จริงๆแล้วการไถ่ชีวิตโค-กระบือ มีรายละเอียดเยอะมากครับ แต่ผู้บริจาคส่วนมากยังไม่ค่อยรู้
ครอบครัวผมทำกิจการโรงฆ่าสัตว์มาเกิน 30 ปี ได้รับรู้เรื่องราวทั้งที่ผ่านเข้าหู ทั้งที่เห็นกับตาก็เยอะครับ
ด้วยความที่ตัวเองก็เป็นคนพุทธ (แต่ที่ทำก็อาชีพเลี้ยงปากท้อง) อย่างน้อยก็ขอทำในส่วนนี้ทดแทนแล้วกันครับ
ท่านใดสนใจเรื่องการไถ่ชีวิตโค-กระบือลองค่อยๆอ่านศึกษารายละเอียดกันนะครับ
ต่อตอน 2 ได้ที่
https://ppantip.com/topic/37458080
ปัจจุบันมีการเรี่ยรายบอกบุญเกี่ยวกับการไถ่ชีวิต-โคกระบือทั้งทางตรงและผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก แต่ผู้มีจิตศรัทธายังขาดความรู้ ความเข้าใจ และข้อมูลที่จำเป็นสำหรับประกอบการพิจารณา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นช่องทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดี สบโอกาสหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบ ทั้งการโก่งราคาเกินจริง หลอกให้โอนเงินทำบุญทั้งที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง หลอกลวงขายสัตว์ที่ไม่เหมาะแก่การนำไปเลี้ยงต่อ ทำธุรกิจบุญไถ่ชีวิตโค-กระบือแบบเวียนเทียน อีกทั้งหลายท่านยังถูกฉวยโอกาสจากผู้ที่มาขอรับบริจาคโคไปเลี้ยง โดยแอบนำสัตว์ที่ได้รับการไถ่ชีวิตไปขายต่อในภายหลัง (ผมไม่ขอลงรายละเอียดเรื่องนี้มากนะครับ อยากให้ค่อยมาพูดคุยกันต่ออีกทีนึง อันนี้ขอเน้นคู่มือวิธีการไถ่ชีวิตก่อน)
โพสต์นี้ขอเป็นสื่อกลางให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านได้รับข้อมูล และสามารถทำบุญไถ่ชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ที่ต้องการครับ
**********************************************
ข้อมูลยืนยันตัวตนของผม
โรงฆ่าสัตว์วัฒนามีทโปรดัค 41/1 หมู่ 3 ตำบลคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110
เปิดดำเนินการมากว่า 30 ปี โดยตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 30ไร่ ณ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีกำลังการผลิตสูงสุด 50-60 ตัว/วัน
ปัจจุบันโรงฆ่าสัตว์ได้จัดตั้งศูนย์ไถ่ชีวิตโค-กระบือขึ้นมา และได้ร่วมกับโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน สามารถเข้ามาไถ่ชีวิตโค-กระบือโดยตรงจากโรงฆ่าสัตว์ เพื่อนำไปเลี้ยงต่อหรือบริจาคให้แก่โครงการธนาคารโค-กระบือฯ เพื่อที่จะจัดสรรให้แก่เกษตรกรผู้ขาดแคลนที่มาลงทะเบียนไว้กับโครงการฯต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์ไถ่ชีวิตโค-กระบือ โรงฆ่าสัตว์วัฒนามีทโปรดัค
www.facebook.com/wattanameat
โทร 098-564-6636
Line ID: @savememorr
***************************************************
คู่มือการไถ่ชีวิตโค-กระบือ
***************************************************
1.กำหนดวัตถุประสงค์ – ไถ่ไปไหน?
วัตถุประสงค์การไถ่ชีวิตจะกำหนดทิศทางการเลือกซื้อวัวไถ่ การเลือกที่ปล่อยวัว และอื่นๆทั้งหมดครับ
1.1 • อยากให้สัตว์ที่เราไถ่มีชีวิตอยู่ตลอดไปจนสิ้นอายุไข
>>>> นำไปเลี้ยงเองตามไร่ สวน (ได้ประโยชน์เรื่องตัดหญ้า และผลิตปุ๋ย)
หากท่านมีไร่มีสวน มีความสามารถดูแลได้ ตรงนี้คือทางเลือกที่ดีที่สุดครับ เพราะการไถ่ชีวิตเค้าแล้วเหมือนให้เค้าเกิดใหม่ เราก็เหมือนพ่อแม่ผู้ปกครอง ใครจะมาดูแลลูกเราได้ดีเท่าตัวเราเองจริงมั้ยครับ จริงๆแล้วการเลี้ยงน้องๆเค้าดูแลไม่ยากครับ สามารถปล่อยเดินตามไร่สวนบ้านเราที่มีรั้วรอบขอบชิดได้ จากสวนที่เคยมีหญ้าขึ้นรกรุงรัง ถ้าเป็นน้องๆควายจะจัดการตัดหญ้า (กิน) ให้ท่านตนโล่งเตียนติดพื้นกันเลยทีเดียว ส่วนที่พักอาศัยเค้าก็ขอแค่มีโรงเรือนหลังคากันแดดกันฝน มีแหล่งน้ำสะอาด(ถังน้ำหรือบ่อปูนก็ได้) มีคนดูแลให้อาหารข้นเพิ่มเติมบ้าง ทำการฉีดยาวัคซีนปีละ1-2ครั้ง หรือคอยระวังช่วงมีโรคระบาด เท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ
>>>> ส่งมอบให้คนที่ไว้ใจดูแล!!!! ย้ำนะครับ ว่าที่เราไว้ใจได้ เช่น
คนใกล้ชิด ที่สามารถตรวจสอบได้ (ญาติพี่น้อง)
วัด แหล่งรับบริจาค (ต้องดูความพร้อมของแต่ละที่ อาจติดตามยากหากมีการส่งต่อไปยังที่อื่น)
ในเคสของวัดหลายๆที่ กรณีที่พบเจอคือเมื่อจำนวนสัตว์มากขึ้น สถานที่จำกัด กำลังคนไม่พร้อม บางทีกลายเป็นว่าพระต้องออกมาหาเกี่ยวหญ้าให้วัวกินทุกเช้า บางทีก็จะมีการส่งต่อไปยังวัดสาขาตามต่างจังหวัด (บางกรณีติดตามค่อนข้างยาก) บางทีก็มีญาติโยมผู้ด้อยโอกาสมาขอไปเลี้ยงต่ออีกเป็นทอดๆ ฉะนั้นแล้วการทำบุญไถ่ชีวิตแล้วฝากไว้ต้องดูให้ดีว่าสถานที่เหล่านี้มีสามารถดูแลได้จริงๆหรือส่งต่อๆไปอีกหลายแห่งจนติดตามไม่เจอ (ถ้าไม่อย่างงั้นเราอาจเจอเคสไถ่วัวเวียนเทียน หรือมีตัวยืนโรงคอยเก็บเงินค่าเข้าชมแบบสวนสัตว์ก็ได้)
เกษตรกรทั่วไป
ตรงนี้ผมไม่แนะนำเลยครับ เพราะส่วนใหญ่ที่หายๆก็เพราะแบบนี้แหละครับ เวลาคนเข้ามาอยากได้น้องๆเนี่ยก็จะมาแบบน่าสงสารสุดๆ แต่เวลาได้ไปแล้วเนี่ยจะเปลี่ยนเป็นคนอีกๆเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ถึงรับปากสาบานกับพระกันไว้ ถ้าถึงเวลาเลือดขึ้นหน้าก็ขายหมดไม่เหลือครับ อันนี้ผมไม่โทษเค้านะครับเพราะเข้าใจว่าเค้าขาดแคลนจริงๆ ซึ่งการเลี้ยงวัวแค่ 3ตัว-5ตัว ไม่ใช่ทางเลือกที่เค้าจะสร้างอาชีพที่มั่นคงได้หรอกครับ กว่าจะได้ลูกแต่ละตัวต้องใช้เวลา เงินขาดมือก่อนแน่ๆ
1.2 • อยากให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติม และต่อยอด
สำหรับท่านที่มองว่าน้องๆนั้นต้องไปสร้างประโยชน์ต่อได้ ผมแนะนำให้ มอบให้ธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ (ธคก.)
ธคก. เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลครับ โครงการนี้มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ทุกฝ่ายครับ เกษตรกรได้รับการส่งเสริมอาชีพ คนที่บริจาคก็มั่นใจได้เนื่องจากมีระบบควบคุมดุแลที่ชัดเจน ตอนนี้มีแนวทางปฏิบัติใหม่ๆด้วย เช่น นโยบาย"คนรวมกลุ่ม โครวมคอก" ซึ่งทำให้โครงการรัดกุมยิ่งขึ้น ได้ประโยชน์มากขึ้น
(ปล.ที่ผมไม่รวมอยู่ในหัวข้อที่ว่าอยากให้วัว-ควายที่เราไถ่ไปอยู่ต่อตลอดอายุไข เพราะจะมีการสลับเปลี่ยนตัวสัตว์ตามสัญญาที่ให้แก่เกษตรกรครับ)
(เดี๋ยวจะมาอธิบายอีกทีนึงในส่วนของ ธคก. ครับ - ตรงนี้ที่ไม่พอ
)
***************************************************
2.เลือกโค-กระบือในการไถ่ชีวิตอย่างไร? ทำอย่างไรไม่ให้สัตว์หาย?
สภาพความสมบูรณ์ของโคส่งผลต่อโอกาสในการรอดหลังการไถ่ชีวิตครับ
2.1 กรณีที่นำไปเลี้ยงเอง หรือส่งมอบให้คนใกล้ชิดที่ไว้ใจได้
สามารถเลือกไถ่อย่างไรก็ได้ตามความพึงพอใจ ไม่กำหนดเพศ อายุ สุขภาพ เพราะอย่างไรเราก็ตั้งใจจะเลี้ยงเค้าจนหมดอายุไข (ระวังเรื่องโรคระบาดด้วยนะครับ)
2.2 หากเป็นการส่งมอบให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง
ควรพิจารณาด้านการสร้างประโยชน์แก่คนเลี้ยง เพราะหากผู้รับไปไม่ได้ประโยชน์ สร้างประโยชน์ได้ช้า หรือไม่เพียงพอ ย่อมมีโอกาสที่สัตว์จะถูกขายทิ้ง
> ปัจจุบันการนำโค-กระบือไปใช้ทำไร่ไถนานั้นแทบจะหมดไปแล้ว เนื่องจากมีเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตสูงกว่าเข้ามาแทนที่ บางถิ่นธุรกันดารอาจยังพอมีเหลือบ้าง แต่เมื่อพิจารณาจากรายรับของเกษตรกรที่ได้แล้วนั้นไม่มีความคุ้มทุนและเสี่ยงต่อการนำโค-กระบือไปขายเพื่อมาชดเชยรายได้ส่วนที่ไม่พอรายจ่าย
> ดังนั้นการบริจาคจึงควรมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการบำรุงพันธุ์
- เวลาเลือกไถ่โค-กระบือ จึงแนะนำเป็นเพศเมีย อายุน้อยระยะ 1-4 ปี มีสายพันธ์ุที่ดี (ถ้าเป็นวัวแนะนำลูกผสมบราห์มันหรือชโลเร่ย์) ไม่แคระแกรน เหมาะกับการเป็นแม่พันธ์ุ
สาเหตุที่ต้องเลือกแบบนี้เพราะเนื่องจากสัตว์จะโตง่าย เป็นสัดเร็ว เพื่อให้เกษตรกรได้ประโยชน์จากการขายพันธุ์สัตว์ได้รวดเร็วครับ ต้องเข้าใจว่าเค้าเอาไปเลี้ยงเป็นอาชีพไม่ได้เอาไปเป็นภาระครับ ถ้าเอาวัวไม่ดีมา วัวแก่ๆมา วัวตัวผู้มา เดี๋ยวเค้าก็เอากลับไปขายเชือดครับ
- นอกจากนี้ควรดูแหล่งที่มาของสัตว์ และความน่าเชื่อถือของสถานที่ที่เราซื้อไถ่ ต้องมีการตรวจสุขภาพสัตว์ทุกครั้งก่อนการไถ่ชีวิต!!!!! ทำวัคซีนและผ่านการตรวจกักโรคระบาดโดยสถานตรวจกักที่ได้รับอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ ก่อนการเคลื่อนย้าย!!!!!
สาเหตุที่ต้องเลือกสถานที่กันให้ดีเป็นเพราะว่าตามวัด สถานรับบริจาคทั่วไป หรือโรงฆ่าสัตว์บ้านๆที่ทำกันตามบ้าน จะไม่มีสัตว์แพทย์ประจำคอยตรวจรับรองครับ (จริงๆทำกันเถื่อนผิดกฏหมายด้วย สงสารผู้บริโภคทุกวันนี้
)
สถานที่เหล่านี้เป็นแหล่ารวมเชื้อโรคเนื่องจากมีสัตว์และคนเวียนเข้าออกตลอดเวลา โรคระบาดก็จะอาจติดมากับตัวสัตว์
โรคบางโรคติดต่อสู่คนได้ เช่น โรคแท้งติดต่อ (ถึงขั้นแท้งลูกกันเลยนะครับ ในสัตว์ไม่มีการรักษา เจ้าหน้าที่จะต้องสั่งทำลายอย่างเดียว)
โรคบางโรคแพร่กระจายได้เร็วผ่านทางอากาศ เช่น โรคปากเท้าเปื่อย (เคยเห็นวัวขาเน่าจนกีบหลุดกันมั้ยครับ)
และยังมีโรคอื่นๆอีกมากที่ทำให้สัตว์ตายกันยกหมู่บ้าน เช่น โรคคอบวม วัณโรค ฯลฯ
ฉะนั้นการที่เราไถ่ชีวิตสัตว์ที่มีโรคระบาดเหล่านั้นไปปล่อยจะกลายเป็นการนำโรคระบาดไปปล่อยในพื้นที่อื่นๆและเป็นอันตรายต่อสัตว์ทั้งหมดในบริเวณนั้น ทำบุญกลายเป็นได้บาปไม่ได้ตั้งใจ
จริงๆระเบียบการตรวจกักสัตว์ การเคลื่อนย้าย การกักสัตว์ เรามีกฏหมายควบคุมชัดเจนนะครับ แต่คนขายมักง่ายไม่ทำกัน บางทีเคลื่อนย้ายกันแบบผิดๆโดนจับมาเดือดร้อนคนไถ่ชีวิตอีก ต้องตามไปเคลียร์คดีเอาสัตว์ออกอีก
***************************************************
3.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสถานที่
• ควรไปดูตัวสัตว์ก่อนการบริจาคเงิน อย่าหลงเชื่อเพียงภาพถ่ายจากสื่อสังคมออนไลน์
o มีตัวสัตว์อยู่จริง – ไม่ใช่การไถ่เวียนหรือเป็นตัวยืนโรงถาวร
o สภาพเหมาะสมกับราคา (รายละเอียดราคาดูในส่วนต่อไปครับ)
• ตรวจสอบข้อมูลสถานที่ต้นทาง เป็นวัด สถานรับบริจาค หรือโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกต้องตามกฎหมายรึไม่
o มีการตรวจสุขภาพ กักโรคเฝ้าระวังโรคระบาด
• ตรวจสอบสถานที่ปลายทาง ไถ่แล้วไปไหน (กรณีบริจาค)
o มีการเลี้ยงดูอย่างไร มีความสามารถดูแลสัตว์หรือไม่
o มีระบบตรวจสอบรึไม่
***************************************************
4. ราคาที่เหมาะสม? ดูอย่างไรถึงไม่แพงเกินจริง?
สิ่งที่ผมพบเห็นตลอดเลยคือการโก่งราคาครับ เพราะผู้บริจาคมักไม่ต่อรองราคา เลยโดนโก่งตัวละ 3-4พันทีเดียว
• ราคาถูกเกินไป – ระวังการหลอกลวง!!! ไม่มีอยู่จริง วัวแคระแกรน เป็นโรค
• ราคาโค-กระบือจากโรงฆ่าสัตว์โดยปกติจะถูกกำหนดโดยขนาดและนํ้าหนัก เป็นตัวแปรหลัก (โดยคำนวณจากนํ้าหนัก X ราคาเนื้อสัตว์)
• ตัวแปรอื่นๆที่อาจส่งผลให้ราคาสูงขึ้นได้แก่
- เป็นเพศเมียสภาพสมบูรณ์พร้อมในการขยายพันธุ์
- สายพันธุ์ดี ลูกผสม ไม่แคระแกรน โครงสร้างใหญ่กว่าตัวอื่นในช่วงอายุเดียวกัน
- อายุ
• ผู้บริจาคทั่วไปที่ขาดความชำนาญในการประเมินนํ้าหนักโค-กระบือ สามารถเทียบเคียงราคาคร่าวๆด้วยวิธีการดังนี้
o หาข้อมูลจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ
o เทียบเคียงราคาจากกลุ่มขายโค-กระบือตามสังคมออนไลน์ เดี๋ยวนี้มีเพจตลาดนัดโคกระบือ และกลุ่มซื้อขายวัวเยอะครับ ลองเสิร์ชๆดูเทียบเคียงราคาจากหลายๆที่ได้ เช่น
> ลูกโคหย่านมช่วงอายุ 5 เดือน – 8 เดือน มีราคาตลาดตั้งแต่ 10,000-13,000 บาท อาจถูกหรือแพงกว่านั้นขึ้นอยู่กับขนาดและสายพันธุ์ (ถ้าราคาถูกไปอาจไม่เหมาะสมในการนำไปขยายพันธุ์)
> ราคาโคสาวแม่พันธุ์ อายุ 1ปีครึ่ง – 3 ปี มีราคาตั้งแต่ 20,000 – 30,000บาท (ถ้าเป็นโคขุนอ้วนแล้วขนาดใหญ่อาจมีราคาสูงกว่านี้ตามขนาด)
หมายเหตุ : ข้อมูลเป็นราคาตลาดปัจจุบัน ช่วงปี2561
อย่าหลงเชื่อวัวท้อง - ถ้าเค้ารู้ว่าท้องเค้าจะมาขายโรงเชือดทำไม ขายตลาดนัดได้ราคากว่า
การตรวจท้องต้องมีการล้วงตรวจครับ คนดูไม่เป็นเจอท้องลมมาเยอะแล้ว
• ตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ – ค่าขนส่ง, ค่าตรวจโรค, การออกใบอนุญาตเคลื่อนย้าย, ค่าอาหารสัตว์ ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายแฝงพวกนี้ จริงๆก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกันครับ ด้วยความที่เค้าเป็นสัตว์ใหญ่ การตรวจโรคก็ยาก ต้องให้หมอมาตรวจถึงที่ใช้เจ้าหน้าที่ร่วมกันจับหลายคน การกักโรคอย่างน้อยก็ต้องใช้ 21วัน และการกักก็ต้องกักในสถานกักสัตว์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ค่าอาหารระหว่างการกักโรคก็จะต้องมี ค่าขนส่งก็อีก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป้นทั้งสิ้นเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของน้องๆ เพราะฉะนั้นแล้วเราต้องศึกษาและสอบถามให้ละเอียดครับ
****************************************
ขอบคุณที่อ่านครับ
คู่มือไถ่ชีวิตโค-กระบือ จากเจ้าของโรงฆ่าสัตว์
ครอบครัวผมทำกิจการโรงฆ่าสัตว์มาเกิน 30 ปี ได้รับรู้เรื่องราวทั้งที่ผ่านเข้าหู ทั้งที่เห็นกับตาก็เยอะครับ
ด้วยความที่ตัวเองก็เป็นคนพุทธ (แต่ที่ทำก็อาชีพเลี้ยงปากท้อง) อย่างน้อยก็ขอทำในส่วนนี้ทดแทนแล้วกันครับ
ท่านใดสนใจเรื่องการไถ่ชีวิตโค-กระบือลองค่อยๆอ่านศึกษารายละเอียดกันนะครับ
ต่อตอน 2 ได้ที่ https://ppantip.com/topic/37458080
ปัจจุบันมีการเรี่ยรายบอกบุญเกี่ยวกับการไถ่ชีวิต-โคกระบือทั้งทางตรงและผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก แต่ผู้มีจิตศรัทธายังขาดความรู้ ความเข้าใจ และข้อมูลที่จำเป็นสำหรับประกอบการพิจารณา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นช่องทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดี สบโอกาสหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบ ทั้งการโก่งราคาเกินจริง หลอกให้โอนเงินทำบุญทั้งที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง หลอกลวงขายสัตว์ที่ไม่เหมาะแก่การนำไปเลี้ยงต่อ ทำธุรกิจบุญไถ่ชีวิตโค-กระบือแบบเวียนเทียน อีกทั้งหลายท่านยังถูกฉวยโอกาสจากผู้ที่มาขอรับบริจาคโคไปเลี้ยง โดยแอบนำสัตว์ที่ได้รับการไถ่ชีวิตไปขายต่อในภายหลัง (ผมไม่ขอลงรายละเอียดเรื่องนี้มากนะครับ อยากให้ค่อยมาพูดคุยกันต่ออีกทีนึง อันนี้ขอเน้นคู่มือวิธีการไถ่ชีวิตก่อน)
โพสต์นี้ขอเป็นสื่อกลางให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านได้รับข้อมูล และสามารถทำบุญไถ่ชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ที่ต้องการครับ
**********************************************
ข้อมูลยืนยันตัวตนของผม
โรงฆ่าสัตว์วัฒนามีทโปรดัค 41/1 หมู่ 3 ตำบลคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110
เปิดดำเนินการมากว่า 30 ปี โดยตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 30ไร่ ณ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีกำลังการผลิตสูงสุด 50-60 ตัว/วัน
ปัจจุบันโรงฆ่าสัตว์ได้จัดตั้งศูนย์ไถ่ชีวิตโค-กระบือขึ้นมา และได้ร่วมกับโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน สามารถเข้ามาไถ่ชีวิตโค-กระบือโดยตรงจากโรงฆ่าสัตว์ เพื่อนำไปเลี้ยงต่อหรือบริจาคให้แก่โครงการธนาคารโค-กระบือฯ เพื่อที่จะจัดสรรให้แก่เกษตรกรผู้ขาดแคลนที่มาลงทะเบียนไว้กับโครงการฯต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์ไถ่ชีวิตโค-กระบือ โรงฆ่าสัตว์วัฒนามีทโปรดัค
www.facebook.com/wattanameat
โทร 098-564-6636
Line ID: @savememorr
***************************************************
คู่มือการไถ่ชีวิตโค-กระบือ
***************************************************
1.กำหนดวัตถุประสงค์ – ไถ่ไปไหน?
วัตถุประสงค์การไถ่ชีวิตจะกำหนดทิศทางการเลือกซื้อวัวไถ่ การเลือกที่ปล่อยวัว และอื่นๆทั้งหมดครับ
1.1 • อยากให้สัตว์ที่เราไถ่มีชีวิตอยู่ตลอดไปจนสิ้นอายุไข
>>>> นำไปเลี้ยงเองตามไร่ สวน (ได้ประโยชน์เรื่องตัดหญ้า และผลิตปุ๋ย)
หากท่านมีไร่มีสวน มีความสามารถดูแลได้ ตรงนี้คือทางเลือกที่ดีที่สุดครับ เพราะการไถ่ชีวิตเค้าแล้วเหมือนให้เค้าเกิดใหม่ เราก็เหมือนพ่อแม่ผู้ปกครอง ใครจะมาดูแลลูกเราได้ดีเท่าตัวเราเองจริงมั้ยครับ จริงๆแล้วการเลี้ยงน้องๆเค้าดูแลไม่ยากครับ สามารถปล่อยเดินตามไร่สวนบ้านเราที่มีรั้วรอบขอบชิดได้ จากสวนที่เคยมีหญ้าขึ้นรกรุงรัง ถ้าเป็นน้องๆควายจะจัดการตัดหญ้า (กิน) ให้ท่านตนโล่งเตียนติดพื้นกันเลยทีเดียว ส่วนที่พักอาศัยเค้าก็ขอแค่มีโรงเรือนหลังคากันแดดกันฝน มีแหล่งน้ำสะอาด(ถังน้ำหรือบ่อปูนก็ได้) มีคนดูแลให้อาหารข้นเพิ่มเติมบ้าง ทำการฉีดยาวัคซีนปีละ1-2ครั้ง หรือคอยระวังช่วงมีโรคระบาด เท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ
>>>> ส่งมอบให้คนที่ไว้ใจดูแล!!!! ย้ำนะครับ ว่าที่เราไว้ใจได้ เช่น
คนใกล้ชิด ที่สามารถตรวจสอบได้ (ญาติพี่น้อง)
วัด แหล่งรับบริจาค (ต้องดูความพร้อมของแต่ละที่ อาจติดตามยากหากมีการส่งต่อไปยังที่อื่น)
ในเคสของวัดหลายๆที่ กรณีที่พบเจอคือเมื่อจำนวนสัตว์มากขึ้น สถานที่จำกัด กำลังคนไม่พร้อม บางทีกลายเป็นว่าพระต้องออกมาหาเกี่ยวหญ้าให้วัวกินทุกเช้า บางทีก็จะมีการส่งต่อไปยังวัดสาขาตามต่างจังหวัด (บางกรณีติดตามค่อนข้างยาก) บางทีก็มีญาติโยมผู้ด้อยโอกาสมาขอไปเลี้ยงต่ออีกเป็นทอดๆ ฉะนั้นแล้วการทำบุญไถ่ชีวิตแล้วฝากไว้ต้องดูให้ดีว่าสถานที่เหล่านี้มีสามารถดูแลได้จริงๆหรือส่งต่อๆไปอีกหลายแห่งจนติดตามไม่เจอ (ถ้าไม่อย่างงั้นเราอาจเจอเคสไถ่วัวเวียนเทียน หรือมีตัวยืนโรงคอยเก็บเงินค่าเข้าชมแบบสวนสัตว์ก็ได้)
เกษตรกรทั่วไป
ตรงนี้ผมไม่แนะนำเลยครับ เพราะส่วนใหญ่ที่หายๆก็เพราะแบบนี้แหละครับ เวลาคนเข้ามาอยากได้น้องๆเนี่ยก็จะมาแบบน่าสงสารสุดๆ แต่เวลาได้ไปแล้วเนี่ยจะเปลี่ยนเป็นคนอีกๆเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ถึงรับปากสาบานกับพระกันไว้ ถ้าถึงเวลาเลือดขึ้นหน้าก็ขายหมดไม่เหลือครับ อันนี้ผมไม่โทษเค้านะครับเพราะเข้าใจว่าเค้าขาดแคลนจริงๆ ซึ่งการเลี้ยงวัวแค่ 3ตัว-5ตัว ไม่ใช่ทางเลือกที่เค้าจะสร้างอาชีพที่มั่นคงได้หรอกครับ กว่าจะได้ลูกแต่ละตัวต้องใช้เวลา เงินขาดมือก่อนแน่ๆ
1.2 • อยากให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติม และต่อยอด
สำหรับท่านที่มองว่าน้องๆนั้นต้องไปสร้างประโยชน์ต่อได้ ผมแนะนำให้ มอบให้ธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ (ธคก.)
ธคก. เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลครับ โครงการนี้มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ทุกฝ่ายครับ เกษตรกรได้รับการส่งเสริมอาชีพ คนที่บริจาคก็มั่นใจได้เนื่องจากมีระบบควบคุมดุแลที่ชัดเจน ตอนนี้มีแนวทางปฏิบัติใหม่ๆด้วย เช่น นโยบาย"คนรวมกลุ่ม โครวมคอก" ซึ่งทำให้โครงการรัดกุมยิ่งขึ้น ได้ประโยชน์มากขึ้น
(ปล.ที่ผมไม่รวมอยู่ในหัวข้อที่ว่าอยากให้วัว-ควายที่เราไถ่ไปอยู่ต่อตลอดอายุไข เพราะจะมีการสลับเปลี่ยนตัวสัตว์ตามสัญญาที่ให้แก่เกษตรกรครับ)
(เดี๋ยวจะมาอธิบายอีกทีนึงในส่วนของ ธคก. ครับ - ตรงนี้ที่ไม่พอ)
***************************************************
2.เลือกโค-กระบือในการไถ่ชีวิตอย่างไร? ทำอย่างไรไม่ให้สัตว์หาย?
สภาพความสมบูรณ์ของโคส่งผลต่อโอกาสในการรอดหลังการไถ่ชีวิตครับ
2.1 กรณีที่นำไปเลี้ยงเอง หรือส่งมอบให้คนใกล้ชิดที่ไว้ใจได้
สามารถเลือกไถ่อย่างไรก็ได้ตามความพึงพอใจ ไม่กำหนดเพศ อายุ สุขภาพ เพราะอย่างไรเราก็ตั้งใจจะเลี้ยงเค้าจนหมดอายุไข (ระวังเรื่องโรคระบาดด้วยนะครับ)
2.2 หากเป็นการส่งมอบให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง
ควรพิจารณาด้านการสร้างประโยชน์แก่คนเลี้ยง เพราะหากผู้รับไปไม่ได้ประโยชน์ สร้างประโยชน์ได้ช้า หรือไม่เพียงพอ ย่อมมีโอกาสที่สัตว์จะถูกขายทิ้ง
> ปัจจุบันการนำโค-กระบือไปใช้ทำไร่ไถนานั้นแทบจะหมดไปแล้ว เนื่องจากมีเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตสูงกว่าเข้ามาแทนที่ บางถิ่นธุรกันดารอาจยังพอมีเหลือบ้าง แต่เมื่อพิจารณาจากรายรับของเกษตรกรที่ได้แล้วนั้นไม่มีความคุ้มทุนและเสี่ยงต่อการนำโค-กระบือไปขายเพื่อมาชดเชยรายได้ส่วนที่ไม่พอรายจ่าย
> ดังนั้นการบริจาคจึงควรมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการบำรุงพันธุ์
- เวลาเลือกไถ่โค-กระบือ จึงแนะนำเป็นเพศเมีย อายุน้อยระยะ 1-4 ปี มีสายพันธ์ุที่ดี (ถ้าเป็นวัวแนะนำลูกผสมบราห์มันหรือชโลเร่ย์) ไม่แคระแกรน เหมาะกับการเป็นแม่พันธ์ุ
สาเหตุที่ต้องเลือกแบบนี้เพราะเนื่องจากสัตว์จะโตง่าย เป็นสัดเร็ว เพื่อให้เกษตรกรได้ประโยชน์จากการขายพันธุ์สัตว์ได้รวดเร็วครับ ต้องเข้าใจว่าเค้าเอาไปเลี้ยงเป็นอาชีพไม่ได้เอาไปเป็นภาระครับ ถ้าเอาวัวไม่ดีมา วัวแก่ๆมา วัวตัวผู้มา เดี๋ยวเค้าก็เอากลับไปขายเชือดครับ
- นอกจากนี้ควรดูแหล่งที่มาของสัตว์ และความน่าเชื่อถือของสถานที่ที่เราซื้อไถ่ ต้องมีการตรวจสุขภาพสัตว์ทุกครั้งก่อนการไถ่ชีวิต!!!!! ทำวัคซีนและผ่านการตรวจกักโรคระบาดโดยสถานตรวจกักที่ได้รับอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ ก่อนการเคลื่อนย้าย!!!!!
สาเหตุที่ต้องเลือกสถานที่กันให้ดีเป็นเพราะว่าตามวัด สถานรับบริจาคทั่วไป หรือโรงฆ่าสัตว์บ้านๆที่ทำกันตามบ้าน จะไม่มีสัตว์แพทย์ประจำคอยตรวจรับรองครับ (จริงๆทำกันเถื่อนผิดกฏหมายด้วย สงสารผู้บริโภคทุกวันนี้)
สถานที่เหล่านี้เป็นแหล่ารวมเชื้อโรคเนื่องจากมีสัตว์และคนเวียนเข้าออกตลอดเวลา โรคระบาดก็จะอาจติดมากับตัวสัตว์
โรคบางโรคติดต่อสู่คนได้ เช่น โรคแท้งติดต่อ (ถึงขั้นแท้งลูกกันเลยนะครับ ในสัตว์ไม่มีการรักษา เจ้าหน้าที่จะต้องสั่งทำลายอย่างเดียว)
โรคบางโรคแพร่กระจายได้เร็วผ่านทางอากาศ เช่น โรคปากเท้าเปื่อย (เคยเห็นวัวขาเน่าจนกีบหลุดกันมั้ยครับ)
และยังมีโรคอื่นๆอีกมากที่ทำให้สัตว์ตายกันยกหมู่บ้าน เช่น โรคคอบวม วัณโรค ฯลฯ
ฉะนั้นการที่เราไถ่ชีวิตสัตว์ที่มีโรคระบาดเหล่านั้นไปปล่อยจะกลายเป็นการนำโรคระบาดไปปล่อยในพื้นที่อื่นๆและเป็นอันตรายต่อสัตว์ทั้งหมดในบริเวณนั้น ทำบุญกลายเป็นได้บาปไม่ได้ตั้งใจ
จริงๆระเบียบการตรวจกักสัตว์ การเคลื่อนย้าย การกักสัตว์ เรามีกฏหมายควบคุมชัดเจนนะครับ แต่คนขายมักง่ายไม่ทำกัน บางทีเคลื่อนย้ายกันแบบผิดๆโดนจับมาเดือดร้อนคนไถ่ชีวิตอีก ต้องตามไปเคลียร์คดีเอาสัตว์ออกอีก
***************************************************
3.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสถานที่
• ควรไปดูตัวสัตว์ก่อนการบริจาคเงิน อย่าหลงเชื่อเพียงภาพถ่ายจากสื่อสังคมออนไลน์
o มีตัวสัตว์อยู่จริง – ไม่ใช่การไถ่เวียนหรือเป็นตัวยืนโรงถาวร
o สภาพเหมาะสมกับราคา (รายละเอียดราคาดูในส่วนต่อไปครับ)
• ตรวจสอบข้อมูลสถานที่ต้นทาง เป็นวัด สถานรับบริจาค หรือโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกต้องตามกฎหมายรึไม่
o มีการตรวจสุขภาพ กักโรคเฝ้าระวังโรคระบาด
• ตรวจสอบสถานที่ปลายทาง ไถ่แล้วไปไหน (กรณีบริจาค)
o มีการเลี้ยงดูอย่างไร มีความสามารถดูแลสัตว์หรือไม่
o มีระบบตรวจสอบรึไม่
***************************************************
4. ราคาที่เหมาะสม? ดูอย่างไรถึงไม่แพงเกินจริง?
สิ่งที่ผมพบเห็นตลอดเลยคือการโก่งราคาครับ เพราะผู้บริจาคมักไม่ต่อรองราคา เลยโดนโก่งตัวละ 3-4พันทีเดียว
• ราคาถูกเกินไป – ระวังการหลอกลวง!!! ไม่มีอยู่จริง วัวแคระแกรน เป็นโรค
• ราคาโค-กระบือจากโรงฆ่าสัตว์โดยปกติจะถูกกำหนดโดยขนาดและนํ้าหนัก เป็นตัวแปรหลัก (โดยคำนวณจากนํ้าหนัก X ราคาเนื้อสัตว์)
• ตัวแปรอื่นๆที่อาจส่งผลให้ราคาสูงขึ้นได้แก่
- เป็นเพศเมียสภาพสมบูรณ์พร้อมในการขยายพันธุ์
- สายพันธุ์ดี ลูกผสม ไม่แคระแกรน โครงสร้างใหญ่กว่าตัวอื่นในช่วงอายุเดียวกัน
- อายุ
• ผู้บริจาคทั่วไปที่ขาดความชำนาญในการประเมินนํ้าหนักโค-กระบือ สามารถเทียบเคียงราคาคร่าวๆด้วยวิธีการดังนี้
o หาข้อมูลจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ
o เทียบเคียงราคาจากกลุ่มขายโค-กระบือตามสังคมออนไลน์ เดี๋ยวนี้มีเพจตลาดนัดโคกระบือ และกลุ่มซื้อขายวัวเยอะครับ ลองเสิร์ชๆดูเทียบเคียงราคาจากหลายๆที่ได้ เช่น
> ลูกโคหย่านมช่วงอายุ 5 เดือน – 8 เดือน มีราคาตลาดตั้งแต่ 10,000-13,000 บาท อาจถูกหรือแพงกว่านั้นขึ้นอยู่กับขนาดและสายพันธุ์ (ถ้าราคาถูกไปอาจไม่เหมาะสมในการนำไปขยายพันธุ์)
> ราคาโคสาวแม่พันธุ์ อายุ 1ปีครึ่ง – 3 ปี มีราคาตั้งแต่ 20,000 – 30,000บาท (ถ้าเป็นโคขุนอ้วนแล้วขนาดใหญ่อาจมีราคาสูงกว่านี้ตามขนาด)
หมายเหตุ : ข้อมูลเป็นราคาตลาดปัจจุบัน ช่วงปี2561
อย่าหลงเชื่อวัวท้อง - ถ้าเค้ารู้ว่าท้องเค้าจะมาขายโรงเชือดทำไม ขายตลาดนัดได้ราคากว่า
การตรวจท้องต้องมีการล้วงตรวจครับ คนดูไม่เป็นเจอท้องลมมาเยอะแล้ว
• ตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ – ค่าขนส่ง, ค่าตรวจโรค, การออกใบอนุญาตเคลื่อนย้าย, ค่าอาหารสัตว์ ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายแฝงพวกนี้ จริงๆก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกันครับ ด้วยความที่เค้าเป็นสัตว์ใหญ่ การตรวจโรคก็ยาก ต้องให้หมอมาตรวจถึงที่ใช้เจ้าหน้าที่ร่วมกันจับหลายคน การกักโรคอย่างน้อยก็ต้องใช้ 21วัน และการกักก็ต้องกักในสถานกักสัตว์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ค่าอาหารระหว่างการกักโรคก็จะต้องมี ค่าขนส่งก็อีก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป้นทั้งสิ้นเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของน้องๆ เพราะฉะนั้นแล้วเราต้องศึกษาและสอบถามให้ละเอียดครับ
****************************************
ขอบคุณที่อ่านครับ