จากกรณีที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. วางกฏเหล็กว่า ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เป็นหนึ่งในเจ็ดกีฬาที่ต้องออกอากาศทางช่องฟรีทีวี ไม่สามารถออกอากาศในระบบบอกรับสมาชิกได้ ทำให้ภาคเอกชนเป็นกังวลว่าจะประสบปัญหาขาดทุน
โดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้หน่วยงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย การประสานงานดึงภาคเอกชนเข้าร่วมสนับสนุน แทนการใช้งบประมาณของรัฐบาล ล่าสุด ผู้สื่อข่าวมีรายงานว่า ทางรัฐบาลได้ภาคเอกชนยักษ์ใหญ่ 7 ราย เข้าให้การสนับสนุนการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกปี 2018 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะจัดฟาดแข้งกันในช่วงกลางเดือน มิ.ย.นี้
สำหรับ 7 บริษัทเอกชนที่ให้การสนับสนุนรายละ 200 ล้านบาท เป็นค่าลิขสิทธิ์ ประกอบด้วย 1. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 2. กลุ่มบริษัทในเครือคิง พาวเวอร์ 3.กลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF 4.บริษัท ระบบชนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS 5.บริษัท บางจาก จำกัด (มหาชน) 6.บริษัท กัลฟ์ อิเลคทริก จำกัด (มหาชน) หรือ GULF 7.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ทั้งนี้ การลงขันกันรายละ 200 ล้านบาท ของผู้ประกอบการทั้ง 7 ราย จะเป็นเงินที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดให้แก่ ฟีฟ่าเจ้าของลิขสิทธิ์ และผู้จัดการแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 1,400 ล้านบาท
ส่วนสถานีโทรทัศน์ที่จะได้รับการถ่ายทอดสดมี 3 ช่อง ได้แก่ ช่อง TNN 24 , อมรินทร์ทีวี ช่อง 34 และ RS ทีวี ช่อง 8 ทั้งนี้ ในกรณีของช่อง 8 RS ที่ไม่ได้ลงขันด้วย แต่ได้สิทธิ์ในการถ่ายทอดสดไป เนื่องจาก เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เดินทางไปเจรจาต่อรองกับทาง ฟีฟ่า ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการ
ลิ้งค์ข่าว
http://www.amarintv.com/news-update/news-update-thai/news-6613/150242/
คนไทยเฮ! ดูฟรีบอลโลก 2018 เอกชนลงขัน 1,400 ล้าน อมรินทร์ทีวี34-TNN24-ช่อง 8 RSถ่ายทอดสด
โดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้หน่วยงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย การประสานงานดึงภาคเอกชนเข้าร่วมสนับสนุน แทนการใช้งบประมาณของรัฐบาล ล่าสุด ผู้สื่อข่าวมีรายงานว่า ทางรัฐบาลได้ภาคเอกชนยักษ์ใหญ่ 7 ราย เข้าให้การสนับสนุนการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกปี 2018 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะจัดฟาดแข้งกันในช่วงกลางเดือน มิ.ย.นี้
สำหรับ 7 บริษัทเอกชนที่ให้การสนับสนุนรายละ 200 ล้านบาท เป็นค่าลิขสิทธิ์ ประกอบด้วย 1. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 2. กลุ่มบริษัทในเครือคิง พาวเวอร์ 3.กลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF 4.บริษัท ระบบชนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS 5.บริษัท บางจาก จำกัด (มหาชน) 6.บริษัท กัลฟ์ อิเลคทริก จำกัด (มหาชน) หรือ GULF 7.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ทั้งนี้ การลงขันกันรายละ 200 ล้านบาท ของผู้ประกอบการทั้ง 7 ราย จะเป็นเงินที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดให้แก่ ฟีฟ่าเจ้าของลิขสิทธิ์ และผู้จัดการแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 1,400 ล้านบาท
ส่วนสถานีโทรทัศน์ที่จะได้รับการถ่ายทอดสดมี 3 ช่อง ได้แก่ ช่อง TNN 24 , อมรินทร์ทีวี ช่อง 34 และ RS ทีวี ช่อง 8 ทั้งนี้ ในกรณีของช่อง 8 RS ที่ไม่ได้ลงขันด้วย แต่ได้สิทธิ์ในการถ่ายทอดสดไป เนื่องจาก เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เดินทางไปเจรจาต่อรองกับทาง ฟีฟ่า ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการ
ลิ้งค์ข่าวhttp://www.amarintv.com/news-update/news-update-thai/news-6613/150242/