ประสบการณ์การใช้งาน และการเลือกซื้อเครื่องปรินท์ให้อยู่กับเราได้นานๆ สักเครื่อง

กระทู้ข่าว
สวัสดีครับ มาแชร์ประสบการณ์ดีๆผสมความน่าปวดหัวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าไอทีอย่าง “เครื่องปรินท์” หรือ ปรินท์เตอร์ หรือจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ หวังว่าจะเป็นแนวทางได้บ้างว่า จะเลือกซื้อเครื่องปรินท์สักเครื่อง ต้องคิดถึงปัญหา หรือความจำเป็นใดๆตามมาบ้าง

ความหมายของคำว่า “อยู่กับเราได้นานๆ” ที่หัวข้อกระทู้ของผม นอกจากใช้งานได้นาน ไม่จากไปก่อนวัยอันควร มันหมายถึงการใช้งานได้คลอบคลุมทุกรูปแบบการใช้งาน หลายๆคนคงเป็นเหมือนผมบ้าง เครื่องใช้ไอทีที่พังบ่อยที่สุดสำหรับผมมีสองอย่าง คือเครื่องปรินท์ กับเครื่องแฟกซ์ ทั้งชีวิตนี้ผมใช้มาทั้งสองอย่างนี้ไม่ต่ำกว่า 10-15 เครื่อง ปัญหาที่พบเจอก็เหมือนคนส่วนใหญ่ทั่วๆไปเลย ส่วนตัวผมเคยลงทุนใช้ตั้งแต่ระดับเครื่องราคาพันนิดๆ พร้อมติดแทงค์เถื่อนที่หัวฉีดอุดตันเป็นว่าเล่น รวมถึงราคาหลายพันที่ตลับแสนแพง จนกระทั่งมีโอกาสได้ใช้แบบมัลติฟังก์ชั่นราคาหลักหมื่น ก็ยังเจอปัญหาบ้างประปราย


(พังบ่อยดีนัก !)

ตอนประมาณ ม.3 ผมมีคอมฯส่วนตัวใช้เป็นเครื่องแรก ซึ่งก็ซื้อเครื่องปรินท์เครื่องแรกมาใช้พร้อมๆกันนั่นและ ความประทับใจแรกคือ ต่อไปนี้กรูไม่ต้องเขียนรายงานส่งเป็นเล่มๆละ (หลายๆคนในยุคนั้นคงรู้สึกอเมซิ่งเหมือนผมแหละ 55) แน่นอนว่า แต่ละคนก็ได้พบกันประสบการณ์อันแสนเลวร้ายกับเครื่องปรินท์แตกต่างกันออกไป... อย่างเช่น


ทำไมถึงได้หยาบแบบนี้?... เป็นปัญหาที่เจอกันบ่อยมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ปรินท์ทีงานแทบจะแตกเป็นเม็ดๆสี ทำไมมันแตกต่างจากภาพในคอมฯที่เราเห็นเหลือเกิน ต้องคอยแก้งานใหม่ แถมหมึกบางชนิดยังพิมพ์กระดาษรูปถ่ายไม่ได้อีก

จะพิมพ์ทั้งที ต้องเปิดคอม ต้องเชื่อมต่อวุ่นวาย... ต้องลงไดรเวอร์วุ่นวาย ต้องเปิดคอมทุกครั้งเมื่อต้องการปรินท์งานแค่แผ่นเดียว เสียเวลามากๆ ไหนจะต่อได้บ้างไม่ได้บ้าง



ช่องใส่กระดาษ-กินกระดาษซะงั้น... เคยไหม ใส่กระดาษเป็นปึกๆแล้วเครื่องปรินท์ดูดทีนึงมากกว่า 1 แผ่น หรือกระดาษเกิดติดขัดอยู่ในเครื่องปรินท์ ต้องใช้มือดึงออก ทำให้ตัวโหลดกระดาษพังเร็วอีก

ทำไมหมึกมันแพงอย่างนี้ ทำไมมันแพงกว่าชาวบ้านเขา... ใช้ปุ๊บๆ ปั๊บๆ ซอฟต์แวร์ก็ขึ้นเตือนให้เปลี่ยนตลับอีกละ  ตลับนึงก็ 300 กว่าบาท เปลี่ยนทีสองตลับ ปวดหมอง

รอไปเถอะ... ปรินท์งานทีนึงแค่ 20 หน้า รอไปเถอะ 3 นาที งานเร่งงานด่วนไม่เคยทันใจ แถมเสียงยังดังไม่เป็นมิตรต่อหูเราเสียอีก

Error บ่อยยิ่งกว่าสิ่งใด... จะปรินท์งานสักที เอาอีกละ เครื่องปรินท์ออฟไลน์ เอาอีกละ คุณไม่ได้เชื่อมต่อ เอาอีกละ ปรินท์ได้ครึ่งหน้าแล้วเครื่องรีดกระดาษออก เอาอีกละๆๆๆ อีกมากมายที่ต้องพบเจอ

วางทีโต๊ะแทบหัก... อยากได้แบบกะทัดรัดหน่อยๆ ไม่ใช่วางลงไปทีอย่างกับทีวีโบราณ เคลื่อนย้ายทีก็ไม่สะดวก

ประกันทั้งทีให้แค่ปีเดียว... บางรายรับประกันเพียง 6 เดือนด้วยซ้ำ ถ้าดีจริงทำไมไม่ให้มาเลย 2 ปีขึ้นไปล่ะ หลายๆคนใช้ไม่ถึงระยะประกันเข้าซ่อมเป็นว่าเล่น เปลืองค่าน้ำมัน ค่าเสียเวลามากก



และปัญหาอีกมากกกมายที่ทุกๆคนต่างพบเจอ ทำให้เครื่องปรินท์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ติดอันดับ ปัญหาจุกจิก เยอะที่สุดนั่นเอง และตัวผมก็ผ่านประสบการณ์อันชุลมุนยุ่งเหยิงกับเครื่องปรินท์ดังกล่าวมาพอสมควร เลยอยากมาแบ่งปันปัญหาคร่าวๆที่อาจจะพบเจอบ่อยๆ ในเครื่องปรินท์แต่ละรูปแบบ อาจจะเวิ่นเว้อบ้างแต่ก็ ว่างๆค่อยอ่านก็ได้ครับ 55


เครื่องปรินท์แบบ Dot Matrix

(ภาพประกอบอย่างโบราณ 55)

ถ้าจำไม่ผิด เครื่องปรินท์เครื่องแรกของผมเป็นชนิด Dot Matrix นี่แหละครับ ไม่แน่ใจสมัยนี้ยังมีอยู่ไหม ข้อเสียหนักๆที่เห็นได้ชัดคือ ความคมชัด ความสมจริงของสีต่ำมากกก ถ้าปรินท์รูปภาพนี่มองเห็นสีเป็นเม็ดๆบนภาพ ภาพในคอมกับภาพที่ได้จึงแตกต่างกัน เพราะใช้หัวเข็มพิมพ์เข้าเนื้อกระดาษด้วยแม่สีธรรมดาๆ แต่ก็เป็นเทคโนโลยีเก่าด้วยแหละครับถึงทำได้แค่นั้น

เครื่องปรินท์อิงค์เจ็ทแบบตลับหมึก

เป็นรูปแบบเครื่องปรินท์ยอดนิยมสมัยนี้ เท่าที่ผมเคยใช้คือ เครื่องที่ราคาถูก หมึกมักแพง กลับกัน เครื่องที่ราคาแพง หมึกมักจะถูก การใช้งานของผมไม่หนัก ใช้งานส่วนตัว แต่ก็ไม่เคยเกินเครื่องละ 6 เดือนก็ชอบมีปัญหาที่หัวฉีดบ้าง ตัวรีดกระดาษบ้าง และที่สำคัญคือ หมึกตลับนึงใช้ได้ไม่นานเสียเลย แถมหมึกไม่ทนต่อน้ำเอามากๆ

เครื่องปรินท์แบบแทงค์หมึก (เถื่อน)

ย้อนไปประมาณ 8-10 ปีที่แล้ว ช่วงที่ยังไม่มีเครื่องปรินท์แบบแทงค์แท้ๆ ก็มีเครื่องปรินท์แบบแทงค์หมึกเถื่อนที่เห็นทั่วๆไปถ้าไปเดินตามฟิวเจอร์รังสิต, เซียร์, พันทิพย์ จนเป็นเรื่องปกติ ราคาตั้งแต่พันนิดๆเป็นต้นไป แน่นอนว่าหมดประกันเพราะเครื่องถูกดัดแปลงตั้งแต่ออกจากร้าน ปัญหาที่หลายๆคนเจอคือ หมึกมันขาดช่วงบ้าง หัวฉีดเสียบ้าง แถมเติมหมึกแต่ละที หกเลอะเทอะไปหมด อายุการใช้งานต่ำสุดๆ

เครื่องปรินท์แบบเลเซอร์

คงเป็นเครื่องปรินท์ที่ผมมีประสบการณ์ดีที่สุด เพราะใช้แบบผง คมชัดกว่า ไม่ได้ใช้ระบบหัวฉีดที่พังง่ายๆเหมือนเครื่องปรินท์ชนิดอื่น สามารถทิ้งไว้นานๆได้ กลับมาใช้งานอีกทีก็ไม่มีปัญหาเรื่องการปรินท์ แถมหมึกจะแห้งทันทีที่ออกจากเครื่อง ข้อเสียที่ผมเห็นอย่างเดียวก็คือ ผงหมึกมันแพง ราคาเครื่องก็แพงกว่าแบบอื่นเช่นกัน อย่างเลเซอร์ขาวดำบางรุ่นที่ผมใช้ ราคาพอๆกับรุ่นอิงค์เจทมัลติฟังก์ชั่น ทั้งๆที่ปรินท์ได้แค่ขาว-ดำเท่านั้น


(เครื่องปรินท์ Brother MFC-T810W ตัวคู่ใจของผม)

หลังจากที่ผมเล่าคร่าวๆถึงปัญหาที่เคยพบเจอจากเครื่องปรินท์แต่ละรูปแบบ ทีนี้ผมก็จะสรุปคร่าวๆว่า ถ้าจะเลือกซื้อเครื่องปรินท์สักเครื่อง เราควรหลีกเลี่ยงอะไร ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง โดยผมจะยกตัวอย่างเป็นเครื่องปรินท์เครื่องนึงของผม ที่เป็น 1 ในชนิด Inkjet แบบติดแทงค์ (แท้จากโรงงาน) ที่คนไทยนิยมใช้มาก ก็คือเครื่องปรินท์จาก Brother (ผมใช้รุ่น MFC-T810W ซึ่งเป็นมัลติฟังก์ชั่น)

Quality

แน่นอนว่าคุณภาพของผลงานการพิมพ์นั้นเป็นปัจจัยหลักของการเลือกใช้เครื่องปรินท์สักเครื่อง ผมแนะนำให้ตัดเครื่องปรินท์แทงค์แบบเถื่อนทิ้งไปได้เลยเพราะหมึกส่วนใหญ่คุณภาพต่ำ ทำให้คุณภาพงานที่ได้ต่ำมาก และทำให้หัวฉีดพังเร็วมาก ถ้าจำเป็นต้องใช้จริงๆก็ต้องเป็นงานที่เน้นประหยัดและไม่เน้นคุณภาพ เช่นใบปลิว ต่างๆ

อย่างถ้าเปรียบเทียบกับเจ้า Brother ของผม ที่ปรินท์ได้สูงสุด 1200 x 6000 dpi (dpi = จำนวนจุดสีต่อ1นิ้ว) ซึ่งถือว่าคมชัดจนตาแยกจุดสีไม่ออก (บางรุ่นปรินท์ได้แค่สูงสุด 4800 dpi) ซึ่งราคาเครื่องปรินท์ประมาณ 3000 ขึ้นไปสมัยนี้ก็สามารถปรินท์ได้ถึง 1200 x 6000 dpi แล้ว ฉะนั้นก็เหลือบมองดูจุดๆนี้ไว้บ้างตอนเลือกซื้อ


Paper Handling

ปัญหาอีกอย่างที่หลายๆคนเจอคือ ถาดใส่กระดาษที่สามารถใส่ได้ครั้งละน้อยๆ หรือ ใส่กระดาษได้แค่ขนาดเดียวทำให้เวลาจะปรินท์งานกับกระดาษที่ขนาดต่างกัน แต่เราลืมเปลี่ยนกระดาษในถาดก็ทำให้เสียกระดาษไปโดยใช่เหตุ อาจเป็นเพราะหลายๆรุ่นเป็นแบบ Compact หรือผลิตเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการใช้เครื่องปรินท์ขนาดกะทัดรัด หรือมีพื้นที่งานจำกัด การใช้งานตามห้องภาคนักศึกษา บริษัท ออฟฟิศ หรือรวมถึงที่บ้าน ก็คงไม่เหมาะกับเครื่องปรินท์เหล่านั้น

ผมจะเลือกเครื่องปรินท์ที่สามารถใส่กระดาษได้ครั้งละมากๆ อย่างน้อยๆ 100 แผ่น ซึ่ง Brother รุ่นที่ผมใช้ใส่ได้มากถึง 160 แผ่นและยังสามารถสลับขนาดของกระดาษได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนกระดาษในถาดเดิมออก เพราะในรุ่นนี้มีถาดใส่กระดาษ 2 ตำแหน่ง รองรับงานพิมพ์สำหรับขนาดกระดาษที่ต่างกัน นอกจากนนี้หลายๆคนคงเจอปัญหาเครื่องปรินท์กินกระดาษครั้งละมากกว่า 1 แผ่น ยิ่งกินมากตัวโหลดกระดาษเข้าเครื่องก็ยิ่งพังเร็ว ผมเคยเจอถึงขั้นใส่กระดาษแค่แผ่นเดียวแต่เครื่องไม่โหลดกระดาษเลยด้วยซ้ำ ซ่อมก็ไม่คุ้มอีก (ถ้าหมดประกัน)


Convenience

ในยุค 4.0 หรือ 0.4 ก็แล้วแต่ ความสะดวกสบายนั้นต้องมาก่อน เครื่องปรินท์สมัยใหม่นี้ถ้าไม่นับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ก็ล้วนแต่ออกแบบมาตอบสนองผู้บริโภค ให้ความสะดวกสบายต่อการใช้งานมากยๆขึ้นเรื่อ

ถ้างบถึง แนะนำให้ใช้รุ่นที่สามารถสั่งการด้วยมือ โดยเชื่อมต่อผ่าน Wifi ได้ครับ เครื่องก่อนที่ผมใช้ สามารถปรินท์ สแกน  สำเนาได้ แต่ไม่สามารถสั่งการผ่านมือถือได้ทั้งๆที่เพิ่มเงินอีกไม่ถึง 2000 บาท สุดท้ายรุ่นที่ผมได้มาใช้ล่าสุด ที่สามารถสั่งงานผ่านมือถือได้สะดวกมากขึ้นสุดๆ โดยเฉพาะการที่ผมไม่ต้องเปิดคอมเพื่อปรินท์งานอีกต่อไปนี่แหละ

อีกอย่างคือ เลือกที่มีจอ LCD ใหญ่ๆ แสดงสถานะและข้อมูลชัดเจน เวลาเกิดปัญหาแทบไม่ต้องเปิดคู่มือเลยครับ

การเติมหมึกของแบบแทงค์นั้นยุ่งยากที่สุด แต่ความถี่ในการเติม เครื่องปรินท์แบบหมึกนั้นต่ำที่สุดแล้วครับ ใช้จนลืม ใช้จนพังกันไปข้าง ไม่ต้องเลอะมือบ่อยๆ เพราะปริมาณการปรินท์นั้นสูงจริง


Cost / Value

ถัดมาที่ค่าใช้จ่ายและความคุ้มค่า ผมจะไม่เน้นที่ราคาเครื่องมาก แต่จะเน้นที่ราคาที่เกิดจากการใช้งานมากกว่า นั่นก็คือหมึกนั่นเอง อย่างที่เกริ่นถึงปัญหาไปแล้วว่า เครื่องปรินท์แบบอิงค์เจ็ทนั้นมีจำนวนการใช้งานต่อตลับนั้นน้อยมาก แบบเลเซอร์นั้นจำนวนใช้งานต่อ 1 ตลับมากกว่าแบบอิงค์เจ็ทก็จริง แต่ราคาผงหมึกสูง (เครื่องก็ด้วย)

ฉะนั้น ถ้างบถึงแบบเลเซอร์ ที่ให้คุณภาพงานสูงสุด ก็สามารถซื้อได้เพราะจำนวนการพิมพ์ต่อตลับนั้นสูงจนลืมเปลี่ยนตลับเลยทีเดียว แต่ถ้าอยากใช้แบบอิงค์เจ็ท แนะนำให้ใช้แบบติดแทงค์แท้จากโรงงาน ซึ่งตอนนี้ในตลาดก็มีหลายยี่ห้อแล้วที่เป็นแบบแทงค์แท้ แม้ราคาจะสูงกว่าแบบเถื่อนเล็กน้อย แต่แลกกับอายุการใช้งานของหัวพิมพ์ได้ยาวนานขึ้นแล้วคุ้มค่ากว่ามาก อย่างรุ่นที่ผมใช้ก็เป็นแบบแทงค์และไม่เคยพบเจอปัญหาอะไรเลย อีกอย่างคงเป็นเพราะใช้หมึกแท้ของ Brother เองด้วย

แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงหมึกแบบเติมที่ไม่ได้มาตรฐาน คุณภาพที่ได้จะต่ำลงและทำให้หัวฉีดมีปัญหาด้วยนะครับ


Multi-Benefit


(เครื่องแบบในรูปนี่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนนะครับ 5555)


[Advertorial]
แก้ไขข้อความเมื่อ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่