อยากหาเพื่อนมาร่วมแชร์ประสบการณ์ การมาเป็นพยาบาลในต่างประเทศทั่วโลก ว่ามี
ความยากง่ายต่างกันไงบ้าง คิดว่าพยาบาลสาวไทยหลายๆคน คงจะมีประสบการณ์มาเล่า
สู่กันฟัง
ประสบการณ์ส่วนตัว จบพยาบาลวิชาชีพจากวิทยาลัยพยาบาล แต่งงานย้ายตามสามีมาอยู่
เบลเยี่ยม โดยไม่เคยคิดว่าจะมีโอกาส จะได้กลับมาทำงานในสายอาชีพที่จบมา
มาอยู่เบลเยี่ยม ก็คงเหมือนสาวไทยหลายคนที่มาอยู่ต่างประเทศ คือเหงาๆ ไปเรียนภาษา
ดัชกลับมาบ้านก็อยู่กับสามี ก็เลยมีความคิดว่าจะลองเอาปริญญาพยาบาลมาลองเทียบดูบ้าง
ครั้งแรกไปติดต่อที่ VDAB(เป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลือด้านการศึกษาและคนว่างงาน) เค้าบอกว่า
เราคงต้องมาลงเรียนใหม่หมดเลย จบออกมาแล้วก็จะได้เป็นแค่พยาบาลA2(คล้ายๆพยาบาล๒ปี
แต่เรียน๓ปี) ที่เบลเยี่ยมมาตรฐานพยาบาลสูงมาก พยาบาลที่จบจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เยอรมัน
ฮอลแลนด์ อังกฤษ ก็ยังไม่สามารถเทียบปริญญาเข้ามาทำงานได้ หรือมีน้อยมาก
สามีก็ลองไปติดต่อที่กระทรวงศึกษาธิการ เค้าให้คำแนะมาดีมาก พร้อมส่งรายละเอียด
มาให้ ว่าต้องใช้อะไรบ้าง เรากลับมาเมืองไทยเพื่อกลับมาเอาเอกสาร ที่ใช้ตอนนั้นก็มี
๑.ทรานสคริปฉบับภาษาอังกฤษ
๒.ใบปริญญาแปลเป็นภาษาอังกฤษ
๓.หลักสูตรพยาบาล๔ปี แปลเป็นภาษาอังกฤษ
๔.ชั่วโมงเรียนภาคทฤษฏีและชั่วโมงปฏิบัติงานออกให้โดยวิทยาลัยพยาบาลตั้งแต่ปี๑ถึงปี๔
๕.ใบรับรองการขึ้นปฏิบัติงานหลังจบการศึกษาอย่างน้อย๓เดือนออกให้โดยโรงพยาบาลที่ไปบรรจุครั้งแรก
๖.ใบรับรองสถานที่ศึกษา(วิทยาลัยพยาบาล)ว่าถูกต้องและรับรองตามกฏหมาย
๗.thesis ภาคภาษาไทยทั้งเล่ม พร้อมฉบับย่นย่อเป็นภาษาอังกฤษ(ย่อเองเป็นภาษาไทย และส่งไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
นี่คือเอกสารทั้งหมด ที่เราต้องเตรียมใช้เวลาประมาณ๑ปีครึ่ง เราก็ได้ใบเทียบปริญญาพยาบาล๔ปี(A1) สามารถทำงานที่เบลเยี่ยม
ได้ อันนี้เป็นแค่ช่วงตั้งต้น ยังมีตอนต่อไป
ได้ใบเบิกทางมา แต่ภาษายังไม่ได้ เรียนภาษาดัช ตั้งแต่๑.๑(A1)ถึง๔.๒(C1)เป็นเวลา
๔ปี ตอนเรียนได้คะแนนดี เป๊ะๆๆ แถมได้ diploma ภาษาดัชมาแล้ว แต่เราฟังไม่รู้เรื่อง
พูดไม่ค่อยได้ผิดๆถูกๆ แต่การเขียนพอใช้ได้ เราไม่มีความมั่นใจว่าเราทำหน้าที่นี้ได้
ก็เลยกลับไปVDABอีกรอบเพื่อขอฝึกงานในโรงพยาบาลอีก๓เดือน ความมั่นใจกลับมา
แต่ภาษาดัชโคตรๆๆยาก เราคิดว่าเอาไงเอากัน ถ้ากลัว ก็คงต้องอยู่บ้าน ไม่ไปถึงไหนกัน
ลองไปสมัครครั้งแรก ที่โรงพยาบาลที่เราไปฝึกงานก่อน ไม่ผ่านค่ะ ตอนไปฝึก
ภาษาไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร แต่ตอนเราไปสมัครดันไม่รับ
ไปสมัครครั้งที่สองอีกรพ. ทำข้อสอบได้ดี(๑๘/๒๐) ตอนสัมภาษณ์เรารีบบอกก่อนว่าภาษาไม่ดี
แต่อย่างอื่นใจเต็มร้อย ขอให้ทางโรงพยาบาลให้โอกาส เค้าบอกถ้าพร้อมทำงาน วันพรุ่งนี้
และต้องทำเต็มเวลาเธอทำได้ไหม เรารีบยกมือไหว้รับทันทีเลย ทั้งๆที่เพิ่งคลอดลูกได้๖เดือนเอง
โอกาสมาแล้วรีบรับเลยค่ะ
ทำงานวันแรกที่CCUเป็นไอซียูของผู้ป่วยโรคหัวใจ เป็นอะไรที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน
ตอนเรียนก็ไม่เคยขึ้นฝึกCCU ตอนจบก็ทำอยู่ ICUโรคทางสมอง คนละเรื่องกันเลย
และเรื่องภาษา เราก็ยังงงๆตื้นๆ จะถามอะไรทีต้องแอบไปเขียนแอบไปเตรียมก่อน
จะส่งเวรที เราจะแอบไปเขียนในห้องน้ำก่อน แล้วถึงจะไปส่งเวร ทำอย่างนี้มาตลอด
จนประเมินผลครั้งแรก เพื่อนๆและหัวหน้าตึกพอใจ ในความกระตือลือร้น และความ
ขยันของเรา แต่ภาษาเราแย่มาก ต้องปรับปรุงตัวเอง เราก็เลยไปเรียนพิเศษโดยจ่ายเงิน
เอง พร้อมครูที่สอนก็ติดต่อกับหัวหน้าตึกเพื่อเป็นการช่วยเหลือเรา
แต่ก็ยังไม่ดีพอสำหรับหัวหน้าตึก เราก็เลยไปเรียน logopedie การฝึกอ่านออกเสียง
อีกสองปี มันค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเรา แต่ก็ยังไม่เต็มร้อย เราได้ต่อสัญญามาเรื่อยๆ
จนครบ๑ปี จึงได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ และทำมาได้ ๑๖ปีแล้วค่ะ
อ้อลืมบอกช่วงสำคัญไปช่วงหนึ่ง ทำงานได้๕ปี พยาบาลที่ทำงานในตึก ICUและER
ทั้งหมดของเบลเยี่ยม ต้องมีใบประกาศนียบัตรพยาบาลเฉพาะทางICUและฉุกเฉิน
(BBT)ถ้าไม่มีก็ต้องไปทำที่ตึกคนไข้สามัญ
เราก็เลยต้องไปเรียนอีกสองปีพร้อมทำงานไปด้วย และเลี้ยงลูกเล็กๆอีกสองคน
เพราะสามีต้องไปราชการต่างประเทศอีก๖เดือน เราจบและได้ใบประกาศ (BANABA)
Bachelor na Bachelor มาค่ะ แต่กว่าจะได้มา ก็คุ้มถึงบทพิสูจน์ในชีวิต
ขอแชร์ประสบการณ์การเข้าทำงานเป็นพยาบาลในต่างประเทศ
ความยากง่ายต่างกันไงบ้าง คิดว่าพยาบาลสาวไทยหลายๆคน คงจะมีประสบการณ์มาเล่า
สู่กันฟัง
ประสบการณ์ส่วนตัว จบพยาบาลวิชาชีพจากวิทยาลัยพยาบาล แต่งงานย้ายตามสามีมาอยู่
เบลเยี่ยม โดยไม่เคยคิดว่าจะมีโอกาส จะได้กลับมาทำงานในสายอาชีพที่จบมา
มาอยู่เบลเยี่ยม ก็คงเหมือนสาวไทยหลายคนที่มาอยู่ต่างประเทศ คือเหงาๆ ไปเรียนภาษา
ดัชกลับมาบ้านก็อยู่กับสามี ก็เลยมีความคิดว่าจะลองเอาปริญญาพยาบาลมาลองเทียบดูบ้าง
ครั้งแรกไปติดต่อที่ VDAB(เป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลือด้านการศึกษาและคนว่างงาน) เค้าบอกว่า
เราคงต้องมาลงเรียนใหม่หมดเลย จบออกมาแล้วก็จะได้เป็นแค่พยาบาลA2(คล้ายๆพยาบาล๒ปี
แต่เรียน๓ปี) ที่เบลเยี่ยมมาตรฐานพยาบาลสูงมาก พยาบาลที่จบจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เยอรมัน
ฮอลแลนด์ อังกฤษ ก็ยังไม่สามารถเทียบปริญญาเข้ามาทำงานได้ หรือมีน้อยมาก
สามีก็ลองไปติดต่อที่กระทรวงศึกษาธิการ เค้าให้คำแนะมาดีมาก พร้อมส่งรายละเอียด
มาให้ ว่าต้องใช้อะไรบ้าง เรากลับมาเมืองไทยเพื่อกลับมาเอาเอกสาร ที่ใช้ตอนนั้นก็มี
๑.ทรานสคริปฉบับภาษาอังกฤษ
๒.ใบปริญญาแปลเป็นภาษาอังกฤษ
๓.หลักสูตรพยาบาล๔ปี แปลเป็นภาษาอังกฤษ
๔.ชั่วโมงเรียนภาคทฤษฏีและชั่วโมงปฏิบัติงานออกให้โดยวิทยาลัยพยาบาลตั้งแต่ปี๑ถึงปี๔
๕.ใบรับรองการขึ้นปฏิบัติงานหลังจบการศึกษาอย่างน้อย๓เดือนออกให้โดยโรงพยาบาลที่ไปบรรจุครั้งแรก
๖.ใบรับรองสถานที่ศึกษา(วิทยาลัยพยาบาล)ว่าถูกต้องและรับรองตามกฏหมาย
๗.thesis ภาคภาษาไทยทั้งเล่ม พร้อมฉบับย่นย่อเป็นภาษาอังกฤษ(ย่อเองเป็นภาษาไทย และส่งไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
นี่คือเอกสารทั้งหมด ที่เราต้องเตรียมใช้เวลาประมาณ๑ปีครึ่ง เราก็ได้ใบเทียบปริญญาพยาบาล๔ปี(A1) สามารถทำงานที่เบลเยี่ยม
ได้ อันนี้เป็นแค่ช่วงตั้งต้น ยังมีตอนต่อไป
ได้ใบเบิกทางมา แต่ภาษายังไม่ได้ เรียนภาษาดัช ตั้งแต่๑.๑(A1)ถึง๔.๒(C1)เป็นเวลา
๔ปี ตอนเรียนได้คะแนนดี เป๊ะๆๆ แถมได้ diploma ภาษาดัชมาแล้ว แต่เราฟังไม่รู้เรื่อง
พูดไม่ค่อยได้ผิดๆถูกๆ แต่การเขียนพอใช้ได้ เราไม่มีความมั่นใจว่าเราทำหน้าที่นี้ได้
ก็เลยกลับไปVDABอีกรอบเพื่อขอฝึกงานในโรงพยาบาลอีก๓เดือน ความมั่นใจกลับมา
แต่ภาษาดัชโคตรๆๆยาก เราคิดว่าเอาไงเอากัน ถ้ากลัว ก็คงต้องอยู่บ้าน ไม่ไปถึงไหนกัน
ลองไปสมัครครั้งแรก ที่โรงพยาบาลที่เราไปฝึกงานก่อน ไม่ผ่านค่ะ ตอนไปฝึก
ภาษาไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร แต่ตอนเราไปสมัครดันไม่รับ
ไปสมัครครั้งที่สองอีกรพ. ทำข้อสอบได้ดี(๑๘/๒๐) ตอนสัมภาษณ์เรารีบบอกก่อนว่าภาษาไม่ดี
แต่อย่างอื่นใจเต็มร้อย ขอให้ทางโรงพยาบาลให้โอกาส เค้าบอกถ้าพร้อมทำงาน วันพรุ่งนี้
และต้องทำเต็มเวลาเธอทำได้ไหม เรารีบยกมือไหว้รับทันทีเลย ทั้งๆที่เพิ่งคลอดลูกได้๖เดือนเอง
โอกาสมาแล้วรีบรับเลยค่ะ
ทำงานวันแรกที่CCUเป็นไอซียูของผู้ป่วยโรคหัวใจ เป็นอะไรที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน
ตอนเรียนก็ไม่เคยขึ้นฝึกCCU ตอนจบก็ทำอยู่ ICUโรคทางสมอง คนละเรื่องกันเลย
และเรื่องภาษา เราก็ยังงงๆตื้นๆ จะถามอะไรทีต้องแอบไปเขียนแอบไปเตรียมก่อน
จะส่งเวรที เราจะแอบไปเขียนในห้องน้ำก่อน แล้วถึงจะไปส่งเวร ทำอย่างนี้มาตลอด
จนประเมินผลครั้งแรก เพื่อนๆและหัวหน้าตึกพอใจ ในความกระตือลือร้น และความ
ขยันของเรา แต่ภาษาเราแย่มาก ต้องปรับปรุงตัวเอง เราก็เลยไปเรียนพิเศษโดยจ่ายเงิน
เอง พร้อมครูที่สอนก็ติดต่อกับหัวหน้าตึกเพื่อเป็นการช่วยเหลือเรา
แต่ก็ยังไม่ดีพอสำหรับหัวหน้าตึก เราก็เลยไปเรียน logopedie การฝึกอ่านออกเสียง
อีกสองปี มันค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเรา แต่ก็ยังไม่เต็มร้อย เราได้ต่อสัญญามาเรื่อยๆ
จนครบ๑ปี จึงได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ และทำมาได้ ๑๖ปีแล้วค่ะ
อ้อลืมบอกช่วงสำคัญไปช่วงหนึ่ง ทำงานได้๕ปี พยาบาลที่ทำงานในตึก ICUและER
ทั้งหมดของเบลเยี่ยม ต้องมีใบประกาศนียบัตรพยาบาลเฉพาะทางICUและฉุกเฉิน
(BBT)ถ้าไม่มีก็ต้องไปทำที่ตึกคนไข้สามัญ
เราก็เลยต้องไปเรียนอีกสองปีพร้อมทำงานไปด้วย และเลี้ยงลูกเล็กๆอีกสองคน
เพราะสามีต้องไปราชการต่างประเทศอีก๖เดือน เราจบและได้ใบประกาศ (BANABA)
Bachelor na Bachelor มาค่ะ แต่กว่าจะได้มา ก็คุ้มถึงบทพิสูจน์ในชีวิต