สำหรับคนที่คิดจะมีลูกคนที่ 2,3,4 หรือมากกว่านั้น แต่ยังคงลังเลเพราะไหนจะคนเลี้ยง ไหนจะค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น คงได้ดีใจกันบ้างเพราะ เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2561 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีสำหรับคนที่จะมีบุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในปี 2561 เป็นต้นไป โดยใจความสำคัญคือการเพิ่มค่าลดหย่อนบุตรตั้งแต่คนที่ 2 ของผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ให้สามารถหักลดหย่อนได้เพิ่มจากเดิม 30,000 บาทเป็น 60,000 บาท
อีกทั้งยังมีสิทธิในการนำค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท โดยค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรที่จ่ายไปจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 นะ โดยถ้าใครคลอดข้ามปีภาษี เช่น ตั้งครรภ์ปีนี้แล้วมีกำหนดคลอดในปีหน้า ก็สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่เมื่อรวม 2 ปีภาษีเข้าด้วยกันแล้วจะต้องไม่เกิน 60,000 บาทต่อการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง
เงื่อนไขสำคัญของการใช้สิทธิลดหย่อน คือ ต้องไม่ได้ใช้สิทธิของประกันสังคม หรือสิทธิของข้าราชการ ดังนั้นมนุษย์เงินเดือนอย่างเราที่อยู่ในระบบประกันสังคมอยู่แล้วจะไม่สามารถนำค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรมาลดหย่อนภาษีได้ คงมีหลายๆ คนสงสัยว่าทำไมล่ะ ก็เสียภาษีเหมือนกัน ก็ต้องบอกว่าจริงๆ แล้ว ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมสามารถเบิกค่าคลอดบุตร และ เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จึงไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้
หลายคนจึงเกิดข้อสงสัยขึ้นว่า การใช้สิทธิประกันสังคม กับ การใช้สิทธิลดหย่อนค่าคลอดบุตรทางภาษี แตกต่างกันอย่างไร
K-Expert จะมาช่วยเปรียบเทียบให้เข้าใจกันครับ
การใช้สิทธิประกันสังคม
ผู้ประกันตนประกันสังคมที่ได้รับสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเมื่อคลอดบุตรคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 โดยได้รับสิทธิแตกต่างกันดังนี้ครับ
ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไปที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง และหากเป็นฝ่ายหญิงยังได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรเหมาจ่ายร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วันอีกด้วย ซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยจะคิดจากฐานค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม โดยคิดจากฐานสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ดังนั้น หากเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรรวม 22,500 บาท (7,500 x 3) โดยเมื่อรวมทั้งสองส่วนนี้แล้วหากเป็นฝ่ายหญิงจะได้รับเงินทั้งหมด 35,500 บาท (13,000 + 22,500) ครับ
ผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 คือ คนที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน และสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจหลังลาออกจากงานภายใน 6 เดือน ซึ่งสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง เช่นเดียวกับผู้ประกันตนมาตรา 33 แต่ในส่วนของเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรเหมาจ่ายร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน ของฝ่ายหญิงจะคิดจากฐานสูงสุดไม่เกินเดือนละ 4,800 บาท ดังนั้น จะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรรวม 7,200 บาท (2,400 x 3) เมื่อรวมกันแล้ว ผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 จะได้รับเงินทั้งหมด 20,200 บาท (13,000 + 7,200) ครับ
*ทั้งนี้สิทธิในการรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรทั้งผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 จะได้รับเงินดังกล่าวถึงแค่เพียงลูกคนที่ 2 เท่านั้นนะ นอกจากนี้ ผู้ประกันตนยังมีสิทธิได้รับเงินเพื่อสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน โดยจะจ่ายให้ลูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ครั้งละไม่เกิน 3 คน
ผู้ที่จะใช้สิทธิประกันสังคมสามารถไปยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ภายในเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่คลอดบุตร โดยอย่าลืมเตรียมเอกสารต่างๆ ไปให้ครบด้วยนะครับ
การใช้สิทธิค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรไปหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษี
สำหรับคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม การนำค่าคลอดบุตร และค่าฝากครรภ์ที่เกิดขึ้นจริงมาลดหย่อนภาษีจะสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 60,000 บาท (แต่หากค่าคลอดบุตรอยู่ที่ 45,000 บาทก็จะสามาถนำมาลดหย่อนได้เท่ากับยอดที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้นนะ) ส่วนจะลดภาษีได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฐานภาษีแต่ละคนครับ เช่น หากฐานภาษีอยู่ที่ 30% เมื่อนำค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรมาลดหย่อนภาษีสูงสุด 60,000 บาทในปี 2561 เท่ากับว่าจะประหยัดภาษีได้ 18,000 บาท โดยการได้รับเงินคืนทางภาษีจะต้องรอจนถึงปี 2562 นะครับ
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษีนั้น ก็อย่าลืมเก็บใบเสร็จกันไว้ให้ดี โดยสามารถกรอกลดหย่อนเพื่อคำนวณภาษีกับกรมสรรพากรในปีถัดไปครับ
นอกจากเรื่องประกันสังคมและการลดหย่อนภาษีที่คนจะมีลูกต้องเตรียมพร้อมกันแล้ว เชื่อว่าคงมีอีกหลายเรื่องที่คนจะวางแผนมีลูกต้องเตรียมพร้อมเอาไว้ คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนอยากแชร์แนวทางการรับมือเรื่องต่างๆ สามารถแชร์กันได้เลยนะครับ
เปรียบเทียบสิทธิลดหย่อนภาษีด้วยค่าคลอดบุตรตัวใหม่ กับสิทธิจากประกันสังคม
สำหรับคนที่คิดจะมีลูกคนที่ 2,3,4 หรือมากกว่านั้น แต่ยังคงลังเลเพราะไหนจะคนเลี้ยง ไหนจะค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น คงได้ดีใจกันบ้างเพราะ เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2561 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีสำหรับคนที่จะมีบุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในปี 2561 เป็นต้นไป โดยใจความสำคัญคือการเพิ่มค่าลดหย่อนบุตรตั้งแต่คนที่ 2 ของผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ให้สามารถหักลดหย่อนได้เพิ่มจากเดิม 30,000 บาทเป็น 60,000 บาท
อีกทั้งยังมีสิทธิในการนำค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท โดยค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรที่จ่ายไปจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 นะ โดยถ้าใครคลอดข้ามปีภาษี เช่น ตั้งครรภ์ปีนี้แล้วมีกำหนดคลอดในปีหน้า ก็สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่เมื่อรวม 2 ปีภาษีเข้าด้วยกันแล้วจะต้องไม่เกิน 60,000 บาทต่อการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง
เงื่อนไขสำคัญของการใช้สิทธิลดหย่อน คือ ต้องไม่ได้ใช้สิทธิของประกันสังคม หรือสิทธิของข้าราชการ ดังนั้นมนุษย์เงินเดือนอย่างเราที่อยู่ในระบบประกันสังคมอยู่แล้วจะไม่สามารถนำค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรมาลดหย่อนภาษีได้ คงมีหลายๆ คนสงสัยว่าทำไมล่ะ ก็เสียภาษีเหมือนกัน ก็ต้องบอกว่าจริงๆ แล้ว ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมสามารถเบิกค่าคลอดบุตร และ เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จึงไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้
หลายคนจึงเกิดข้อสงสัยขึ้นว่า การใช้สิทธิประกันสังคม กับ การใช้สิทธิลดหย่อนค่าคลอดบุตรทางภาษี แตกต่างกันอย่างไร K-Expert จะมาช่วยเปรียบเทียบให้เข้าใจกันครับ
การใช้สิทธิประกันสังคม
ผู้ประกันตนประกันสังคมที่ได้รับสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเมื่อคลอดบุตรคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 โดยได้รับสิทธิแตกต่างกันดังนี้ครับ
ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไปที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง และหากเป็นฝ่ายหญิงยังได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรเหมาจ่ายร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วันอีกด้วย ซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยจะคิดจากฐานค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม โดยคิดจากฐานสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ดังนั้น หากเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรรวม 22,500 บาท (7,500 x 3) โดยเมื่อรวมทั้งสองส่วนนี้แล้วหากเป็นฝ่ายหญิงจะได้รับเงินทั้งหมด 35,500 บาท (13,000 + 22,500) ครับ
ผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 คือ คนที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน และสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจหลังลาออกจากงานภายใน 6 เดือน ซึ่งสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง เช่นเดียวกับผู้ประกันตนมาตรา 33 แต่ในส่วนของเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรเหมาจ่ายร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน ของฝ่ายหญิงจะคิดจากฐานสูงสุดไม่เกินเดือนละ 4,800 บาท ดังนั้น จะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรรวม 7,200 บาท (2,400 x 3) เมื่อรวมกันแล้ว ผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 จะได้รับเงินทั้งหมด 20,200 บาท (13,000 + 7,200) ครับ
*ทั้งนี้สิทธิในการรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรทั้งผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 จะได้รับเงินดังกล่าวถึงแค่เพียงลูกคนที่ 2 เท่านั้นนะ นอกจากนี้ ผู้ประกันตนยังมีสิทธิได้รับเงินเพื่อสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน โดยจะจ่ายให้ลูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ครั้งละไม่เกิน 3 คน
ผู้ที่จะใช้สิทธิประกันสังคมสามารถไปยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ภายในเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่คลอดบุตร โดยอย่าลืมเตรียมเอกสารต่างๆ ไปให้ครบด้วยนะครับ
การใช้สิทธิค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรไปหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษี
สำหรับคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม การนำค่าคลอดบุตร และค่าฝากครรภ์ที่เกิดขึ้นจริงมาลดหย่อนภาษีจะสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 60,000 บาท (แต่หากค่าคลอดบุตรอยู่ที่ 45,000 บาทก็จะสามาถนำมาลดหย่อนได้เท่ากับยอดที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้นนะ) ส่วนจะลดภาษีได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฐานภาษีแต่ละคนครับ เช่น หากฐานภาษีอยู่ที่ 30% เมื่อนำค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรมาลดหย่อนภาษีสูงสุด 60,000 บาทในปี 2561 เท่ากับว่าจะประหยัดภาษีได้ 18,000 บาท โดยการได้รับเงินคืนทางภาษีจะต้องรอจนถึงปี 2562 นะครับ
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษีนั้น ก็อย่าลืมเก็บใบเสร็จกันไว้ให้ดี โดยสามารถกรอกลดหย่อนเพื่อคำนวณภาษีกับกรมสรรพากรในปีถัดไปครับ
นอกจากเรื่องประกันสังคมและการลดหย่อนภาษีที่คนจะมีลูกต้องเตรียมพร้อมกันแล้ว เชื่อว่าคงมีอีกหลายเรื่องที่คนจะวางแผนมีลูกต้องเตรียมพร้อมเอาไว้ คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนอยากแชร์แนวทางการรับมือเรื่องต่างๆ สามารถแชร์กันได้เลยนะครับ