************************* *************************
เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การฟ้องร้องคคีผู้บริโภค ดังนั้นขอไม่เปิดเผยข้อมูลคู่กรณีนะครับ
************************* *************************
1. ฟ้องอะไร
คดีนี้เนื่องมาจากเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ทำการยกเลิกคำสั่งซื้อที่สำเร็จสมบูรณ์ไปแล้ว โดยไม่ให้เหตุผลที่รับฟังได้
บวกกับ ฝ่ายบริการลูกค้า ที่ไม่คิดจะบริการลูกค้าเอาเสียเลย ก็เลยเป็นที่มาในการเดินทางไปฟ้องศาล ในเรื่องผิดสัญญาซื้อขาย
2. ฟ้องยังไง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
คดีนี้ฟ้องเป็นแบบ "คดีผู้บริโภค" ครับ ดังนั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขึ้นศาล และไม่ต้องใช้ทนาย
แต่จะต้องเสียค่าคัดหนังสือรับรอง จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 200 บาท ในกรณีที่คู่ความเราเป็นนิติบุคคล
วิธีการฟ้องก็คือ
- เช็คดูก่อนว่าคนที่เราจะฟ้องเป็นนิติบุคคลชื่ออะไร จะใช้วิธีถามคนที่รู้ หรือดูจากพวกหัวใบเสร็จ ใบส่งของ (กรณีที่เคยสั่งของมาก่อน) ก็จะทราบชื่อ
จากนั้นเอาชื่อไปที่สำนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้วไปเขียนคำร้องขอคัดหนังสือรับรอง โดยใส่เฉพาะชื่อบริษัทที่เราจะฟ้อง แล้วใส่เหตุผลไปว่า "เพื่อดำเนินการทางศาล"
- เตรียมหลักฐานทั้งหมดโดยปริ้นเอกสารออกมาทุกอย่างเท่าที่มี ใบสั่งซื้อ อีเมล์ตอบรับ หลักฐานการคุยกัน
- ให้เขียนอธิบายเหตุการณ์ที่มาที่ไป(หรือจะพิมพ์ก็ได้) แล้วลงท้ายให้สรุปไว้หน่อย ว่าเราต้องการฟ้องเอาอะไรบ้าง
- นำหลักฐานทั้งหมดไปติดต่อที่ "ศาลแขวง" ในเขตบ้านของคุณ (หรือที่ๆคุณกดคลิกสั่งซื้อ) โดยไปติดต่อที่ "ศูนย์คดีผู้บริโภค" หรือ "ห้องเจ้าพนักงานคดี" แล้วนำหลักฐานและเรื่องราวทั้งหมดเล่าให้ จนท. ฟัง แล้ว จนท. เค้าจะร่างคำฟ้องและนัดดำเนินการทุกอย่างให้จนจบ
3. รอนานแค่ไหน
- รอ จนท. ร่างคำฟ้องให้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จากนั้น จนท. จะนัดเราไปเซ็นต์เอกสารเพื่อส่งฟ้องที่ศาล
- เมื่อส่งฟ้องแล้ว ในวันที่ส่งฟ้อง จะได้วันนัดขึ้นศาล โดยจะประมาณ 2-3 เดือน นับจากวันที่ส่งฟ้อง
4. วันฟ้องต้องทำอะไรบ้าง
- ง่ายๆ แค่ไปให้ตรงวันเวลาที่นัดขึ้นศาล โดยเมื่อไปถึงศาลให้ไปดูบอร์ดคดี เค้าจะติดรายชื่อคดีทั้งหมดที่มีนัดในวันนั้น พร้อมชื่อคู่ความ และห้องที่จะต้องไป
- เมื่อรู้แล้วว่าต้องไปที่ห้องไหน ก็ให้ไปให้ถึงห้อง แล้วเดินเข้าไปในห้องแจ้ง จนท. ในห้อง ว่าคุณเป็นใครฟ้องคดีอะไร (ปกติ จนท. ในห้องก็คือ จนท. ที่ช่วยร่างคำฟ้องให้นั่นล่ะ)
- จากนั้น ก็รอเจอทนายจำเลย อย่างของผม ทนายจำเลยก็มาพร้อมกับ ผจก.ฝ่ายกฎหมาย ตรงนี้ถ้ามีอะไรจะตกลงกันคร่าวๆได้ก่อน ก็คุยกันไปก่อนได้ ระหว่างรอเวลา
- ถ้าตกลงคร่าวๆกันไม่ได้ ก็แจ้ง จนท. ว่าขอเข้าห้องไกล่เกลี่ย ทาง จนท. จะส่งคู่ความทั้งสองฝ่ายไปอีกห้องนึง แล้วจะมีผู้ไกล่เกลี่ยเข้ามานั่งเป็นคนกลางให้
5. ขั้นตอนไกล่เกลี่ยเป้นอย่างไรบ้าง
- ผู้ใกล่เกลี่ย ส่วนมากจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านคดีความมามาก บางคนอาจเป็นอดีผู้พิพากษา
เมื่อผู้ใกล่เกลี่ยเข้ามาแล้ว ก็จะเริ่มการแนะนำตัว และให้แต่ละฝ่ายแนะนำตัว และอธิบายเรื่องราวตามฟ้องคร่าวๆ
- ในขั้นตอนนี้ ขอให้อธิบายให้เต็มที่ โดยอธิบายต่อคนกลาง คือผู้ใกล่เกลี่ย
- เมื่อผู้ไกล่เกลี่ย รับฟังความทั้งสองข้างแล้ว ก็จะเริ่มขั้นตอนประนีประนอม โดยให้แต่ละฝ่ายได้พูดคุยกันตรงๆ ทีละเรื่องทีละประเด็น
ตรงนี้ถ้ามีฝ่ายไหนผู้ไม่ชัด หรือพูดเข้าใจผิดไปในแง่ข้อกฎหมาย ผู้ใกล่เกลี่ยก็อาจจะให้ข้อแนะนำกลางๆมา
เช่น ถ้าฝ่ายหนึ่งบอกว่าปกติก็ทำกันแบบนี้แต่มันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกนัก ผู้ใกล่เกลี่ยก็อาจจะปรามๆว่า แบบนั้นไม่น่าจะดีนัก ควรจะเป็นอย่างงี้ดีไหม
6. ไกล่เกลี่ยแล้วเป็นยังไง
- ถ้าทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ ก็สามารถตกลงและจบคดีความกันในห้องใกล่เกลี่ยได้เลย โดยเรื่องที่ตกลงกันไม่จำเป็นจะต้องถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด แต่เอาที่ถูกใจทั้งสองฝ่าย และที่เห็นตรงกัน (ถ้าเห็นไม่ตรงกัน ก็เป็นอันจบไกล่เกลี่ย กลับไปสู่กระบวนการขึ้นศาล ให้ศาลตัดสินเอา)
- กรณีของผมไกล่เกลี่ยแล้วก็เป็นอันยุติได้ โดยคุยกันเป็นชั่วโมง สรุปสุดท้ายคือถ้าได้คุยกับคนมีอำนาจตรงๆ ก็คงมีทางแก้ไขกันไปเรียบร้อยแล้วโดยไม่ต้องมาศาล สุดท้ายฝ่ายเว็บไซต์ที่ถูกฟ้อง ก็ยอมชดเชยค่าเสียหายไปมากกว่ามูลค่าความเสียหายไปนิดหน่อย
- แล้วก็จบด้วยการถอนฟ้อง โดยในห้องไกล่เกลี่ยก็เซ็นต์เอกสารข้อตกลงที่ได้ตกลงร่วมกัน แล้วออกจากห้องไกล่เกลี่ยแล้วก็รอเซ็นต์เอกสารถอนฟ้องนิดหน่อยก็กลับบ้านได้ สรุปเสียเวลาอยู่ที่ศาลประมาณ 3 ชั่วโมง
**********************************************
7. สรุปว่าฟ้องแล้วได้อะไร
- ได้คุยกับคนที่มีอำนาจโดยตรง ซึ่งมันคุยง่ายและหาทางแก้ปัญหากันได้ง่ายกว่าคุยผ่านหุ่นยนต์ Call Center เยอะ
ดังนั้น ถ้าใครที่ประสบปัญหาว่าเจรจากับฝ่ายบริการลูกค้าไม่รู้เรื่องเอาเสียเลย การขึ้นศาลก็อาจเป็นวิธีที่ดีอันนึง ในการที่จะบังคับให้คนมีอำนาจยอมมาคุยกับเรา
- ได้ชดเชยค่าเสียหายตามสมควร มันอาจจะไม่คุ้มสักเท่าไหร่ กับการที่ต้องเป็นเรื่องเป็นราวและเสียเวลา
แต่อย่าลืมนะครับ ผู้บริโภคตัวเล็กเสียเท่าไหร่ คนถูกฟ้องที่เป็นบริษัทเค้าเสียหายเยอะกว่าเรามาก ดังนั้น มันจึงเป็นจุดที่จะทำให้เค้ายอมเจรจากับเราดีๆ และยอมชดใช้แก้ปัญหาให้เราได้มากกว่าการเจรจากันในแบบไม่ขึ้นศาล
- ที่สำคัญที่สุด ปัญหาหลายๆอย่าง คนมีอำนาจที่มาเจรจากับเราก็ได้รับปากว่าจะกลับไปแก้ไข ซึ่ีงนอกจากจะเป็นประโยชน์กับตัวคนฟ้องแล้ว ลูกค้าคนอื่นๆที่อาจจะต้องเจอปัญหาอย่างเดียวกัน ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วย
****************************************************************
ถ้าเป็นไปได้ก็คงไม่มีใครอยากขึ้นศาลหรอกครับ ดังนั้น ฝากถึง "ฝ่ายบริการลูกค้า" ของพวกบริษัทใหญ่ๆ
รบกวนอย่าทำตัวหยิ่งยะโสกับลูกค้ามาก เพราะถ้าคุณยอมตกลงกับลูกค้าดีๆ ฝ่ายกฎหมายของบริษัทคุณคงไม่ต้องเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา ในการแก้ปัญหาให้กับลูกค้า ทั้งๆที่มันควรแก้ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องให้ลูกค้าไปฟ้องศาลเลยด้วยซ้ำ
****************************************************************
แชร์ประสบการณ์ ฟ้องเว็บไซต์ขายของออนไลน์
เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การฟ้องร้องคคีผู้บริโภค ดังนั้นขอไม่เปิดเผยข้อมูลคู่กรณีนะครับ
************************* *************************
1. ฟ้องอะไร
คดีนี้เนื่องมาจากเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ทำการยกเลิกคำสั่งซื้อที่สำเร็จสมบูรณ์ไปแล้ว โดยไม่ให้เหตุผลที่รับฟังได้
บวกกับ ฝ่ายบริการลูกค้า ที่ไม่คิดจะบริการลูกค้าเอาเสียเลย ก็เลยเป็นที่มาในการเดินทางไปฟ้องศาล ในเรื่องผิดสัญญาซื้อขาย
2. ฟ้องยังไง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
คดีนี้ฟ้องเป็นแบบ "คดีผู้บริโภค" ครับ ดังนั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขึ้นศาล และไม่ต้องใช้ทนาย
แต่จะต้องเสียค่าคัดหนังสือรับรอง จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 200 บาท ในกรณีที่คู่ความเราเป็นนิติบุคคล
วิธีการฟ้องก็คือ
- เช็คดูก่อนว่าคนที่เราจะฟ้องเป็นนิติบุคคลชื่ออะไร จะใช้วิธีถามคนที่รู้ หรือดูจากพวกหัวใบเสร็จ ใบส่งของ (กรณีที่เคยสั่งของมาก่อน) ก็จะทราบชื่อ
จากนั้นเอาชื่อไปที่สำนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้วไปเขียนคำร้องขอคัดหนังสือรับรอง โดยใส่เฉพาะชื่อบริษัทที่เราจะฟ้อง แล้วใส่เหตุผลไปว่า "เพื่อดำเนินการทางศาล"
- เตรียมหลักฐานทั้งหมดโดยปริ้นเอกสารออกมาทุกอย่างเท่าที่มี ใบสั่งซื้อ อีเมล์ตอบรับ หลักฐานการคุยกัน
- ให้เขียนอธิบายเหตุการณ์ที่มาที่ไป(หรือจะพิมพ์ก็ได้) แล้วลงท้ายให้สรุปไว้หน่อย ว่าเราต้องการฟ้องเอาอะไรบ้าง
- นำหลักฐานทั้งหมดไปติดต่อที่ "ศาลแขวง" ในเขตบ้านของคุณ (หรือที่ๆคุณกดคลิกสั่งซื้อ) โดยไปติดต่อที่ "ศูนย์คดีผู้บริโภค" หรือ "ห้องเจ้าพนักงานคดี" แล้วนำหลักฐานและเรื่องราวทั้งหมดเล่าให้ จนท. ฟัง แล้ว จนท. เค้าจะร่างคำฟ้องและนัดดำเนินการทุกอย่างให้จนจบ
3. รอนานแค่ไหน
- รอ จนท. ร่างคำฟ้องให้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จากนั้น จนท. จะนัดเราไปเซ็นต์เอกสารเพื่อส่งฟ้องที่ศาล
- เมื่อส่งฟ้องแล้ว ในวันที่ส่งฟ้อง จะได้วันนัดขึ้นศาล โดยจะประมาณ 2-3 เดือน นับจากวันที่ส่งฟ้อง
4. วันฟ้องต้องทำอะไรบ้าง
- ง่ายๆ แค่ไปให้ตรงวันเวลาที่นัดขึ้นศาล โดยเมื่อไปถึงศาลให้ไปดูบอร์ดคดี เค้าจะติดรายชื่อคดีทั้งหมดที่มีนัดในวันนั้น พร้อมชื่อคู่ความ และห้องที่จะต้องไป
- เมื่อรู้แล้วว่าต้องไปที่ห้องไหน ก็ให้ไปให้ถึงห้อง แล้วเดินเข้าไปในห้องแจ้ง จนท. ในห้อง ว่าคุณเป็นใครฟ้องคดีอะไร (ปกติ จนท. ในห้องก็คือ จนท. ที่ช่วยร่างคำฟ้องให้นั่นล่ะ)
- จากนั้น ก็รอเจอทนายจำเลย อย่างของผม ทนายจำเลยก็มาพร้อมกับ ผจก.ฝ่ายกฎหมาย ตรงนี้ถ้ามีอะไรจะตกลงกันคร่าวๆได้ก่อน ก็คุยกันไปก่อนได้ ระหว่างรอเวลา
- ถ้าตกลงคร่าวๆกันไม่ได้ ก็แจ้ง จนท. ว่าขอเข้าห้องไกล่เกลี่ย ทาง จนท. จะส่งคู่ความทั้งสองฝ่ายไปอีกห้องนึง แล้วจะมีผู้ไกล่เกลี่ยเข้ามานั่งเป็นคนกลางให้
5. ขั้นตอนไกล่เกลี่ยเป้นอย่างไรบ้าง
- ผู้ใกล่เกลี่ย ส่วนมากจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านคดีความมามาก บางคนอาจเป็นอดีผู้พิพากษา
เมื่อผู้ใกล่เกลี่ยเข้ามาแล้ว ก็จะเริ่มการแนะนำตัว และให้แต่ละฝ่ายแนะนำตัว และอธิบายเรื่องราวตามฟ้องคร่าวๆ
- ในขั้นตอนนี้ ขอให้อธิบายให้เต็มที่ โดยอธิบายต่อคนกลาง คือผู้ใกล่เกลี่ย
- เมื่อผู้ไกล่เกลี่ย รับฟังความทั้งสองข้างแล้ว ก็จะเริ่มขั้นตอนประนีประนอม โดยให้แต่ละฝ่ายได้พูดคุยกันตรงๆ ทีละเรื่องทีละประเด็น
ตรงนี้ถ้ามีฝ่ายไหนผู้ไม่ชัด หรือพูดเข้าใจผิดไปในแง่ข้อกฎหมาย ผู้ใกล่เกลี่ยก็อาจจะให้ข้อแนะนำกลางๆมา
เช่น ถ้าฝ่ายหนึ่งบอกว่าปกติก็ทำกันแบบนี้แต่มันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกนัก ผู้ใกล่เกลี่ยก็อาจจะปรามๆว่า แบบนั้นไม่น่าจะดีนัก ควรจะเป็นอย่างงี้ดีไหม
6. ไกล่เกลี่ยแล้วเป็นยังไง
- ถ้าทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ ก็สามารถตกลงและจบคดีความกันในห้องใกล่เกลี่ยได้เลย โดยเรื่องที่ตกลงกันไม่จำเป็นจะต้องถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด แต่เอาที่ถูกใจทั้งสองฝ่าย และที่เห็นตรงกัน (ถ้าเห็นไม่ตรงกัน ก็เป็นอันจบไกล่เกลี่ย กลับไปสู่กระบวนการขึ้นศาล ให้ศาลตัดสินเอา)
- กรณีของผมไกล่เกลี่ยแล้วก็เป็นอันยุติได้ โดยคุยกันเป็นชั่วโมง สรุปสุดท้ายคือถ้าได้คุยกับคนมีอำนาจตรงๆ ก็คงมีทางแก้ไขกันไปเรียบร้อยแล้วโดยไม่ต้องมาศาล สุดท้ายฝ่ายเว็บไซต์ที่ถูกฟ้อง ก็ยอมชดเชยค่าเสียหายไปมากกว่ามูลค่าความเสียหายไปนิดหน่อย
- แล้วก็จบด้วยการถอนฟ้อง โดยในห้องไกล่เกลี่ยก็เซ็นต์เอกสารข้อตกลงที่ได้ตกลงร่วมกัน แล้วออกจากห้องไกล่เกลี่ยแล้วก็รอเซ็นต์เอกสารถอนฟ้องนิดหน่อยก็กลับบ้านได้ สรุปเสียเวลาอยู่ที่ศาลประมาณ 3 ชั่วโมง
**********************************************
7. สรุปว่าฟ้องแล้วได้อะไร
- ได้คุยกับคนที่มีอำนาจโดยตรง ซึ่งมันคุยง่ายและหาทางแก้ปัญหากันได้ง่ายกว่าคุยผ่านหุ่นยนต์ Call Center เยอะ
ดังนั้น ถ้าใครที่ประสบปัญหาว่าเจรจากับฝ่ายบริการลูกค้าไม่รู้เรื่องเอาเสียเลย การขึ้นศาลก็อาจเป็นวิธีที่ดีอันนึง ในการที่จะบังคับให้คนมีอำนาจยอมมาคุยกับเรา
- ได้ชดเชยค่าเสียหายตามสมควร มันอาจจะไม่คุ้มสักเท่าไหร่ กับการที่ต้องเป็นเรื่องเป็นราวและเสียเวลา
แต่อย่าลืมนะครับ ผู้บริโภคตัวเล็กเสียเท่าไหร่ คนถูกฟ้องที่เป็นบริษัทเค้าเสียหายเยอะกว่าเรามาก ดังนั้น มันจึงเป็นจุดที่จะทำให้เค้ายอมเจรจากับเราดีๆ และยอมชดใช้แก้ปัญหาให้เราได้มากกว่าการเจรจากันในแบบไม่ขึ้นศาล
- ที่สำคัญที่สุด ปัญหาหลายๆอย่าง คนมีอำนาจที่มาเจรจากับเราก็ได้รับปากว่าจะกลับไปแก้ไข ซึ่ีงนอกจากจะเป็นประโยชน์กับตัวคนฟ้องแล้ว ลูกค้าคนอื่นๆที่อาจจะต้องเจอปัญหาอย่างเดียวกัน ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วย
****************************************************************
ถ้าเป็นไปได้ก็คงไม่มีใครอยากขึ้นศาลหรอกครับ ดังนั้น ฝากถึง "ฝ่ายบริการลูกค้า" ของพวกบริษัทใหญ่ๆ
รบกวนอย่าทำตัวหยิ่งยะโสกับลูกค้ามาก เพราะถ้าคุณยอมตกลงกับลูกค้าดีๆ ฝ่ายกฎหมายของบริษัทคุณคงไม่ต้องเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา ในการแก้ปัญหาให้กับลูกค้า ทั้งๆที่มันควรแก้ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องให้ลูกค้าไปฟ้องศาลเลยด้วยซ้ำ
****************************************************************