล้วจัดยามมาเฝ้าไว้ วันที่ 2 มิถุนายน ขุนนางผู้หนึ่งนำไพร่ 100 คนมาขนเงิน เครื่องแต่งบ้านและจินดาภรณ์ไป…”
แต่กระนั้นเธอยังลอบแบ่งทรัพย์สินและเครื่องเพชรออกเป็นสามกล่อง สองกล่องแรกไว้กับบาทหลวงเยสุอิต ส่วนอีกกล่องเธอฝากไว้ที่ทหารฝรั่งเศสชั้นนายร้อยไป แต่บาทหลวงเยสุอิตเกรงจะไม่ปลอดภัยจึงฝากไว้กับนายพันโบช็อง แต่เมื่อทั้งบาทหลวงและนายพันโบช็องมาถึงบางกอก นายพลเดฟาร์ฌ จึงเก็บทรัพย์สินทั้งหมดไว้เอง ครั้นเมื่อถึงเวลาคืนทรัพย์สินของฟอลคอนแก่ออกญาโกษาธิบดีผู้แทนของไทย “ทรัพย์สินที่คงเหลือมีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น” จึงทำให้มารีอาสิ้นเนื้อประดาตัว ประสบเคราะห์กรรมและความทุกข์อย่างสาหัส ทั้งยังต้องทนทุกข์เวทนากับคุมขัง ดังปรากฏในบันทึกของบาทหลวงเดอ แบซ ความว่า
“…สุภาพสตรีผู้น่าสงสารผู้นั้น ถูกโยนเข้าไปขังไว้ในโรงม้าอันคลุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ไม่มีข้าวของติดตัวไปเลย มีแต่ฟากสำหรับนอนเท่านั้น”
โชคดีในโชคร้ายได้ไม่ทันไร
ช่วงเวลาที่นางถูกคุมขัง ก็ยังได้รับการช่วยเหลือจกาผู้คุมที่นางเคยได้รับการอุปการะเอื้อเฟื้อ ถือเป็นความโชคดีในโชคร้ายไม่ทันไร นางก็ต้องเจอกับเหตุการณ์แย่ๆ อีกแล้ว เมื่อหลวงสรศักดิ์พระโอรสในสมเด็จพระเพทราชาพระเจ้าแผ่นดินใหม่ มีพระประสงค์ที่จะนำนางไปเป็นภริยา เมื่อไม่สมดั่งใจประสงค์ก็เกิดความเกลียดและขู่อาฆาต ดังปรากฏในพงศาวดารว่า
“…ฝ่ายภรรยาฟอลคอน ได้ถูกรังแกข่มเหงต่าง ๆ บุตรพระเพทราชาก็เกลียดนัก ด้วยบุตรพระเพทราชาได้ไปเกี้ยวภรรยาฟอลคอน แต่ภรรยาฟอลคอนไม่ยอม บุตรพระเพทราชาจึงเกลียดและขู่จะทำร้ายต่าง ๆ”
ตลอดเวลาทุกข์ลำบากนี้ นางพยายามหาทุกวิถีทางที่จะติดต่อกับชาวฝรั่งเศส เพื่อขอออกไปจากแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา นายพลเดฟาร์ฌที่ประจำการที่ป้อมวิไชยเยนทร์ที่บางกอกได้ให้สัญญากับนางว่าจะพาออกไปพ้นกรุงสยาม แต่นายพลเดฟาร์ฌได้บิดพลิ้วต่อนาง
มารี รับบทโดย ซูซี่-สุษิรา แอนจิลีน่า/ ภาพประกอบจาก ละครบุพเพสันนิวาส/ IG: susiroo
การรับราชการท้าวทองกีบม้า และบั้นปลายชีวิต
มาดามฟอลคอน หรือมารีอา ได้เขียนจดหมายส่งไปยังบิชอป (Bishop)ฝรั่งเศส ในประเทศจีนเมื่อปี พ.ศ. 2249 (บิชอป หรือมุขนายก หรือเรียกว่า กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถาน เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต์)
จุดประสงค์การเขียนจดหมายไปเพราะต้องการขอให้บาทหลวงกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บังคับให้รัฐบาลฝรั่งเศสส่งส่วนแบ่งรายได้ของบริษัทฝรั่งเศสที่สามีเคยเป็นผู้อำนวยการแก่นางบ้าง และพรรณนาความทุกข์ยากลำบากของนาง ความว่า
“…พระผู้เป็นเจ้าจะไม่พิศวงในเวรกรรมและภาวะของข้าพเจ้าในขณะบ้างละหรือ ตัวข้าพเจ้านั้นหรือ เมื่อก่อนจะไปในที่ประชุมชนแห่งใดในกรุงศรีอยุธยาก็ไปเช่นพระราชินี ข้าพเจ้าได้เคยรับพระมหากรุณาโดยเฉพาะโดยเอนกประการจากสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน บรรดาเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวงก็นับถือไว้หน้า ตลอดจนไพร่ฟ้าประชาชนทั้งหลายก็รักใคร่ ต้องทำงานถวายตรากตรำด้วยความเหนื่อยยากและระกำช้ำใจ มืดมนอนธการไปด้วยความทุกข์ยาก ตั้งหน้าแต่จะคอยว่าเมื่อใดพระเจ้าจะโปรดให้ได้รับแสงสว่างบ้าง ตอนกลางคืนนางก็ไม่มีที่พิเศษอย่างใด คงแอบพักนอนที่มุมห้องพระเครื่องต้น บนดินที่ชื้น ต้องคอยระวังเฝ้ารักษาเฝ้าห้องเครื่องต้น…”
จากจดหมายดังกล่าวก็จะพบว่า ขณะนี้นางได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานเครื่องต้นในวังแล้ว สอดคล้องกับ จดหมายเหตุฝรั่งเศสโบราณ ที่บันทึกการปฏิบัติหน้าที่ในห้องเครื่องต้นของนาง ความว่า
“…ภรรยา (ของนายคอนสแตนติน) เป็นท้าวทองกีบม้าได้เป็นผู้กำกับการชาวเครื่องพนักงานหวาน ท่านท้าวทองกีบม้าผุ้นี้เป็นต้นสั่งสอนให้ชาวสยามทำของหวานคือขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอด ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมขิง ขนมไข่เต่า ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง และสังขยา”
ในบันทึกของเมอซีเยอโชมง (คนละท่านกับเชอวาลีเยเดอโชมง) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในปี พ.ศ. 2262-2267 ได้ให้ข้อมูลว่า หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าเสือ ชีวิตของมาดามฟอลคอนได้กลับมาดีขึ้นโดยลำดับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดเกล้าให้มาดามฟอลคอนเข้ามารับราชการฝ่ายใน โดยไว้วางพระราชหฤทัยให้นางดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง และเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และมีสตรีในบังคับบัญชากว่า 2,000 คน ทั้งนี้ท้าวทองกีบม้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต คืนเงินสู่ท้องพระคลังปีละครั้งมากๆ ทุกปี จนเป็นที่โปรดปรานในองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้งจอร์จ บุตรชายของเธอที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดไว้ใกล้ชิดพระองค์ ดังปรากฏจากบันทึกของเมอซีเยอโชมง ความว่า
“…พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งให้หาจอร์จ บุตรของเมอซีเยอกงส์ต็องส์ แล้วโปรดให้แต่งตัวอย่างดี ๆ และรับสั่งให้นายจอร์จเรียนภาษาไทยเสียให้รู้ ได้โปรดให้เอานายจอร์จไว้ใช้ใกล้ชิดพระองค์ และได้โปรดเป็นครูด้วยพระองค์เอง สอนภาษาไทยให้แก่นายจอร์จ…”
จากความเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดปรานบุตรคนโตของนางมาก ส่วนบุตรคนเล็กคือ คอนสแตนติน ได้สนองพระเดชพระคุณสร้างออร์แกนเยอรมันถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จากหลักฐานของมิชชันนารีฝรั่งเศส คอนสแตนตินถูกเรียกว่า ราชมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของชุมชนคริสตัง
ในปี พ.ศ. 2260 รัฐบาลฝรั่งเศสได้มีมติอนุมัติให้ส่งเงินรายได้ที่เป็นของฟอลคอนแก่นางมารี ตามที่นางขอร้องในจดหมายที่เคยส่งไปมาให้ที่สุด หลังพ้นจากวิบากกรรมอันเลวร้าย ท้าวทองกีบม้าได้ใช้เวลาแห่งบั้นปลายชีวิตที่เหลือด้วยการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดโดยพำนักอยู่กับลูกสะใภ้ที่ชื่อ ลุยซา ปัสซัญญา (Louisa Passagna) ภริยาม่ายของคอนสแตนติน และได้ถึงแก่มรณกรรมในปี พ.ศ. 2265
ประวัติ ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์) บุพเพสันนิวาส “ราชินีแห่งขนมไทย” อยากให้ช่อง3 นำมาต่อยอดสร้างเป็นละคร ค่ะ
https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/104465.html
บุพเพสันนิวาส ละครแนวพีเรียด คอมเมดี้ ที่กำลังมาแรง นอกจากความสนุกก็ยังมีในเรื่องของประวัติศาสตร์ที่สอดแทรกสาระความรู้ด้วยนะคะ แคมปัส-สตาร์ ขอนำเรื่องราวของ ท้าวทองกีบม้า หรือตัวละครที่ชื่อ มารี กีมาร์ ในละคร บุพเพสันนิวาส (รับบทโดย ซูซี่-สุษิรา แอนจิลีน่า) มาให้ทุกคนได้อ่านเป็นความรู้กันค่ะ ในอดีตมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า มารี เธอรับราชการในห้องเครื่องต้น และได้เป็นผู้คิดประดิษฐ์ขนมไทยขึ้นมา อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน และหม้อแกง ขึ้นมา จนได้รับได้รับฉายา”ราชินีแห่งขนมไทย”
ประวัติ ท้าวทองกีบม้า ชีวิตรุ่งโรจน์ และตกอับ
ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ จากในละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ในอดีตมีเรื่องเล่าว่า เธอมีตัวตนจริงๆ และเป็นที่รู้จักจากการที่เธอได้รับหน้าที่ เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขนมไทยที่เรารู้จักกันดีเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ขนมหม้อแกง ก็ได้เธอผู้นี่แหละที่เป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นมา
ประวัติ ท้าวทองกีบม้า
คำว่า ท้าวทองกีบม้า คือตำแหน่งหน้าที่การงานในพระราชสำนักตามพระไอยการ และชื่อ มารี กีมาร์ ก็เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ชอบเรียก แต่จริงๆ แล้วเธอมีชื่อจริงว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha) อ่านชื่อก็น่าจะพอเดากันออกว่าเธอไม่ใช่คนไทยแท้ๆ ครอบครัวของมารี เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส และยังมีเชื้อสาย เบงกอล และญี่ปุ่น ร่วมด้วย โดยเธอเป็นลูกคนโตของคุณพ่อ ฟานิก กูโยมาร์ (Fanik Guyomar) ซึ่งมีเชื้อสายโปรตุเกส, ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสในเมืองกัว และมีคุณแม่ชื่ออูร์ซูลา ยะมะดะ (Ursula Yamada) ผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่น
ชีวิตแต่งงานเริ่มตอนอายุ 16
ภาพประกอบจาก ละครบุพเพสันนิวาส IG: susiroo
มารี กีมาร์ได้สมรสตอนอายุ 16 ปี กับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน (ในเรื่องบุพเพสันนิวาส รับบทโดย หลุยส์ สก็อต) เขาเป็นขุนนางชาวกรีกที่ทำราชการในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และว่ากันว่าเป็นคนโปรดของพระรายณ์ด้วย สำหรับการสมรสของมารี ในตอนแรกคุณพ่อของเธอไม่พอใจนัก เพราะรู้ถึงพฤติกรรมของลูกเขยที่หลงลาภยศสรรเสริญ และมักในโลกีย์ หรือเจ้าชู้นั่นเอง ทางลูกเขย หรือฟอลคอนจึงแสดงความจริงใจด้วยการยอมละนิกายแองกลิคันที่ตนนับถือ และเปลี่ยนเป็นนิกายโรมันคาทอลิกตามมารี คุณพ่อจึงยินยอม และได้แต่งงานกันในที่สุด
หลังจากแต่งงานแรกๆ ทั้งคู่ก็ใช้ชีวิตด้วยความสุขเป็นอย่างดี ตัวมารีเองถึงแม้สามีจะมียศใหญ่เชิดหน้าชูตาได้ แต่เธอก็ทำตัวธรรมดา ไม่ได้อวดร่ำรวยแต่อย่างใด และยังมีน้ำใจเผื่อแผ่เมตตาช่วยเหลือผู้คนมากมาย โดยเฉพาะเด็กๆ เธอและสามียังอุปถัมภ์เข้ารีตกว่า 120 คน พร้อมกันนั้นด้วยความที่เป็นคนเคร่งศาสนาจึงไม่ลืมที่จะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปด้วย สามีของเธอก็ดูปลื้มใจปลื้มปีติ โดยอ้างอิงได้จาก ในงานบันทึกของบาทหลวงเดอ แบซ ได้กล่าวถึงพฤติกรรมท้าวทองกีบม้าหลังการสมรสกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ความว่า
“…เขา (เจ้าพระยาวิชเยนทร์])ได้รับความชุ่มชื่นใจจากความเลื่อมใสศรัทธาและความกระตือรือร้นในพระศาสนาของภรรยาเป็นที่ยิ่ง จึงทำให้บ้านเรือนของเขานั้นเปรียบเสมือนว่าเป็นบ่อแห่งคุณธรรมความดีและพระศาสนา จนแทบกล่าวได้ว่า เป็นโรงธรรมยิ่งกว่าจะเป็นทำเนียบของขุนนางผู้ใหญ่ในแผ่นดินเสียอีก…”
ชีวิตคู่เริ่มไม่ราบรื่น
ท้าวทองกีบม้า และเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ครองรักกันมาจน มีบุตรด้วยกัน 2 คือ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) และ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantin Phaulkon) จริงๆ แล้วก่อนหน้าที่มารีจะแต่งงาน ฟอลคอนเคยมีบุตรสาวมาแล้วมาแล้วหนึ่งคน ที่เกิดกับหญิงชาววัง ซึ่งได้รับพระราชทานจากกรมหลวงโยธาเทพเพื่อผูกมัดฟอลคอนไว้กับราชสำนัก หลังมารีสมรสจึงส่งหญิงผู้เคยเป็นเมียของสามีเธอไปเมืองพิษณุโลก และแสดงน้ำใจด้วยการนำบุตรของหญิงผู้นั้นมาเลี้ยงเองเป็นอย่างดี อาจดูเหมือนชีวิตความรักของมารีน่าจะราบรื่นมีความสุข แต่จริงๆ แล้วไม่ ด้วยเพราะเหตุที่สามี เป็นคนมีนิสัยเจ้าชู้ ได้แอบไปนอกใจมารี ไปมีสัมพันธ์สวาทกับ คลารา (Clara) นางทาสชาวจีนในอุปการะของมารีเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เธอรู้สึกไม่พอใจ และไม่อยู่ร่วมกัยสามีอีก จึงขนข้าวของ และผู้คนจากลพบุรีกลับไปที่กรุงศรีอยุธยามาแล้วครั้งหนึ่ง
วันที่ชีวิตตกอับก็มาถึง
เจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นสามีของมารี ถูกตัดสินประหารชีวิต และริบราชบาตรหลังเกิดจลาจลก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพียงไม่กี่วัน ขณะที่เจ้าพระยาวิชเยนทร์กำลังจะถูกประหารนั้น บางบันทึกระบุว่า “นางเศร้าโศกร่ำไห้ปิ่มว่าจะขาดใจ” บ้างก็ว่า นางมิได้ร่ำไห้ให้สามีแม้แต่น้อย แต่นางกลับถ่มน้ำลายรดหน้าสามี และไม่ยอมให้จูบลาลูก บาทหลวงอาร์ตุส เดอ ลียอน ที่เข้ามาเผยแผ่พระศาสนาในช่วงนั้น ได้ระบุเหตุการณ์ การจัดการทรัพย์สินของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ดังกล่าวว่า
“…วันที่ 30 พฤษภาคม เขาได้เรียกตราประจำตำแหน่งของสามีนางคืนไป วันที่ 31 ริบอาวุธ เอกสาร และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย วันต่อมาได้ตีตราประตูห้องหับทั่วทุกแห่งแล้วจัดยามมาเฝ้าไว้ วันที่ 2 มิถุนายน ขุนนางผู้หนึ่งนำไพร่ 100 คนมาขนเงิน เครื่องแต่งบ้านและจินดาภรณ์ไป…”
แต่กระนั้นเธอยังลอบแบ่งทรัพย์สินและเครื่องเพชรออกเป็นสามกล่อง สองกล่องแรกไว้กับบาทหลวงเยสุอิต ส่วนอีกกล่องเธอฝากไว้ที่ทหารฝรั่งเศสชั้นนายร้อยไป แต่บาทหลวงเยสุอิตเกรงจะไม่ปลอดภัยจึงฝากไว้กับนายพันโบช็อง แต่เมื่อทั้งบาทหลวงและนายพันโบช็องมาถึงบางกอก นายพลเดฟาร์ฌ จึงเก็บทรัพย์สินทั้งหมดไว้เอง ครั้นเมื่อถึงเวลาคืนทรัพย์สินของฟอลคอนแก่ออกญาโกษาธิบดีผู้แทนของไทย “ทรัพย์สินที่คงเหลือมีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น” จึงทำให้มารีอาสิ้นเนื้อประดาตัว ประสบเคราะห์กรรมและความทุกข์อย่างสาหัส ทั้งยังต้องทนทุกข์เวทนากับคุมขัง ดังปรากฏในบันทึกของบาทหลวงเดอ แบซ ความว่า
“…สุภาพสตรีผู้น่าสงสารผู้นั้น ถูกโยนเข้าไปขังไว้ในโรงม้าอันคลุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ไม่มีข้าวของติดตัวไปเลย มีแต่ฟากสำหรับนอนเท่านั้น”
โชคดีในโชคร้ายได้ไม่ทันไร
ช่วงเวลาที่นางถูกคุมขัง ก็ยังได้รับการช่วยเหลือจกาผู้คุมที่นางเคยได้รับการอุปการะเอื้อเฟื้อ ถือเป็นความโชคดีในโชคร้ายไม่ทันไร นางก็ต้องเจอกับเหตุการณ์แย่ๆ อีกแล้ว เมื่อหลวงสรศักดิ์พระโอรสในสมเด็จพระเพทราชาพระเจ้าแผ่นดินใหม่ มีพระประสงค์ที่จะนำนางไปเป็นภริยา เมื่อไม่สมดั่งใจประสงค์ก็เกิดความเกลียดและขู่อาฆาต ดังปรากฏในพงศาวดารว่า
“…ฝ่ายภรรยาฟอลคอน ได้ถูกรังแกข่มเหงต่าง ๆ บุตรพระเพทราชาก็เกลียดนัก ด้วยบุตรพระเพทราชาได้ไปเกี้ยวภรรยาฟอลคอน แต่ภรรยาฟอลคอนไม่ยอม บุตรพระเพทราชาจึงเกลียดและขู่จะทำร้ายต่าง ๆ”
ตลอดเวลาทุกข์ลำบากนี้ นางพยายามหาทุกวิถีทางที่จะติดต่อกับชาวฝรั่งเศส เพื่อขอออกไปจากแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา นายพลเดฟาร์ฌที่ประจำการที่ป้อมวิไชยเยนทร์ที่บางกอกได้ให้สัญญากับนางว่าจะพาออกไปพ้นกรุงสยาม แต่นายพลเดฟาร์ฌได้บิดพลิ้วต่อนาง
มารี รับบทโดย ซูซี่-สุษิรา แอนจิลีน่า/ ภาพประกอบจาก ละครบุพเพสันนิวาส/ IG: susiroo
การรับราชการท้าวทองกีบม้า และบั้นปลายชีวิต
มาดามฟอลคอน หรือมารีอา ได้เขียนจดหมายส่งไปยังบิชอป (Bishop)ฝรั่งเศส ในประเทศจีนเมื่อปี พ.ศ. 2249 (บิชอป หรือมุขนายก หรือเรียกว่า กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถาน เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต์)
จุดประสงค์การเขียนจดหมายไปเพราะต้องการขอให้บาทหลวงกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บังคับให้รัฐบาลฝรั่งเศสส่งส่วนแบ่งรายได้ของบริษัทฝรั่งเศสที่สามีเคยเป็นผู้อำนวยการแก่นางบ้าง และพรรณนาความทุกข์ยากลำบากของนาง ความว่า
“…พระผู้เป็นเจ้าจะไม่พิศวงในเวรกรรมและภาวะของข้าพเจ้าในขณะบ้างละหรือ ตัวข้าพเจ้านั้นหรือ เมื่อก่อนจะไปในที่ประชุมชนแห่งใดในกรุงศรีอยุธยาก็ไปเช่นพระราชินี ข้าพเจ้าได้เคยรับพระมหากรุณาโดยเฉพาะโดยเอนกประการจากสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน บรรดาเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวงก็นับถือไว้หน้า ตลอดจนไพร่ฟ้าประชาชนทั้งหลายก็รักใคร่ ต้องทำงานถวายตรากตรำด้วยความเหนื่อยยากและระกำช้ำใจ มืดมนอนธการไปด้วยความทุกข์ยาก ตั้งหน้าแต่จะคอยว่าเมื่อใดพระเจ้าจะโปรดให้ได้รับแสงสว่างบ้าง ตอนกลางคืนนางก็ไม่มีที่พิเศษอย่างใด คงแอบพักนอนที่มุมห้องพระเครื่องต้น บนดินที่ชื้น ต้องคอยระวังเฝ้ารักษาเฝ้าห้องเครื่องต้น…”
จากจดหมายดังกล่าวก็จะพบว่า ขณะนี้นางได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานเครื่องต้นในวังแล้ว สอดคล้องกับ จดหมายเหตุฝรั่งเศสโบราณ ที่บันทึกการปฏิบัติหน้าที่ในห้องเครื่องต้นของนาง ความว่า
“…ภรรยา (ของนายคอนสแตนติน) เป็นท้าวทองกีบม้าได้เป็นผู้กำกับการชาวเครื่องพนักงานหวาน ท่านท้าวทองกีบม้าผุ้นี้เป็นต้นสั่งสอนให้ชาวสยามทำของหวานคือขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอด ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมขิง ขนมไข่เต่า ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง และสังขยา”
ในบันทึกของเมอซีเยอโชมง (คนละท่านกับเชอวาลีเยเดอโชมง) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในปี พ.ศ. 2262-2267 ได้ให้ข้อมูลว่า หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าเสือ ชีวิตของมาดามฟอลคอนได้กลับมาดีขึ้นโดยลำดับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดเกล้าให้มาดามฟอลคอนเข้ามารับราชการฝ่ายใน โดยไว้วางพระราชหฤทัยให้นางดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง และเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และมีสตรีในบังคับบัญชากว่า 2,000 คน ทั้งนี้ท้าวทองกีบม้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต คืนเงินสู่ท้องพระคลังปีละครั้งมากๆ ทุกปี จนเป็นที่โปรดปรานในองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้งจอร์จ บุตรชายของเธอที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดไว้ใกล้ชิดพระองค์ ดังปรากฏจากบันทึกของเมอซีเยอโชมง ความว่า
“…พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งให้หาจอร์จ บุตรของเมอซีเยอกงส์ต็องส์ แล้วโปรดให้แต่งตัวอย่างดี ๆ และรับสั่งให้นายจอร์จเรียนภาษาไทยเสียให้รู้ ได้โปรดให้เอานายจอร์จไว้ใช้ใกล้ชิดพระองค์ และได้โปรดเป็นครูด้วยพระองค์เอง สอนภาษาไทยให้แก่นายจอร์จ…”
จากความเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดปรานบุตรคนโตของนางมาก ส่วนบุตรคนเล็กคือ คอนสแตนติน ได้สนองพระเดชพระคุณสร้างออร์แกนเยอรมันถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จากหลักฐานของมิชชันนารีฝรั่งเศส คอนสแตนตินถูกเรียกว่า ราชมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของชุมชนคริสตัง
ในปี พ.ศ. 2260 รัฐบาลฝรั่งเศสได้มีมติอนุมัติให้ส่งเงินรายได้ที่เป็นของฟอลคอนแก่นางมารี ตามที่นางขอร้องในจดหมายที่เคยส่งไปมาให้ที่สุด หลังพ้นจากวิบากกรรมอันเลวร้าย ท้าวทองกีบม้าได้ใช้เวลาแห่งบั้นปลายชีวิตที่เหลือด้วยการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดโดยพำนักอยู่กับลูกสะใภ้ที่ชื่อ ลุยซา ปัสซัญญา (Louisa Passagna) ภริยาม่ายของคอนสแตนติน และได้ถึงแก่มรณกรรมในปี พ.ศ. 2265