คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาหงุดหงิดจนคนดูแลก็เครียดไปด้วยนี่เป็นเรื่องใหญ่. ปัญหาของคนดูแลหลัก(ซึ่งถ้าเป็นลูกหลานคือการตำหนิตัวเองที่เผลอหงุดหงิด เผลอโกรธ เผลอแสดงอารมณ์ตอบโต้. สิ่งที่ต้องทำคือต้องรู้จักให้อภัยตัวเอง
ผู้ป่วยโรคทางสมองที่มีอารมณ์หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ บางทีพฤติกรรมเปลี่ยนอาจไม่ใช่เพราะความเครียดจากการทำอะไรไม่ได้หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างเดียว. แต่อาจเป็นเพราะเซลล์ประสาทที่มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์ตายจากการขาดเลือดด้วย. หลายรายใช้ยาอาจดีขึ้น. แต่หลายรายก็ไม่ดีขึ้น. จนคนดูแลรู้สึกว่าดูแลคนเป็นโคม่า. ป้อนอาหารทางสายยาง ดูแลเรื่องขับถ่ายตามเวลาสะดวกกว่าดูแลคนป่วยที่หงุดหงิด เอาแต่ร้อง เอาแต่ด่าว่าคนดูแลตลอดเวลา
ทำความเข้าใจผู้ป่วย. ทำความเข้าใจตัวเอง. ปรึกษาแพทย์แล้วตัดสินใจอะไรก็ทำเถอะครับ
ที่สำคัญพี่น้องที่ดูแลใกล้ชิดด้องมั่นคง. อย่าหวั่นไหวกับคำของญาติๆหรือพี่น้องที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย. แต่มาเยี่ยมเป็นครั้งคราว แล้วคนป่วยมักจะบ่นโน่นนี่ให้ฟัง. ญาติๆเหล่านั้นก็จะต่อว่าคนดูแลว่าไม่ดูแลผู้ป่วย
ผู้ป่วยโรคทางสมองที่มีอารมณ์หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ บางทีพฤติกรรมเปลี่ยนอาจไม่ใช่เพราะความเครียดจากการทำอะไรไม่ได้หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างเดียว. แต่อาจเป็นเพราะเซลล์ประสาทที่มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์ตายจากการขาดเลือดด้วย. หลายรายใช้ยาอาจดีขึ้น. แต่หลายรายก็ไม่ดีขึ้น. จนคนดูแลรู้สึกว่าดูแลคนเป็นโคม่า. ป้อนอาหารทางสายยาง ดูแลเรื่องขับถ่ายตามเวลาสะดวกกว่าดูแลคนป่วยที่หงุดหงิด เอาแต่ร้อง เอาแต่ด่าว่าคนดูแลตลอดเวลา
ทำความเข้าใจผู้ป่วย. ทำความเข้าใจตัวเอง. ปรึกษาแพทย์แล้วตัดสินใจอะไรก็ทำเถอะครับ
ที่สำคัญพี่น้องที่ดูแลใกล้ชิดด้องมั่นคง. อย่าหวั่นไหวกับคำของญาติๆหรือพี่น้องที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย. แต่มาเยี่ยมเป็นครั้งคราว แล้วคนป่วยมักจะบ่นโน่นนี่ให้ฟัง. ญาติๆเหล่านั้นก็จะต่อว่าคนดูแลว่าไม่ดูแลผู้ป่วย
แสดงความคิดเห็น
ถ้าที่บ้านมีคนป่วยแบบที่คนเฝ้ากี่คนก็หนีหมดนี่ การพาไปอยู่ที่ศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุจะเป็นทางออกที่สมควรมั้ย