เห็นด้วยมั้ยครับว่าควรมีการจัดประเมินนักศึกษาที่เรียนจบอีกครั้ง เพื่อใช้เป็นคะแนนอ้างอิงตอนสมัครงาน

จากประเด็นดราม่าเรื่องที่บริษัทใหญ่ ไม่ยอมรับคนที่เรียนจบจากราชภัฎ ราชมงคล และ ม.เอกชน
ส่วนตัวผมคิดว่าไม่ควรเหมารวมว่าทุกคนจะอ่อน หรือ ไร้ความสามารถ คือ มันดูไม่ยุติธรรมเท่าไรที่จะตัดสินแบบนี้
ส่วนตัวผมคิดว่า ควรให้พวกเค้าได้รับโอกาสในการพิสูจน์ตัวเอง ไม่ใช่แค่ยืนใบสมัครแล้วก็ตัดสินใจไม่รับทันที
ซึ่งผมคิดว่า ควรให้มีการจัดสอบคล้ายๆเอนทรานซ์ คือจัดสอบใหญ่แบบการสอบเอนทรานซ์ แต่แยกสาขาตามที่เรียน
โดยให้อาจารย์มหาวิทลัยชื่อดังทั่วประเทศ ร่วมในการออกข้อสอบ เน้นความยากแบบสุดๆไปเลย เพื่อวัดความสามารถนักศึกษา
คนที่สอบตรงนี้ผ่านก็สามารถเอาคะแนนไปอ้างอิง เพื่อใช้สมัครงานได้ เพราะผ่านการสอบใหญ่ชนิดโคตรหินมาแล้ว อะไรทำนองนี้
แต่ถ้าใครไม่อยากสอบ ก็ไม่ต้องสอบ ไม่มีการบังคับกัน เพียงแต่จะไม่มีคะแนนตรงนี้ไปยื่นตอนสมัครงานเท่านั้นเอง

ตัวอย่างการสอบ สำหรับคนจบด้านภาษาก็ให้สอบสัมภาษณ์ตรงๆกับอาจารย์ไปเลย ใครหลุดพูดไทย ตอบไม่ตรงคำถาม คิดนาน คือตกหมด
หรือให้แปลเอกสารภาษาต่างประเทศจำนวน 10 หน้า ในเวลา 30 นาที ใครจับใจความไม่ได้ก็ให้ตกไปเลย อะไรแบบนี้ เพราะถือว่าเรียนมาแล้ว

คิดว่ายังไงกันบ้างครับ ถ้าจัดให้มีการสอบแบบนี้ คนที่มีความสามารถจริงๆก็จะไม่โดนดูถูก เพราะเก่งจริง มีโอกาสได้ทำงานที่ดีๆ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
อะนี่เลย ไม่ยาก

เอาผลการสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ของ ก.พ. (หรือ การสอบภาค ก. ของ ก.พ.) มาดูกัน

ผลการสอบ ภาค ก. ของ ก.พ.ย้อนหลัง (ปี 2552 -2557)
     สรุปยอดในระดับปริญญาตรี มีผู้เข้าสอบ 1,639,451 คน สอบผ่าน 173,397 คน (10.5%)
     เมื่อแยกผลการสอบเป็นรายปี
     ปี 2552 เข้าสอบ 210,669 คน ผ่าน 33,296 คน (15.8%)
     ปี 2553 เข้าสอบ 332,794 คน ผ่าน 42,896 คน (12.8%)
     ปี 2554 เข้าสอบ 313,932 คน ผ่าน 64,877 คน (20.6%)
     ปี 2555 เข้าสอบ 316,835 คน ผ่าน 16,530 คน (5.2%)
     ปี 2556 เข้าสอบ 289,470 คน ผ่าน 7,961 คน (2.7%) และ
     ปี 2557 เข้าสอบ 175,751 คน ผ่าน 7,837 คน (4.4%)

และเมื่อพิจารณาจากกลุ่มมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ปรากฎว่า
- กลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐ มีผู้เข้าสอบ 83,085 คน สอบผ่าน 6,887 คน
- กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ มีผู้เข้าสอบ 55,305 คน ผ่าน 227 คน
- กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีผู้เข้าสอบ 17,682 คน ผ่าน 231 คน
- สถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีผู้เข้าสอบ 18,060 คน ผ่าน 403 คน และ
- ผู้จบจากต่างประเทศ มีผู้เข้าสอบ 104 คน ผ่าน 17 คน

http://www.dailynews.co.th/education/335115
http://www.dailynews.co.th/education/333750

จริง ๆ ข้อสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. ก็ไม่ได้ยากมากมายเลยนะครับ
เป็นความรู้ความสามารถทั่วไป
ลองมาดูวิชาที่ใช้สอบ ก.พ. มีดังนี้
1. วิชาความสามารถทั่วไป
      1.1 ความสามารถทางด้านการคิดคำนวณ
การประยุกต์ใช้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น
การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของจำนวนหรือปริมาณ
การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และข้อมูลต่างๆ
           1.1.1 อนุกรม
           1.1.2 โจทย์คณิตศาสตร์
           1.1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล
           1.1.4 สดมภ์
      1.2 ความสามารถทางด้านเหตุผล การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ
ข้อความ หรือรูปภาพ การหาข้อยุติ หรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ
สัญลักษณ์ สถานการณ์หรือแบบจำลองต่างๆ
           1.2.1 อุปมาอุปไมย
           1.2.2 การสรุปความจากภาษา
           1.2.3 การสรุปความจากสัญลักษณ์
           1.2.4 การสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ
2. วิชาภาษาไทย
      2.1 ความเข้าใจภาษา การอ่านและการทำความเข้าใจกับบทความ
หรือข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความหรือข้อความ
รวมไปถึงการสรุปความ และตีความด้วย
           2.1.1 แนวคำถามการวัดความเข้าใจภาษาที่เป็นข้อความสั้น ๆ
           2.1.2 แนวคำถามการวัดความเข้าใจภาษาที่เป็นบทความ
      2.2 การใช้ภาษา การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษาและการเรียงข้อความ
           2.2.1 แนวคำถามการเลือกใช้คำที่ถูกต้องเติมลงในช่องว่าง
           2.2.2 แนวคำถามการเติมคำในบทความ
           2.2.3 แนวคำถามการเลือกใช้คำในประโยคที่ถูกต้อง
           2.2.4 แนวคำถามการสะกดคำได้ถูกต้อง
           2.2.5 แนวคำถามการเรียงลำดับข้อความให้ถูกต้อง

และ เพิ่งเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษเข้ามาเมื่อปี 2557 นี้เองครับ
วิชาภาษาอังกฤษ 25 ข้อ แบ่งเป็น
1. Reading อ่าน 10 ข้อ (2 เรื่อง)
2. Vocabulary คำศัพท์ 5 ข้อ
3. Conversation สนทนา 5 ข้อ
4. Error จับผิด 5 ข้อ
(ซึ่งง่ายมาก)

จะเห็นได้ว่า วิชาที่ใช้สอบ ก็ไม่ใช่วิชาขั้นสูงอะไรเลย
เป็นความรู้พื้นฐาน ม.3 ด้วยซ้ำครับ
ข้อสอบ ก.พ. จะถือว่าเป็นข้อสอบปัญหาเชาว์ ก็ยังได้
เพราะต้องไปทำตอบเฉพาะหน้า ไม่มีเนื้อหาให้ท่องจำไปสอบ
แนวข้อสอบ ก็ออกแนวเดิมทุกปี
ผมก็แปลกใจเหมือนกัน ทำไมสอบไม่ผ่านกัน
วิชาที่ใช้ก็เป็นการวัดความสามารถ ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ, การคิดคำนวนทางคณิตศาสตร์ และ ด้านภาษา ครับ
ซึ่งเป็นการวัดความสามารถพื้นฐานของมนุษย์
ไม่ว่าจะในการปฏิบัติงานอย่างใด ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่งานราชการเท่านั้น
เช่น การใช้เหตุผล > การคิดเชื่อมโยงหาเหตุและผลที่ถูกต้อง ฯลฯ
      การคิดคำนวน > การบวก ลบ คูณ หาร หรือการคิดจำนวนต่อเนื่องเชื่อมโยง หรือ การคำนวนปะติดปะต่อจากข้อมูลดิบ ฯลฯ
      การใช้ภาษา > การอ่านจับใจความ การเรียบเรียงประโยค การตีความ หลักภาษา (นำไปใช้ในการร่างหนังสือ เขียนบทความ) ฯลฯ

พอดูจากอัตราการสอบผ่าน เมื่อแยกกลุ่มมหาวิทยาลัยแล้ว
น่าจะพอสะท้อนอะไรได้บ้างหรือไม่ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่