เศรษฐีสละข้าวมื้อสุดท้ายถวายทาน!!!เขายอมอดตายเพื่ออะไร?
เคยอ่านเรื่องราวที่นักปราชญ์ตะวันตกท่านหนึ่งกล่าวว่า วันหนึ่งถ้าเหลือเงินเพียงพอเป็นอาหารแค่หนึ่งมื้อหรือดอกไม้เพียงหนึ่งช่อ เขาบอกให้เลือกซื้อดอกไม้หนึ่งช่อมาชื่นชมเพื่อความสุขที่ยิ่งกว่า นับเป็นการสร้างความงาม ความชอบ ความพึงพอใจให้กับจิตนั่นเอง ตายไปพร้อมๆ กับความสุข ความพึงพอใจมันย่อมดีกว่า สุขยาวนานกว่าข้าวหนึ่งอิ่ม
เรื่องลักษณะนี้ ได้เคยเกิดขึ้นกับเศรษฐีท่านหนึ่งในอดีตดั่งเรื่องราวของท่านเมณฑกเศรษฐี ที่ยอมสละข้าวมื้อสุดท้าย (ไม่ได้กินข้าวมื้อนี้แล้วก็คือนอนรอความตายนั่นเอง) ยอมตายแต่เอาชนะความตระหนี่ ท่านเศรษฐีกล้าหาญตัดสินใจถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า…เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ไปติดตามกันค่ะ
อดีตชาติท่านเมณฑกเศรษฐีได้เกิดมาเป็นเศรษฐีในยุคที่ประสบฉาตกภัย คือภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง ฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกษตรกรไม่สามารถทำไร่ไถนา หรือทำสวนได้ เมื่อความแห้งแล้งระบาดไปทุกหย่อมหญ้า พืชพันธุ์ธัญญาหารทุกอย่างล้มตายจนหมด เศรษฐีจึงให้เอาข้าวเปลือกที่ฝังไว้ในหลุมมาหุงต้มกิน พอข้าวเปลือกในหลุมหมด ก็ให้พังดินที่เอาข้าวฉาบไว้ตามฝาผนังมาแช่น้ำ แบ่งกันรับประทาน พอยังชีวิตให้เป็นไป ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีวี่แววว่าฝนฟ้าจะตกลงมา
วันหนึ่งภรรยาเศรษฐีหุงข้าวสวยเสร็จแล้ว ก็แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน คดข้าวสวยส่วนหนึ่งวางไว้ข้างหน้าของเศรษฐี อีก ๔ ส่วนก็เป็นของลูกชาย ลูกสะใภ้ ทาสคนสนิท และของตัวเอง ทุกคนรู้ว่านี่เป็นอาหารมื้อสุดท้าย จากนั้นก็ต้องอดอยากหิวตายอย่างแน่นอน จึงไม่เร่งรีบลงมือรับประทาน ในขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งประทับอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ ตั้งใจจะออกไปบิณฑบาตเพื่อโปรดสัตว์ ท่านรู้ด้วยญาณทัสสนะว่า ฉาตกภัยเกิดขึ้นทั่วชมพูทวีป จะหาคนตักบาตรพระก็ยากเหลือเกิน ถ้าจะมีก็เห็นแต่ครอบครัวของท่านเศรษฐี ซึ่งมีเพียงอาหารมื้อสุดท้ายเท่านั้น พระองค์พอตรวจดูให้แน่ชัดก็ทราบว่า ผู้มีบุญทั้ง ๕ ท่านนี้ เป็นผู้มีศรัทธา รักบุญยิ่งกว่าชีวิต รู้จักวิธีการเตรียมเสบียงบุญเพื่อเดินทางไกลข้ามชาติให้กับตนเอง จึงถือบาตรเหาะไปยืนอยู่ที่ประตูเรือนของท่านเศรษฐี
ท่านเศรษฐีพอเห็นพระมาโปรดที่บ้าน เกิดมีจิตเลื่อมใส ท่านสอนตัวเองว่า “ที่เราต้องประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ เพราะเราไม่ได้ให้ทานในกาลก่อน อาหารมื้อนี้รักษาเราไว้ได้เพียงวันเดียวเท่านั้น ส่วนภัตที่เราถวายแด่พระผู้เป็นเจ้า จะนำประโยชน์เกื้อกูลมาให้แก่เราหลายโกฏิกัป (ระยะเวลายาวนาน)เราอย่าได้เห็นแก่ประโยชน์ตนเฉพาะแต่เพียงในชาตินี้เลย ด้วยจิตเลื่อมใสที่เราจะได้ถวายอาหารมื้อสุดท้ายแก่พระคุณเจ้านี้ ขอให้ภพชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายที่เราต้องอดอยากเถิด”
ฝ่ายภรรยาของท่านเศรษฐีก็ได้ถวายอาหารมื้อสุดท้ายของตนแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน รวมทั้งลูกชาย ลูกสะใภ้และแม้ทาสของเศรษฐีก็มีใจใหญ่ ยอมที่จะอดตายเหมือนเช่นกับเจ้านาย
เมื่อทุกคนอธิษฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกระทำอนุโมทนาในการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวของทุกๆ คนที่รักบุญยิ่งกว่าชีวิต แล้วท่านจึงเหาะขึ้นไปสู่ท้องฟ้า โดยบันดาลให้ทุกคนได้เห็นท่านเหาะกลับไปภูเขาคันธมาทน์ และจัดแบ่งภัตให้กับพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ด้วยอานุภาพของพระปัจเจกพุทธเจ้า ภัตนั้นสามารถแบ่งได้ทั่วถึงแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าหมดทั้ง ๕๐๐ องค์ เศรษฐีและทุกคนในครอบครัวได้เห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้น ยิ่งปีติดีใจว่า ตนเองได้ถวายทานถูกเนื้อนาบุญแล้ว
จากเรื่องราวของท่านเมณฑกเศรษฐี ทำให้เห็นว่า การทำทานไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะทำกันได้ง่ายๆ เพราะต้องเริ่มต้นกันที่จิตใจว่าจะกล้าหาญ เพื่อสลัดความตระหนี่ออกจากใจได้หรือไม่ ใจต้องรบชนะความโลภให้ได้เสียก่อน ท่านผู้รู้กล่าวถึงเปรียบทานกับการรบไว้ว่ามีสภาพเสมอกัน คือ นักรบแม้จะมีกำลังพลน้อย หากทุ่มเทชีวิตจิตใจ ใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหา ชำนาญในการยุทธ์ ก็สามารถมีชัยต่อข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่าได้ เจตนาเครื่องบริจาคก็เหมือนกัน แม้จะน้อย ย่อมชนะหมู่กิเลสมากได้ เพราะวัตถุประสงค์ในการบริจาค เพื่อจะเอาชนะความตระหนี่ในตัวของเราเอง ไม่ใช่เพื่อเอาชนะคนอื่น
ที่มา: dmc.tv/ธรรมะเพื่อประชาชน
อ่านรายละเอียดได้ที่ :
http://stillnessbright.today/archives/1908
เรียบเรียง: April.1977
เศรษฐีสละข้าวมื้อสุดท้ายถวายทาน!!!เขายอมอดตายเพื่ออะไร?
เคยอ่านเรื่องราวที่นักปราชญ์ตะวันตกท่านหนึ่งกล่าวว่า วันหนึ่งถ้าเหลือเงินเพียงพอเป็นอาหารแค่หนึ่งมื้อหรือดอกไม้เพียงหนึ่งช่อ เขาบอกให้เลือกซื้อดอกไม้หนึ่งช่อมาชื่นชมเพื่อความสุขที่ยิ่งกว่า นับเป็นการสร้างความงาม ความชอบ ความพึงพอใจให้กับจิตนั่นเอง ตายไปพร้อมๆ กับความสุข ความพึงพอใจมันย่อมดีกว่า สุขยาวนานกว่าข้าวหนึ่งอิ่ม
เรื่องลักษณะนี้ ได้เคยเกิดขึ้นกับเศรษฐีท่านหนึ่งในอดีตดั่งเรื่องราวของท่านเมณฑกเศรษฐี ที่ยอมสละข้าวมื้อสุดท้าย (ไม่ได้กินข้าวมื้อนี้แล้วก็คือนอนรอความตายนั่นเอง) ยอมตายแต่เอาชนะความตระหนี่ ท่านเศรษฐีกล้าหาญตัดสินใจถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า…เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ไปติดตามกันค่ะ
อดีตชาติท่านเมณฑกเศรษฐีได้เกิดมาเป็นเศรษฐีในยุคที่ประสบฉาตกภัย คือภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง ฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกษตรกรไม่สามารถทำไร่ไถนา หรือทำสวนได้ เมื่อความแห้งแล้งระบาดไปทุกหย่อมหญ้า พืชพันธุ์ธัญญาหารทุกอย่างล้มตายจนหมด เศรษฐีจึงให้เอาข้าวเปลือกที่ฝังไว้ในหลุมมาหุงต้มกิน พอข้าวเปลือกในหลุมหมด ก็ให้พังดินที่เอาข้าวฉาบไว้ตามฝาผนังมาแช่น้ำ แบ่งกันรับประทาน พอยังชีวิตให้เป็นไป ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีวี่แววว่าฝนฟ้าจะตกลงมา
วันหนึ่งภรรยาเศรษฐีหุงข้าวสวยเสร็จแล้ว ก็แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน คดข้าวสวยส่วนหนึ่งวางไว้ข้างหน้าของเศรษฐี อีก ๔ ส่วนก็เป็นของลูกชาย ลูกสะใภ้ ทาสคนสนิท และของตัวเอง ทุกคนรู้ว่านี่เป็นอาหารมื้อสุดท้าย จากนั้นก็ต้องอดอยากหิวตายอย่างแน่นอน จึงไม่เร่งรีบลงมือรับประทาน ในขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งประทับอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ ตั้งใจจะออกไปบิณฑบาตเพื่อโปรดสัตว์ ท่านรู้ด้วยญาณทัสสนะว่า ฉาตกภัยเกิดขึ้นทั่วชมพูทวีป จะหาคนตักบาตรพระก็ยากเหลือเกิน ถ้าจะมีก็เห็นแต่ครอบครัวของท่านเศรษฐี ซึ่งมีเพียงอาหารมื้อสุดท้ายเท่านั้น พระองค์พอตรวจดูให้แน่ชัดก็ทราบว่า ผู้มีบุญทั้ง ๕ ท่านนี้ เป็นผู้มีศรัทธา รักบุญยิ่งกว่าชีวิต รู้จักวิธีการเตรียมเสบียงบุญเพื่อเดินทางไกลข้ามชาติให้กับตนเอง จึงถือบาตรเหาะไปยืนอยู่ที่ประตูเรือนของท่านเศรษฐี
ท่านเศรษฐีพอเห็นพระมาโปรดที่บ้าน เกิดมีจิตเลื่อมใส ท่านสอนตัวเองว่า “ที่เราต้องประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ เพราะเราไม่ได้ให้ทานในกาลก่อน อาหารมื้อนี้รักษาเราไว้ได้เพียงวันเดียวเท่านั้น ส่วนภัตที่เราถวายแด่พระผู้เป็นเจ้า จะนำประโยชน์เกื้อกูลมาให้แก่เราหลายโกฏิกัป (ระยะเวลายาวนาน)เราอย่าได้เห็นแก่ประโยชน์ตนเฉพาะแต่เพียงในชาตินี้เลย ด้วยจิตเลื่อมใสที่เราจะได้ถวายอาหารมื้อสุดท้ายแก่พระคุณเจ้านี้ ขอให้ภพชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายที่เราต้องอดอยากเถิด”
ฝ่ายภรรยาของท่านเศรษฐีก็ได้ถวายอาหารมื้อสุดท้ายของตนแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน รวมทั้งลูกชาย ลูกสะใภ้และแม้ทาสของเศรษฐีก็มีใจใหญ่ ยอมที่จะอดตายเหมือนเช่นกับเจ้านาย
เมื่อทุกคนอธิษฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกระทำอนุโมทนาในการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวของทุกๆ คนที่รักบุญยิ่งกว่าชีวิต แล้วท่านจึงเหาะขึ้นไปสู่ท้องฟ้า โดยบันดาลให้ทุกคนได้เห็นท่านเหาะกลับไปภูเขาคันธมาทน์ และจัดแบ่งภัตให้กับพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ด้วยอานุภาพของพระปัจเจกพุทธเจ้า ภัตนั้นสามารถแบ่งได้ทั่วถึงแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าหมดทั้ง ๕๐๐ องค์ เศรษฐีและทุกคนในครอบครัวได้เห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้น ยิ่งปีติดีใจว่า ตนเองได้ถวายทานถูกเนื้อนาบุญแล้ว
จากเรื่องราวของท่านเมณฑกเศรษฐี ทำให้เห็นว่า การทำทานไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะทำกันได้ง่ายๆ เพราะต้องเริ่มต้นกันที่จิตใจว่าจะกล้าหาญ เพื่อสลัดความตระหนี่ออกจากใจได้หรือไม่ ใจต้องรบชนะความโลภให้ได้เสียก่อน ท่านผู้รู้กล่าวถึงเปรียบทานกับการรบไว้ว่ามีสภาพเสมอกัน คือ นักรบแม้จะมีกำลังพลน้อย หากทุ่มเทชีวิตจิตใจ ใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหา ชำนาญในการยุทธ์ ก็สามารถมีชัยต่อข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่าได้ เจตนาเครื่องบริจาคก็เหมือนกัน แม้จะน้อย ย่อมชนะหมู่กิเลสมากได้ เพราะวัตถุประสงค์ในการบริจาค เพื่อจะเอาชนะความตระหนี่ในตัวของเราเอง ไม่ใช่เพื่อเอาชนะคนอื่น
ที่มา: dmc.tv/ธรรมะเพื่อประชาชน
อ่านรายละเอียดได้ที่ : http://stillnessbright.today/archives/1908
เรียบเรียง: April.1977