คิดมาซักพักแล้วว่าอยากเขียนเรื่องราวของคอนเซปต์ Velvet ของ Red Velvet แต่ไม่รู้ว่าจะเขียนเกี่ยวกับอะไรดี จนก็มาคิดได้ว่า เล่าเรื่องราวการเดินทางของคอนเซปต์ Velvet จากคอนเซปต์ที่แฟนคลับระแวงและไม่ค่อยต้องการ จนในที่สุดก็เข้ามานั่งในใจแฟนคลับและคนทั่วไปได้สำเร็จน่าจะดี คิดเห็นยังไงติชมได้เลยนะครับ
From Be Natural to Bad Boy – The Journey of "Velvet"
นับตั้งแต่ปล่อยเพลง Happiness ซึ่งเป็นเพลงเดบิวต์ของวงมา ในการให้สัมภาษณ์ถึงคอนเซปต์วงทุกครั้ง สมาชิก (โดยเฉพาะไอรีน) ก็มักจะอธิบายอยู่เสมอว่า Red Velvet เป็นวงที่มี 2 คอนเซปต์ในวงเดียว นั่นก็คือ
Red ที่โชว์ให้เห็นภาพลักษณ์ที่สดใส มั่นใจ และสนุกสนาน กับอีกภาพลักษณ์คือ
Velvet ที่ลึกลับ หรูหรา และเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่า ณ ขณะนั้น ยังไม่มีใครเข้าใจถึงคอนเซปต์วงที่ว่านี้ บางคนอาจจะคิดว่าคงถูกให้ท่องจำและพูดไปงั้นๆ เพราะถึงเวลาจริงๆก็คงออกมาแต่เพลงเต้นสนุกสนานสดใส แบบที่ Happiness แสดงออกมาเท่านั้น
จนกระทั่งการมาถึงของ
Be Natural
Be Natural นับเป็นเพลงแรกของคอนเซปต์ Velvet ที่ถูกปล่อยออกมา โดยเป็นการรีเมคเพลงดังของเกิร์ลกรุ๊ปในตำนาน S.E.S ซึ่งในเพลงนี้ Red Velvet มาพร้อมกับลุคสาวในชุดสูท กับท่าเต้นที่เน้นเสน่ห์ของความเป็นผู้หญิงในแบบที่คอนเซปต์ Velvet จะสื่อออกมา
แต่กระนั้น หลายคนก็ยังไม่เข้าใจ และยังมีเสียงต่อต้านออกมา
สืบเนื่องจากในช่วงเดบิวต์แรกๆ Red Velvet ต้องเจอกับกระแสต่อต้านมากมาย เพราะโชคร้ายที่ค่ายเลือกปล่อยพวกเธอออกมาในช่วงที่วงรุ่นพี่อย่าง f(x) กำลังประสบดราม่าใหญ่จากพฤติกรรมของซอลลี่ จนการโปรโมทเพลง Red Light ของ f(x) ต้องหยุดกลางคัน บวกกับความสะเพร่าของทีมงานที่เอารูประเบิดปรมาณูใส่ลงใน MV เพลง Happiness ทำให้พวกเธอถูกโจมตีและถูกต่อต้าน ซ้ำร้ายช่วงที่ปล่อยเพลง Be Natural ยังเป็นช่วงที่เกิดดราม่าใหญ่ของโซนยอชิแด เมื่อเจสสิก้าถูกปลดออกจากวง หลายคนจึงมองพวกเธอเป็น "วงบังหน้า" ที่ค่ายพยายามเอามากลบกระแสดราม่าต่างๆในขณะนั้น
ในขณะที่ตัวเพลงและคอนเซปต์ของวงเองก็ยังไม่มีใครเข้าใจ ด้วยการที่อยู่ๆพวกเธอก็สลัดลุคสาวปลายผม 4 สีกับเพลงสดใสมาเป็นสาวชุดสูทกับเพลงเนิบๆ ทำให้หลายๆคนตั้งตัวไม่ถูก และมองว่าพวกเธอเปลี่ยนคอนเซปต์เร็วเกินไป และแน่นอนว่า เมื่อ Be Natural เป็นเพลงรีเมค ย่อมต้องเกิดการเปรียบเทียบอย่างเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอน กระแสตอบรับต่อเพลงส่วนใหญ่ก็ไม่สู้ดีนัก บางคนกล่าวว่าพวกเธอทำได้ไม่ถึงที่ S.E.S ทำไว้ ที่ร้ายที่สุดคือ มีการกล่าวถึง Red Velvet ว่าจะเป็น "วงแรกของ SM ที่ล้มเหลว" (หลังจากที่เคยพูดแบบนี้กับวงรุ่นพี่อย่างโซนยอชิแดหรือ EXO มาแล้ว)
ผลสรุป Be Natural กระแสตอบรับจึงถือว่าไม่ดีนัก และยังไม่สามารถทำให้คนเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่า "คอนเซปต์ Velvet" ได้
แค่ในจุดเริ่มต้น การเดินทางของ Velvet ก็ชัดเจนว่าไม่ใช่เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบซะแล้ว
It just comes Automatic
5 เดือนให้หลังจากเพลง Be Natural ค่ายก็ประกาศการคัมแบคของ Red Velvet กับมินิอัลบั้มชุดแรก พร้อมเปิดตัวสมาชิกใหม่อย่าง
เยริ เข้ามาในวง อีกทั้งปล่อยทีเซอร์ที่ครั้งนี้ วงมาในลุคสาวผมบลอนด์สดใส… แล้วอยู่ๆในช่วงกลางคืนของวันเดียวกัน ก็มีการเปลี่ยนคอนเซปต์รูปทีเซอร์เป็นสาวลึกลับภาพพื้นหลังสีดำ
สร้างปริศนาอย่างมากมายให้แฟนคลับและคนทั่วไปว่า พวกเธอกลับมาครั้งนี้จะมาในคอนเซปต์ไหนกันแน่ จนในที่สุด Music Video เพลง
Automatic ก็ถูกปล่อยออกมา โดยถือว่าเป็น Pre-Release Single ของการคัมแบคอัลบั้มของวงด้วยการโปรโมทแบบ Double Title Track
แน่นอนว่า ด้วยความที่เพลงมาแนวคล้ายๆกับ Be Natural ผลตอบรับจึงเป็นไปในลักษณะที่ถูกมองว่าเพลงเนิบๆและฟังยาก อย่างไรก็ตาม ด้วยเพลงนี้ก็เริ่มทำให้คนเริ่มเข้าใจถึงคอนเซปต์ของวงว่า นี่คือวงที่มี 2 คอนเซปต์ในวงเดียว และยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อเพลง Ice Cream Cake ถูกปล่อยออกมา
แม้ในแง่ผลตอบรับด้านชาร์ทและกระแส Automatic จะถือว่าไม่ค่อยดีนัก เพราะ 1.เพลงนี้คือเพลงโปรโมทรอง 2.กระแสของเพลงหลักอย่าง Ice Cream Cake มาแรงมากจนกลบ Automatic มิด แต่สิ่งที่ Automatic ทำได้ ในขณะที่ Be Natural ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก คือการทำให้คนเข้าใจในที่สุดว่า Red Velvet ประกอบด้วย 2 คอนเซปต์ในวงเดียว คือ Red และ Velvet ดังที่ไอรีนพูดถึงทุกครั้งในการสัมภาษณ์ถึงคอนเซปต์วงในช่วงเดบิวต์แรกๆ และในภายหลัง Automatic ก็ถูกมองว่าคือเพลงที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นคอนเซปต์ Velvet ได้ดีที่สุด
The Velvet
ภายหลังจากการโปรโมทอัลบั้ม Ice Cream Cake จบลงไป 6 เดือน Red Velvet ได้คัมแบคอีกครั้งกับอัลบั้มเต็มชุดแรก The Red ที่มีเพลง Dumb Dumb เป็นเพลงโปรโมท ซึ่งด้วยชื่ออัลบั้มบวกกับเพลงในอัลบั้มที่แทบไม่มีเพลงช้าเลย จึงแน่นอนว่า จะมีอัลบั้ม The Velvet ออกมาต่อ หลายคนเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ จนกระทั่งในที่สุด เดือนมีนาคมปี 2016 อัลบั้ม The Velvet และเพลง
One of These Nights ก็ถูกปล่อยออกมา
ดังที่เคยเล่าไปในกระทู้ 1 ปี The Velvet ทันทีที่เพลง One of These Nights ถูกปล่อยออกมา ความพิศวงก็เกิดขึ้น เพราะนี่ไม่ใช่เพลง Slow Groove R&B แบบที่ Be Natural กับ Automatic เป็น แต่คือเพลงบัลลาดเต็มขั้น ที่มาพร้อมท่าเต้นที่หลายๆคนมองว่า "ไม่เข้ากับเพลง" ที่แย่ไปกว่านั้น คือ กระแสตอบรับเพลงนี้ถ้าเทียบกับเพลงก่อนหน้าอย่าง Ice Cream Cake และ Dumb Dumb แล้ว One of These Nights นับเป็นเพลงที่ทำให้กระแสวงสะดุดและลดลงไป เพราะด้วยค่านิยมไม่ฟังเพลงบัลลาดของไอดอลของคนเกาหลี บวกกับการปล่อยเพลงผิดฤดู (ปล่อยเพลงบัลลาดในฤดูใบไม้ผลิ ที่คนมักจะเลือกฟังเพลงจังหวะกลางๆที่สร้างบรรยากาศ Feel Good) เมื่อผลตอบรับไม่ดีเท่าที่เคย บางคนจึงเลือกไม่ติดตาม Red Velvet ต่อ นับเป็นช่วงวัดใจแฟนคลับที่แท้จริง และสร้างความกดดันให้ทั้งศิลปินและแฟนคลับเป็นอย่างมาก
ภายหลังจากเพลง One of These Nights ทำให้แฟนคลับแทบทั้งด้อมเกิดความกลัวและไม่ต้องการคอนเซปต์ Velvet อีก (ยกเว้นแฟนอินเตอร์บางส่วนที่นิยมคอนเซปต์ Velvet และเรียกร้องให้นำคอนเซปต์นี้กลับมาเรื่อยๆ) ด้วยผลตอบรับของทั้ง 3 เพลงที่ผ่านมาที่ผลตอบรับไม่ดีเท่าคอนเซปต์ Red เป็นอย่างมาก และส่งผลให้เกิดบรรยากาศของความกดดันเป็นอย่างมาก (ยังไม่รวมถึงบรรดาแอนตี้ที่ได้ทีจากการที่กระแสของวงลดลงในการกดวงและเยาะเย้ยแฟนคลับ) ซึ่งก็เป็นธรรมดาของแฟนคลับที่อยากเห็นวงที่ตัวเองชื่นชอบประสบความสำเร็จและไม่โดนดูถูก ย่อมไม่อยากให้มีการนำเพลงและคอนเซปต์ที่ทำให้ตัววงกระแสลดลงกลับมาอีก
นับว่าเป็นเรื่องดีของ ReVeluv ที่หลังจาก One of These Nights มา SM ได้กู้กระแสของ Red Velvet ให้กลับมาได้จากเพลงรวมคอนเซปต์อย่าง Russian Roulette ก่อนจะส่งต่อกระแสให้พีคขึ้นเรื่อยๆด้วยเพลงคอนเซปต์ Red อย่าง Rookie จนถึงเพลงที่ส่งให้วงกลายเป็นแถวหน้าอย่างมั่นคงและเต็มภาคภูมิอย่าง Red Flavor
The Perfect Velvet
เดือนพฤศจิกายนปี 2017 Red Velvet ประกาศคัมแบคอีกครั้งพร้อมอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 ที่มีเพลง
Peek-A-Boo เป็นเพลงโปรโมทหลัก บรรยากาศของความวิตกกังวลของลัฟวี่จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้า SM ไม่ได้ประกาศชื่ออัลบั้มนี้ว่า
Perfect Velvet เพราะนั่นหมายความว่าค่ายตัดสินใจนำคอนเซปต์ Velvet กลับมาใช้ในการโปรโมทเป็นหลักอีกครั้ง
จากสิ่งที่อัลบั้ม The Velvet และเพลง One of These Nights ทิ้งไว้ ทำให้ลัฟวี่หลายคนมีอาการแพนิคว่า SM ยังไม่เข็ดกับคอนเซปต์ Velvet อีกหรืออย่างไร (ใช้คำสามัญหน่อยคือ "จะเอาให้ได้ใช่ป่ะ?!") และค่อนข้างมีความกังวลถึงผลตอบรับ รวมทั้งยังไม่ค่อยไว้ใจถึงสิ่งที่ SM บอกว่าอัลบั้มนี้จะแสดงให้เห็นถึง "Velvet ที่ถูกอัพเกรดขึ้น" จนกระทั่งเพลง Peek-A-Boo ถูกปล่อยออกมา
ด้วยความที่ Peek-A-Boo ไม่ได้เป็น 100% Velvet แต่มีความ Red ผสมอยู่ บวกกับการที่เพลงค่อนข้างฟังง่ายกว่าเพลง Velvet อื่นๆ อีกทั้งกระแสและความพีคที่ส่งต่อมาจาก Red Flavor ทำให้ Peek-A-Boo สามารถนำคอนเซปต์ Velvet ให้ได้รับการยอมรับและเปิดใจให้จากทั้งลัฟวี่และคนทั่วไปมากขึ้น แม้จะมีความหืดขึ้นคอในแง่ของการชิงถ้วยรายการเพลง ที่กว่าจะได้ถ้วยแรกก็ปาเข้าไปวันสุดท้ายของการโปรโมท แต่ยอดต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดดิจิตอลนั้น ก็ทำให้ลัฟวี่เริ่มโล่งใจไปได้เปราะนึง
ล่วงเลยมาถึงเดือนมกราคม 2018 SM ประกาศคัมแบค Red Velvet พร้อมอัลบั้มรีแพคเกจ
The Perfect Red Velvet พร้อมประกาศชื่อเพลงโปรโมทในนาม
Bad Boy ซึ่งด้วยคอนเซปต์ที่ออกมานั้น ทำให้หลายคนคิดว่าตัวเพลงน่าจะมาในรูปแบบ Red หรือ Red+Velvet จนกระทั่งตัวเพลงออกมา
ทันทีที่ Bad Boy ถูกปล่อยออกมาก็เกิดความกังวลขึ้นในหมู่ลัฟวี่อีกครั้ง เพราะนี่คือเพลงแบบที่อาจเรียกได้ว่า 100% Velvet เลย ซึ่งแน่นอนว่ามันจะมาพร้อมกับคำวิจารณ์ว่า เพลงเนิบเกินไป ทำให้มีความกังวลถึงผลตอบรับต่อเพลง Bad Boy อย่างไรก็ตาม ความกังวลนั้นได้หายไปอย่างรวดเร็ว เมื่อ Bad Boy สามารถขึ้นไปอยู่บนอันดับสูงๆของชาร์ทต่างได้ และเกือบจะทำ All Kill Realtime ได้แล้ว (ติดแค่ Mnet เจ้าเก่าเจ้าเดียว) บวกกับยอดกดไลค์ MV ใน YouTube ก็สูงถึง 1 ล้านครั้งเป็นเพลงแรกของวง และชนะถ้วยรายการเพลงไปได้ 4 ถ้วย (ได้ถ้วยมากกว่าเพลงหลักของอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 อย่าง Peek-A-Boo เสียอีก) ทำให้เราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า Bad Boy เป็นอีกเพลงของ Red Velvet ที่ประสบความสำเร็จ
การเดินทางของ Velvet นั้น แม้จะไม่สวยหรูงดงามและได้รับการตอบรับที่ดีตั้งแต่เริ่มแบบ Red แต่สุดท้าย Velvet ก็สามารถเข้ามานั่งในใจของแฟนคลับและคนทั่วไปได้ สมกับความพยายามของทั้ง SM และ Red Velvet ที่จะผลักดันความเป็นวง 2 คอนเซปต์ของวงให้ประสบความสำเร็จทั้ง Red และ Velvet เพื่อให้ Story ของวงสมบูรณ์แบบ
[K-POP] From Be Natural to Bad Boy – The Journey of "Velvet"
คิดมาซักพักแล้วว่าอยากเขียนเรื่องราวของคอนเซปต์ Velvet ของ Red Velvet แต่ไม่รู้ว่าจะเขียนเกี่ยวกับอะไรดี จนก็มาคิดได้ว่า เล่าเรื่องราวการเดินทางของคอนเซปต์ Velvet จากคอนเซปต์ที่แฟนคลับระแวงและไม่ค่อยต้องการ จนในที่สุดก็เข้ามานั่งในใจแฟนคลับและคนทั่วไปได้สำเร็จน่าจะดี คิดเห็นยังไงติชมได้เลยนะครับ
นับตั้งแต่ปล่อยเพลง Happiness ซึ่งเป็นเพลงเดบิวต์ของวงมา ในการให้สัมภาษณ์ถึงคอนเซปต์วงทุกครั้ง สมาชิก (โดยเฉพาะไอรีน) ก็มักจะอธิบายอยู่เสมอว่า Red Velvet เป็นวงที่มี 2 คอนเซปต์ในวงเดียว นั่นก็คือ Red ที่โชว์ให้เห็นภาพลักษณ์ที่สดใส มั่นใจ และสนุกสนาน กับอีกภาพลักษณ์คือ Velvet ที่ลึกลับ หรูหรา และเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่า ณ ขณะนั้น ยังไม่มีใครเข้าใจถึงคอนเซปต์วงที่ว่านี้ บางคนอาจจะคิดว่าคงถูกให้ท่องจำและพูดไปงั้นๆ เพราะถึงเวลาจริงๆก็คงออกมาแต่เพลงเต้นสนุกสนานสดใส แบบที่ Happiness แสดงออกมาเท่านั้น
จนกระทั่งการมาถึงของ Be Natural
Be Natural นับเป็นเพลงแรกของคอนเซปต์ Velvet ที่ถูกปล่อยออกมา โดยเป็นการรีเมคเพลงดังของเกิร์ลกรุ๊ปในตำนาน S.E.S ซึ่งในเพลงนี้ Red Velvet มาพร้อมกับลุคสาวในชุดสูท กับท่าเต้นที่เน้นเสน่ห์ของความเป็นผู้หญิงในแบบที่คอนเซปต์ Velvet จะสื่อออกมา
แต่กระนั้น หลายคนก็ยังไม่เข้าใจ และยังมีเสียงต่อต้านออกมา
สืบเนื่องจากในช่วงเดบิวต์แรกๆ Red Velvet ต้องเจอกับกระแสต่อต้านมากมาย เพราะโชคร้ายที่ค่ายเลือกปล่อยพวกเธอออกมาในช่วงที่วงรุ่นพี่อย่าง f(x) กำลังประสบดราม่าใหญ่จากพฤติกรรมของซอลลี่ จนการโปรโมทเพลง Red Light ของ f(x) ต้องหยุดกลางคัน บวกกับความสะเพร่าของทีมงานที่เอารูประเบิดปรมาณูใส่ลงใน MV เพลง Happiness ทำให้พวกเธอถูกโจมตีและถูกต่อต้าน ซ้ำร้ายช่วงที่ปล่อยเพลง Be Natural ยังเป็นช่วงที่เกิดดราม่าใหญ่ของโซนยอชิแด เมื่อเจสสิก้าถูกปลดออกจากวง หลายคนจึงมองพวกเธอเป็น "วงบังหน้า" ที่ค่ายพยายามเอามากลบกระแสดราม่าต่างๆในขณะนั้น
ในขณะที่ตัวเพลงและคอนเซปต์ของวงเองก็ยังไม่มีใครเข้าใจ ด้วยการที่อยู่ๆพวกเธอก็สลัดลุคสาวปลายผม 4 สีกับเพลงสดใสมาเป็นสาวชุดสูทกับเพลงเนิบๆ ทำให้หลายๆคนตั้งตัวไม่ถูก และมองว่าพวกเธอเปลี่ยนคอนเซปต์เร็วเกินไป และแน่นอนว่า เมื่อ Be Natural เป็นเพลงรีเมค ย่อมต้องเกิดการเปรียบเทียบอย่างเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอน กระแสตอบรับต่อเพลงส่วนใหญ่ก็ไม่สู้ดีนัก บางคนกล่าวว่าพวกเธอทำได้ไม่ถึงที่ S.E.S ทำไว้ ที่ร้ายที่สุดคือ มีการกล่าวถึง Red Velvet ว่าจะเป็น "วงแรกของ SM ที่ล้มเหลว" (หลังจากที่เคยพูดแบบนี้กับวงรุ่นพี่อย่างโซนยอชิแดหรือ EXO มาแล้ว)
ผลสรุป Be Natural กระแสตอบรับจึงถือว่าไม่ดีนัก และยังไม่สามารถทำให้คนเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่า "คอนเซปต์ Velvet" ได้
แค่ในจุดเริ่มต้น การเดินทางของ Velvet ก็ชัดเจนว่าไม่ใช่เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบซะแล้ว
5 เดือนให้หลังจากเพลง Be Natural ค่ายก็ประกาศการคัมแบคของ Red Velvet กับมินิอัลบั้มชุดแรก พร้อมเปิดตัวสมาชิกใหม่อย่าง เยริ เข้ามาในวง อีกทั้งปล่อยทีเซอร์ที่ครั้งนี้ วงมาในลุคสาวผมบลอนด์สดใส… แล้วอยู่ๆในช่วงกลางคืนของวันเดียวกัน ก็มีการเปลี่ยนคอนเซปต์รูปทีเซอร์เป็นสาวลึกลับภาพพื้นหลังสีดำ
สร้างปริศนาอย่างมากมายให้แฟนคลับและคนทั่วไปว่า พวกเธอกลับมาครั้งนี้จะมาในคอนเซปต์ไหนกันแน่ จนในที่สุด Music Video เพลง Automatic ก็ถูกปล่อยออกมา โดยถือว่าเป็น Pre-Release Single ของการคัมแบคอัลบั้มของวงด้วยการโปรโมทแบบ Double Title Track
แน่นอนว่า ด้วยความที่เพลงมาแนวคล้ายๆกับ Be Natural ผลตอบรับจึงเป็นไปในลักษณะที่ถูกมองว่าเพลงเนิบๆและฟังยาก อย่างไรก็ตาม ด้วยเพลงนี้ก็เริ่มทำให้คนเริ่มเข้าใจถึงคอนเซปต์ของวงว่า นี่คือวงที่มี 2 คอนเซปต์ในวงเดียว และยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อเพลง Ice Cream Cake ถูกปล่อยออกมา
แม้ในแง่ผลตอบรับด้านชาร์ทและกระแส Automatic จะถือว่าไม่ค่อยดีนัก เพราะ 1.เพลงนี้คือเพลงโปรโมทรอง 2.กระแสของเพลงหลักอย่าง Ice Cream Cake มาแรงมากจนกลบ Automatic มิด แต่สิ่งที่ Automatic ทำได้ ในขณะที่ Be Natural ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก คือการทำให้คนเข้าใจในที่สุดว่า Red Velvet ประกอบด้วย 2 คอนเซปต์ในวงเดียว คือ Red และ Velvet ดังที่ไอรีนพูดถึงทุกครั้งในการสัมภาษณ์ถึงคอนเซปต์วงในช่วงเดบิวต์แรกๆ และในภายหลัง Automatic ก็ถูกมองว่าคือเพลงที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นคอนเซปต์ Velvet ได้ดีที่สุด
ภายหลังจากการโปรโมทอัลบั้ม Ice Cream Cake จบลงไป 6 เดือน Red Velvet ได้คัมแบคอีกครั้งกับอัลบั้มเต็มชุดแรก The Red ที่มีเพลง Dumb Dumb เป็นเพลงโปรโมท ซึ่งด้วยชื่ออัลบั้มบวกกับเพลงในอัลบั้มที่แทบไม่มีเพลงช้าเลย จึงแน่นอนว่า จะมีอัลบั้ม The Velvet ออกมาต่อ หลายคนเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ จนกระทั่งในที่สุด เดือนมีนาคมปี 2016 อัลบั้ม The Velvet และเพลง One of These Nights ก็ถูกปล่อยออกมา
ดังที่เคยเล่าไปในกระทู้ 1 ปี The Velvet ทันทีที่เพลง One of These Nights ถูกปล่อยออกมา ความพิศวงก็เกิดขึ้น เพราะนี่ไม่ใช่เพลง Slow Groove R&B แบบที่ Be Natural กับ Automatic เป็น แต่คือเพลงบัลลาดเต็มขั้น ที่มาพร้อมท่าเต้นที่หลายๆคนมองว่า "ไม่เข้ากับเพลง" ที่แย่ไปกว่านั้น คือ กระแสตอบรับเพลงนี้ถ้าเทียบกับเพลงก่อนหน้าอย่าง Ice Cream Cake และ Dumb Dumb แล้ว One of These Nights นับเป็นเพลงที่ทำให้กระแสวงสะดุดและลดลงไป เพราะด้วยค่านิยมไม่ฟังเพลงบัลลาดของไอดอลของคนเกาหลี บวกกับการปล่อยเพลงผิดฤดู (ปล่อยเพลงบัลลาดในฤดูใบไม้ผลิ ที่คนมักจะเลือกฟังเพลงจังหวะกลางๆที่สร้างบรรยากาศ Feel Good) เมื่อผลตอบรับไม่ดีเท่าที่เคย บางคนจึงเลือกไม่ติดตาม Red Velvet ต่อ นับเป็นช่วงวัดใจแฟนคลับที่แท้จริง และสร้างความกดดันให้ทั้งศิลปินและแฟนคลับเป็นอย่างมาก
ภายหลังจากเพลง One of These Nights ทำให้แฟนคลับแทบทั้งด้อมเกิดความกลัวและไม่ต้องการคอนเซปต์ Velvet อีก (ยกเว้นแฟนอินเตอร์บางส่วนที่นิยมคอนเซปต์ Velvet และเรียกร้องให้นำคอนเซปต์นี้กลับมาเรื่อยๆ) ด้วยผลตอบรับของทั้ง 3 เพลงที่ผ่านมาที่ผลตอบรับไม่ดีเท่าคอนเซปต์ Red เป็นอย่างมาก และส่งผลให้เกิดบรรยากาศของความกดดันเป็นอย่างมาก (ยังไม่รวมถึงบรรดาแอนตี้ที่ได้ทีจากการที่กระแสของวงลดลงในการกดวงและเยาะเย้ยแฟนคลับ) ซึ่งก็เป็นธรรมดาของแฟนคลับที่อยากเห็นวงที่ตัวเองชื่นชอบประสบความสำเร็จและไม่โดนดูถูก ย่อมไม่อยากให้มีการนำเพลงและคอนเซปต์ที่ทำให้ตัววงกระแสลดลงกลับมาอีก
นับว่าเป็นเรื่องดีของ ReVeluv ที่หลังจาก One of These Nights มา SM ได้กู้กระแสของ Red Velvet ให้กลับมาได้จากเพลงรวมคอนเซปต์อย่าง Russian Roulette ก่อนจะส่งต่อกระแสให้พีคขึ้นเรื่อยๆด้วยเพลงคอนเซปต์ Red อย่าง Rookie จนถึงเพลงที่ส่งให้วงกลายเป็นแถวหน้าอย่างมั่นคงและเต็มภาคภูมิอย่าง Red Flavor
เดือนพฤศจิกายนปี 2017 Red Velvet ประกาศคัมแบคอีกครั้งพร้อมอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 ที่มีเพลง Peek-A-Boo เป็นเพลงโปรโมทหลัก บรรยากาศของความวิตกกังวลของลัฟวี่จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้า SM ไม่ได้ประกาศชื่ออัลบั้มนี้ว่า Perfect Velvet เพราะนั่นหมายความว่าค่ายตัดสินใจนำคอนเซปต์ Velvet กลับมาใช้ในการโปรโมทเป็นหลักอีกครั้ง
จากสิ่งที่อัลบั้ม The Velvet และเพลง One of These Nights ทิ้งไว้ ทำให้ลัฟวี่หลายคนมีอาการแพนิคว่า SM ยังไม่เข็ดกับคอนเซปต์ Velvet อีกหรืออย่างไร (ใช้คำสามัญหน่อยคือ "จะเอาให้ได้ใช่ป่ะ?!") และค่อนข้างมีความกังวลถึงผลตอบรับ รวมทั้งยังไม่ค่อยไว้ใจถึงสิ่งที่ SM บอกว่าอัลบั้มนี้จะแสดงให้เห็นถึง "Velvet ที่ถูกอัพเกรดขึ้น" จนกระทั่งเพลง Peek-A-Boo ถูกปล่อยออกมา
ด้วยความที่ Peek-A-Boo ไม่ได้เป็น 100% Velvet แต่มีความ Red ผสมอยู่ บวกกับการที่เพลงค่อนข้างฟังง่ายกว่าเพลง Velvet อื่นๆ อีกทั้งกระแสและความพีคที่ส่งต่อมาจาก Red Flavor ทำให้ Peek-A-Boo สามารถนำคอนเซปต์ Velvet ให้ได้รับการยอมรับและเปิดใจให้จากทั้งลัฟวี่และคนทั่วไปมากขึ้น แม้จะมีความหืดขึ้นคอในแง่ของการชิงถ้วยรายการเพลง ที่กว่าจะได้ถ้วยแรกก็ปาเข้าไปวันสุดท้ายของการโปรโมท แต่ยอดต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดดิจิตอลนั้น ก็ทำให้ลัฟวี่เริ่มโล่งใจไปได้เปราะนึง
ล่วงเลยมาถึงเดือนมกราคม 2018 SM ประกาศคัมแบค Red Velvet พร้อมอัลบั้มรีแพคเกจ The Perfect Red Velvet พร้อมประกาศชื่อเพลงโปรโมทในนาม Bad Boy ซึ่งด้วยคอนเซปต์ที่ออกมานั้น ทำให้หลายคนคิดว่าตัวเพลงน่าจะมาในรูปแบบ Red หรือ Red+Velvet จนกระทั่งตัวเพลงออกมา
ทันทีที่ Bad Boy ถูกปล่อยออกมาก็เกิดความกังวลขึ้นในหมู่ลัฟวี่อีกครั้ง เพราะนี่คือเพลงแบบที่อาจเรียกได้ว่า 100% Velvet เลย ซึ่งแน่นอนว่ามันจะมาพร้อมกับคำวิจารณ์ว่า เพลงเนิบเกินไป ทำให้มีความกังวลถึงผลตอบรับต่อเพลง Bad Boy อย่างไรก็ตาม ความกังวลนั้นได้หายไปอย่างรวดเร็ว เมื่อ Bad Boy สามารถขึ้นไปอยู่บนอันดับสูงๆของชาร์ทต่างได้ และเกือบจะทำ All Kill Realtime ได้แล้ว (ติดแค่ Mnet เจ้าเก่าเจ้าเดียว) บวกกับยอดกดไลค์ MV ใน YouTube ก็สูงถึง 1 ล้านครั้งเป็นเพลงแรกของวง และชนะถ้วยรายการเพลงไปได้ 4 ถ้วย (ได้ถ้วยมากกว่าเพลงหลักของอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 อย่าง Peek-A-Boo เสียอีก) ทำให้เราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า Bad Boy เป็นอีกเพลงของ Red Velvet ที่ประสบความสำเร็จ
การเดินทางของ Velvet นั้น แม้จะไม่สวยหรูงดงามและได้รับการตอบรับที่ดีตั้งแต่เริ่มแบบ Red แต่สุดท้าย Velvet ก็สามารถเข้ามานั่งในใจของแฟนคลับและคนทั่วไปได้ สมกับความพยายามของทั้ง SM และ Red Velvet ที่จะผลักดันความเป็นวง 2 คอนเซปต์ของวงให้ประสบความสำเร็จทั้ง Red และ Velvet เพื่อให้ Story ของวงสมบูรณ์แบบ