บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ศึกษา "แม่หอบโมเดล" เพื่อเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในพื้นที่ป่าชายเลนมากกว่า 50 ชนิด รวมทั้ง นก แมลง และสัตว์ทะเลหน้าดิน ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน
แม่หอบ” เป็นสัตว์น้ำประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวสีแดงเข้มอมน้ำตาลเป็นปล้อง ๆ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ พบมากในพื้นที่ป่าชายเลนทางภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศโดยการย่อยสลายซากพืชและการสร้างจอมหอบซึ่งเกิดจากแม่หอบขุดรูขนดินออกมากองคล้ายลักษณะของจอมปลวก และบริเวณจอมหอบเป็นที่ที่พันธุ์ไม้ป่าหลายชนิดใช้เกาะและเติบโตได้ดี
นายเจษฎา วงค์พรหม นักวิจัยคณะวนศาสตร์ มก. กล่าวว่า คณะวนศาสตร์ ร่วมกับสถานีเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามันจังหวัดระนอง ของคณะประมง ทำการศึกษา “ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนกรณีแม่หอบ” บริเวณแปลงปลูกป่าชายเลนของซีพีเอฟ จังหวัดพังงา จำนวน 54.72 ไร่ พบว่า ‘แม่หอบ’ช่วยเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในพื้นที่ และช่วยเร่งกระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลนให้เร็วขึ้น จากการที่มีไม้ป่าบกเกิดขึ้นทดแทนตามธรรมชาติในบริเวณจอมหอบ
“แม่หอบจะมีการสร้างจอมหอบโดยการนำดินและอินทรียวัตถุที่อยู่ใต้ดินมากองไว้บนปากรู จนเป็นจอมหอบขนาดใหญ่ จอมหอบดังกล่าวจะมีพันธุ์ไม้ป่าบกขึ้นมาทดแทน โดยรูปแบบโครงสร้างของจอมหอบสามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าพรุ หรือการฟื้นฟูบ่อกุ้งร้างที่ดินเสื่อมโทรมและมีน้ำท่วมสูงเป็นเวลานาน ดังนั้นการปรับสภาพพื้นที่ให้คล้ายจอมหอบแล้วปลูกต้นไม้เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูป่าหรือเรียกว่า “แม่หอบโมเดล” อาจารย์คณะวนศาสตร์ มก. กล่าว
นายเจษฎา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและเติบโตได้ดีบนจอมหอบ เช่น ฝาดดอกแดง ลำบิด พลับทะเล ตาตุ่มทะเล ปอทะเล หงอนไก่ทะเล และหลุมพอทะเล เป็นพันธุ์ไม้ที่ควรนำมาขยายพันธุ์เพื่อปลูกบนจอมหอบ ช่วยเร่งกระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลนและเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในพื้นที่
นอกจากนี้ พื้นที่ปลูกป่าชายเลน บริเวณบ้านทับปลา ต.ท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ความสำคัญและชนิดของแม่หอบ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มีมากถึง 52 ชนิดและแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์ไม้ อาทิ “ฝาดดอกแดง” ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่เติบโตได้ดีในพื้นที่ มีรูปทรงและดอกสวยงาม สามารถนำไปเพาะขยายพันธุ์เพื่อปลูกเป็นไม้ประดับและจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้แก่คนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ภาคประชาสังคมและชุมชน ดำเนินโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้องป่าชายเลน”ภายใต้แผน 5 ปี (ปี 2557-2561) กำหนดพื้นที่ปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร พังงา ระยอง สมุทรสาคร และ สงขลา ปลูกป่าชายเลนมากกว่า 2 พันไร่ ซึ่งภายในเดือนกันยายน 2561 นี้ ซีพีเอฟจะส่งมอบโครงการฯทั้ง 5 พื้นที่ให้แก่ทช.
ทั้งนี้ พื้นที่ป่าชายเลนบ้านทับปลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ในอดีตมีการบุกรุกเพื่อปลูกพืชเกษตร เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้ป่าชายเลนมีจำนวนลดลงและมีความเสื่อมโทรม จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ท้องถิ่น
CPF จับมือม.เกษตรฯศึกษา ‘แม่หอบโมเดล’เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ศึกษา "แม่หอบโมเดล" เพื่อเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในพื้นที่ป่าชายเลนมากกว่า 50 ชนิด รวมทั้ง นก แมลง และสัตว์ทะเลหน้าดิน ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน
แม่หอบ” เป็นสัตว์น้ำประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวสีแดงเข้มอมน้ำตาลเป็นปล้อง ๆ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ พบมากในพื้นที่ป่าชายเลนทางภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศโดยการย่อยสลายซากพืชและการสร้างจอมหอบซึ่งเกิดจากแม่หอบขุดรูขนดินออกมากองคล้ายลักษณะของจอมปลวก และบริเวณจอมหอบเป็นที่ที่พันธุ์ไม้ป่าหลายชนิดใช้เกาะและเติบโตได้ดี
นายเจษฎา วงค์พรหม นักวิจัยคณะวนศาสตร์ มก. กล่าวว่า คณะวนศาสตร์ ร่วมกับสถานีเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามันจังหวัดระนอง ของคณะประมง ทำการศึกษา “ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนกรณีแม่หอบ” บริเวณแปลงปลูกป่าชายเลนของซีพีเอฟ จังหวัดพังงา จำนวน 54.72 ไร่ พบว่า ‘แม่หอบ’ช่วยเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในพื้นที่ และช่วยเร่งกระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลนให้เร็วขึ้น จากการที่มีไม้ป่าบกเกิดขึ้นทดแทนตามธรรมชาติในบริเวณจอมหอบ
“แม่หอบจะมีการสร้างจอมหอบโดยการนำดินและอินทรียวัตถุที่อยู่ใต้ดินมากองไว้บนปากรู จนเป็นจอมหอบขนาดใหญ่ จอมหอบดังกล่าวจะมีพันธุ์ไม้ป่าบกขึ้นมาทดแทน โดยรูปแบบโครงสร้างของจอมหอบสามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าพรุ หรือการฟื้นฟูบ่อกุ้งร้างที่ดินเสื่อมโทรมและมีน้ำท่วมสูงเป็นเวลานาน ดังนั้นการปรับสภาพพื้นที่ให้คล้ายจอมหอบแล้วปลูกต้นไม้เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูป่าหรือเรียกว่า “แม่หอบโมเดล” อาจารย์คณะวนศาสตร์ มก. กล่าว
นายเจษฎา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและเติบโตได้ดีบนจอมหอบ เช่น ฝาดดอกแดง ลำบิด พลับทะเล ตาตุ่มทะเล ปอทะเล หงอนไก่ทะเล และหลุมพอทะเล เป็นพันธุ์ไม้ที่ควรนำมาขยายพันธุ์เพื่อปลูกบนจอมหอบ ช่วยเร่งกระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลนและเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในพื้นที่
นอกจากนี้ พื้นที่ปลูกป่าชายเลน บริเวณบ้านทับปลา ต.ท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ความสำคัญและชนิดของแม่หอบ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มีมากถึง 52 ชนิดและแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์ไม้ อาทิ “ฝาดดอกแดง” ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่เติบโตได้ดีในพื้นที่ มีรูปทรงและดอกสวยงาม สามารถนำไปเพาะขยายพันธุ์เพื่อปลูกเป็นไม้ประดับและจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้แก่คนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ภาคประชาสังคมและชุมชน ดำเนินโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้องป่าชายเลน”ภายใต้แผน 5 ปี (ปี 2557-2561) กำหนดพื้นที่ปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร พังงา ระยอง สมุทรสาคร และ สงขลา ปลูกป่าชายเลนมากกว่า 2 พันไร่ ซึ่งภายในเดือนกันยายน 2561 นี้ ซีพีเอฟจะส่งมอบโครงการฯทั้ง 5 พื้นที่ให้แก่ทช.
ทั้งนี้ พื้นที่ป่าชายเลนบ้านทับปลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ในอดีตมีการบุกรุกเพื่อปลูกพืชเกษตร เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้ป่าชายเลนมีจำนวนลดลงและมีความเสื่อมโทรม จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ท้องถิ่น