..."สัตว์ร้ายในตัวคน ในตัวใคร"...ดนตรี กวี ปรัชญา (ประสาชาวบ้าน By นายพระรอง)

กระทู้สนทนา
.

สัตว์ร้ายในตัวฉัน : ป้าง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



       เมื่อ 2,000 กว่า​ปี​ที่​แล้ว อาริสโตเติล นัก​ปรัชญา​ชาว​กรีก​ได้​ใช้​คำ​ว่า “การ​ระบาย​อารมณ์” เพื่อ​พรรณนา​ถึง​การ​ปลด​ปล่อย​หรือ​ระบาย​ความ​เครียด​ทาง​อารมณ์​ซึ่ง​เกิด​จาก​การ​ชม​โศกนาฏกรรม​ใน​โรง​ละคร. คิด​กัน​ว่า ถ้า​ความ​ตึงเครียด​ถูก​ปลด​ปล่อย​ออก​มา​แล้ว​ก็​จะ​เกิด​ความ​รู้สึก​สดชื่น​ทาง​จิตใจ.

       ใน​ตอน​ต้น​ของ​ศตวรรษ​ที่​ผ่าน​มา ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นัก​ประสาท​วิทยา​ชาว​ออสเตรีย​ได้​ส่ง​เสริม​แนว​คิด​คล้าย ๆ กัน. เขา​อ้าง​ว่า​ถ้า​ผู้​คน​เก็บ​กด​หรือ​ข่ม​ห้าม​อารมณ์​ความ​รู้สึก​ใน​แง่​ลบ​ไว้ ภาย​หลัง​อารมณ์​เหล่า​นั้น​จะ​ปรากฏ​ออก​มา​เป็น​ความ​ผิด​ปกติ​ทาง​จิต เช่น โรค​จิต​ฮิสทีเรีย. ฉะนั้น ฟรอยด์​ยืน​ยัน​ว่า​เรา​ควร​แสดง​ความ​โกรธ​ออก​มา​แทน​ที่​จะ​ยับยั้ง​เอา​ไว้.

       ภาย​หลัง นัก​วิจัย​ที่​ทดสอบ​ทฤษฎี​การ​ระบาย​อารมณ์​ตลอด​ทศวรรษ 1970 และ 1980 แทบ​ไม่​พบ​หลักฐาน​ใด​สนับสนุน​ทฤษฎี​นี้​เลย. การ​ค้น​พบ​นี้​ทำ​ให้​นัก​จิตวิทยา​ชื่อ​แครอล ทาฟริส​เขียน​ว่า “ถึง​เวลา​แล้ว​ที่​จะ​เลิก​เชื่อ​สมมุติฐาน​ที่ว่าการ​ระบาย​อารมณ์​มี​ประโยชน์. แทบ​ไม่​มี​การ​วิจัย​ใด​สนับสนุน​ความ​เชื่อ​ที่ว่าการ​ทำ​สิ่ง​ที่​รุนแรง (หรือ ‘ระบาย​อารมณ์​ออก​มา’) จะ​ช่วย​ขจัด​ความ​เกลียด​ชัง.” และนัก​จิตวิทยา​อีก​คน​หนึ่ง​ชื่อ​แกรี แฮนกินส์ กล่าว​ว่า “การ​วิจัย​แสดง​ว่า ‘การ​ระบาย’ ความ​โกรธ​ทั้ง​หมด​ของ​คุณ​ออก​มา​มัก​จะ​ทำ​ให้​คุณ​โมโห​มาก​ขึ้น ไม่​ใช่​น้อย​ลง.”
*เครดิต https://wol.jw.org/th/wol/d/r113/lp-si/102012083



คำถามเดียวสำหรับกะทู้นี้.....
คือ ถึงเวลาที่จะพอได้หรือยังกับการระบายความโกรธ ความเคียดแค้นของตนเอง ที่ตัวเองมีไปให้คนอื่นร่วมรับรู้
พอได้หรือยัง..?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่