คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ขอเสริมให้กับ จขกท.อีกหน่อยนะครับ เสริมในเรื่องการใช้งานจริงของทฤษฏีสัมพัทธภาพ
จากโจทย์เดิม ....
ถ้าผมปั่นจักรยานด้วยความเร็วแสง ละมีตากล้องคนหนึ่ง(รุ่นเดียวกัน)ยืนถ่ายภาพ
หลังจากการเดินทางเสร็จคนที่ปั่นจักรยานดูไม่เปลี่ยนไปเลยแต่ตากล้องกลับแก่เป็นรุุ่นพ่อของคนปั่นจักรยานเลยซะงั้น
จริง ๆ แล้ว หากอ่านแค่นี้ยังถือว่า ไม่สมบูรณ์ และ งง ไปหน่อยครับ เพราะไม่ได้บอกว่าปั่นไปนานเท่าใด
อีกทั้งโจทย์ยังยกตัวอย่างไม่ค่อย work เท่าไหร่
ผมจึงขอยกตัวอย่างโจทย์ใหม่ ดังนี้
นาย A เดินทางไปยังระบบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่ห่างออกไป 10 ปีแสง ด้วยความเร็ว 99.999% ของความเร็วแสง
จากความเร็วนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นชัดเจนมากก็คือ Time dilation ซึ่ง หากเอาความเร็ว 99.999% ของความเร็วแสง
ไปคำนวณใส่สูตรแล้ว ก็จะได้ factor ออกมา = 22.37 นั่นก็คือ คนบนโลกจะเห็นนาย A เดินทางไป-กลับ ดาวดวงนั้น
ใช้เวลา = 20/0.999 = 20.02 ปี .... แต่ นาย A จะรู้สึก และ เห็นว่านาฬิกา และ ปฏิธินในยานจะผ่านไปแค่
20/22.37 = 0.894 ปี หรือ 10 เดือน 22 วัน เท่านั้นเองครับ นั่นก็คือ เมื่อนาย A กลับมายังโลก เวลาที่โลก
จะผ่านไป 20.02 ปี เพื่อนนาย A จะแก่ลงไป 20.02 ปี แต่นาย A ยังร่างกายเหมือนเดิมเพราะเวลานาย A เพิ่งผ่านไปแค่
10 เดือน 22 วัน เท่านั้นเองครับ
นี่เองคือความหมายของการ แก่ช้ากว่า ของนาย A
ภาพของตารางเทียบ Factor ของ Time dilation
Time dilation ตามทฤษฏีสัมพัทธภาพของ Einstein นี้เกิดขึ้นทุกวันเลยนะครับ
ทั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ และ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ Einstein นั้น มีผลจริง และ ถูกนำมาใช้จริง
กับระบบ GPS มานานแล้วครับ กล่าวคือดาวเทียม GPS นั้นโคจรรอบโลกด้วยความเร็วสูง 4 กิโลเมตร/วินาที
จากความเร็วขนาดนี้ทำให้เกิดค่าของ Velocity time dilation ขึ้น โดยมีผลให้นาฬิกาภายใน GPS เดินช้าลง
7 Microsecond ต่อวัน เทียบกับนาฬิกาบนโลก
ขณะเดียวกัน ... แรงโน้มถ่วงในอวกาศ ณ ตำแหน่งที่ดาวเทียม GPS โคจรอยู่จะมีค่าน้อยลงเทียบกับบนโลก
นาฬิกาภายในดาวเทียม GPS ก็จะเดินเร็วกว่าบนโลก 45.9 Microsecond ต่อวัน (จากผลของ Gravitational time dilation)
ซึ่งจะเห็นว่าอิทธิพลของ Time dilation จาก 2 อย่างนี้จะส่งผล ตรงกันข้าม กัน เกิดเป็นผลต่างได้ว่า
นาฬิกาบน GPS จะเร็วกว่าบนโลก 38 Microsecond ..... ดังนั้น ระบบเวลาของ GPS จะต้องปรับให้ถูกต้องทุกวัน
จากผลของ time dilation นี้เองครับ มิฉะนั้นระบบ GPS ก็จะใช้งานไม่ได้เพราะ เวลา ในอวกาศ - โลก ไม่เท่ากันนั่นเอง
ส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการระบุตำแหน่งวันละประมาณ 11 กิโลเมตร ครับ
จากโจทย์เดิม ....
ถ้าผมปั่นจักรยานด้วยความเร็วแสง ละมีตากล้องคนหนึ่ง(รุ่นเดียวกัน)ยืนถ่ายภาพ
หลังจากการเดินทางเสร็จคนที่ปั่นจักรยานดูไม่เปลี่ยนไปเลยแต่ตากล้องกลับแก่เป็นรุุ่นพ่อของคนปั่นจักรยานเลยซะงั้น
จริง ๆ แล้ว หากอ่านแค่นี้ยังถือว่า ไม่สมบูรณ์ และ งง ไปหน่อยครับ เพราะไม่ได้บอกว่าปั่นไปนานเท่าใด
อีกทั้งโจทย์ยังยกตัวอย่างไม่ค่อย work เท่าไหร่
ผมจึงขอยกตัวอย่างโจทย์ใหม่ ดังนี้
นาย A เดินทางไปยังระบบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่ห่างออกไป 10 ปีแสง ด้วยความเร็ว 99.999% ของความเร็วแสง
จากความเร็วนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นชัดเจนมากก็คือ Time dilation ซึ่ง หากเอาความเร็ว 99.999% ของความเร็วแสง
ไปคำนวณใส่สูตรแล้ว ก็จะได้ factor ออกมา = 22.37 นั่นก็คือ คนบนโลกจะเห็นนาย A เดินทางไป-กลับ ดาวดวงนั้น
ใช้เวลา = 20/0.999 = 20.02 ปี .... แต่ นาย A จะรู้สึก และ เห็นว่านาฬิกา และ ปฏิธินในยานจะผ่านไปแค่
20/22.37 = 0.894 ปี หรือ 10 เดือน 22 วัน เท่านั้นเองครับ นั่นก็คือ เมื่อนาย A กลับมายังโลก เวลาที่โลก
จะผ่านไป 20.02 ปี เพื่อนนาย A จะแก่ลงไป 20.02 ปี แต่นาย A ยังร่างกายเหมือนเดิมเพราะเวลานาย A เพิ่งผ่านไปแค่
10 เดือน 22 วัน เท่านั้นเองครับ
นี่เองคือความหมายของการ แก่ช้ากว่า ของนาย A
ภาพของตารางเทียบ Factor ของ Time dilation
Time dilation ตามทฤษฏีสัมพัทธภาพของ Einstein นี้เกิดขึ้นทุกวันเลยนะครับ
ทั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ และ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ Einstein นั้น มีผลจริง และ ถูกนำมาใช้จริง
กับระบบ GPS มานานแล้วครับ กล่าวคือดาวเทียม GPS นั้นโคจรรอบโลกด้วยความเร็วสูง 4 กิโลเมตร/วินาที
จากความเร็วขนาดนี้ทำให้เกิดค่าของ Velocity time dilation ขึ้น โดยมีผลให้นาฬิกาภายใน GPS เดินช้าลง
7 Microsecond ต่อวัน เทียบกับนาฬิกาบนโลก
ขณะเดียวกัน ... แรงโน้มถ่วงในอวกาศ ณ ตำแหน่งที่ดาวเทียม GPS โคจรอยู่จะมีค่าน้อยลงเทียบกับบนโลก
นาฬิกาภายในดาวเทียม GPS ก็จะเดินเร็วกว่าบนโลก 45.9 Microsecond ต่อวัน (จากผลของ Gravitational time dilation)
ซึ่งจะเห็นว่าอิทธิพลของ Time dilation จาก 2 อย่างนี้จะส่งผล ตรงกันข้าม กัน เกิดเป็นผลต่างได้ว่า
นาฬิกาบน GPS จะเร็วกว่าบนโลก 38 Microsecond ..... ดังนั้น ระบบเวลาของ GPS จะต้องปรับให้ถูกต้องทุกวัน
จากผลของ time dilation นี้เองครับ มิฉะนั้นระบบ GPS ก็จะใช้งานไม่ได้เพราะ เวลา ในอวกาศ - โลก ไม่เท่ากันนั่นเอง
ส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการระบุตำแหน่งวันละประมาณ 11 กิโลเมตร ครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
เรื่องนี้ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติตามทฤษฏีสัมพัทธภาพของ Einstien ครับ
ทฤษฏีสัมพัทธภาพได้กล่าวใว้ว่า ความเร็วของแสงนั้นจะมีค่าเท่าเดิมเสมอ
ไม่ว่าจะถูกสังเกตุในกรอบอ้างอิงแบบใหน และโดยใคร จากข้อบังคับนี้เองที่ทำให้การเดินทางในอวกาศ
ด้วยความเร็วสูงมาก ๆ นั้น เวลา จะเปลี่ยนแปลงได้ครับ เราเรียกว่า Time dilation .... การที่เวลาเปลี่ยนแปลงได้
เนื่องมาจากกฏธรรมชาติที่ว่า แสงจะมีความเร็วเท่ากันในทุกผู้สังเกตุ ซึ่งมันขัดกับหลักการทางฟิสิกส์แบบ Classic
ที่เราเรียนกันในระดับมัธยมครับ
การที่บอกว่า แสงมีความเร็วเท่าเดิมเสมอ ขอยกตัวอย่างดังนี้ ....
1. เมื่อเรายืนเฉย ๆ และฉายไฟออกไป เราจะเห็นแสงวิ่งออกไปด้วยความเร็ว 300,000 กม./วินาที (OK อันนี้ไม่สงสัยอะไร)
2. แต่ ... เมื่อเราอยู่บนยานที่วิ่งเร็ว 100,000 กม./วินาที และมีคนฉายไฟไล่หลังเรามา
เราน่าจะเห็นแสงวิ่งแซงเราไปด้วยความเร็ว 200,000 กม./วินาที ใช่ใหม ? ... ความจริงแล้วไม่ใช่ครับ
เราจะเห็นแสงวิ่งแซงเราไปด้วยความเร็ว 300,000 กม./วินาที เท่าเดิม นี่เองที่มันขัดสามัญสำนึกของคนเรา
และจากทั้ง 2 ข้อข้างบน ทำให้การเดินทางด้วยความเร็วใกล้แสงมาก ๆ เวลา จะช้าลง เพื่อรักษากฏเหล็กอันนี้ครับ
Time dilation นี้ จะมีผลต่อ ผู้เดินทาง เท่านั้นครับ หมายความว่าคนที่อยู่ในยานอวกาศที่เดินทางเร็วมาก ๆ ใกล้ความเร็วแสง
เวลาของเขาจะเดินช้าลงจนแทบหยุดนิ่งเลย ในขณะที่เวลาบนโลกก็จะผ่านไปตามปกติ ..... หากจะอธิบายให้เห็นภาพก็คือ
หากคนบนโลกสามารถมองเข้าไปในยานได้ ก็จะเห็นว่าทุกอย่างบนยานลำนั้น เชื่องช้า ไปหมดเลย ซึ่งกรณีนี้จะเกิดขึ้น
ต่อเมื่อความเร็วของยานมากใกล้เคียงแสงเท่านั้น ส่วนเวลาของคนบนโลก และ เวลาของคนบนยานก็จะเดินไปตามปกติ
ก็คือคนบนยานเมื่อมองนาฬิกาในยานก็จะเห็นว่าเข็มกระดิกเร็วเป็นปกติครับ แต่คนบนโลกหากมองเข้าไปในยาน ก็จะเห็น
นาฬิกากระดิกช้าลง และเห็นคนในยานเคลื่อนไหวช้าลง นี่คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ผมทราบดีว่ามันฝืนสามัญสำนึกของเรามากครับ แต่มันคือเรื่องจริงที่สามารถใช้ฟิสิกส์อธิบายได้
โดยใช้คุณสมบัติของ แสง ที่กล่าวไปแล้วว่ามันจะมีความเร็วคงที่เสมอในทุกกรอบอ้างอิง อธิบายได้ตามภาพนี้ครับ
นี่คือภาพเคลื่อนไหว กรณีแรก ที่ยานหยุดนิ่ง แสงจากแหล่งแดง และ น้ำเงิน
วิ่งไปสะท้อนและกลับมาจุดเดิม ด้วยเวลาเท่ากัน
กรณียานวิ่งเร็ว จะเห็นว่าแสงจากแหล่งน้ำเงินใช้เวลาสะท้อนกลับมา มากกว่าแดง
นี่เอง ที่เวลาในยานจะ มากขึ้น - ขยายออก - ช้าลง
และจากภาพที่อธิบายการ ยืดออก ของเวลา เราสามารถนำมาเขียนเป็น Lorentz factor ได้ตามภาพนี้ครับ
ค่าของ Lorentz factor ที่ดูยุ่งเหยิงจากการพิสูจน์ที่ผมวาดมให้ดู เราอาจไม่ต้องสนใจก็ได้
โดยเรานำเอาสมการของ Lorentz factor นี้ไปใช้งานเลยก็ได้ครับ ก็คือตามที่ จขกท.บอกใว้ ว่า
หากคน ๆ นึง ปั่นจักรยานด้วยความเร็วใกล้แสง เวลาของคนปั่นจะช้าลง เท่าไหร่
ก็เอาความเร็วของการปั่นมาแทนลงในสูตรนี้ได้เลย ก็จะได้ตัวเลยความต่างของเวลาออกมาเลยครับ
ทฤษฏีสัมพัทธภาพได้กล่าวใว้ว่า ความเร็วของแสงนั้นจะมีค่าเท่าเดิมเสมอ
ไม่ว่าจะถูกสังเกตุในกรอบอ้างอิงแบบใหน และโดยใคร จากข้อบังคับนี้เองที่ทำให้การเดินทางในอวกาศ
ด้วยความเร็วสูงมาก ๆ นั้น เวลา จะเปลี่ยนแปลงได้ครับ เราเรียกว่า Time dilation .... การที่เวลาเปลี่ยนแปลงได้
เนื่องมาจากกฏธรรมชาติที่ว่า แสงจะมีความเร็วเท่ากันในทุกผู้สังเกตุ ซึ่งมันขัดกับหลักการทางฟิสิกส์แบบ Classic
ที่เราเรียนกันในระดับมัธยมครับ
การที่บอกว่า แสงมีความเร็วเท่าเดิมเสมอ ขอยกตัวอย่างดังนี้ ....
1. เมื่อเรายืนเฉย ๆ และฉายไฟออกไป เราจะเห็นแสงวิ่งออกไปด้วยความเร็ว 300,000 กม./วินาที (OK อันนี้ไม่สงสัยอะไร)
2. แต่ ... เมื่อเราอยู่บนยานที่วิ่งเร็ว 100,000 กม./วินาที และมีคนฉายไฟไล่หลังเรามา
เราน่าจะเห็นแสงวิ่งแซงเราไปด้วยความเร็ว 200,000 กม./วินาที ใช่ใหม ? ... ความจริงแล้วไม่ใช่ครับ
เราจะเห็นแสงวิ่งแซงเราไปด้วยความเร็ว 300,000 กม./วินาที เท่าเดิม นี่เองที่มันขัดสามัญสำนึกของคนเรา
และจากทั้ง 2 ข้อข้างบน ทำให้การเดินทางด้วยความเร็วใกล้แสงมาก ๆ เวลา จะช้าลง เพื่อรักษากฏเหล็กอันนี้ครับ
Time dilation นี้ จะมีผลต่อ ผู้เดินทาง เท่านั้นครับ หมายความว่าคนที่อยู่ในยานอวกาศที่เดินทางเร็วมาก ๆ ใกล้ความเร็วแสง
เวลาของเขาจะเดินช้าลงจนแทบหยุดนิ่งเลย ในขณะที่เวลาบนโลกก็จะผ่านไปตามปกติ ..... หากจะอธิบายให้เห็นภาพก็คือ
หากคนบนโลกสามารถมองเข้าไปในยานได้ ก็จะเห็นว่าทุกอย่างบนยานลำนั้น เชื่องช้า ไปหมดเลย ซึ่งกรณีนี้จะเกิดขึ้น
ต่อเมื่อความเร็วของยานมากใกล้เคียงแสงเท่านั้น ส่วนเวลาของคนบนโลก และ เวลาของคนบนยานก็จะเดินไปตามปกติ
ก็คือคนบนยานเมื่อมองนาฬิกาในยานก็จะเห็นว่าเข็มกระดิกเร็วเป็นปกติครับ แต่คนบนโลกหากมองเข้าไปในยาน ก็จะเห็น
นาฬิกากระดิกช้าลง และเห็นคนในยานเคลื่อนไหวช้าลง นี่คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ผมทราบดีว่ามันฝืนสามัญสำนึกของเรามากครับ แต่มันคือเรื่องจริงที่สามารถใช้ฟิสิกส์อธิบายได้
โดยใช้คุณสมบัติของ แสง ที่กล่าวไปแล้วว่ามันจะมีความเร็วคงที่เสมอในทุกกรอบอ้างอิง อธิบายได้ตามภาพนี้ครับ
นี่คือภาพเคลื่อนไหว กรณีแรก ที่ยานหยุดนิ่ง แสงจากแหล่งแดง และ น้ำเงิน
วิ่งไปสะท้อนและกลับมาจุดเดิม ด้วยเวลาเท่ากัน
กรณียานวิ่งเร็ว จะเห็นว่าแสงจากแหล่งน้ำเงินใช้เวลาสะท้อนกลับมา มากกว่าแดง
นี่เอง ที่เวลาในยานจะ มากขึ้น - ขยายออก - ช้าลง
และจากภาพที่อธิบายการ ยืดออก ของเวลา เราสามารถนำมาเขียนเป็น Lorentz factor ได้ตามภาพนี้ครับ
ค่าของ Lorentz factor ที่ดูยุ่งเหยิงจากการพิสูจน์ที่ผมวาดมให้ดู เราอาจไม่ต้องสนใจก็ได้
โดยเรานำเอาสมการของ Lorentz factor นี้ไปใช้งานเลยก็ได้ครับ ก็คือตามที่ จขกท.บอกใว้ ว่า
หากคน ๆ นึง ปั่นจักรยานด้วยความเร็วใกล้แสง เวลาของคนปั่นจะช้าลง เท่าไหร่
ก็เอาความเร็วของการปั่นมาแทนลงในสูตรนี้ได้เลย ก็จะได้ตัวเลยความต่างของเวลาออกมาเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไม เมื่อเราเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่มากๆเวลาของเราจะช้ากว่าปกติครับ??
ละมีช่วงหนึ่งที่คาใจมาก สารคดีได้บอกไว้ว่า
สมมุติ ถ้าผมปั่นจักรยานด้วยความเร็วแสง ละมีตากล้องคนหนึ่ง(รุ่นเดียวกัน)ยืนถ่ายภาพ หลังจากการเดินทางเสร็จคนที่ปั่นจักรยานดูไม่เปลี่ยนไปเลยแต่ตากล้องกลับแก่เป็นรุุ่นพ่อของคนปั่นจักรยานเลยซะงั้น
เข้าคำถามเลยนะครับ
ทำไมเวลาถึงไม่เท่ากันได้ครับ
ปล.สารคดี THE UNIVERSE ตอน ความเร็วแสง นาทีที่ 27.19