ยินดีต้อนรับเข้าสู่การเดินทาง 10 วันในแคว้น Ladakh ของผมครับ จริงๆที่แห่งนี้อยู่ใน Bucket list ของผมมาตั้งแต่สมัยยังเรียนม.ปลาย (ประมาณปี 2550) ที่ได้เห็นบรรดาช่างภาพ Pixpros รุ่นบุกเบิกบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปเก็บภาพพระอาทิตย์ตกเหนือเมือง Leh มาให้บรรดาสมาชิกในเวปบอร์ดได้ชมกัน Ladakh จึงเป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาช่างภาพสาย Landscape ที่จะต้องมาเยือนให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิตครับ
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักแคว้น Ladakh กันซักนิดนึงก่อน
Ladakh แปลว่า "land of high passes" เป็นแคว้นๆหนึ่งในรัฐ Kashmir and Jammu ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ซึ่งมีอาณาเขตด้านขวาติดกับธิเบต/จีน ทางซ้ายติดกับปากีสถานครับ โดย Ladakh นั้นเป็นแคว้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลที่สุดในรัฐ Kashmir and Jammu ซึ่งในบริเวณนี้จะถูกเรียกว่า "Trans-Himalaya" หรือก็คือบริเวณเทือกเขาที่อยู่ขนานกับเทือกเขา Great Himalaya ครับ โดย Ladakh นั้นเป็นบริเวณที่ที่เทือกเขา Kunlun, Karakorum และ Himalayan วิ่งเข้ามาบรรจบกัน ทำให้บรรเวณนั้นเต็มไปด้วยเทือกเขาสูงครับ
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในแคว้น Ladakh ก็คือ Leh นั่งเอง และเป็นที่ตั้งของสนามบิน Leh ประตูสู่ Land of high passes
:::::::::::::: คำเตือน ::::::::::::::
Ladakh นั้นนับว่าเป็นเขตทุรกันดารก็ได้ครับ เนื่องจากในหน้าหนาวบริเวณนี้จะถูกหิมะหนาปกคลุม ทำให้บรรดาถนนหนทางจะพังทลาย และถูกเร่งซ่อมแซมในฤดูใบไม้ผลิ (ช่วงเมษายน) บวกกับเส้นทางบริเวณจะลัดเลาะผ่านเทือกเขาสูง ทำให้การพัฒนาของเมืองบริเวณนี้ทำได้ยากมากครับ
คนที่คิดจะเดินทางมาเที่ยวที่นี่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ในระดับนึงครับ โดยผมได้สรุปข้อควรระวังในการเที่ยวบริเวณนี้ไว้คร่าวๆดังนี้ครับ
Ladakh Travel Tip
1. ห้องน้ำ เป็นเรื่องหลักที่ต้องเตรียมใจสำหรับที่นี่ (และที่อื่นๆในอินเดีย) คือส้วมสาธารณะครับ นอกจากในโรงแรมและร้านอาหารดีๆในเมืองแล้ว ส้วมที่เหลือเรียกว่า "หลุม" จะตรงกว่า ถ้าโชคดีหน่อยก็จะเป็นหลุมเรียบๆ โชคร้ายมันก็จะมีอารยธรรมเดิมกระจัดกระจายไปด้วย เดินทางในแคว้น Ladakh ดีที่สุดอย่าปล่อยระหว่างทางครับ ต้องระวังเรื่องการกินอาหารดีๆ เนื่องเราต้องเดินทางบนรถวันละหลายชม. การท้องเสียที่นี่คือฝันร้ายครับ
2. ถนน การนั่งรถในที่นี่นอกจากไฮเวย์นอกเมือง Leh แล้ว เส้นไป Pangong Lake หรือ Nubra Valley จะผ่านจุดที่ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อแบบนั่งไม่ติดอยู่เป็นชั่วโมง มีตั้งแต่สั่นน้อยๆให้พอสะดุ้งตื่นบ้าง จนสั่งแบบต้องเกร็งตัวยึดกับเบาะ คนเมารถง่ายจะทรมานมากเพราะจะโยกแบบนี้ทุกๆเส้นและระยะทางยาวมาก รวมถึงจะมีถนนเส้นที่ไต่ขึ้นและโค้งหักศอกอีกด้วย การกินยาแก้เมาให้หลับก็ช่วยได้ส่วนหนึ่งแต่การท่องเที่ยวใน Ladakh วิวข้างทางเป็นไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาดครับ
3. แดด แดดที่นี่แรงมาก เราไปในช่วงต้นพ.ค.อากาศเย็นๆประมาณ 15-20 องศา แต่แดดที่นี่แรงจนทำให้รู้สึกร้อนได้ ที่สำคัญคือแถบนี้ร่มเงาน้อยมาก บ้านเมืองไม่ค่อยมีกันสาด และต้นไม้สูงๆน้อยเนื่องจากเป็นทะเลทรายซะส่วนใหญ่ การไปเที่ยวรอบๆแคว้นนี้ไม่ว่าอากาศจะเย็นหรือร้อนแค่ไหน เสื้อแขนยาวและหมวกเป็นสิ่งจำเป็น นั่งในรถขากับแขนยังไงก็หนีแดดไม่พ้นครับ
4. ฝุ่น เนื่องจากเป็นทะเลทราย ฝุ่นจะซัดเข้าเมืองตลอดเวลา และรถที่นั่งจะไม่เปิดแอร์แต่จะเปิดกระจกให้ลมเข้าระบายความร้อนแทน บางครั้งถ้าเราขับตามรถใหญ่ๆ มันก็จะตีฝุ่นเข้ามาในรถ ควรเตรียมผ้าปิดปากหรือผ้าพันคอไปด้วย ที่พักเองก็ไม่ติดแอร์เช่นกัน เราต้องเปิดหน้าต่างนอนตลอดทริป แต่ด้วยช่วงที่เราไปอากาศเย็น เลยไม่เป็นปัญหาสักเท่าไหร่ครับ
5. อาหาร ในตัวเมือง Leh หาข้าวกินไม่ยากเพราะร้านอาหารเยอะและขายอาหารนานาชาติทั้งไทย จีน ฝรั่ง อินเดีย แต่การเดินทางไปเที่ยวที่ไกลๆอย่าง Pangong Lake, Nubra Valley, Tso Moriri นั้นเราจะต้องหาข้าวเที่ยงกินระหว่างทาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารมังสวิรัติ และมีให้เลือกไม่มาก เช่น Fried Rice, Maggi(บะหมี่) บางร้านก็จะไม่ค่อยสะอาดครับ ควรพกทิชชู่ไปเช็ดช้อนส้อม น้ำดื่มบางที่ก็จะเสิร์ฟน้ำจากลำธารซึ่งละลายมาจาก Glacier ซึ่งก็สะอาดแหละ แต่ถ้าไม่มั่นใจก็สั่ง Bottle of Water จะเซฟกว่า การเตรียมข้าวเที่ยงไปทานเองเป็นอีกทางเลือกที่ปลอดภัย ร้านอาหารบางร้านจะทำอาหาร Take away ให้เราได้ หรือจะซื้อเป็นพวกขนมปัง และแยมไปก็ได้ เนื้อสัตว์หาซื้อยากมาก ส่วนมื้อเย็นและมื้อเช้าที่พักส่วนใหญ่จะมีให้อยู่แล้ว แต่ก็มีโอกาสเจอแป้งนันกับผัดผักแปลกๆเหมือนกัน คนที่กินยากควรเตรียมมาม่าไปเผื่อครับ และแนะนำให้เอา Energy Bar ไปด้วยเยอะๆ ในกรณีที่หมดแรงจริงๆ รวมถึงเกลือแร่ในกรณีท้องเสียด้วยครับ
6. Altitude Sickness เป็นอาการที่พบในนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปในพื้นที่ๆสูงกว่าระดับน้ำทะเลมากๆ โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนระดับความสูงเฉียบพลัน ในกรณีของ Ladakh คือการนั่งเครื่องบินจากเดลี หรือเมืองอื่นๆด้านล่าง ไปลงที่สนามบิน Leh เลย เพราะว่าตัวเมืองนั้นสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตรครับ ซึ่งระดับความสูงที่คนทั่วไปรับได้จะอยู่ที่ประมาณ 2,000-2,500 เมตร (ประมาณยอดดอยอินทนนท์) อาการนี้เกิดจากร่างกายปรับตัวกับระดับออกซิเจนที่เบาบางลงไม่ทัน ซึ่งอาการที่จะเกิดเหมือนกันทุกคนคือเหนื่อยง่ายครับ ยิ่งขึ้นไปสูงเท่าไหร่ยิ่งเหนื่อยง่ายเท่านั้น เดินปกติจะไม่รู้สึก แต่เวลาเราวิ่ง ขึ้นบันได กระโดด หรือทำอะไรที่ต้องใช้ปอดและหัวใจเยอะๆ จะเกิดอาการหอบ และหน้ามืดได้ง่ายครับ แต่สำหรับบางคน (เน้นว่าบางคนนะครับ) จะปรับตัวได้ไม่ดีเท่าคนอื่น จะเกิดอาการรุนแรงกว่าปกติครับ รวมถึงการปวดหัวรุนแรง นอนไม่หลับ กินข้าวไม่ลง ซึ่งอาการจะเบาลงเมื่อร่างกายปรับตัวได้ครับ (ควรจะพักอยู่ในเมืองสัก 2-3 วัน) แต่ถ้าเวลาผ่านไปยังไม่เบาลงก็ควรจะเดินทางลงไประดับความสูงที่ต่ำลงถ้ายังฝืนเดินทางต่อก็อาจจะเสียชีวิตได้ครับ
เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าใครจะมีอาการแบบนี้บ้างครับ แต่เราสามารถป้องกันได้เบื้องต้นนั่นคือในวันที่เราถึง Leh วันแรก ให้พักผ่อนให้เต็มที่ครับ ให้เวลาร่างกายได้ปรับตัว ห้ามออกไปนอก Leh เนื่องจากระดับความสูงจะเปลี่ยน ห้ามออกแรงเยอะ พยายามนอนพักผ่อนเป็นหลักครับ นอกจากนี้เรายังสามารถไปซื้อยาแก้แพ้ความสูง Acetazolamide (diamox) มาป้องกันได้ครับ แต่ต้องทานอย่างระมัดระวังตาม Dose ที่กำหนด และตัวยาเองจะมีผลข้างเคียงเรื่องของอาการชาที่ปลายนิ้ว ประสาทรับรสชาดเปลี่ยน หิวน้ำ ฉี่บ่อย เป็นต้นครับ กลุ่มผมที่ไปก็ใช้วิธีเว้นวันพักไว้ครึ่งวันตอนไปถึง และแพลนเที่ยววันแรกรอบๆ Leh ครับ เพื่อปรับตัว และทานยา Diamox ตามที่หมอแนะนำครับ
ระดับความสูงของที่เที่ยวในเลห์
- Leh 3,500 m
- Pangong Lake 4,300 m แต่ผ่าน Chang la Pass ที่สูง 5,300 m
- Nubra Valley 3,000 m แต่ผ่าน Khardungla Pass ที่สูง 5,300 m (แต่เคลมว่าสูง 5,600 m)
- Tso Moriri 4,500 m
เทียบกับภูเขาที่สูงที่สุดในไทย ดอยอินทนนท์ยังสูง 2,600 m เอง
::::::::: Travel Itinerary :::::::::
Day 0 : Bangkok - Bangkok - New Delhi (ถึงตี 2 )
Day 1 : New Delhi - Leh
Day 2 : Outside Leh City : Lamayuru Route
Day 3-4 : Leh - Pangong Lake - Leh
Day 5-6 : Leh - Nubra Valley - Leh
Day 7-8 : Leh - Tso Moriri - Leh
Day 9 : Inside Leh
Day 10 : Leh - New Delhi - Bangkok
กลุ่มของเราเดินทางไป Ladakh ในช่วงอาทิตย์ที่สองของเดือนกรกฎาคมครับ ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิต Ladakh นั้นจะเข้าสู่ช่วงท่องเที่ยวตั้งแต่กลางๆเมษายนเป็นต้นไปครับ เนื่องจากก่อนหน้านั้นหิมะยังปกคลุมเมืองอยู่ แม้กระทั่งในเดือนเมษายนเอง ถนนหลายๆเส้นก็ยังไม่สามารถเข้าได้ อาจจะเจอพายุหิมะ และหิมะถล่มปิดทางเป็นพักๆครับ Ladakh จะมีช่วง Peak ในช่วงกลางฤดูใบไม้พลินั้นจะเต็มไปด้วยทุ่งดอกไม้ และในฤดูใบไม้ร่วงจะมีใบไม้เปลี่ยนสีครับ
Ladakh " Land of high passes " : 10 วันบนเส้นทางแห่งขุนเขา สายน้ำ และทะเลทราย
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักแคว้น Ladakh กันซักนิดนึงก่อน
Ladakh แปลว่า "land of high passes" เป็นแคว้นๆหนึ่งในรัฐ Kashmir and Jammu ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ซึ่งมีอาณาเขตด้านขวาติดกับธิเบต/จีน ทางซ้ายติดกับปากีสถานครับ โดย Ladakh นั้นเป็นแคว้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลที่สุดในรัฐ Kashmir and Jammu ซึ่งในบริเวณนี้จะถูกเรียกว่า "Trans-Himalaya" หรือก็คือบริเวณเทือกเขาที่อยู่ขนานกับเทือกเขา Great Himalaya ครับ โดย Ladakh นั้นเป็นบริเวณที่ที่เทือกเขา Kunlun, Karakorum และ Himalayan วิ่งเข้ามาบรรจบกัน ทำให้บรรเวณนั้นเต็มไปด้วยเทือกเขาสูงครับ
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในแคว้น Ladakh ก็คือ Leh นั่งเอง และเป็นที่ตั้งของสนามบิน Leh ประตูสู่ Land of high passes
Ladakh นั้นนับว่าเป็นเขตทุรกันดารก็ได้ครับ เนื่องจากในหน้าหนาวบริเวณนี้จะถูกหิมะหนาปกคลุม ทำให้บรรดาถนนหนทางจะพังทลาย และถูกเร่งซ่อมแซมในฤดูใบไม้ผลิ (ช่วงเมษายน) บวกกับเส้นทางบริเวณจะลัดเลาะผ่านเทือกเขาสูง ทำให้การพัฒนาของเมืองบริเวณนี้ทำได้ยากมากครับ
คนที่คิดจะเดินทางมาเที่ยวที่นี่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ในระดับนึงครับ โดยผมได้สรุปข้อควรระวังในการเที่ยวบริเวณนี้ไว้คร่าวๆดังนี้ครับ
Ladakh Travel Tip
1. ห้องน้ำ เป็นเรื่องหลักที่ต้องเตรียมใจสำหรับที่นี่ (และที่อื่นๆในอินเดีย) คือส้วมสาธารณะครับ นอกจากในโรงแรมและร้านอาหารดีๆในเมืองแล้ว ส้วมที่เหลือเรียกว่า "หลุม" จะตรงกว่า ถ้าโชคดีหน่อยก็จะเป็นหลุมเรียบๆ โชคร้ายมันก็จะมีอารยธรรมเดิมกระจัดกระจายไปด้วย เดินทางในแคว้น Ladakh ดีที่สุดอย่าปล่อยระหว่างทางครับ ต้องระวังเรื่องการกินอาหารดีๆ เนื่องเราต้องเดินทางบนรถวันละหลายชม. การท้องเสียที่นี่คือฝันร้ายครับ
2. ถนน การนั่งรถในที่นี่นอกจากไฮเวย์นอกเมือง Leh แล้ว เส้นไป Pangong Lake หรือ Nubra Valley จะผ่านจุดที่ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อแบบนั่งไม่ติดอยู่เป็นชั่วโมง มีตั้งแต่สั่นน้อยๆให้พอสะดุ้งตื่นบ้าง จนสั่งแบบต้องเกร็งตัวยึดกับเบาะ คนเมารถง่ายจะทรมานมากเพราะจะโยกแบบนี้ทุกๆเส้นและระยะทางยาวมาก รวมถึงจะมีถนนเส้นที่ไต่ขึ้นและโค้งหักศอกอีกด้วย การกินยาแก้เมาให้หลับก็ช่วยได้ส่วนหนึ่งแต่การท่องเที่ยวใน Ladakh วิวข้างทางเป็นไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาดครับ
3. แดด แดดที่นี่แรงมาก เราไปในช่วงต้นพ.ค.อากาศเย็นๆประมาณ 15-20 องศา แต่แดดที่นี่แรงจนทำให้รู้สึกร้อนได้ ที่สำคัญคือแถบนี้ร่มเงาน้อยมาก บ้านเมืองไม่ค่อยมีกันสาด และต้นไม้สูงๆน้อยเนื่องจากเป็นทะเลทรายซะส่วนใหญ่ การไปเที่ยวรอบๆแคว้นนี้ไม่ว่าอากาศจะเย็นหรือร้อนแค่ไหน เสื้อแขนยาวและหมวกเป็นสิ่งจำเป็น นั่งในรถขากับแขนยังไงก็หนีแดดไม่พ้นครับ
4. ฝุ่น เนื่องจากเป็นทะเลทราย ฝุ่นจะซัดเข้าเมืองตลอดเวลา และรถที่นั่งจะไม่เปิดแอร์แต่จะเปิดกระจกให้ลมเข้าระบายความร้อนแทน บางครั้งถ้าเราขับตามรถใหญ่ๆ มันก็จะตีฝุ่นเข้ามาในรถ ควรเตรียมผ้าปิดปากหรือผ้าพันคอไปด้วย ที่พักเองก็ไม่ติดแอร์เช่นกัน เราต้องเปิดหน้าต่างนอนตลอดทริป แต่ด้วยช่วงที่เราไปอากาศเย็น เลยไม่เป็นปัญหาสักเท่าไหร่ครับ
5. อาหาร ในตัวเมือง Leh หาข้าวกินไม่ยากเพราะร้านอาหารเยอะและขายอาหารนานาชาติทั้งไทย จีน ฝรั่ง อินเดีย แต่การเดินทางไปเที่ยวที่ไกลๆอย่าง Pangong Lake, Nubra Valley, Tso Moriri นั้นเราจะต้องหาข้าวเที่ยงกินระหว่างทาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารมังสวิรัติ และมีให้เลือกไม่มาก เช่น Fried Rice, Maggi(บะหมี่) บางร้านก็จะไม่ค่อยสะอาดครับ ควรพกทิชชู่ไปเช็ดช้อนส้อม น้ำดื่มบางที่ก็จะเสิร์ฟน้ำจากลำธารซึ่งละลายมาจาก Glacier ซึ่งก็สะอาดแหละ แต่ถ้าไม่มั่นใจก็สั่ง Bottle of Water จะเซฟกว่า การเตรียมข้าวเที่ยงไปทานเองเป็นอีกทางเลือกที่ปลอดภัย ร้านอาหารบางร้านจะทำอาหาร Take away ให้เราได้ หรือจะซื้อเป็นพวกขนมปัง และแยมไปก็ได้ เนื้อสัตว์หาซื้อยากมาก ส่วนมื้อเย็นและมื้อเช้าที่พักส่วนใหญ่จะมีให้อยู่แล้ว แต่ก็มีโอกาสเจอแป้งนันกับผัดผักแปลกๆเหมือนกัน คนที่กินยากควรเตรียมมาม่าไปเผื่อครับ และแนะนำให้เอา Energy Bar ไปด้วยเยอะๆ ในกรณีที่หมดแรงจริงๆ รวมถึงเกลือแร่ในกรณีท้องเสียด้วยครับ
6. Altitude Sickness เป็นอาการที่พบในนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปในพื้นที่ๆสูงกว่าระดับน้ำทะเลมากๆ โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนระดับความสูงเฉียบพลัน ในกรณีของ Ladakh คือการนั่งเครื่องบินจากเดลี หรือเมืองอื่นๆด้านล่าง ไปลงที่สนามบิน Leh เลย เพราะว่าตัวเมืองนั้นสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตรครับ ซึ่งระดับความสูงที่คนทั่วไปรับได้จะอยู่ที่ประมาณ 2,000-2,500 เมตร (ประมาณยอดดอยอินทนนท์) อาการนี้เกิดจากร่างกายปรับตัวกับระดับออกซิเจนที่เบาบางลงไม่ทัน ซึ่งอาการที่จะเกิดเหมือนกันทุกคนคือเหนื่อยง่ายครับ ยิ่งขึ้นไปสูงเท่าไหร่ยิ่งเหนื่อยง่ายเท่านั้น เดินปกติจะไม่รู้สึก แต่เวลาเราวิ่ง ขึ้นบันได กระโดด หรือทำอะไรที่ต้องใช้ปอดและหัวใจเยอะๆ จะเกิดอาการหอบ และหน้ามืดได้ง่ายครับ แต่สำหรับบางคน (เน้นว่าบางคนนะครับ) จะปรับตัวได้ไม่ดีเท่าคนอื่น จะเกิดอาการรุนแรงกว่าปกติครับ รวมถึงการปวดหัวรุนแรง นอนไม่หลับ กินข้าวไม่ลง ซึ่งอาการจะเบาลงเมื่อร่างกายปรับตัวได้ครับ (ควรจะพักอยู่ในเมืองสัก 2-3 วัน) แต่ถ้าเวลาผ่านไปยังไม่เบาลงก็ควรจะเดินทางลงไประดับความสูงที่ต่ำลงถ้ายังฝืนเดินทางต่อก็อาจจะเสียชีวิตได้ครับ
เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าใครจะมีอาการแบบนี้บ้างครับ แต่เราสามารถป้องกันได้เบื้องต้นนั่นคือในวันที่เราถึง Leh วันแรก ให้พักผ่อนให้เต็มที่ครับ ให้เวลาร่างกายได้ปรับตัว ห้ามออกไปนอก Leh เนื่องจากระดับความสูงจะเปลี่ยน ห้ามออกแรงเยอะ พยายามนอนพักผ่อนเป็นหลักครับ นอกจากนี้เรายังสามารถไปซื้อยาแก้แพ้ความสูง Acetazolamide (diamox) มาป้องกันได้ครับ แต่ต้องทานอย่างระมัดระวังตาม Dose ที่กำหนด และตัวยาเองจะมีผลข้างเคียงเรื่องของอาการชาที่ปลายนิ้ว ประสาทรับรสชาดเปลี่ยน หิวน้ำ ฉี่บ่อย เป็นต้นครับ กลุ่มผมที่ไปก็ใช้วิธีเว้นวันพักไว้ครึ่งวันตอนไปถึง และแพลนเที่ยววันแรกรอบๆ Leh ครับ เพื่อปรับตัว และทานยา Diamox ตามที่หมอแนะนำครับ
ระดับความสูงของที่เที่ยวในเลห์
- Leh 3,500 m
- Pangong Lake 4,300 m แต่ผ่าน Chang la Pass ที่สูง 5,300 m
- Nubra Valley 3,000 m แต่ผ่าน Khardungla Pass ที่สูง 5,300 m (แต่เคลมว่าสูง 5,600 m)
- Tso Moriri 4,500 m
เทียบกับภูเขาที่สูงที่สุดในไทย ดอยอินทนนท์ยังสูง 2,600 m เอง
::::::::: Travel Itinerary :::::::::
Day 0 : Bangkok - Bangkok - New Delhi (ถึงตี 2 )
Day 1 : New Delhi - Leh
Day 2 : Outside Leh City : Lamayuru Route
Day 3-4 : Leh - Pangong Lake - Leh
Day 5-6 : Leh - Nubra Valley - Leh
Day 7-8 : Leh - Tso Moriri - Leh
Day 9 : Inside Leh
Day 10 : Leh - New Delhi - Bangkok
กลุ่มของเราเดินทางไป Ladakh ในช่วงอาทิตย์ที่สองของเดือนกรกฎาคมครับ ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิต Ladakh นั้นจะเข้าสู่ช่วงท่องเที่ยวตั้งแต่กลางๆเมษายนเป็นต้นไปครับ เนื่องจากก่อนหน้านั้นหิมะยังปกคลุมเมืองอยู่ แม้กระทั่งในเดือนเมษายนเอง ถนนหลายๆเส้นก็ยังไม่สามารถเข้าได้ อาจจะเจอพายุหิมะ และหิมะถล่มปิดทางเป็นพักๆครับ Ladakh จะมีช่วง Peak ในช่วงกลางฤดูใบไม้พลินั้นจะเต็มไปด้วยทุ่งดอกไม้ และในฤดูใบไม้ร่วงจะมีใบไม้เปลี่ยนสีครับ