สำหรับคนที่สนใจ JFIN Coin แต่ไม่มีเวลาอ่าน White Paper (หนังสือชี้ชวน) ผมมาสรุปให้ครับ ....
โดยสรุปแล้ว สิ่งที่ JMart กำลังจะทำคือ การออก ICO เพื่อระดมเงิน 20 ล้าน USD (ในเฟสแรก) เพื่อสร้าง Platform ในการให้ คนปล่อยกู้(Lender) กับ คนกู้(Borrower) มาเจอกัน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่ม Unbank (ไม่ได้ทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงิน) กับพวก Underbank (ไม่ผ่านเกณฑ์สถาบันการเงิน) ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก .. โดยใช้ชื่อว่า JFIN Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการลดต้นทุนทางการเงิน ทำให้ทุกฝ่าย Happy คือ Lender ได้กำไรในระดับความเสี่ยงที่ตนรับได้ ส่วน Borrower จ่ายดอกเบี้ยถูกกว่ากู้นอกระบบ
โดยบริษัทที่เกี่ยวข้อง จำชื่อแค่ 3 บริษัท คือ J Venture , J Fintech และ JMT
-> J Venture คือ บริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ (Jmart ถือหุ้น 80%) และที่กำลังจะขาย ICO ระดมทุน เพื่อสร้าง DDLP
-> J Fintech (Jmart ถือหุ้น 95.66%) คือ บริษัทที่จะดำเนินการทั้งหมด เกี่ยวกับ Lending Platform นี้
-> JMT คือ บริษัทในเครือ Jmart ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับติดตามหนี้ บริหารหนี้ (Jmart ถือหุ้น 57%) โดยหากเกิดหนี้เสีย หรือผิดชำระหนี้จาก DDLP แล้ว ทาง JMT จะไปจัดการทวงหนี้ต่อ
จุดเริ่มต้น มาจากปัญหาของคน 2 กลุ่มคือ
1. คนต้องการเงิน : ประเทศในแถบนี้ (Indochina) มีกลุ่มคน Unbank กับ Underbank จำนวนมากถึง 72% ของประชากร ที่มีต้นทุนในการเข้าถึงเงินทุนสูง จะไปกู้แบงค์ก็ช้า ส่วนใหญ่ก็ถูกปฏิเสธ ต้องไปกู้นอกระบบ เสียดอกเบี้ยปีละ 150% (จริงหรือนี่)
2. คนมีเงิน : ขณะเดียวกัน คนมีเงินอยากลงทุน วันนี้เอาไปฝากธนาคาร ได้ดอกเบี้ยแค่ 0.5%
อย่ากระนั้นเลย เราก็เอาคน 2 กลุ่มนี้มาเจอกันโดยตรง ผ่านเทคโนโลยีที่ “ตัดคนกลาง” และคิดหา “วิธีการประเมินเครดิตแบบใหม่” ทำให้ลดต้นทุนได้มหาศาล (แต่ต้องลงทุนระบบในตอนแรก) นั่นก็คือ เทคโนโลยี Blockchain / Machine Learning & AI จึงเกิดเป็น Platform ดังกล่าว
โดยในช่วงแรก จะเน้นการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มลูกค้าของ Jmart group เองก่อน แสดงว่า Jmart น่าจะเจอลูกค้าเยอะ ที่ต้องการผ่อนมือถือ แต่ติดเครดิตบูโร กู้ไม่ผ่าน แม้ดูแล้วมีศักยภาพในการผ่อน
ประเด็นที่น่าสนใจ ของ Business Model ของ JFIN มี 6 เรื่องคือ
1. กระบวนการกู้ (Lending Process) เป็นยังไง
2. ต้นทุนการกู้ยืมเงิน (Lending Fee) ลดลงได้ยังไง
3. JFIN มีวิธีการประเมินเครดิต ของ Borrower ยังไง
4. JFIN มีกระบวนการติดตามหนี้ยังไง
5. JFIN Coin เอาไปใช้ทำอะไร
6. ICO มีรายละเอียดยังไง
มาดูกันทีละเรื่อง
1. Lending Process เป็นยังไง
DDLP จะเก็บข้อมูลเครดิตของ Borrower ที่ผ่านการประเมินจากช่องทาง และวิธีการต่างๆ เก็บไว้ในฐานข้อมูล แล้วประเมินว่า สามารถกู้ได้สูงสุดเท่าไร / อัตราดอกเบี้ยเท่าไร / สามารถผ่อนได้งวดละเท่าไร .. ขณะเดียวกัน Lender จะกำหนดว่า ตนเองต้องการผลตอบแทนเท่าไร / รับความเสี่ยงได้เท่าไร .. จากนั้น ระบบ DDLP จะทำการ Matching ทั้ง 2 ฝ่าย เข้าหากัน เพื่อทำ Smart Contract ต่อไป ที่น่าทึ่งคือ Borrower สามารถกู้เงินจากระบบ โดยเป็นเงินจาก Lender หลายๆคน ภายใต้สัญญาเงินกู้เดียว!! ( ซึ่งใน white paper ไม่ได้ลงรายละเอียด )
2. ต้นทุนการกู้ยืมเงิน (Lending Fee) ลดลงได้ยังไง
เกือบทุกๆกระบวนการ จะทำผ่านระบบ Online ตั้งแต่การสมัคร / ทำ KYC / ขอกู้ / รับเงิน / จ่ายคืนหนี้ จะทำผ่าน App หรือผ่าน Web ของบริษัท โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ (ยกเว้นตอนทวงหนี้ ถ้าผิดนัดชำระ) .. และ มีการบันทึกธุรกรรม ทั้งสัญญา / การโอนเงิน / เก็บประวัติลูกค้า โดยใช้รูปแบบ Smart Contract บน Blockchain เป็นรูปแบบ Decentralized คือไม่ต้องมีคนกลางแบบรวมศูนย์ (Centralized) ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของเทคโนโลยี Blockchain อยู่แล้ว .. พอไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องคนกลาง ต้นทุนจึงลดลงชัดเจน
3. JFIN มีวิธีการประเมินเครดิต ของ Borrower ยังไง
เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มระดับรากหญ้า ซึ่งมีไม่น้อยที่น่าจะติดเครดิตบูโร กู้แบงค์ไม่ผ่าน การประเมินเครดิตของ JFIN จึงต้องมีวิธีอื่นๆ ( ซึ่งน่าสนใจมาก ) เช่น ข้อมูลการกู้ในอดีต / ประวัติลูกค้าเก่า (กรณีเป็นลูกค้า Jmart) / ประวัติการเติมเงินมือถือ (เฮ้ย มันบอกอะไรได้ด้วย) / Demography/ Social Interactions & Social Identities เราเป็นคนยังไง ใช้ชีวิตยังไง มีตัวตนในสังคมยังไง ซึ่งเดี๋ยวนี้ หาข้อมูลบุคคลผ่านโลกออนไลน์ไม่ยากเลย .. แล้วนำข้อมูลทั้งหมด ป้อนใส่คอมพิวเตอร์ ที่ใช้ Machine Learning และ AI ในการประเมิน Credit Scoring ของลูกค้า .. ผลลัพธ์คือใครที่เครดิตดี จะมีโอกาสกู้ ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า
4. JFIN มีกระบวนการติดตามหนี้ยังไง
JMart ใช้จุดแข็ง คือมี JMT ซึ่งเก่งเรื่องตามทวงหนี้อยู่แล้ว โดยกระบวนการคือ ถ้า Borrower ไม่เติมเงินเข้าไปในระบบก่อนถึงวันตัดบัญชี จะถือว่าผิดชำระหนี้ ทาง JMT จะดำเนินการตามทวงหนี้ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ส่ง จม.ทวงหนี้ / โทรทวงหนี้ / ตามไปเก็บถึงที่ / ฟ้องศาล / ยึดทรัพย์ ตามแต่กรณี เหมือนการปล่อยกู้ทั่วไป นักลงทุนน่าจะอุ่นใจว่า JFIN มีบริษัทในเครือที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ (แต่ถ้าให้ดี คงต้องพยายามให้ระบบ Credit Scoring ชัวร์ที่สุด จะได้ไม่ต้องตามทวงหนี้ 55 )
5. JFIN Coin (token) เอาไปใช้ทำอะไร
ภายใต้ DDLP มีระบบ blockchain ที่เรียกว่า JFIN Decentralized Network (JDN) ซึ่งในการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านระบบ JDN จะต้องจ่ายธรรมเนียม เป็น JFIN coin ผ่านรูปแบบ Proof of Stake (ใครไม่เข้าใจ อธิบายสั้นๆว่า POS คือรูปแบบหนึ่งในการจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ที่รับรองธุรกรรมผ่าน blockchain) และนี่แหละคือ utility ของ token นี้ .. แต่คนที่เป็น Borrower กับ Lender ไม่ต้องถือ JFin coin เพราะระบบจะแปลงเงินบาทที่เป็นค่าธรรมเนียม เป็น JFin coin ให้อัตโนมัติตอนทำธุรกรรม
นอกจากนั้น ถ้าเรามี JFIN coin มากพอ เราจะมีสิทธิเป็นผู้รับรองธุรกรรม node หนึ่งด้วย ซึ่งจะได้ผลตอบแทนเป็น JFIN Coin เพิ่มขึ้น (เป็นกระบวนการ Proof of Stake ภายใต้ Blockchain .. ไม่เข้าใจไม่เป็นไร เพราะเป็นเรื่องเทคนิคของ blockchain ครับ)
และสุดท้าย ถ้าต้องการเอาไปเทรดเป็น Coin อื่น (BTC, ETH, …) หรือ cash out ออกมาเป็นสกุลเงินปกติ (THB, USD) ก็ต้องแลกผ่านตลาด exchange ต่างๆ เช่น bx , tdax เป็นต้น
6. ICO มีรายละเอียดยังไง
คราวนี้ มาถึงการระดมทุน ทาง JFIN จะสร้าง token ขึ้นมา จำนวน 300 ล้าน JFIN (หน่วยของ token ที่สร้าง) โดยที่ 100 ล้าน JFIN จะถูกขายเป็น pre ICO และ ICO โดยกำหนดการขาย คือ
-> pre ICO (ได้ส่วนลด 5%) – 14 Feb 2018
-> ICO – 1 Mar 2018
หมายเหตุ : ยังไม่ทราบว่า จำนวนที่ขายในรอบ pre ICO ก่อน มีจำนวนเท่าไร แต่ทั้ง 2 รอบนี้ ขายผ่าน exchange คือ Tdax (www.tdax.com)
เงินที่ได้ ประมาณ 20 ล้าน USD จะเอาไปพัฒนา Platform 75% / Operation 20% / อื่นๆ เช่น ด้านกฎหมาย ฯลฯ 5%
ส่วนอีก 200 ล้าน JFIN นี่จะเก็บไว้สำรอง และบางส่วนขายภายในกลุ่ม แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
-> 90 ล้าน JFIN เก็บไว้ออก ICO ในอนาคต (หลัง 1 Oct 2019)
-> 40 ล้าน JFIN เก็บไว้ขายทีมงาน / advisors / partners (ผู้มีอุปการคุณ ?) .. (หลัง 1 Oct 2019)
-> 70 ล้าน JFIN เก็บไว้ขายบริษัทในเครือ JMart โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ..
20 ล้าน JFIN (หลัง 1 Oct 2018) และ
50 ล้าน JFIN (หลัง 1 Oct 2019)
ถ้ามี token เหลือ หรือขายไม่หมด ก็จะกลายเป็นของ J Venture ต่อไป
———————————
สิ่งที่ท้าท้ายของ JFin ผมว่า มี 2 เรื่องคือ
1. จะควบคุมให้เกิดหนี้เสีย น้อยที่สุด หรือไม่มากกว่าการปล่อยกู้ปกติได้ยังไง อันนี้คงต้องดูว่าเครื่องมือทำ Credit Scoring ที่ว่า จะได้ผลจริงแค่ไหน .. ต้องดูต่อไป
2. กฎหมาย จะรับรองให้ทำได้หรือไม่ ปัจจุบันยังไม่ผิดกฎหมายไทย เพราะยังไม่มีกฎหมายบังคับชัดเจน แม้ว่าจะทำได้ในต่างประเทศ แต่นี่คือประเทศไทย .. ต้องดูต่อไป เช่นกัน
ถือว่า Jmart วางเดิมพันกับการเป็น First Adopter ( จริงๆไม่ใช่ ICO แรกของไทย ) ที่ทำให้วงการตื่นตัวเรื่อง ICO .. ถ้าหลังวันวาเลนไลน์ แล้วผลตอบรับดี Jmart Group ก็คงจะเดินหน้านำคนอื่นไปยาวๆ และน่าจะเปิดโอกาสให้ ICO รายอื่นๆ ต่อไปด้วย
สุดท้ายนี้ ผมไม่ขอสรุปว่าเราควรซื้อ หรือไม่ควรซื้อ ICO นี้นะครับ เพราะมีทั้งส่วนที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยง ต้องใช้วิจารณญาณในการลงทุนกันเอง ผมแค่สรุปตามที่ได้อ่านครับ 😊
ที่มา :
https://web.facebook.com/mr.mongkol
สรุป White Paper ของ JFIN Coin ก่อนตัดสินใจลงทุน ICO
โดยสรุปแล้ว สิ่งที่ JMart กำลังจะทำคือ การออก ICO เพื่อระดมเงิน 20 ล้าน USD (ในเฟสแรก) เพื่อสร้าง Platform ในการให้ คนปล่อยกู้(Lender) กับ คนกู้(Borrower) มาเจอกัน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่ม Unbank (ไม่ได้ทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงิน) กับพวก Underbank (ไม่ผ่านเกณฑ์สถาบันการเงิน) ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก .. โดยใช้ชื่อว่า JFIN Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการลดต้นทุนทางการเงิน ทำให้ทุกฝ่าย Happy คือ Lender ได้กำไรในระดับความเสี่ยงที่ตนรับได้ ส่วน Borrower จ่ายดอกเบี้ยถูกกว่ากู้นอกระบบ
โดยบริษัทที่เกี่ยวข้อง จำชื่อแค่ 3 บริษัท คือ J Venture , J Fintech และ JMT
-> J Venture คือ บริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ (Jmart ถือหุ้น 80%) และที่กำลังจะขาย ICO ระดมทุน เพื่อสร้าง DDLP
-> J Fintech (Jmart ถือหุ้น 95.66%) คือ บริษัทที่จะดำเนินการทั้งหมด เกี่ยวกับ Lending Platform นี้
-> JMT คือ บริษัทในเครือ Jmart ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับติดตามหนี้ บริหารหนี้ (Jmart ถือหุ้น 57%) โดยหากเกิดหนี้เสีย หรือผิดชำระหนี้จาก DDLP แล้ว ทาง JMT จะไปจัดการทวงหนี้ต่อ
จุดเริ่มต้น มาจากปัญหาของคน 2 กลุ่มคือ
1. คนต้องการเงิน : ประเทศในแถบนี้ (Indochina) มีกลุ่มคน Unbank กับ Underbank จำนวนมากถึง 72% ของประชากร ที่มีต้นทุนในการเข้าถึงเงินทุนสูง จะไปกู้แบงค์ก็ช้า ส่วนใหญ่ก็ถูกปฏิเสธ ต้องไปกู้นอกระบบ เสียดอกเบี้ยปีละ 150% (จริงหรือนี่)
2. คนมีเงิน : ขณะเดียวกัน คนมีเงินอยากลงทุน วันนี้เอาไปฝากธนาคาร ได้ดอกเบี้ยแค่ 0.5%
อย่ากระนั้นเลย เราก็เอาคน 2 กลุ่มนี้มาเจอกันโดยตรง ผ่านเทคโนโลยีที่ “ตัดคนกลาง” และคิดหา “วิธีการประเมินเครดิตแบบใหม่” ทำให้ลดต้นทุนได้มหาศาล (แต่ต้องลงทุนระบบในตอนแรก) นั่นก็คือ เทคโนโลยี Blockchain / Machine Learning & AI จึงเกิดเป็น Platform ดังกล่าว
โดยในช่วงแรก จะเน้นการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มลูกค้าของ Jmart group เองก่อน แสดงว่า Jmart น่าจะเจอลูกค้าเยอะ ที่ต้องการผ่อนมือถือ แต่ติดเครดิตบูโร กู้ไม่ผ่าน แม้ดูแล้วมีศักยภาพในการผ่อน
ประเด็นที่น่าสนใจ ของ Business Model ของ JFIN มี 6 เรื่องคือ
1. กระบวนการกู้ (Lending Process) เป็นยังไง
2. ต้นทุนการกู้ยืมเงิน (Lending Fee) ลดลงได้ยังไง
3. JFIN มีวิธีการประเมินเครดิต ของ Borrower ยังไง
4. JFIN มีกระบวนการติดตามหนี้ยังไง
5. JFIN Coin เอาไปใช้ทำอะไร
6. ICO มีรายละเอียดยังไง
มาดูกันทีละเรื่อง
1. Lending Process เป็นยังไง
DDLP จะเก็บข้อมูลเครดิตของ Borrower ที่ผ่านการประเมินจากช่องทาง และวิธีการต่างๆ เก็บไว้ในฐานข้อมูล แล้วประเมินว่า สามารถกู้ได้สูงสุดเท่าไร / อัตราดอกเบี้ยเท่าไร / สามารถผ่อนได้งวดละเท่าไร .. ขณะเดียวกัน Lender จะกำหนดว่า ตนเองต้องการผลตอบแทนเท่าไร / รับความเสี่ยงได้เท่าไร .. จากนั้น ระบบ DDLP จะทำการ Matching ทั้ง 2 ฝ่าย เข้าหากัน เพื่อทำ Smart Contract ต่อไป ที่น่าทึ่งคือ Borrower สามารถกู้เงินจากระบบ โดยเป็นเงินจาก Lender หลายๆคน ภายใต้สัญญาเงินกู้เดียว!! ( ซึ่งใน white paper ไม่ได้ลงรายละเอียด )
2. ต้นทุนการกู้ยืมเงิน (Lending Fee) ลดลงได้ยังไง
เกือบทุกๆกระบวนการ จะทำผ่านระบบ Online ตั้งแต่การสมัคร / ทำ KYC / ขอกู้ / รับเงิน / จ่ายคืนหนี้ จะทำผ่าน App หรือผ่าน Web ของบริษัท โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ (ยกเว้นตอนทวงหนี้ ถ้าผิดนัดชำระ) .. และ มีการบันทึกธุรกรรม ทั้งสัญญา / การโอนเงิน / เก็บประวัติลูกค้า โดยใช้รูปแบบ Smart Contract บน Blockchain เป็นรูปแบบ Decentralized คือไม่ต้องมีคนกลางแบบรวมศูนย์ (Centralized) ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของเทคโนโลยี Blockchain อยู่แล้ว .. พอไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องคนกลาง ต้นทุนจึงลดลงชัดเจน
3. JFIN มีวิธีการประเมินเครดิต ของ Borrower ยังไง
เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มระดับรากหญ้า ซึ่งมีไม่น้อยที่น่าจะติดเครดิตบูโร กู้แบงค์ไม่ผ่าน การประเมินเครดิตของ JFIN จึงต้องมีวิธีอื่นๆ ( ซึ่งน่าสนใจมาก ) เช่น ข้อมูลการกู้ในอดีต / ประวัติลูกค้าเก่า (กรณีเป็นลูกค้า Jmart) / ประวัติการเติมเงินมือถือ (เฮ้ย มันบอกอะไรได้ด้วย) / Demography/ Social Interactions & Social Identities เราเป็นคนยังไง ใช้ชีวิตยังไง มีตัวตนในสังคมยังไง ซึ่งเดี๋ยวนี้ หาข้อมูลบุคคลผ่านโลกออนไลน์ไม่ยากเลย .. แล้วนำข้อมูลทั้งหมด ป้อนใส่คอมพิวเตอร์ ที่ใช้ Machine Learning และ AI ในการประเมิน Credit Scoring ของลูกค้า .. ผลลัพธ์คือใครที่เครดิตดี จะมีโอกาสกู้ ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า
4. JFIN มีกระบวนการติดตามหนี้ยังไง
JMart ใช้จุดแข็ง คือมี JMT ซึ่งเก่งเรื่องตามทวงหนี้อยู่แล้ว โดยกระบวนการคือ ถ้า Borrower ไม่เติมเงินเข้าไปในระบบก่อนถึงวันตัดบัญชี จะถือว่าผิดชำระหนี้ ทาง JMT จะดำเนินการตามทวงหนี้ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ส่ง จม.ทวงหนี้ / โทรทวงหนี้ / ตามไปเก็บถึงที่ / ฟ้องศาล / ยึดทรัพย์ ตามแต่กรณี เหมือนการปล่อยกู้ทั่วไป นักลงทุนน่าจะอุ่นใจว่า JFIN มีบริษัทในเครือที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ (แต่ถ้าให้ดี คงต้องพยายามให้ระบบ Credit Scoring ชัวร์ที่สุด จะได้ไม่ต้องตามทวงหนี้ 55 )
5. JFIN Coin (token) เอาไปใช้ทำอะไร
ภายใต้ DDLP มีระบบ blockchain ที่เรียกว่า JFIN Decentralized Network (JDN) ซึ่งในการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านระบบ JDN จะต้องจ่ายธรรมเนียม เป็น JFIN coin ผ่านรูปแบบ Proof of Stake (ใครไม่เข้าใจ อธิบายสั้นๆว่า POS คือรูปแบบหนึ่งในการจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ที่รับรองธุรกรรมผ่าน blockchain) และนี่แหละคือ utility ของ token นี้ .. แต่คนที่เป็น Borrower กับ Lender ไม่ต้องถือ JFin coin เพราะระบบจะแปลงเงินบาทที่เป็นค่าธรรมเนียม เป็น JFin coin ให้อัตโนมัติตอนทำธุรกรรม
นอกจากนั้น ถ้าเรามี JFIN coin มากพอ เราจะมีสิทธิเป็นผู้รับรองธุรกรรม node หนึ่งด้วย ซึ่งจะได้ผลตอบแทนเป็น JFIN Coin เพิ่มขึ้น (เป็นกระบวนการ Proof of Stake ภายใต้ Blockchain .. ไม่เข้าใจไม่เป็นไร เพราะเป็นเรื่องเทคนิคของ blockchain ครับ)
และสุดท้าย ถ้าต้องการเอาไปเทรดเป็น Coin อื่น (BTC, ETH, …) หรือ cash out ออกมาเป็นสกุลเงินปกติ (THB, USD) ก็ต้องแลกผ่านตลาด exchange ต่างๆ เช่น bx , tdax เป็นต้น
6. ICO มีรายละเอียดยังไง
คราวนี้ มาถึงการระดมทุน ทาง JFIN จะสร้าง token ขึ้นมา จำนวน 300 ล้าน JFIN (หน่วยของ token ที่สร้าง) โดยที่ 100 ล้าน JFIN จะถูกขายเป็น pre ICO และ ICO โดยกำหนดการขาย คือ
-> pre ICO (ได้ส่วนลด 5%) – 14 Feb 2018
-> ICO – 1 Mar 2018
หมายเหตุ : ยังไม่ทราบว่า จำนวนที่ขายในรอบ pre ICO ก่อน มีจำนวนเท่าไร แต่ทั้ง 2 รอบนี้ ขายผ่าน exchange คือ Tdax (www.tdax.com)
เงินที่ได้ ประมาณ 20 ล้าน USD จะเอาไปพัฒนา Platform 75% / Operation 20% / อื่นๆ เช่น ด้านกฎหมาย ฯลฯ 5%
ส่วนอีก 200 ล้าน JFIN นี่จะเก็บไว้สำรอง และบางส่วนขายภายในกลุ่ม แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
-> 90 ล้าน JFIN เก็บไว้ออก ICO ในอนาคต (หลัง 1 Oct 2019)
-> 40 ล้าน JFIN เก็บไว้ขายทีมงาน / advisors / partners (ผู้มีอุปการคุณ ?) .. (หลัง 1 Oct 2019)
-> 70 ล้าน JFIN เก็บไว้ขายบริษัทในเครือ JMart โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ..
20 ล้าน JFIN (หลัง 1 Oct 2018) และ
50 ล้าน JFIN (หลัง 1 Oct 2019)
ถ้ามี token เหลือ หรือขายไม่หมด ก็จะกลายเป็นของ J Venture ต่อไป
———————————
สิ่งที่ท้าท้ายของ JFin ผมว่า มี 2 เรื่องคือ
1. จะควบคุมให้เกิดหนี้เสีย น้อยที่สุด หรือไม่มากกว่าการปล่อยกู้ปกติได้ยังไง อันนี้คงต้องดูว่าเครื่องมือทำ Credit Scoring ที่ว่า จะได้ผลจริงแค่ไหน .. ต้องดูต่อไป
2. กฎหมาย จะรับรองให้ทำได้หรือไม่ ปัจจุบันยังไม่ผิดกฎหมายไทย เพราะยังไม่มีกฎหมายบังคับชัดเจน แม้ว่าจะทำได้ในต่างประเทศ แต่นี่คือประเทศไทย .. ต้องดูต่อไป เช่นกัน
ถือว่า Jmart วางเดิมพันกับการเป็น First Adopter ( จริงๆไม่ใช่ ICO แรกของไทย ) ที่ทำให้วงการตื่นตัวเรื่อง ICO .. ถ้าหลังวันวาเลนไลน์ แล้วผลตอบรับดี Jmart Group ก็คงจะเดินหน้านำคนอื่นไปยาวๆ และน่าจะเปิดโอกาสให้ ICO รายอื่นๆ ต่อไปด้วย
สุดท้ายนี้ ผมไม่ขอสรุปว่าเราควรซื้อ หรือไม่ควรซื้อ ICO นี้นะครับ เพราะมีทั้งส่วนที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยง ต้องใช้วิจารณญาณในการลงทุนกันเอง ผมแค่สรุปตามที่ได้อ่านครับ 😊
ที่มา : https://web.facebook.com/mr.mongkol