เจ้าของกิจการ มาแยกบัญชี ธนาคารกันเถอะ

สวัสดีครับ  อยากจะขอแบ่งปันในเรื่องของ บัญชีธนาคาร
มีคนรอบตัว หลายๆ คน  สอบถาม พูดคุยถึงเรื่องภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2560
เจ้าของกิจการ และ พ่อค้าแม่ค้า  มีรายได้ 40(8)  ที่เสียภาษี เหมา ลดหย่อนได้ 60-85%
โดนปรับลด ลงมาเหลือ  ลดหย่อนได้ 60% เกือบทุกอาชีพ  ทำให้ช่วงนี้ เสียภาษีมากขึ้น
หลายคนบ่นตามๆ กัน  ขายของไม่ดี  ยังต้องจ่ายภาษีมากขึ้นอีก

เราสามารถเลือกได้ ว่าจะเสียเหมาๆ  หรือ เสียแบบหัก คชจ จริง
ทางเลือกของกิจการเล็กๆ แบบ ผม คือ  ทำบัญชี  เสียภาษีแบบ หัก คชจ จริง ครับ

1.แยกบัญชีธนาคารเป็น 6 บัญชี  (  รายได้กิจการ/รายจ่ายกิจการ/รายได้ส่วนตัว/รายจ่ายส่วนตัว/เงินออม/เงินได้ต่างๆ)
ให้แยกเงินส่วนตัว กับ เงินกิจการออกจากกันก่อน
1.1 รายได้กิจการ  ขายไปเท่าไร  ได้เงินมาเท่าไร
1.2 รายจ่ายกิจการ  เช่น  ค่าต้นทุนสินค้า  ค่าน้ำ  ค่าไฟ  ค่าเน็ต  ค่าส่งของ  เงินเดือนจ่ายให้ตนเอง  ค่าเช่าร้านค้า
1.3 รายได้ส่วนตัว เข่น  เงินเดือนที่ร้านค้าจ่ายให้    เปิดบ้านให้คนเช่า   เล่นหุ้น ขายหมู ติดดอยกันไป
1.4 รายจ่ายส่วนตัว  เข่น  ค่ากิน  ค่าเช่าบ้านที่นอน  บัตรเครดิต  ค่าโทรศัพท์
1.5 เงินออมส่วนตัว  เช่น  เก็บเงินเพื่อเที่ยว  เพื่อซื้อของที่อยากได้  เพื่ออนาคต
1.6 เงินได้ต่างๆ  เช่น  พ่อแม่ให้มา   เพื่อนคืนเงินที่ยืมไป T-T    ถูกสลากกินแบ่ง  ธกส  ออมสิน  ลาภลอยต่างๆ

2.จดบันทึก และ ทำบัญชี รายได้ และ ค่าใช้จ่าย
จะทำให้คอม  มือถือ  หรือ ใส่สมุดแล้วแต่ถนัดครับ

3. สรุปข้อมูล ในแต่ละสัปดาห์ หรือ แต่ละเดือน
เราก็จะทราบว่า เดือนนี้ เรามีรายได้เท่าไร  ค่าใช้จ่ายเท่าไร  กำไรเท่าไร
สต๊อกของมากไปไหม   ทุนจมหรือเปล่า   ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยคือค่าอะไร
รูดบัตรเครดิตเพลินไปรึเปล่า    เงินเก็บพอไหม   เพื่อนคืนเงินที่ยืมไปหรือยัง T-T  
และทำให้เราวางแผน บัญชี/ภาษี ได้ดีขึ้น  

เริ่มต้นง่ายๆ  แค่นี้เลย  ทำทุกๆวัน

* ขอเพิ่มเติม นิดนึง  การจะทำบัญชีกิจการ  สามารถเสียภาษีได้ 2 แบบ
คือ 1.หักเหมา 60%  ทุกคนคงคุ้นเคย    2.หักตาม คชจ จริง ตามสมควร
แบบที่ 2  ต้องใช้เอกสาร  ใบเสร็จต่างๆ มากกว่าแบบแรก
ฉะนั้น หากเลือกแบบที่ 2  คุณต้องไปคุยกับ สพก และ สนง.บัญชี ให้เรียบร้อยก่อน
ไม่งั้น อาจจะมีปัญหาภายหลังได้นะครับ

ใครมีวิธีอื่น  เสนอมาได้ครับ  แชร์กันๆ  ผมเปียมือแรก !!!
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่